สมเด็จพระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 | |
---|---|
กษัตริย์มีไฮใน ค.ศ. 1947 | |
พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมาเนีย | |
ทรงราชย์ครั้งแรก | 20 กรกฎาคม 1927 – 8 มิถุนายน 1930 (2 ปี 323 วัน) |
ก่อนหน้า | เฟอร์ดินานด์ที่ 1 |
ถัดไป | คาโรลที่ 2 |
ผู้สำเร็จราชการ นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ
|
ทรงราชย์ครั้งสอง | 6 กันยายน 1940 – 30 ธันวาคม 1947 (7 ปี 115 วัน) |
ราชาภิเษก | 6 กันยายน ค.ศ. 1940 |
ก่อนหน้า | คาโรลที่ 2 |
ถัดไป | ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง |
นายกรัฐมนตรี | |
พระราชสมภพ | 25 ตุลาคม ค.ศ. 1921 ปราสาทเปเลช, ซีนาเอีย, ราชอาณาจักรโรมาเนีย |
สวรรคต | 5 ธันวาคม ค.ศ. 2017 อูบอนน์, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ | (96 ปี)
ฝังพระศพ | 16 ธันวาคม ค.ศ. 2017 วิหารหลวงคูร์ตา เด อาร์เจช ประเทศโรมาเนีย |
คู่อภิเษก | แอนน์ เดอ บูร์บง-ปาร์มา |
พระราชบุตร | มกุฎราชกุมารีมาร์กาเรตา เจ้าหญิงเอเลนา เจ้าหญิงอีรีนา เจ้าหญิงโซเฟีย เจ้าหญิงมารีอา |
ราชวงศ์ | โฮเอ็นโซลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 2 |
พระราชมารดา | เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก |
ศาสนา | ออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย |
ลายพระอภิไธย |
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | His Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Your Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (โรมาเนีย: Mihai I al României, Michael I al României; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1921 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 2017) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรโรมาเนีย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1927 ถึง 8 มิถุนายน ค.ศ. 1930 และเป็นกษัตริย์อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940 จนกระทั่งทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947
ไม่นานนักหลังจากเสด็จพระราชสมภพ มกุฎราชกุมารคาโรลแห่งโรมาเนีย พระราชชนกของพระองค์ ทรงมีความสัมพันธ์อันน่าอื้อฉาวกับมักดา ลูเปสคู ในปีค.ศ. 1925 มกุฎราชกุมารคาโรลทรงถูกกดดันให้สละสิทธิในราชบัลลังก์และทรงเสด็จลี้ภัยไปยังปารีสร่วมกับลูเปสคู ในปีค.ศ. 1927 เจ้าชายมีไฮได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ หลังจากการสวรรคตของพระอัยกาคือ กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 โดยกษัตริย์มีไฮยังทรงพระเยาว์ จึงมีการตั้งสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นมาประกอบด้วย เจ้าชายนีกอลาเอ พระปิตุลาของพระองค์ อัครบิดร มิรอน คริสเตอา และประธานศาลสูงสุด จีออร์เก บุซดูกัน แต่พิสูจน์แล้วว่าสภาผู้สำเร็จราชการไม่มีประสิทธิภาพ และในปีค.ศ. 1930 เจ้าชายคาโรลเสด็จกลับโรมาเนียและครองราชย์เป็นกษัตริย์แทนพระราชโอรส ครองราชย์ในนามว่า กษัตริย์คาโรลที่ 2 เป็นผลให้เจ้าชายมีไฮกลายเป็นรัชทายาทอีกครั้งและทรงได้รับพระอิสริยยศเพิ่มเติมคือ แกรนด์วอยโวดแห่งอัลบา-อูเลีย
กษัตริย์คาโรลที่ 2 ถูกปลดจากราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1940 และมกุฎราชกุมารมีไฮทรงเป็นพระมหากษัตริย์อีกครั้ง ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารของเอียน อันโตเนสคู โรมาเนียปรับตัวเข้าร่วมกับนาซีเยอรมนี ในปีค.ศ. 1944 กษัตริย์มีไฮทรงก่อรัฐประหารต่อต้านอันโตเนสคู ทรงแต่งตั้งคอนสแตนติน ซานาเทสคูขึ้นดำรงตำแหน่งแทน และต่อมาได้ประกาศฟื้นสัมพันธ์กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ด้วยแรงกดดันทางการเมืองบีบบังคับให้กษัตริย์มีไฮทรงแต่งตั้งคณะรัฐบาลนิยมสหภาพโซเวียตที่นำโดย เปตรู กรอซา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 กษัตริย์มีไฮทรงดำเนินการ "โจมตีโดยพระราชวงศ์" และไม่ทรงประสบความสำเร็จในการต่อต้านรัฐบาลของกรอซาที่ถูกควบคุมโดยคอมมิวนิสต์ โดยพระองค์ปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยและรับรองพระราชกฤษฎีกาต่างๆ ในเดือนพฤศจิกายน กษัตริย์มีไฮเสด็จร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระญาติคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในอนาคตกับเจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์กที่ลอนดอน ไม่นานหลังจากนั้น ช่วงเช้าของวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 นายกรัฐมนตรีกรอซาได้มาเข้าเฝ้ากษัตริย์มีไฮและบีบบังคับให้พระองค์สละราชบัลลังก์ กษัตริย์มีไฮทรงถูกเนรเทศ พระราชทรัพย์ถูกยึด และมีการถอดความเป็นพลเมืองของพระองค์ ในปีค.ศ. 1948 พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา (ต่อมาเป็นที่รู้จักในพระนาม สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย) ทรงมีพระราชธิดาร่วมกัน 5 พระองค์ และท้ายที่สุดทั้งสองพระองค์ประทับที่สวิตเซอร์แลนด์
ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ของนีกอลาเอ ชาวูเชสกูถูกโค่นล้มในปีค.ศ. 1989 และในปีถัดมา อดีตกษัตริย์มีไฮทรงพยายามเสด็จกลับโรมาเนีย แต่ก็ทรงถูกจับกุมและบีบบังคับให้เสด็จออกไปเมื่อเพิ่งมาถึง ในปีค.ศ. 1992 อดีตกษัตริย์มีไฮได้รับอนุญาตให้เสด็จโรมาเนียในช่วงอีสเตอร์ ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากรอรับเสด็จอย่างเนืองแน่น ทรงมีพระราชดำรัสผ่านหน้าต่างของโรงแรมซึ่งดึงดูดประชาชนประมาณหนึ่งล้านคนในบูคาเรสต์ ด้วยความตื่นตระหนกของความนิยมในอดีตกษัตริย์มีไฮ รัฐบาลหลังสมัยคอมมิวนิสต์ของประธานาธิบดีเอียน อีลีเอสคูปฏิเสธที่จะให้พระองค์เสด็จเยือนอีก ในปีค.ศ. 1997 หลังจากอีลีเอสคูพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีแก่ เอมิล คอนสแตนติเนสคู ในปีก่อน สถานะความเป็นพลเมืองของอดีตกษัตริย์มีไฮได้รับการฟื้นคืนและทรงได้รับอนุญาตให้เสด็จโรมาเนียอีกครั้ง ทรัพย์สินต่างๆที่ถูกยึด เช่น ปราสาทเปเรสและปราสาทซาวาร์ซิน ได้รับการฟื้นคืนมาสู่พระราชวงศ์ของพระองค์ได้ในที่สุด
ช่วงต้นของพระชนมชีพ
[แก้]เจ้าชายมีไฮเสด็จพระราชสมภพในปีค.ศ. 1921 ณ ปราสาทเปเลส เมืองซีนาเอีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย ทรงเป็นพระราชโอรสในมกุฎราชกุมารคาโรลแห่งโรมาเนียกับมกุฎราชกุมารีเฮเลน[1] พระองค์เสด็จพระราชสมภพในรัชกาลของกษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 และพระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ
มกุฎราชกุมารคาโรลมีความสัมพันธ์ที่น่าอื้อฉาวกับมักดา ลูเปสคู พรรคเสรีนิยมแห่งชาติซึ่งเป็นพรรคที่ครอบงำการเมืองโรมาเนียนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ของมกุฎราชกุมารคาโรลและลูเปสคู เมื่อพรรคทราบว่าองค์มกุฎราชกุมารทรงตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกเขา ทางพรรคจึงดำเนินการหาทางกีดกันพระองค์ออกจากราชบัลลังก์[2] การรณรงค์ที่ยืดเยื้อของพรรคเสรีนิยมแห่งชาตินั้นมีความเกี่ยวข้องน้อยมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมกุฎราชกุมารคาโรลและมักดา ลูเปสคู แต่จุดมุ่งหมายหลักของพรรคคือ ความพยายามกำจัด "ปืนใหญ่ที่หย่อนยาน" อย่างตัว มกุฎราชกุมารคาโรล เนื่องจากแน่ใจว่าถ้าพระองค์ได้ครองราชบัลลังก์ พระองค์จะต้องกีดกันไม่ให้พรรคเสรีนิยมแห่งชาติมีอำนาจเหนือการเมือง ดังที่พระมหากษัตริย์โฮเอ็นโซลเลิร์นเคยทำมาก่อน[2]
มกุฎราชกุมารต้องสละสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1925 และต้องเสด็จออกจากประเทศไป อย่างไรก็ตามทั้งกษัตริย์เฟอร์ดินานด์และสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย พระอัยกาและพระอัยยิกาก็ไม่ทรงเต็มพระทัยที่จะปล่อยให้ประเทศอยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระนัดดา ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา แม้ว่าจะทรงได้รับการดูแลจากคณะผู้สำเร็จราชการ เนื่องจากทรงกลัวว่าดินแดนที่ได้รับในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะถูกอ้างสิทธิโดยประเทศเพื่อนบ้านและความผันผวนทางการเมืองอาจจะนำไปสู่ความไม่สงบได้ เจ้าชายไมเคิลทรงสืบราชบัลลังก์ต่อโดยอัตโนมัติหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์เฟอร์ดินานด์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1927 ก่อนวันคล้ายเสด็จพระราขสมภพครบ 6 ชันษาของพระองค์[3] หลังจากนั้นทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนพิเศษที่พระราชชนกของพระองค์ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1932[4][5]
