วัดเจดีย์เจ็ดแถว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเจดีย์เจ็ดแถว


วัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยตัววัดตั้งอยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อม หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ วัดนี้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ ในเมืองศรีสัชนาลัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมาย เช่น เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมด้านหลังพระวิหารซึ่งเป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เจดีย์ราย 26 องค์

ประวัติ[แก้]

สาเหตุความเป็นมาที่วัดนี้ชื่อว่า "วัดเจดีย์เจ็ดแถว" นั้น ชื่อนี้เป็นชื่อที่เรียกขึ้นภายหลังโดยราษฎรในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกเนื่องจากพบเจดีย์จำนวนมากมายหลายแถวภายในวัด [1]

วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้น่าจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในเมืองศรีสัชนาลัย เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในแนวแกนหลักของเมือง โดยดูได้จากแผนที่เมือง อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ราษฎรธรรมดาจะเป็นผู้สร้างขึ้น ดังปรากฏในพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในหนังสือ เที่ยวเมืองพระร่วง ว่า "วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้เป็นวัดใหญ่ เพราะฉะนั้นจำจะต้องลองสันนิษฐานดูว่าเป็นของใคร นายเทียนกล่าวว่า วัดนี้เดิมเขาเรียกว่า วัดกัลยานิมิต เพราะว่านางพญาธิดาแห่งพระมหาธรรมราชา (บาธรรมราช) เป็นผู้สร้างขึ้น นายเทียนอ้างหนังสือที่ไฟไหม้นั้นเป็นพยานอีก" ส่วน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยว่าวัดนี้เป็นวัดที่มีความสวยงามกว่าวัดอื่นๆ อาจเป็นวัดของกษัตริย์ที่ครองเมืองนี้ และเจดีย์รายอื่นๆ คงเป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายในราชวงศ์สุโขทัยลาวได้ปกครองแผ่นดินนาน20ปีเลยทีเดียว

สถาปัตยกรรม[แก้]

เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆหลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกามด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถงส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดากษัตริย์[2] เจดีย์รายที่มีลักษณะเด่นองค์หนึ่งเรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาท คือซุ้มจรนัมด้านหลังของเรือนธาตุ ทำเป็นซุ้มมณฑปมีเรือนยอดข้างบนสูงเป็นซุ้มทางทิศตะวันตกมีพระพุทธรูปปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกสมัยสุโขทัยที่สวยงามยิ่ง รวมทั้งหมดแล้ววัดเจดีย์เจ็ดแถวมีเจดีย์รายและอาคารขนาดเล็กแบบต่างๆ กันถึงเกินกว่า 30 องค์ สมกับที่ได้ชื่อว่าวัดเจดีย์เจ็ดแถว นอกจากนั้นยังมีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ภายนอกกำแพงมีโบสถ์และบ่อน้ำ ซึ่งเดิมมีคูน้ำล้อมรอบ ทั้งนี้ภายในบริเวณวัดมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพ นำผ้าสีมาพันไว้รอบต้นไม้

วัดเจดีย์เจ็ดแถว

แผนผังของวัด[แก้]

ยุคสมัย : พุทธศตวรรษที่ 19

รุ้ง : 99' 47' 23' ตะวันออก

แวง : 17' 25' 46' เหนือ

แผนที่ทหาร : UTM 47 5 83 858 ตะวันออก 19 27 065 เหนือ

แผนผังของวัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบไปด้วยวิหารประธาน 1 หลัง , อุโบสถ 1 หลัง , มณฑป 5 หลัง , อาคารศาลา 2 หลัง , เจดีย์ประธาน 1 องค์ และเจดีย์ราย 26 องค์ ส่วนวิหารประธานเป็นอาคารโถงขนาด 7 ห้อง ก่อด้วยศิลาแลงหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา[3]

[1]

สถาปัตยกรรมของเจดีย์ในวัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้มีความหลากหลายและสวยงามเป็นอย่างมาก แสดงออกถึงศิลปะสุโขทัยอย่างแท้จริง โดยสามารถแบ่งรูปแบบของเจดีย์ออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. เจดีย์ทรงลังกา
  2. เจดีย์ทรงปราสาท
  3. เจดีย์ทรงดอกบัวตูม

อ้างอิง[แก้]

  1. วัดเจดีย์เจ็ดแถว
  2. บัญชีแหล่งท่องเที่ยว วัดเจดีย์เจ็ดแถว[ลิงก์เสีย]
  3. "โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-17. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.