ข้ามไปเนื้อหา

โนบูตาเกะ คนโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โนบูตาเกะ คนโด
พลเรือเอก โนบูตาเกะ คนโด
เกิด25 กันยายน ค.ศ. 1886
โอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953(1953-02-19) (66 ปี)[1]
รับใช้ ญี่ปุ่น
แผนก/สังกัดNaval flag of จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ. 1907–1945
ชั้นยศพลเรือเอก
บังคับบัญชาคาโกะ, คงโง
กองกำลังภาคใต้, กองหลวงหลักกองกำลังภาคใต้, กองเรือที่ 2, กองพลปฏิบัติการยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือที่ 1, กองเรือที่ 5 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น, กองเสนาธิการทหารเรือ, กองเรือที่ 2 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น, กองพลเรือลาดตระเวนที่ 4, กองเรือประจำพื้นที่จีน[2]
การยุทธ์สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
 • ปฏิบัติการเกาะไหหลำ
 • ปฏิบัติการซัวเถา
สงครามโลกครั้งที่สอง
 • ยุทธนาวีที่มิดเวย์
 • การตีโฉบฉวยมหาสมุทรอินเดีย
 • การทัพนิวกินี
 • การทัพกัวดัลคะแนล
 • การทัพหมู่เกาะโซโลมอน
บำเหน็จเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ชั้นที่ 2)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ (ชั้นที่ 3)
งานอื่นสภาสงครามสูงสุด (ประเทศญี่ปุ่น)

โนบูตาเกะ คนโด (ญี่ปุ่น: 近藤信竹; อังกฤษ: Nobutake Kondō; 25 กันยายน ค.ศ. 1886 – 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953) เป็นพลเรือเอกในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะผู้บัญชาการของกองเรือที่ 2 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกองกำลังหลักที่แยกออกของกองทัพเรือสำหรับปฏิบัติการโดยตนเอง คนโดได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากพลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงแรกและอาชีพ

[แก้]

คนโดเป็นชาวโอซากะ เขาสำเร็จการศึกษาในระดับต้น ๆ ของนักเรียนนายร้อย 172 นายจากรุ่นที่ 35 ของโรงเรียนนายเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1907 ในฐานะว่าที่เรือตรี เขาได้ทำหน้าที่ในเรือลาดตระเวนอิซึกูชิมะ และเรือประจัญบานมิกาสะ หลังจากการเริ่มดำเนินงานในฐานะเรือตรี เขาได้รับมอบหมายให้ประจำเรือลาดตระเวนอาโซะ, เรือพิฆาตคิซารางิ และเรือประจัญบานคงโง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912–1913 เขาได้เป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือต่อสหราชอาณาจักร หลังจากที่เขากลับไปญี่ปุ่น เขาได้ทำหน้าที่ในฟูโซช่วงสั้น ๆ จากนั้นในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916–1917 เขาได้เป็นหัวหน้านายทหารปืนใหญ่ในอากิซึชิมะ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Nishida, Hiroshi. "Imperial Japanese Navy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  2. http://navalhistory.flixco.info/H/131447x19846/8330/a0.htm

อ้างอิง

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]