การปกครอง
[แก้]การครองราชย์ครั้งที่หนึ่ง
[แก้]คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วยเจ้าชายนีกอลาเอ พระปิตุลาของพระองค์ อัครบิดร มิรอน คริสเตอา และประธานศาลสูงสุด จีออร์เก บุซดูกัน (และเดือนตุลาคม ในปี 1929 บุซดูกันถึงแก่อสัญกรรม คอนสแตนติน ซาราตีอานู จึงดำรงตำแหน่งแทน) คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติหน้าที่ในพระนามของพระมหากษัตริย์วัย 5 พรรษา อย่างกษัตริย์มีไฮที่ 1 ซึ่งสืบราชบัลลังก์หลังจากกษัตริย์เฟอร์ดินานด์สวรรคตในปีค.ศ. 1927[6] เจ้าชายนีกอลาเอทรงเป็นเหมือนผู้สำเร็จราชการคนที่หนึ่งอย่างไม่เป็นทางการ พระองค์ไม่พอพระทัยที่ต้องละทิ้งหน้าที่ทางทหารในราชนาวีอังกฤษ และไม่ทรงสนพระทัยในการเมือง พระองค์จึงพยายามดำเนินการตามแนวทางของพระราชชนก คือการร่วมมือกับพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ และต่อต้านพรรคเกษตรกรแห่งชาติ โดยเสนอว่าทางคณะผู้สำเร็จราชการจะแต่งตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายใต้อียอน อี. เช. บราเตียนู นายกรัฐมนตรีหลายสมัยของโรมาเนีย แต่บราเตียนูปฏิเสธแนวคิดของผู้สำเร็จราชการ พรรคเสรีนิยมแห่งชาตินั้นส่วนใหญ่ได้รับพลังขับเคลื่อนจากตระกูลบราเตียนูที่ทรงพลังในการใช้อำนาจในพรรค แต่บราเตียนูถึงแก่อสัญกรรมในปีค.ศ. 1927 ตระกูลบราเตียนูไม่สามารถตกลงกันเรื่องผู้สืบทอดได้ อันนำมาซึ่งอำนาจของพรรคเสรีนิยมที่เริ่มเข้าสู่จุดเสื่อม[7] ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปีค.ศ. 1928 พรรคเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้อียูลิว มานิว ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 78%[7] เจ้าชายนีกอลาเอ ซึ่งเป็นประธานสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั้นทรงเป็นมิตรไมตรีกับพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างมานิวจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะก่อรัฐประหาร ยุบสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทูลเชิญเจ้าชายคาโรลให้เสด็จกลับมาครองราชย์หลังจากเขาทำการติดต่อกับเจ้าคาโรลมาในระยะเวลาหนึ่ง[7]
หลังจากบุซดูกัน หนึ่งในผู้สำเร็จราชการถึงแก่อสัญกรรมในปีค.ศ. 1929 ความนิยมในสมเด็จพระราชินีมารี พระอัยยิกาของกษัตริย์มีไฮ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงนี้และหลังจากที่ทรงปฏิเสธที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสภาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในปี ค.ศ. 1929 พระนางทรงถูกกล่าวหาโดยสื่อและแม้กระทั่งเจ้าหญิงเฮเลนว่าทรงวางแผนก่อรัฐประหารทั้งๆที่ไม่ประสงค์ที่จะยุ่งเกี่ยวการเมืองแล้ว[8] เมื่อสมเด็จพระราชินีมารีทรงปฏิเสธ คอนสแตนติน ซาราตีอานูจึงดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สำเร็จราชการที่ไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองใดๆเลย รวมถึงไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารกิจการของประเทศ ตามบันทึกของนีกอลาเอ ออร์กาอ้างว่า พระอัครบิดร มิรอน คริสเตอาได้พูดว่า
"คณะผู้สำเร็จราชการทำงานไม่ได้เพราะไม่มีผู้นำ เจ้าชายทรงพระโอสถมวน ซาราตีอานูมัวแต่อ่านหนังสือ และข้าพเจ้าเป็นพระ ทำได้เพียงแค่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเท่านั้น"
ทศวรรษที่ 1930 และรัชสมัยกษัตริย์คาโรล
[แก้]วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1930 เจ้าชายคาโรลเสด็จกลับประเทศหลังจากคำกราบทูลเชิญของเหล่านักการเมืองที่นำโดยนายกรัฐมนตรี อียูลิว มานิวจากพรรคเกษตรกรแห่งชาติ เหล่านักการเมืองไม่พอใจคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ไม่มีความสามารถและยิ่งเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การมีประมุขที่เข้มแข็งย่อมจำเป็น เจ้าชายคาโรลทรงได้รับการยอมรับจากรัฐสภาในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนียในวันถัดมา เจ้าชายมีไฮถูกถอดออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่ได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท พระยศ มกุฎราชกุมาร และทรงได้รับพระอิสริยยศเพิ่มเติมคือ แกรนด์วอยโวดแห่งอัลบา-อูเลีย[9]
ในทศวรรษต่อมากษัตริย์คาโรลที่ 2 จะทรงพยายามเข้าไปมีบทบาททางสังคมการเมืองโรมาเนีย โดยครั้งแรกทรงใช้พระราชอำนาจจัดการความเป็นศัตรูกันระหว่างพรรคเกษตรกรและพรรคเสรีนิยมและฝ่ายต่อต้านชาวยิว ต่อมา (มกราคม ค.ศ. 1938) ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ กษัตริย์คาโรลที่ 2 ทรงพยายามจัดตั้งลัทธิบูชาบุคคลของพระองค์เองเพื่อต่อต้านอิทธิพลที่กำลังเติบโตขึ้นของพวกผู้พิทักษ์เหล็ก (Iron Guard) เช่นการจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารยุวชน ที่เรียกว่า สตราจาเตรี (Straja Țării) ในปีค.ศ. 1935 สแตนลีย์ จี. เพนย์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน บรรยายถึงกษัตริย์คาโรลที่ 2 ว่าเป็น "กษัตริย์ที่น่าเหยียดหยาม เลวทรามและกระหายอำนาจที่สุด มากกว่าราชบัลลังก์แห่งอื่นใดในยุโรปศตวรรษที่ 20"[10] กษัตริย์คาโรลทรงปกครองผ่านกลไกอำนาจที่ไม่เป็นทางการคือ คามาริลลา ซึ่งประกอบด้วยเหล่าข้าราชบริพาร นักการทูตอาวุโส เจ้าหน้าที่ทางทหาร นักการเมืองและนักอุตสาหกรรม ซึ่งต้องพึ่งพาความโปรดปรานจากกษัตริย์ในการส่งเสริมอาชีพการงานของพวกเขา[11] สมาชิกคนสำคัญของกลุ่มคามาริลลา คือ มาดามลูเปสคู พระสนมของพระองค์เอง ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำทางการเมืองของกษัตริย์คาโรลที่สำคัญมาก[11] นายกรัฐมนตรีมานิวเชิญกษัตริย์คาโรลสู่บัลลังก์เพียงเพราะความกลัวคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของยุวกษัตริย์มีไฮที่ 1 ถูกครอบงำโดยพรรคเสรีนิยมแห่งชาติซึ่งแน่ใจว่าพรรคเสรีนิยมจะชนะการเลือกตั้งเสมอ[11] มาดามลูเปสคูนั้นไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนชาวโรมาเนียเลย และนายกรัฐมนตรีมานิวทูลขอให้กษัตริย์คาโรลทรงคืนดีกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซเพื่อเป็นราคาสำหรับที่เขาทวงคืนราชบัลลังก์ให้พระองค์ สมเด็จพระราชินีมารี พระราชชนนีของพระองค์ก็ทรงทูลขอให้นำเจ้าหญิงเฮเลนกลับมา แต่กษัตริย์คาโรลทรงผิดคำสัญญาและพระองค์ทรงเริ่มประทับอยู่กับมาดามลูเปสคูอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีมานิวจึงลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการประท้วงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1930 และเขาจึงกลายเป็นศัตรูคนสำคัญของกษัตริย์คาโรล[11] กษัตริย์คาโรลที่ 2 ทรงถอดถอนพระนางมารี พระราชชนนีออกจากบทบาททางการเมืองและทรงพยายามทำลายความนิยมในตัวพระชนนี เป็นผลให้พระนางมารีต้องเสด็จออกจากบูคาเรสต์และทรงใช้พระชนมชีพที่เหลือในชนบท หรือไม่ก็พระตำหนักของพระองค์ที่ทะเลดำ ในปี ค.ศ. 1937 พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคตับแข็งและสิ้นพระชนม์ในปีถัดมา ต่อมาในที่สุดนายกรัฐมนตรีมานิวก็พ่ายแพ้กลอุบายทางการเมืองของกษัตริย์คาโรลที่ 2 โดยทรงปลดคณะรัฐบาลและเข้าควบคุมการเมืองเองโดยใช้กลไกของกลุ่มคามาริลลา และทรงพยายามกำจัดกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กของคอร์เนลิว เซลีอา คอดรีอานูที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระองค์
กษัตริย์คาโรลที่ 2 ทรงแต่งตั้งพระอัครบิดรมิรอน คริสเตอา หรืออัครบิดรมิรอนแห่งโรมาเนียวัย 69 ปี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเป็นประมุขแห่งนิกายคริสต์ออร์ทอดอกซ์โรมาเนียและอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลกษัตริย์มีไฮที่ 1 เขาเป็นบุรุษผู้ที่กษัตริย์คาโรลทรงทราบว่าเป็นบุคคลที่เป็นที่เคารพของประชาชนโรมาเนียทั่วประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเมืองนับถืออร์ทอดอกซ์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 กษัตริย์คาโรลทรงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีความคล้ายคลึงกับฉบับก่อนหน้า แต่แท้จริงแล้วมันเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นเผด็จการและเป็นการปกครองแบบหมู่คณะที่รุนแรง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยอมรับพระราชอำนาจฉุกเฉินที่กษัตริย์คาโรลเข้ายึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเปลี่ยนให้รัฐบาลกลายเป็นเผด็จการโดยพฤตินัย มันเป็นการสร้างพระราชอำนาจในพระหัตถ์ของพระองค์อย่างเข้มข้น ซึ่งเกือบจะถึงจุดที่เรียกว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับการเห็นชอบผ่านการทำประชามติด้วยเงื่อนไขที่ห่างไกลจากความลับ กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมารายงานตัวต่อหน้าสำนักงานการเลือกตั้งและแถลงด้วยวาจาว่าพวกเขาจะเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเงียบจะถือว่าลงคะแนน "เห็นชอบ" ภายใต้เงื่อนไขนี้ มีการรายงานอย่างไม่น่าเชื่อว่า มีประชาชนเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญใหม่ถึงร้อยละ 99.87[12][13] และหลังจากนี้ทรงเริ่มที่จะนำเยอรมนีไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง และมีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้งหลังจากพระอัครบิดรมรณภาพในต้นปีค.ศ. 1939
