สำราญ นวลมา
พลตำรวจโท สำราญ นวลมา ป.ม., ท.ช. | |
---|---|
![]() | |
พลตำรวจโท สำราญ นวลมา ในปี พ.ศ.2565 | |
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2516 จังหวัดเพชรบุรี |
คู่สมรส | ศิริเพ็ญ ตั้งทวีสุโข นวลมา |
ศิษย์เก่า |
|
การเข้าเป็นทหาร | |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
พลตำรวจโท สำราญ นวลมา ชื่อเล่น ราญ (เกิด 14 มิถุนายน 2516) เป็นข้าราชการตำรวจ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโท สำราญ นวลมา เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2516 ที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 34 (เหล่าตำรวจ) และนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 50 เริ่มรับราชการครั้งแรก เมื่อปี 2540 ในตำแหน่ง พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง จนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท
การรับราชการตำรวจ[แก้]
- พ.ศ.2564 – ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2563 – รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2561 – ผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2559 – รองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2557 – ผู้กำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2555 – ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง
- พ.ศ.2554 – รองผู้กำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2552 – รองผู้กำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2550 – สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางนา
- พ.ศ.2548 – สารวัตรงานสายตรวจ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2547 – สารวัตรงานสายตรวจ 2 กองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
- พ.ศ.2546 – รองสารวัตรสืบสวน สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ
- พ.ศ.2540 – รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง
เกียรติยศ[แก้]
- พ.ศ.2563 – ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่มีผลงานยอดเยี่ยมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2563 จากสำนักงาน ป.ป.ส.
- พ.ศ.2560 – ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2560 จากสำนักงาน ป.ป.ส.
- พ.ศ.2558 – ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2558
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[1]
- พ.ศ. 2563 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[2]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๖, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