ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ม.ว.ม., ป.ช., ร.จ.พ. | |
---|---|
![]() ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ขณะกำลังให้สัมภาษณ์กับสื่อในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง | |
เกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508 อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้อำนวยการสถานการณ์ช่วยเหลือในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย |
คู่สมรส | จินจณา โอสถธนากร[2] |
บุตร | พรธีรา โอสถธนากร สุธารีย์ โอสถธนากร |
บิดามารดา |
|
ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร เป็นข้าราชการชาวไทย ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564[4]และผู้อำนวยการศูนย์จิตอาสา จังหวัดปทุมธานี เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา[5]และจังหวัดเชียงราย เขามีชื่อเสียงจากการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานการณ์ช่วยเหลือเด็กและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนที่ติดถ้ำรวมทั้งสิ้น 13 คน ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล[6]
ประวัติ[แก้]
ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา[แก้]
ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรใน 4 คนของประสานและนวลจันทร์ โอสถธนากร บิดาของณรงค์ศักดิ์เป็นอดีตทหารเสนารักษ์ประจำค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรีก่อนจะเปลี่ยนมาเปิดร้านขายยาบริเวณถนนลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร โดยประสานได้ดำเนินการเลี้ยงบุตรรวมถึงณรงค์ศักดิ์แบบทหารเพื่อให้มีระเบียบวินัย ซึ่งณรงค์ศักดิ์ได้เปิดเผยว่าบิดาของเขานั้นดุและเป็นเผด็จการมาก
ณรงค์ศักดิ์จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2528 ปริญญาโทในสาขาวิชาภูมิมาตรศาสตร์และการสำรวจ (Geodetic Science and Surveying) จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐในปี พ.ศ. 2531
ณรงค์ศักดิ์ยังสำเร็จการศึกษาในสาขาอื่น ๆ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชโดยได้รับประกาศนียบัตรกฎหมายการที่ดินและทรัพย์สินในปี พ.ศ. 2535 ปริญญาตรีในสาขาวิชานิติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2536 เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจในปี พ.ศ. 2545 และรัฐประศาสนศาสตร์ในปี พ.ศ. 2556
การทำงานช่วงแรก[แก้]
ณรงค์ศักดิ์ เข้ารับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลแผนที่ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีทำแผนที่ และที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสำรวจ[7]ของกรมที่ดิน ณรงค์ศักดิ์ยังเป็นประธาน กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิในหลายหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นต้น
ณรงค์ศักดิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2559[8] ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ. 2560[9] และย้ายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาในปี พ.ศ. 2561[10] ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางในปี พ.ศ. 2562[11] และผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีในปี พ.ศ. 2564[12]
ยศอาสารักษาดินแดน[แก้]
พ.ศ. 2561 นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2553 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[16]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ไม่ธรรมดา ประวัติ ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ แม่ทัพใหญ่ภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง, เว็บไซด์:https://campus.campus-star.com/ .วันที่ 29 มิ.ย. 2561
- ↑ ถ้ำหลวง: โคนัน, เชอร์ล็อก โฮมส์ คือ เล่มโปรดของ ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์, เว็บไซด์:https://www.bbc.com/ .วันที่ 10 กรกฎาคม 2018
- ↑ พ่อ ‘ผู้ว่าฯเชียงราย’ ฮีโร่ช่วย 13 หมูป่าเผย ‘เลี้ยงลูกแบบทหาร’ จนได้ดี, เว็บไซด์: https://www.matichon.co.th .วันที่ 3 ก.ค. 2561
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ ราชกิจจาเผยแพร่คำสั่ง ตั้งศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ใน กทม.-ปริมณฑล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๐/๒๕๖๐ เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (หน้า ๗)
- ↑ เช็คชื่อ 28 ชื่อแต่งตั้งโยกย้าย "สุทธิพงษ์" ปลัด มท. "ณรงค์ศักดิ์" ผวจ.ปทุมฯ
- ↑ หนังสือราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 19 มีนาคม พ.ศ. 2561
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๒๐, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๕๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘๐, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการปรับ
- บทความวิกิพีเดียทั้งหมดที่ต้องการปรับ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอแปลงยาว
- ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
- ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยพะเยา
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์