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 มกุฎราชกุมารมีไฮทรงได้เข้าร่วมเป็นวุฒิสมาชิกในวุฒิสภาโรมาเนีย ด้วยรัฐธรรมนูญโรมาเนีย ค.ศ. 1938 ซึ่งสนับสนุนอำนาจ "เผด็จการโดยราชวงศ์" ของกษัตริย์คาโรลที่ 2 อนุญาตให้มกุฎราชกุมารมีไฮมีที่นั่งในวุฒิสภาเมื่อทรงมีพระชนมายุครบ 18 พรรษา[14]
แต่หลังจากเหตุการณ์รางวัลเวียนนาครั้งที่สอง ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โรมาเนียสูญเสียดินแดนพิพาทให้แก่ทั้งสหภาพโซเวียต ฮังการีและบัลแกเรีย จากแรงกดดันของนาซีเยอรมนี การยอมรับในรางวัลเวียนนาครั้งที่สองทำให้ประชาชนหมดศรัทธาในกษัตริย์คาโรลอย่างสิ้นเชิง และในช่วงต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 มีการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ในโรมาเนียเพื่อกดดันให้พระมหากษัตริย์สละราชบัลลังก์ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1940 ฮอเรีย ซีมา กลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กที่เข้ามามีบทบาทหลังคอดรีอานู ผู้นำถูกระบอบของกษัตริย์คาโรลสังหารได้ลาออกจากคณะรัฐบาลได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้กษัตริย์คาโรลสละราชสมบัติ และกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กจะรวมตัวกันชุมนุมประท้วงทั่วโรมาเนียเพื่อกดดันให้พระองค์สละราชบัลลังก์[15] ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1940 นายพลเอียน อันโตเนสคูได้เป็นนายกรัฐมนตรี และกษัตริย์คาโรลทรงถ่ายโอนอำนาจเผด็จการส่วนใหญ่ไปให้แก่เขา[16][17] ในฐานะนายกรัฐมนตรี อันโตเนสคูได้รับการยอมรับจากทั้งฝ่ายผู้พิทักษ์เหล็กและกลุ่มชนชั้นสูง[18] นายพลอันโตเนสคูเองเป็นพวกต่อต้านบอลเชวิกและเป็นผู้นิยมเยอรมัน เขาได้ก่อการรัฐประหารต่อกษัตริย์คาโรลที่ 2 ซึ่งเขามองว่ากษัตริย์ทรงเป็นพวก "ต่อต้านเยอรมัน" พระองค์จึงสละราชบัลลังก์ให้มกุฎราชกุมารมีไฮ พระราชโอรสซึ่งพระองค์จะได้ครองราชย์เป็นครั้งที่สอง ส่วนกษัตริย์คาโรลเสด็จลี้ภัย
ระบอบอันโตเนสคู
[แก้]หลังจากนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคูทำการปลดกษัตริย์คาโรลที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์แล้ว เขาก็ทำการระงับรัฐธรรมนูญ ยุบสภา และให้มกุฎราชกุมารมีไฮ ซึ่งมีพระชนมายุ 18 พรรษาครองราชบัลลังก์เป็นครั้งที่สอง กษัตริย์มีไฮทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940 (แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะได้รับการฟื้นฟูในปีค.ศ. 1944 และรัฐสภาโรมาเนียได้รับการฟื้นคืนในปีค.ศ. 1946 แต่กษัตริย์มีไฮก็ไม่ได้ทรงประกอบพิธีสาบานตนอย่างเป็นทางการและไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา) กษัตริย์มีไฮทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก[19]และทรงประกอบพิธีเจิมเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย โดยพระอัครบิดรแห่งโรมาเนีย นิกายอีสเติร์นออร์ทอดอกซ์ พระอัครบิดรนิโคดิมแห่งโรมาเนีย ประกอบพิธีที่มหาวิหารอัครบิดรโรมาเนียแห่งบูคาเรสต์[20] แม้ว่ากษัตริย์มีไฮจะทรงเป็นจอมทัพสูงสุดของกองทัพโรมาเนีย แต่นายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคู สถาปนาตนเองเป็น คอนดูคาเตอ (Conducător; "ผู้นำแห่งประชาชน") ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงอำนาจเต็มของนายกรัฐมนตรี และในความเป็นจริงกษัตริย์มีไฮทรงถูกบังคับให้เป็นพระประมุขหุ่นเชิดจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944[21] กษัตริย์มีไฮทรงเคยร่วมเสวยพระกระยาหารเที่ยงกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์สองครั้ง ครั้งแรกคือ เสวยพร้อมกับพระราชชนกและฮิตเลอร์ในบาวาเรีย ค.ศ. 1937 และอีกครั้งหนึ่งคือเสวยพร้อมกับพระราชชนนีที่เบอร์ลิน ในปีค.ศ. 1941[22] และทรงเคยพบปะกับเบนิโต มุสโสลินีในอิตาลี ปีค.ศ. 1941[23]
เอียน อันโตเนสคูนั้นก้าวขึ้นมาสู่อำนาจอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปีค.ศ. 1940 เขาจัดตั้งโรมาเนียให้เป็นรัฐกองทัพแห่งชาติ และมีความเป็นพันธมิตรที่ไม่น่าพึงพอใจนักกับกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กของฮอเรีย ซีมาที่เคยมีบทบาทในการต่อต้านกษัตริย์คาโรลที่ 2 ซีมาได้กลับมาจากถูกเนรเทศและได้ขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ และยังคงกลับมาทำกิจกรรมในฐานะผู้นำของกองกำลังผู้พิทักษ์เหล็ก ซีมาได้ดำเนินการแบ่งเขตการปกครองของโรมาเนียให้เป็นเขตการปกครองของทหารแต่ละเขต[24] หลังจากมีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกให้กษัตริย์มีไฮที่ 1 ไปในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940 โรมาเนียก็เริ่มตกอยู่ในภาวะความน่าสะพรึงกลัวทางการเมือง ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เมื่อกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กซึ่งเข้ามามีอำนาจในรัฐบาลของอันโตเนสคูพยายามรื้อฟื้นการตายอย่างเป็นปริศนาของอดีตผู้นำ คือ คอดรีอานู พวกขบวนการฟาสซิสต์จึงพยายามกวาดล้างนักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมคอดรีอานูซึ่งดำเนินการโดยอดีตกษัตริย์คาโรลที่ 2 จนกลายเป็นการสังหารหมู่จีลาวา กลางดึกของวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และเกิดการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์นีกอลาเอ ออร์กา ซึ่งเป็นคนของอดีตกษัตริย์คาโรลที่ 2 ที่มีส่วนในการกำจัดคอดรีอานู และนักการเมืองฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านฟาสซิสต์คือ เวอร์จิล มัดกีอานู จากนั้นกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กก็ก่อความรุนแรงวุ่นวายหลายครั้งและทำการฆ่าล้างชาวยิวตามแนวคิดของกลุ่มที่เกลียดชังชาวยิวอย่างรุนแรง[16][25] นายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคูนั้นไม่พอใจที่กลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กมักจะดำเนินการโดยพลการ อันส่งผลถึงความนิยมของเขา จึงพยายามตอบโต้การดื้อรั้นของซีมาด้วยการสั่งกองทัพออกมาระงับการไล่ฆ่าของผู้พิทักษ์เหล็กตามท้องถนน[26] นายกรัฐมนตรีล้มเหลวในการกดดันให้ซีมานำตัวฆาตกรมามอบตัวกับตำรวจ เขาจึงใช้อำนาจขับไล่นายตำรวจที่เป็นกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กออกจากตำแหน่ง และมีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีให้สัตย์สาบานว่าต้องจงรักภักดีต่อ "คอนดูคาเตอ"[27] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรอยร้าวที่ฝังลึกระหว่างนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี
หลังจากโรมาเนียเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมนีและฝ่ายอักษะ และอันโตเนสคูได้รับความไว้วางใจจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นายกรัฐมนตรีอันโตเนสคูจึงดำเนินการกวาดล้างพันธมิตรของตนอย่างกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กในเหตุการณ์กบฏกองทหาร ในปีค.ศ. 1941 เหล่าข้าราชการเยอรมันมีส่วนช่วยอันโตเนสคูในการกวาดล้างกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กที่มองว่าเริ่มมีอำนาจมากไปจนควบคุมไม่ได้ แต่หลังจากกวาดล้างกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็ก ฮิตเลอร์เปิดทางให้ฮอเรีย ซีมาและฝ่ายผู้พิทักษ์เหล็กหลายคนลี้ภัยในเยอรมนี ทั้งที่ศาลของอันโตเนสคูตัดสินให้ประหารชีวิต[28] หลังจากนั้นอันโตเนสคูจึงเข้าเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเวลาเดียวกัน โรมาเนียเป็นแหล่งน้ำมันชั้นดีของนาซีเยอรมนี ฮิตเลอร์จึงต้องการเอาใจโรมาเนียเป็นพิเศษและให้การสนับสนุนระบอบอันโตเนสคูทุกทาง แต่การที่โรมาเนียเป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญต่อเยอรมนี[29] ส่งผลให้ประเทศเป็นแหล่งเป้าหมายในการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรหลายครั้ง เขานำโรมาเนียเข้าร่วมปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาในแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี เพื่อยึดดินแดนเบสซาราเบียและบูโกวินาเหนือคืนมา และทำการสังหารหมู่ชาวยิวในโรมาเนียตามนโยบายของนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะชาวยิวเบสซาราเบีย ชาวยิวบูโกวินาและชาวยิวยูเครน รวมถึงชาวโรมานีหรือยิปซีถูกไล่ล่าสังหารอย่างโหดร้ายทารุณ การโฆษณาชวนเชื่อของอันโตเนสคูเป็นการใส่ความชาวยิวว่าเป็น "สายลับคอมมิวนิสต์" เพื่อกระตุ้นให้กองทัพโรมาเนียทำการจับกุมและสังหาร
การหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี
[แก้]ในปีค.ศ. 1944 สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มส่งผลที่ย่ำแย่แก่ฝ่ายอักษะ แต่นายกรัฐมนตรีเอียน อันโตเนสคูยังคงปกครองอย่างเผด็จการในโรมาเนีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 การรุกรานจากสหภาพโซเวียตจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคาดว่าจะบุกเข้ามาอีกไม่กี่เดือน[30] ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1944 กษัตริย์มีไฮทรงวางแผนร่วมกับนักการเมืองที่นิยมฝ่ายสัมพันธมิตร เหล่านายทหารและกลุ่มพลเรือนติดอาวุธที่มีผู้นำคือคอมมิวนิสต์[31] ดำเนินการก่อรัฐประหารต่ออำนาจของนายกรัฐมนตรีอันโตเนสคู กษัตริย์มีไฮทรงมีรับสั่งให้ทหารรักษาพระองค์จับกุมเขา ในคืนเดียวกันกษัตริย์มีไฮทรงแต่งตั้งพลโทคอนสแตนติน ซานาเทสคู เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และให้สิทธิในการควบคุมอันโตเนสคูแก่พวกคอมมิวนิสต์ (ทั้งๆที่กษัตริย์ไม่ประสงค์ที่จะทำเช่นนี้แต่คำสั่งของพระองค์ถูกปฏิบัติในทางตรงข้าม) และหลังจากนั้นพวกคอมมิวนิสต์ส่งตัวอันโตเนสคูไปยังสหภาพโซเวียตในวันที่ 1 กันยายน[32] ในรายการวิทยุกระจายเสียงไปทั่วโรมาเนียและกองทัพ กษัตริย์มีไฮทรงมีรับสั่งให้หยุดยิงซึ่งตอนนั้นกองทัพแดงกำลังบุกเข้ามายังแนวหน้ามอลดาเวีย[31] ทรงประกาศว่าโรมาเนียจงรักภักดีกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทรงประกาศยอมรับการสงบศึกกับสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และประกาศสงครามต่อเยอรมนี[33] แต่สิ่งนี้ไม่ได้ช่วยขัดขวางการรุกรานที่รวดเร็วของสหภาพโซเวียต มีการจับเชลยทหารโรมาเนียกว่า 130,000 นาย ถูกส่งไปยังสหภาพโซเวียต หลายคนเสียชีวิตในค่ายกักกัน[31]
แม้ว่าประเทศจะยุติการเป็นพันธมิตรกับนาซี แต่การรัฐประหารเร่งให้กองทัพแดงบุกเข้าสู่โรมาเนีย[31] การสงบศึกได้ลงนามอีกสามสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1944 ตามเงื่อนไขของสหภาพโซเวียต[31] ภายใต้การเงื่อนไขของการสงบศึก โรมาเนียจะต้องยอมรับการยอมจำนนต่อสหภาพโซเวียต และอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยโซเวียตจะเป้นผู้แทนในการควบคุมสื่อ การสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข และการบริหารกิจการภาครัฐอยู่เบื้องหลัง การรัฐประหารจึงกลายเป็น "การจำนนยอม"[34][35] ต่อ "การยอมแพ้"[30][31] "อย่างไม่มีเงื่อนไข"[36] มีการแนะนำว่าการรัฐประหารสามารถทำให้สงครามโลกครั้งที่สองลดสั้นลงอีก 6 เดือน และสามารถช่วยชีวิตผู้คนนับแสนได้[37]
ในช่วงสิ้นสุดสงคราม กษัตริย์มีไฮทรงได้รับลีเจียนออฟเมอริต ชั้นหัวหน้าผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน[38] พระองค์ยังทรงได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยของโซเวียตจากโจเซฟ สตาลิน "สำหรับการกระทำอันกล้าหาญที่เปลี่ยนแปลงการเมืองของโรมาเนียอย่างรุนแรง ในการแตกหักกับเยอรมนีของฮิตเลอร์ และมุ่งหน้าการเป็นพันธมิตรกับสหประชาชาติ แม้ว่าในช่วงนั้นยังไม่มีสัญญาณว่าเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้" เป็นคำอธิบายอย่างเป็นทางการถึงเหตุสำหรับการรับเครื่องอิสริยาภรณ์ หลังจากมรณกรรมของมีเคา รอลา-ชือมีแยร์สกี ใน ค.ศ. 1989 กษัตริย์มีไฮกลายเป็นบุคคลที่ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เพียงคนเดียวที่ยังทรงพระชนม์อยู่[39]
ราชบัลลังก์ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์
[แก้]ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สถานการณ์ทางการเมืองได้กดดันให้กษัตริย์มีไฮต้องทรงแต่งตั้งรัฐบาลนิยมโซเวียตนำโดย เปตรู กรอซา มาแทนรัฐบาลต่อต้านคอมมิวนิสต์ของนายพลนีกอลาเอ ราเดสคู ราเดสคูพยายามหยุดยั้งไม่ให้พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามามีอำนาจแต่ก็ทำไม่สำเร็จเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียได้ระดมกำลังพลผู้สนับสนุนเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ราเดสคูลาออก กษัตริย์มีไฮจึงต้องแต่งตั้งกรอซาแทน และราเดสคูลาออกจากตำแหน่ง ด้วยสถานการณ์บีบบังคับ โดยในสองปีต่อมานี้ กษัตริย์มีไฮก็ทรงทำได้ดีกว่าเป็นเพียงหุ่นเชิดเพียงเล็กน้อย ในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ถึง มกราคม ค.ศ. 1946 เกิดเหตุการณ์การประท้วงของราชวงศ์โรมาเนีย ซึ่งเป็นเหตุการณ์วิกฤตรัฐธรรมนูญในรัฐบาลของกรอซา กล่าวคือ กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีกรอซา หรือทรงปฏิเสธที่รับการเข้าเฝ้าฯจากเหล่าคณะรัฐมนตรี การประท้วงของกษัตริย์ถือเป็นการขัดขืนอย่างหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นพระราชวงศ์ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อกรอซาปฏิเสธที่จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำขอของกษัตริย์ ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองโรมาเนีย พระองค์ทรงกระทำตามคำแนะนำของพรรคเสรีนิยมแห่งชาติและพรรคเกษตรกรแห่งชาติ และคาดว่าทรงได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรตะวันตกอย่างลับๆ การประท้วงของราชวงศ์สิ้นสุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 เมื่อนายกรัฐมนตรีกรอซาตัดสินใจยอมรับให้มีรัฐมนตรีที่มาจากตัวแทนของสองพรรคศัตรู เพื่อให้รัฐบาลของเข้าได้รับการยอมรับจากสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[40] แต่ถึงกระนั้นพวกคอมมิวนิสต์ก็มีอำนาจมากอยู่ดี จากกระแสตอบรับทางฝั่งโซเวียต อังกฤษและสหรัฐอเมริกา กษัตริย์มีไฮทรงถูกกดดันให้ยุติการดื้อแพ่งต่อต้านในการบังคับให้กรอซาลาออกจากตำแหน่ง
กษัตริย์มีไฮไม่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลอันโตเนสคู ซึ่งเขาถูกตัดสินประหารชีวิตสำหรับ "การทรยศชาวโรมาเนีย และทำเพื่อผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนี ในการจัดการให้ระบอบเศรษฐกิจและการเมืองของโรมาเนียให้กลายเป็นของเยอรมนี รวมถึงกระทำการร่วมมือกับกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็ก ในการวางแผนสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม การสังหารหมู่พลเรือนและก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ" และกษัตริย์มีไฮเองก็ไม่สามารถช่วยผู้นำฝ่ายค้านได้ อย่างอียูลิว มานิว อดีตนายกรัฐมนตรีและพวกตระกูลบราเตียนู[41] ซึ่งตกเป็นเหยือการพิจารณาคดีของพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ห้ามพระองค์เข้ามาแทรกแซงได้ โดยปราศจากการลงนามของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมที่เป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือ ลูเครตีอู ปาทราสคานู (ซึ่งในภายหลังเขาถูกกำจัดฐานที่เป็นปรปักษ์ต่อระบอบคอมมิวนิสต์ของกีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ) จากพระอนุทินส่วนพระองค์ของเจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย พระปิตุจฉาของกษัตริย์มีไฮ[42] ทรงอ้างถึงคำพูดของเอมิล บ็อดนาราส ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนรักของพระองค์[43] เขาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของโรมาเนียฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเป็นสายลับโซเวียต[44] เขาพูดว่า "ถ้ากษัตริย์ไม่ทรงลงนามในเอกสารการประหารชีวิต ผมสัญญาว่าเราจะสนับสนุนการตัดสินใจของพระองค์" เจ้าหญิงอีเลียนานั้นไม่ทรงเชื่อใจ ทรงตรัสว่า "ดูคุณรู้ดีจังเลยนะ (...) ว่ากษัตริย์จะไม่มีอิสระในการลงนามในเอกสารที่ไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ถ้าพระองค์ทรงยอมลงนาม เอกสารเหล่านั้นก็จะไปขึ้นอยู่กับพวกคุณ และก่อนหน้านั้นทั้งประเทศและรัฐบาลของพวกคุณจะต้องถูกประณาม แน่นอนว่าพวกคุณจะไม่อยากเสียเปรียบเพิ่มในช่วงเวลานี้หรอกนะ!"
