เจ้าชายคิริล เจ้าชายแห่งพาร์ลาฟ
เจ้าชายคิริล | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายแห่งพาร์ลาฟ | |||||
เจ้าชายผู้สำเร็จราชการแห่งบัลแกเรีย | |||||
Tenure | 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 9 กันยายน ค.ศ. 1944 | ||||
ประสูติ | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 โซเฟีย, บัลแกเรีย | ||||
สวรรคต | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 โซเฟีย, บัลแกเรีย | (49 ปี)||||
| |||||
ราชวงศ์ | แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา-โคฮารี | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิ้น-ปาร์มา | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรีย, เจ้าชายแห่งพาร์ลาฟ (Kyril Heinrich Franz Ludwig Anton Karl Philipp; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 – 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945) เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย และพระมเหสีองค์แรกของพระองค์ เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบูร์บง-ปาร์มา พระองค์ทรงเป็นพระอนุชาของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียและเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแห่งบัลแกเรีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 ถึง 1944
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์ทรงประสูติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 ในเมืองโซเฟีย ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย และพระมเหสีองค์แรกของพระองค์ เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิ้น-ปาร์มา
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1936 เจ้าชายคิริลทรงเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ในการประทับพระที่นั่งรถไฟไปปราศรัยกับประชาชนในไอซ์แลนด์ ได้ทรงประกาศการสวรรคตของพระเชษฐาของพระองค์, พระเจ้าซาร์บอริส เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เจ้าชายคิริลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ จนกระทั่งพระราชโอรสของพระเจ้าซาร์, พระเจ้าซาร์ซีเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ซึ่งมีพระชนมายุ 18 พรรษา
เจ้าชายคิริล, กับซารินาผู้เป็นม่าย โจวันนาแห่งซาวอย พระธิดาของกษัติรย์อิตาลี ได้นำพระศพของรัฐสำหรับพระเชษฐา พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1943 ที่อาสนวิหารอเล็กซานเดอร์ เนฟสกี หลังจากนั้นได้เดินทางข้ามเมืองไปยังสถานีรถไฟหลักที่ขบวนรถไฟซึ่งได้รอคอยอยู่เพื่อที่จะนำพระศพไปยังพระอารามริลาในภูเขา หลังจากนั้นรัฐบาลทั้งสามชุดที่ได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องได้พยายามที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากข้อตกลงของบัลแกเรียกับเยอรมนี ที่เด่นชัดคือได้อนุญาตให้ใช้รถไฟไปยังกรีซและทหารเยอรมันได้ประจำการอยู่ที่นั้นเพื่อป้องกัน คณะผู้แทนบัลแกเรียได้เดินทางไปยังกรุงไคโรในความพยายามที่จะเจราจากับสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ แต่ล้มเหลว หลังได้ถูกปฏิเสธที่จะพบพวกเขาโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของสหภาพโซเวียต
แม้ว่าเมืองโซเฟียได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างต่อเนืองกับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1944 โซเวียตได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรีย และเมื่อวันที่ 8 กันยายน กองทัพโซเวียตได้ก้าวข้ามเขตแดนโรมาเนียและแม่น้ำดานูบ แนวร่วมปิตุภูมิ, ที่เป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์ ปีกซ้ายของสหภาพชาวนา กลุ่ม Zveno และนักการเมืองที่นิยมโซเวียตจำนวนเล็กน้อยที่ได้เดินทางกลับมาจากการถูกเนรเทศในสหภาพโซเวียต ได้ก่อการกบฏโดยคอยให้การสนับสนุนแก่ทหารโซเวียตในวันที่ 9 กันยายน และยึดอำนาจ
คืนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เจ้าชายคิริลพร้อมกับอดีตนายกรัฐมนตรีและศาสตราจารย์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ บ็อกดาน ฟิลอฟ, นายพล นิโคลา มิคฮอฟ และเหล่าอดีตรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรี ที่ปรึกษาราชการ และสารวัตรทหาร 67 นาย ได้ถูกประหารชีวิต คำตัดสินโทษประหารชีวิตของพวกเขาได้ถูกประกาศเมื่อวันก่อนโดย"ศาลประชาชน"
เกียรติยศและอาร์ม
[แก้]- เครื่องราชอิสรยาภรณ์[1]
- บัลแกเรีย: Order of Saints Cyril and Methodius, Knight
- ปรัสเซีย: Order of the Black Eagle, Knight
- บาวาเรีย: Order of St. Hubert, Knight
- อิตาลี: Order of the Annunciation, Knight, 1930
- อาร์ม
อ้างอิง
[แก้]