สมเด็จอา หรือ พระปิตุจฉาของพระองค์นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย อดีตพระราชินีแห่งกรีซ และเจ้าหญิงอีเลียนา ในปีค.ศ. 1944 อดีตพระราชินีแห่งกรีซทรงสร้างสายสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย และทรงเริ่มโจมตีกษัตริย์มีไฮ ผู้เป็นพระราชนัดดา ซึ่งกษัตริย์มีไฮเองทรงมองสมเด็จอาพระองค์นี้ว่าเป็นจารชนคอมมิวนิสต์[45][46] ในต้นปีค.ศ. 1947 อดีตพระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซเพิ่งได้รับถวายที่ดินบานล็อปจากยอซีป บรอซ ตีโต ผู้ซึ่งปลดพระนัดดาองค์หนึ่งของพระองค์ออกจากบัลลังก์คือ สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย[47] และจากคำบอกเล่าของอเล็กซานดรู สคานาวี ระบุว่า เจ้าหญิงทรงให้เงินทุนแก่กองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้กับระบอบกษัตริย์ในกรีซของพระอนุชาในอดีตพระสวามีของพระนาง คือ สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ ส่วนสมเด็จอาอีกพระองค์คือ เจ้าหญิงอีเลียนาอาจจะทรงต่อต้านพระราชนัดดาน้อยกว่าอดีตพระราชินีแห่งกรีซ ผู้เป็นพระเชษฐภคินี แต่พระองค์ก็ทรงหวังว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะให้อาร์กดยุกสเตฟานแห่งออสเตรีย พระโอรสของพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์โรมาเนียแทนกษัตริย์มีไฮที่ 1 ด้วยเหตุนี้เจ้าหญิงทั้งสองจึงได้ฉายาว่า "สมเด็จอาฝ่ายแดง" ของกษัตริย์มีไฮ[48]
การบังคับสละราชสมบัติ
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 กษัตริย์มีไฮเสด็จเยือนลอนดอนในคราวพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระญาติคือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร)กับเจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ในคราวนี้ทรงพบปะกับเจ้าหญิงอานน์แห่งบรูบง-ปาร์มา (พระญาติชั้นสองของพระองค์) ซึ่งต่อมาจะเป็นพระมเหสีของพระองค์ จากบันทึกส่วนพระองค์[49] กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธข้อเสนอสิทธิในการลี้ภัย และตัดสินพระทัยเสด็จกลับโรมาเนีย ทรงปฏิเสธคำแนะนำอย่างแข็งขันของเอกอัครทูตอังกฤษประจำโรมาเนีย
ในตอนเช้าของวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 กษัตริย์มีไฮทรงเตรียมการงานเลี้ยงวันปีใหม่ ณ ปราสาทเปเรส เมืองซินาเอีย แต่นายกรัฐมนตรีกรอซากราบทูลให้พระองค์เสด็จกลับมาบูคาเรสต์ กษัตริย์มีไฮเสด็จถึงพระราชวังเอลิซาเบตาในบูคาเรสต์ และทรงพบว่าพระราชวังถูกปิดล้อมโดยกองพันทูดอร์ วลาดิมีเรสคู ซึ่งเป็นกองทัพที่จงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ กรอซาและกีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ กำลังรอเข้าเฝ้าพระองค์อยู่ และพวกเขาเรียกร้องให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธยลงในตราสารการสละราชบัลลังก์ที่ถูกพิมพ์ไว้แล้ว พระองค์ไม่สามารถโทรศัพท์ถึงกองกำลังที่จงรักภักดีได้ เนื่องจากมีการตัดสายโทรศัพท์ และทั้งกรอซากับกีออร์กีอู-เดจก็ถือปืนชี้มาที่พระองค์ (ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลอ้างอิง) กษัตริย์มีไฮจึงต้องทรงยอมลงพระปรมาภิไธย[50][51][52][53] หลังจากนั้นในวันเดียวกัน รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุบเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ "อย่างถาวร" และแทนที่ด้วยสาธารณรัฐประชาชน โดยมีการประกาศพระราชโองการสละราชสมบัติของกษัตริย์ทางวิทยุซึ่งมีการบันทึกเตรียมไว้ล่วงหน้า[54] ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1948 กษัตริย์มีไฮทรงถูกบีบบังคับให้เสด็จออกจากประเทศ ตามมาด้วย[55]สัปดาห์ถัดมา เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซและเจ้าหญิงอีเลียนา ผู้ทรงมีความใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ถูกขนานนามว่า "สมเด็จอาฝ่ายแดง" ก็ถูกบีบบังคับให้ออกจากประเทศเช่นกัน[56] พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายภายในม่านเหล็กที่ต้องสูญเสียราชบัลลังก์
ตามคำกล่าวของอดีตกษัตริย์มีไฮ ทรงอ้างว่า กรอซาข่มขู่พระองค์ด้วยปืน[57][58][59][60] และกราบทูลเตือนว่ารัฐบาบจะยิงเป้านักศึกษากว่า 1,000 คนที่ถูกจับกุมหากพระองค์ไม่ยอมสละราชบัลลังก์[61] พระองค์ประทานสัมภาษณ์แก่เดอะนิวยอร์กไทมส์ในปีค.ศ. 2007 กษัตริย์มีไฮทรงตรัสถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า "มันเป็นการแบล็คเมล์ข่มขู่ พวกเขาพูดว่า 'ถ้าพระองค์ไม่ยอมลงนามเดี๋ยวนี้ พวกกระหม่อมก็ต้องบังคับพระองค์' - ข้าพเจ้าไม่รู้ ทำไมต้องบีบบังคับ 'ก็จะฆ่านักศึกษา 1,000 กว่าคนที่อยู่ในคุกไงล่ะ'"[62] ตามนิตยสารไทม์ระบุว่า กรอซาข่มขู่จะจับกุมประชาชนหลายพันคน และสั่งให้มีการนองเลือกถ้าหากกษัตริย์มีไฮไม่สละราชบัลลังก์[52]
อย่างไรก็ตามมีอัตชีวประวัติของอดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของโซเวียตประจำหน่วยงานพลาธิการกิจการภายในของประชาชน พลตรี ปาเวล ซูโดพลาตอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพโซเวียต อันเดรย์ วืยชินสกี ซึ่งเดินทางมาเจรจากับกษัตริย์มีไฮเป็นการส่วนตัว โดยรับประกันต่อพระองค์ว่าจะจ่ายเงินบำนาญส่วนหนึ่งแก่กษัตริย์มีไฮที่จะต้องลี้ภัยไปเม็กซิโก[63] ตามบทความในหนังสือพิมพ์ ยูร์นาลูล เนชันนาล[64][65] ระบุว่า การสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์มีไฮนั้นมีการเจรจากับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ โดยให้พระองค์เสด็จออกจากประเทศพร้อมทรัพย์สินบางส่วน พระองค์ทรงตอบรับพร้อมติดตามด้วยข้าราชบริพารผู้จงรักภักดี
ตามบันทึกของแอนแวร์ ฮอจา ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แอบเบเนียที่มีการพูดคุยกับผู้นำคอมมิวนิสต์โรมาเนียเกี่ยวกับเรื่องการสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์ ระบุว่า เป็นกีออร์กีอู-เดจที่ถือปืนขู่กษัตริย์ ไม่ใช่กรอซา พระองค์ได้รับอนุญาตให้เสด็จออกนอกประเทศพร้อมผู้ติดตามบางส่วน และจากการยืนยันของนีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต เกี่ยวกับคำสารภาพของกีออร์กีอู-เดจ[66] ว่าเขาต้องการทรัพย์สิน ทองคำและทับทิม[67] ฮอจาระบุว่ากองกำลังที่นิยมคอมมิวนิสต์ปิดล้อมพระราชวัง เพื่อต่อต้านกองทัพที่สนับสนุนกษัตริย์
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1948 กษัตริย์มีไฮทรงประณามว่าการสละราชบัลลังก์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรงยืนยันว่าพระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์โรมาเนียโดยชอบธรรม ตามนิตยสารไทม์ระบุว่า[68] พระองค์คงจะรีบดำเนินการเร็วกว่านี้ แต่ช่วงต้นปีค.ศ. 1948 พระองค์ยังทรงเจรจากับพรรคคอมมิวนิสต์เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระองค์ที่ถูกทิ้งไว้ในโรมาเนีย
มีรายงานว่า[69][70][71][72][73] ทางการคอมมิวนิสต์โรมาเนียอนุญาตให้กษัตริย์มีไฮถ่ายโอนทรัพย์สินออกไป พร้อมภาพวาดของราชวงศ์ที่มีค่าจำนวน 42 ภาพในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เพื่อให้พระองค์เสด็จออกจากโรมาเนียได้เร็วขึ้น[71] ภาพวาดบางภาพ[74]ถูกรายงานว่ามีการขายให้ตัวแทนจำหน่ายงานศิลปะชื่อดังอย่างดาเนียล วิลเดนสไตน์ หนึ่งในภาพวาดที่เป็นทรัพย์สินของราชวงศ์โรมาเนียคาดว่าถูกนำออกนอกประเทศโดยกษัตริย์มีไฮในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 และได้กลับมาโรมาเนียในปีค.ศ. 2004 โดยการบริจาค[69][75][76] โดยจอห์น ครูเกอร์ อดีตพระสวามีในเจ้าหญิงอีรีนาแห่งโรมาเนีย พระธิดาในกษัตริย์มีไฮ
ในปีค.ศ. 2005 คาลิน โปเปสคู-ตารีซีอานู นายกรัฐมนตรีโรมาเนีย[77] ปฏิเสธข้อกล่าวหาอดีตกษัตริย์มีไฮในเรื่องภาพวาด โดยระบุว่ารัฐบาลโรมาเนียไม่มีข้อพิสูจน์ในการกระทำดังกล่าวของกษัตริย์มีไฮ และก่อนปีค.ศ. 1949 รัฐบาลไม่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับงานศิลปะใดๆ ที่ถูกนำออกมาจากอดีตที่ประทับของราชวงศ์ แต่นักประวัติศาสตร์บางคนมีบันทึกอยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ซึ่งถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948[78]
ตามอัตชีวประวัติที่ได้รับอนุญาตให้เขียนของอีโว พ็อตเตอร์[79] เรื่อง Michael of Romania: The King and The Country (2005) ซึ่งระบุพระดำรัสของสมเด็จพระราชชนนีเอเลนาว่า ราชวงศ์โรมาเนียได้นำภาพวาดของราชวงศ์ไปยังพิธิอภิเษกสมรสในกรุงลอนดอน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นงานอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร) ภาพเหล่านี้ลงนามโดยเอลเกรโก ซึ่งถูกขายในปีค.ศ. 1976
ตามเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพที่ไม่มีการจัดประเภทซึ่งมีหัวข้อรายงานข่าวในปีค.ศ. 2005 ว่า เมื่อกษัตริย์มีไฮเสด็จออกจากโรมาเนีย พระองค์ทรงมีทรัพย์สินจำนวน 500,000 ฟรังก์สวิส[80] เมื่อเร็วๆ นี้มีสำเนาการสนทนาที่ไม่ได้รับการจัดประเภทระหว่างโจเซฟ สตาลินกับนายกรัฐมนตรีโรมาเนีย เปตรู กรอซา[81][82] ไม่นานก่อนพระองค์จะสละราชบัลลังก์ ว่า กษัตริย์มีไฮทรงได้รับทรัพย์สินจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์จำนวน 500,000 ฟรังก์สวิส แต่กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธ[83][84][85] โดยทรงแจ้งว่า รัฐบาลคอมมิวนิสต์อนุญาตให้พระองค์นำทรัพย์สินติดตัวเพียงรถยนต์ส่วนบุคคล 4 คันบรรทุกไว้บนรถไฟ 2 คัน
อภิเษกสมรส
[แก้]การหมั้น
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 กษัตริย์มีไฮทรงพบกับเจ้าหญิงอานน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา พระญาติห่างๆ ซึ่งทรงเสด็จเยือนลอนดอนเพื่อร่วมพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเอลิซาเบธและฟิลิป เมานต์แบ็ทแตน[86] ที่จริงแล้วปีก่อนหน้า สมเด็จพระราชชนนีเอเลนาได้เชิญเจ้าหญิงอานน์ พร้อมพระมารดาและพระเชษฐาพระอนุชาของพระนางมายังบูคาเรสต์ แต่แผนของพระนางก็ไม่สำเร็จ[87] ในขณะที่กษัตริย์มีไฮทรงทอดพระเนตรเจ้าหญิงอานน์ในภาพยนตร์ข่าวและทรงขอรูปถ่ายของพระนางจากภาพยนตร์นี้[87]
เจ้าหญิงอานน์ไม่ประสงค์ที่จะเสด็จติดตามพระบิดาและพระมารดาไปยังลอนดอนเพื่อร่วมงานเสกสมรส เนื่องจากเจ้าหญิงทรงต้องการหลีกเลี่ยงไม่พบปะกับกษัตริย์มีไฮในสภาพแวดล้อมที่ดูเป็นทางการ แต่พระนางทรงตั้งพระทัยที่จะอยู่เบื้องหลัง โดยเสด็จไปยังสถานีรถไฟปารีสเพียงลำพัง และทรงแสร้งทำเป็นประชาชนที่สัญจรด้วยรถไฟ เพื่อที่พระนางจะได้สังเกตองค์กษัตริย์เป็นการส่วนพระองค์ ในฐานะเป็นผู้ติดตามของคณะกษัตริย์มีไฮในการเสด็จด้วยนรถไฟที่มุ่งไปสู่ลอนดอน[87] อย่างไรก็ตามในนาทีสุดท้าย เจ้าหญิงทรงถูกเกลี้ยกล่อมโดยฌ็อง แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก พระญาติของพระนางที่ทรงเชิญเจ้าหญิงมายังลอนดอน โดยที่พระองค์เป็นผู้จัดงานเลี้ยง เมื่อเจ้าหญิงอานน์มาถึงลอนดอน เจ้าหญิงได้เสด็จแวะที่โรงแรมคลาริดจ์เพื่อพบพระบิดาและพระมารดา แต่พระนางก็พบว่าทรงต้องแนะนำพระองค์เองแก่กษัตริย์มีไฮอย่างไม่คาดคิดมาก่อน ด้วยความที่ทรงเขินอายจนสับสน เจ้าหญิงทรงทำท่ากระแทกส้นเท้าเข้ากันแบบทหาร แทนที่จะทรงถอนสายบัว และทรงวิ่งหนีออกไปด้วยความอับอาย ด้วยเสน่ห์นี้ กษัตริย์มีไฮทรงพบปะเจ้าหญิงอานน์อีกครั้งในคืนพิธีเสกสมรส ณ งานเลี้ยงสังสรรค์ของสถานทูตลักเซมเบิร์ก พระองค์ทรงเล่าให้เจ้าหญิงฟังถึงความกังวลที่พรรคคอมมิวนิสต์จะเข้ายึดครองโรมาเนีย และทรงเป็นห่วงความปลอดภัยของพระราชชนนี และพระองค์ทรงเรียกพระนามลำลองของเจ้าหญิงว่า "แนน" (Nan)[87] ทั้งสองพระองคพบปะกันหลายครั้งในลอนดอนแต่ก็มีพระมารดาและพระอนุชาของเจ้าหญิงเสด็จตามมาสมาคมด้วย
ไม่กี่วันถัดมา เจ้าหญิงอานน์ทรงตอบรับคำเชิญของกษัตริย์มีไฮให้เสด็จไปพร้อมกับพระองค์และพระราชชนนี โดยกษัตริย์ทรงขับเครื่องบินบีชคราฟท์ เพื่อทรงพาเจ้าหญิงไอรีน ดัชเชสแห่งโอสตา สมเด็จน้าของกษัตริย์เสด็จกลับที่ประทับที่โลซาน[87] สิบหกวันหลังจากพบกัน กษัตริย์มีไฮทรงขอเจ้าหญิงอานน์หมั้นในขณะที่ทั้งสองทรงขับรถอยู่ในโลซาน ในตอนแรกเจ้าหญิงทรงปฏิเสธ แต่ต่อมาก็ทรงตอบตกลงภายหลังขณะที่ทรงพระดำเนินและขับรถไปกับพระองค์[88] แม้ว่ากษัตริย์มีไฮจะทรงมอบแหวนหมั้นแก่เจ้าหญิงในอีกสองสามวันต่อมา แต่พระองค์รู้สึกว่าต้องละเว้นการประกาศให้สาธารณชนรู้จนกว่าพระองค์จะทรงแจ้งต่อรัฐบาลของพระองค์ แต่สื่อมวลชนก็รุมล้อมพระองค์ตามความคาดหมาย[87]
กษัตริย์มีไฮเสด็จกลับโรมาเนีย พระองค์ทรงแจ้งแก่นายกรัฐมนตรีในเรื่องประกาศงานอภิเษกสมรส แต่นายกรัฐมนตรีกราบทูลว่า ยังไม่ "เหมาะสมแก่โอกาส" ทว่าภายในไม่กี่วัน กรณีนี้ทำให้รัฐบาลใช้โอกาสอธิบายต่อสาธารณชนเกี่ยวกับ "การสละราชบัลลังก์อย่างกะทันหัน" ของกษัตริย์มีไฮ แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ขับไล่พระองค์ออกจากบัลลังก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมแล้ว[87] เจ้าหญิงอานน์ไม่ทรงสามารถทราบข่าวจากกษัตริย์มีไฮได้จนกระทั่งพระองค์ได้เสด็จออกจากประเทศ ในที่สุดทั้งสองพระองค์ได้มาพบกันที่เมืองดาโวส วันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1948[87]
เสกสมรส
[แก้]พระชนมชีพหลังสละราชบัลลังก์
[แก้]ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1948 พระองค์ทรงได้รับพระอิศริยยศเป็น "เจ้าชายแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น แทนพระอิศริยยศ "กษัตริย์แห่งโรมาเนีย" หลังจากการสละราชสมบัติ และหลังจากการล่มสลายของคอมมิวนิสต์พระองค์จึงทรงได้กลับคืนสู่พระอิศริยยศเดิม
ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ที่กรุงเอเธนส์, กรีซ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา ทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันครั้งแรกที่อังกฤษและจากนั้นที่สวิตเซอร์แลนด์ พรรคคอมมิวนิสต์ได้ถอดถอนพระองค์จากการเป็นชาวโรมาเนีย พระองค์และเจ้าหญิงมีพระธิดาทั้งหมด 5 พระองค์
ในปี ค.ศ. 1992 พรรคคอมมิวนิสต์ถูกปฏิวัติล้มล้างในโรมาเนีย รัฐบาลได้เชิญให้พระองค์เสด็จกลับประเทศเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ ในบูคาเรสต์ชาวโรมาเนียกว่าล้านคนออกมารับเสด็จพระองค์ ทำให้พระองค์ถูกเตือนโดยประธานาธิบดีเอียน อีลีเอสคู ดังนั้นพระองค์จึงไม่ได้รับการอนุญาตให้เสด็จมาโรมาเนียเป็นเวลา 5 ปี ในปี ค.ศ. 1997 หลังจากอีลีเอสคูถูกรัฐประหารโดยอีมิล คอนสแตนติเนสคู รัฐบาลได้คืนให้พระองค์ดำรงเป็นชาวโรมาเนีย พระองค์ทรงประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ บ้างก็โรมาเนียที่ปราสาทซาวาร์ซิน ในอารัดหรือในพระราชวังอลิซาเบตาที่บูคาเรสต์
พระองค์มีพระราชธิดา 5 พระองค์ คือ
- เจ้าหญิงมาร์กาเรตา มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย
- เจ้าหญิงเอเลนาแห่งโรมาเนีย
- เจ้าหญิงอีรีนาแห่งโรมาเนีย
- เจ้าหญิงโซเฟียแห่งโรมาเนีย
- เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย
เจ้าหญิงอีลีนาและเจ้าหญิงไอรีนาต่างมีพระโอรสและพระธิดาทั้งคู่ เจ้าหญิงโซเฟียมีพระธิดา การสืบราชบัลลังก์ในโรมาเนียภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1997 กล่าวไว้ว่า ถ้าสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮเสด็จสวรรคตโดยปราศจากพระโอรส พระราชสมบัติจะถูกถ่ายโอนไปยังเชื้อพระวงศ์ในสาย ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมารินเกน
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการสละราชสมบัติของพระเจ้ามีไฮ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระธิดาองค์โตคือ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตตาแห่งโรมาเนียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย และพระอิสริยยศ "ผู้ดูแลราชสมบัติแห่งโรมาเนีย" และเป็นโอกาสนี้ที่พระองค์เสนอให้รัฐบาลพิจารณาในการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ในปี ค.ศ. 2007 มีประชากร 14% เห็นด้วยในการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ และนอกจากนั้นปี ค.ศ. 2008 มีประชากร 16% เป็นผู้นิยมระบอบกษัตริย์
พระพลานามัย
[แก้]โฆษกประจำสำนักพระราชวังของโรมาเนียได้แถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 ประทับรักษาพระอาการประชวร พระพลานมัยย่ำแย่ลงอย่างมาก กำลังพระวรกายลดลง คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ถวายการรักษาได้ติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ เจ้าหญิงมาร์กาเรต้า มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าชายราดู พระสวามี ไปทรงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเมืองโอบอนน์ เขตเมืองมอร์ช สมาพันธรัฐสวิส สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮ (พระชนมพรรษา 96 พรรษา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของโรมาเนีย ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองยกเลิกระบอบพระมหากษัตริย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทรงเป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังทรงพระชนม์ชีพในขณะนั้น
สวรรคต
[แก้]สำนักพระราชวังแห่งโรมาเนียได้แถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เสด็จสวรรคตแล้วด้วยพระอาการสงบ เมื่อวันอังคารที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เวลา 12.00 น. ณ พระตำหนักเมืองมอร์ช สมาพันธรัฐสวิส สิริพระชนมพรรษา 96 พรรษา
พระราชตระกูล
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ "MS Regele Mihai I". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
- ↑ 2.0 2.1 Bucur, Marie "Carol II" pages 87-118 from Balkan Strongmen: Dictators and Authoritarian Rulers of South Eastern Europe edited by Bernd Jürgen Fischer, West Lafayette: Purdue University Press, 2007 pages 96-97.
- ↑ Bucur, Marie "Carol II" pages 87-118 from Balkan Strongmen: Dictators and Authoritarian Rulers of South Eastern Europe edited by Bernd Jürgen Fischer, West Lafayette: Purdue University Press, 2007 page 97.
- ↑ "Regele Mihai la ṣcoală. Cum îşi amintea profesorul său despre el: N-a fost premiantul clasei, dar..." Realitatea .Net. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
- ↑ "O şcoală pentru un singur copil". สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
- ↑ "Rulers of Romania". Rulers. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Bucur, Marie "Carol II" pages 87-118 from Balkan Strongmen: Dictators and Authoritarian Rulers of South Eastern Europe edited by Bernd Jürgen Fischer, West Lafayette: Purdue University Press, 2007 page 98.
- ↑ Gelardi, Julia (2005). Born to Rule. London: St. Martin's Griffin. ISBN 978-0-312-32423-0.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help), p.332 - ↑ "FOTODOCUMENT. Mihai, Mare Voievod de Alba Iulia - Romania Libera". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
- ↑ Payne, Stanley A History of Fascism, 1914-1945 Madison: University of Wisconsin, 1996 page 278.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Haynes, Rebecca "Reluctant Allies? Iuliu Maniu and Corneliu Zelea Codreanu against King Carol II of Romania" pages 105-134 from The Slavonic and East European Review, Volume 85, Issue # 1, January 2007 page 108.
- ↑ Rumänien, 24. Februar 1938 : Verfassung Direct Democracy
- ↑ Payne, Stanley G. (1996). A History of Fascism, 1914-1945. Routledge. ISBN 0203501322.
- ↑ "Ce citeau românii acum 68 de ani?", Ziua, 29 November 2007.
- ↑ Haynes, Rebbecca " Germany and the Establishment of the Romanian National Legionary State, September 1940" pages 700-725 from The Slavonic and East European Review, Volume 77, Issue # 4. October 1999 page 710.
- ↑ 16.0 16.1 Delia Radu,"Serialul 'Ion Antonescu și asumarea istoriei' (1)", BBC Romanian edition, August 1, 2008 (โรมาเนีย)
- ↑ Final Report, p.320; Morgan, p.85; Ornea, p.326
- ↑ Haynes, Rebbecca " Germany and the Establishment of the Romanian National Legionary State, September 1940" pages 700-725 from The Slavonic and East European Review, Volume 77, Issue # 4. October 1999 page 713.
- ↑ Fundamental Rules of the Royal Family of Romania, The Romanian Royal Family website as. Retrieved 8 January 2008
- ↑ "The Joys of Suffering," Volume 2, "Dialogue with a few intellectuals", by Rev. Fr. Dimitrie Bejan – "Orthodox Advices" website as of 9 June 2007 (โรมาเนีย)
- ↑ Ioan Scurtu, Theodora Stănescu-Stanciu, Georgiana Margareta Scurtu, The History of the Romanians between 1918–1940 ("Istoria românilor între anii 1918–1940") เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page 280. (โรมาเนีย)
- ↑ Thorpe, Nick (25 October 2011). "Romania's ex-King Michael I defends his wartime record". BBC. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ "Comí con Hitler, era estirado y frío. Mussolini parecía más humano" (สเปน)
- ↑ Clark, Roland (2015-06-05). Holy Legionary Youth. Ithaca, NY: Cornell University Press. pp. 222. doi:10.7591/9780801456343. ISBN 9780801456343.
- ↑ Final Report, pp. 46, 110–111; Deletant, pp. 60–61, 297–298, 302; Ornea, pp. 335–341, 347; Veiga, pp. 291–294, 311–312
- ↑ Final Report, pp. 110–111; Veiga, pp. 293–295
- ↑ Z. Ornea, Anii treizeci. Extrema dreaptă românească, Editura Fundației Culturale Române, Bucharest, 1995. , p. 341
- ↑ Final Report, pp. 63, 382; Harvey, p. 498; Browning, pp. 211–212
- ↑ The Biggest Mistakes In World War 2:Ploesti - the most important target, สืบค้นเมื่อ 2007-12-08
- ↑ 30.0 30.1 "Bulgaria". Encyclopædia Britannica.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 "Romania – Armistice Negotiations and Soviet Occupation". countrystudies.us.
- ↑ "23 August – radiografia unei lovituri de Palat", paragraph "Predaţi comuniştilor", Dosare Ultrasecrete, Ziua, 19 August 2006
- ↑ Dictatura a luat sfarsit si cu ea inceteaza toate asupririle เก็บถาวร 2 ธันวาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ("The Dictatorship Has Ended and along with It All Oppression") – From The Proclamation to The Nation of King Michael I on The Night of 23 August 1944, Curierul Naţional, 7 August 2004
- ↑ "Secret CIA report - RUMANIA, 10/5/1949" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
- ↑ "Hitler Resorts To 'Puppets' In Romania" เก็บถาวร 2013-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Washington Post, 25 August 1944.
- ↑ "King Proclaims Nation's Surrender and Wish to Help Allies", The New York Times, 24 August 1944
- ↑ Constantiniu, Florin, "O istorie sinceră a poporului român" ("An Honest History of the Romanian People"), Ed. Univers Enciclopedic, Bucureşti, 1997, ISBN 973-9243-07-X (โรมาเนีย)
- ↑ "Cuvintele lui Harry S. Truman", Romanian, Prince Radu's blog, includes scan of citation, 23 June 2011 (โรมาเนีย)
- ↑ Armata Română în Al Doilea Război Mondial. Romanian Army in World War II. Bucharest: "Meridiane" publishing house, 1995, p. 196 (โรมาเนีย)
- ↑ "What was done in Romania between 1945 and 1947 it has also been done since 1989", Ziua, 24 August 2000 (โรมาเนีย)
- ↑ Brief history of Sighet prison, BBC, 18 April 2007 (โรมาเนีย)
- ↑ ""I Live Again" by Ileana, Princess of Romania, Chapter 21". Tkinter.smig.net. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ "History as a Soap Opera – The Gossips of a Secret Report (III)" เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, 18 June 2006 (โรมาเนีย)
- ↑ ""Development of the Romanian Armed Forces after World War II", Library of Congress Country Studies". Lcweb2.loc.gov. 20 August 1968. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ John Wimbles, Elisabeta of the Hellenes: Passionate Woman, Reluctant Queen - Part. 4: Treachery and Death , Royalty Digest, vol. 13#1, no 145, July 2003, pp. 14–15.
- ↑ Ivor Porter, Michael of Romania: The King and the Country, Sutton Publishing Ltd, 2005, p. 152 and 155.
- ↑ Porter 2005, pp. 169–170.
- ↑ Jean-Paul Besse, Ileana: l'archiduchesse voilée, Versailles, Via Romana, 2010, pp. 117–118.
- ↑ Speech By His Majesty Michael I, King of Romania to the Royal United Services Institute for Defence Studies, London, 26 March 1997
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "King Michael between the ascension to the throne and abdication – VII", Ziarul financiar, 24 June 2001
- ↑ "The Republic was installed by way of the gun" (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2009. สืบค้นเมื่อ 13 April 2006.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), undated interview with H.M. King Michael in Ziua, as of 15 October 2008 - ↑ 52.0 52.1 "Compression" เก็บถาวร 2013-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time, 12 January 1948
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) Mircea Ionnitiu : "30 December 1947", site dedicated to HM King Mihai I of Romania and to the Romanian Monarchy as of 15 October 2008
- ↑ Friends & Enemies, Presidents & Kings by Tammy Lee McClure, Accendo Publishing, page 99. Another account comes from the Romanian anti-Communist dissident Paul Goma's (ในภาษาโรมาเนีย) "Skipped Diary" ("Jurnal pe sarite"), page 57.
- ↑ "2 Princesses Exiled By Romanian Regime", The New York Times, 13 January 1948
- ↑ W. H. Lawrence,"Aunts of Michael May Be Exiled Too", The New York Times, 7 January 1948
- ↑ "The Rescue of the Bulgarian Jews" เก็บถาวร 7 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, as. Retrieved 21 January 2008
- ↑ "The Republic was installed with a pistol" (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2009. สืบค้นเมื่อ 13 April 2006.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Ziua, May 1996 - ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) Timeline, semi-official site dedicated to HM King Michael I, as. Retrieved 21 January 2008
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย)"Princess Margareta, designated dynastic successor" เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Antena 3, 30 December 2007
- ↑ "A king and his coup" เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Daily Telegraph, 12 June 2005
- ↑ Craig S. Smith (27 January 2007). "Romania's King Without a Throne Outlives Foes and Setbacks". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.
- ↑ Pavel Sudoplatov, Anatoli Sudoplatov, Jerrold L. Schecter, Leona P. Schecter, Special Tasks: The Memoirs of an Unwanted Witness—A Soviet Spymaster. Little, Brown and Company, Boston, 1994, page 232. ISBN 0-316-77352-2 : "Vyshinsky personally conducted negotiations with King Michael of Romania for his abdication, guaranteeing part of his pension in Mexico."
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย)"The return from London and the abdication," เก็บถาวร 16 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Jurnalul Național, 17 November 2005
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "Communism – King Michael I's Abdication" เก็บถาวร 16 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, 11 December 2006
- ↑ Nikita Sergeevich Khrushchev, Sergeĭ Khrushchev.Memoirs of Nikita Khrushchev: Statesman, 1953–1964, Pennsylvania State University Press, 2007, page 701, ISBN 0-271-02935-8 : "As Dej reminisced, 'We told him he could take everything with him that he considered necessary, but he had to leave his kingdom.'"
- ↑ Enver Hoxha.The Titoites. The "Naim Frasheri" publishing house, Tirana, 1982, pages 519–522, 572
- ↑ "Anne & I" เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time, 15 March 1948
- ↑ 69.0 69.1 Miscellaneous, Evenimentul Zilei, 24 March 2005
- ↑ Miscellaneous, Evenimentul Zilei, 14 March 2005
- ↑ 71.0 71.1 The Lia Roberts hope, Evenimentul Zilei, 19 January 2004
- ↑ George Radulescu (29 December 2007) Monarchy, the only bastion against the communists, Adevărul
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) Mihai Pelin has died เก็บถาวร 21 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Romania libera, 17 December 2007
- ↑ Michel van Rijn, "Hot Art, Cold Cash" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2007. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), pages 177, 184, Little Brown & Co., October 1994. For more on the credentials of the UK police expert in art smuggling Michel van Rijn, see 1 เก็บถาวร 10 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and 2. - ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "Raibolini's Madonna at the National Museum of Art of Romania", Ziua, 20 November 2004
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "A Prestigious Donation: Madonna with the Infant by Francesco Raibolini, named "Il Francia"", Online Gallery site as of 8 December 2006
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "There Are No Proofs That King Michael Took Paintings out of Romania", Adevărul, 19 April 2005
- ↑ Radu Bogdan (October 1998) "Testimonials of contemporary history – Peles, January–April 1948. The inventorying of the former royal art works (III)", Magazin istoric
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "The King and The Country", "Revista 22", 8 March 2006.
- ↑ "Exiled king 'should become pilot'", BBC News, 2 January 2005
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "King Michael in exile – from poultry grower to test pilot and broker", ROMPRES, 13 April 2005
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "King Michael in exile – from poultry grower to test pilot and broker", Jurnalul de Botosani si Dorohoi, 13 April 2005
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) "Romania under King Michael I", the Royal Family website, as of 12 April 2008
- ↑ "Translation of King Michael's interview to Ziua daily, undated". 27 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ (ในภาษาโรมาเนีย) ""NATO was more important militarily, but Europe is politically more than we realize now", states H.M. King Michael", Adevărul, 3 May 2005
- ↑ Walter Curley (1973). Monarchs-in-Waiting. Cornwall, NY: Dodd, Mead & Co. p. 77. ISBN 0-396-06840-5.
- ↑ 87.0 87.1 87.2 87.3 87.4 87.5 87.6 87.7 Eilers-Koenig, Marlene (2008). "The Marriage of King Michael and Queen Anne of Romania". European Royal History Journal. Arturo E. Beeche. 11.3 (LXIII): 3–10.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
เวฺบไซต์อ้างอิง
[แก้]- Royal House of Romania เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ducal House of Parma เก็บถาวร 2008-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The official website of The Romanian Royal Family
- Semi-official Michael of Romania website เก็บถาวร 2009-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Royal Family events เก็บถาวร 2007-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Official website of Radu Duda, Prince of Hohenzollern-Veringen
- "Bonny King Michael" เก็บถาวร 2005-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Michael at age 5) , on the cover of Time, August 1, 1927
- "Michael of Romania" เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, interview with Peter Kurth, 1990
- "King of Romania recalls sacrifices" เก็บถาวร 2007-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Prague Post, May 2005
- "We reigned in darkness", The Spectator, June 14, 1997
- "World War II -- 60 Years After: Former Romanian Monarch Remembers Decision To Switch Sides", Radio Free Europe, May 6, 2005
- "The King’s Revenge เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Evenimentul Zilei, April 20, 2006
- "The King and The Jester" เก็บถาวร 2009-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Evenimentul Zilei, December 18, 2003
- Oliver North, "A Lesson in Leadership", The Washington Times, April 17, 2006
- Costel Oprea, "Regele Mihai, retrocedare de un miliard de euro" เก็บถาวร 2007-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, România Liberă, April 27, 2007
- Costel Oprea, "Harta marilor retrocedări (II)" เก็บถาวร 2007-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, România Liberă, April 18, 2007
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย | สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย (ครั้งที่ 1) (ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน) (พ.ศ. 2470 – 2473) |
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย | ||
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย | สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย (ครั้งที่ 2) (ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน) (พ.ศ. 2483 – 2490) |
ไม่มี (สิ้นสุดระบอบกษัตริย์) | ||
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย | ผู้นำประเทศโรมาเนีย (ครั้งที่ 1) (พ.ศ. 2470 – 2473) |
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย | ||
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย | ผู้นำประเทศโรมาเนีย (ครั้งที่ 2) (พ.ศ. 2483 – 2490) |
คอนสแตรติน เอียน ปาร์ฮอน (คอมมิวนิสต์โรมาเนีย) | ||
คอมมิวนิสต์ | ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์โรมาเนีย (ภายใต้กฎหมาย) (ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน) (พ.ศ. 2490 – 2560) |
เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตตา มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย |