ประวัติศาสนาคริสต์
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาคริสต์ |
---|
สถานีย่อย |
ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นบริเวณดินแดนเลแวนต์ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลและปาเลสไตน์ ในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 1 ศาสนาคริสต์ได้เริ่มเผยแผ่ครั้งแรกจากกรุงเยรูซาเลม ตลอดจนดินแดนตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซีเรีย อัสซีเรีย เมโสโปเตเมีย ฟินิเชีย อานาโตเลีย ประเทศจอร์แดน และประเทศอียิปต์ ในช่วงคริสศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ได้รับเลือกให้เป็นศาสนาประจำชาติโดยราชวงศ์อาร์เมเนียในปี ค.ศ. 301 จอร์เจียในปี ค.ศ.319[1][2] อาณาจักรอักซุมในปี ค.ศ.325[3][4] และจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ.380
ต่อมาได้เกิดศาสนเภทขึ้นหลายครั้งในคริสตจักร เริ่มจากสังคายนาเอเฟซัสในปี ค.ศ.431 ที่นำไปสู่ศาสนเภทเนสตอเรียนจนก่อให้เกิดคริสตจักรแห่งทิศตะวันออก ต่อมาในปี ค.ศ. 451 เกิดสังคายนาแคลซีดันทำให้คริสตจักรแตกแยกอีกครั้งเป็นฝ่ายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์และฝ่ายแคลซีโดเนียน ต่อมาเกิดมหาศาสนเภทในปี ค.ศ. 1054 ทำให้ฝ่ายแคลซีโดเนียนแตกออกเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ได้ก่อให้เกิดคริสตจักรใหม่ ๆ ขึ้นอีกหลายคณะ
โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ได้แพร่หลายทั่วยุโรปในสมัยกลาง ศาสนาคริสต์ขยายตัวทั่วโลกในยุคแห่งการสำรวจยุโรป[5] จากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นต้นไป กลายเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[6]
ก่อนคริสตกาล
[แก้]ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดศาสนาหนึ่ง เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ซึ่งนับถือพระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าพระองค์เดียว คำว่า "พระคริสต์" มาจากภาษากรีกว่า "คริสตอส" แปลว่า ผู้ได้รับเจิม (ให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า) ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่เน้นการมอบความรักที่บริสุทธิ์ให้พระเจ้าและให้มนุษย์ด้วยกัน เพราะหลักการของศาสนาคริสต์ถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่พัฒนาหรือปฏิรูปมาจากศาสนายูดาห์ ซึ่งมีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล ชนเผ่าหนึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวยิว ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ดินแดนเมโสโปเตเมีย มีหัวหน้าเผ่าชื่อ "อับราฮัม" (อับราฮัม เป็นศาสดาของศาสนายูดาห์) ได้อ้างตนว่า ได้รับโองการจากพระเจ้าให้อพยพชนเผ่าไปอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า แผ่นดินคานาอัน (บริเวณประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน) โดยอับราฮัมกล่าวว่า พระเจ้ากำหนดและสัญญาให้ชนเผ่านี้เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ต่อไป การที่พระเจ้าสัญญาจึงก่อให้เกิดพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับชนชาวยิว ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงเรียกคัมภีร์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ว่า "พันธสัญญา"
ต่อมาดินแดนคานาอัน ประสบความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ชาวยิวจึงอพยพกลับไปอยู่ในดินแดนของประเทศอียิปต์ และกลายเป็นทาสของอียิปต์ ชาวยิวทนความลำบากของสภาพทาสไม่ได้ จึงคิดอพยพกลับไปดินแดนคานาอัน การเดินทางครั้งนี้พระเจ้าทรงมีโองการให้ชาวยิวคนหนึ่งชื่อ "โมเสส" เป็นหัวหน้า ระหว่างเดินทางเต็มไปด้วยความลำบาก และต้องรอนแรมกลางทะเลทรายหลายปี และชาวอียิปต์ได้ส่งทหารติดตามกวาดล้าง โดยคิดว่าชาวยิวจะก่อกบฏ เมื่อไล่ติดตามมาถึงทะเลแดง ด้วยเดชแห่งอำนาจของพระเจ้า โมเสสได้แยกน้ำออกจากกันทำให้ชาวยิวหนีรอดมาได้ เหตุการณ์สำคัญนี้ ต่อมาได้กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญในงานฉลองประจำปีเรียกว่า งานฉลองปัสคา นอกจากนี้ พระเจ้าได้ประทานบัญญัติ 10 ประการแก่โมเสส เพื่อให้ชาวยิวนำไปยึดถือปฏิบัติ บัญญัติ 10 ประการนี้ ถือเป็นหลักสำคัญของศาสนายูดาห์ และต่อมาถือเป็นหลักสำคัญของศาสนาคริสต์ด้วย โมเสสได้รับการยกย่องให้เป็นศาสดาของศาสนายูดาห์
ชาวยิวได้ตั้งอาณาจักรคานาอัน ต่อมาอาณาจักรนี้ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรบาบิโลน และเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิโรมันตามลำดับ ชาวยิวยังคงได้รับการกดขี่ข่มเหงจากจักรวรรดิโรมัน เราจะเห็นว่า ประวัติศาสตร์ของชาวยิว เป็นประวัติศาสตร์แห่งความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส ชาวยิวจึงมีความเชื่อในคำทำนายของศาสดาพยากรณ์ว่า วันหนึ่งพระเจ้าจะส่งคนลงมาช่วยเพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ยากทั้งหมดของชาวยิว หรือช่วยไถ่บาปให้กับชาวยิว เรียกบุคคลนี้ว่า "พระเมสสิยาห์" (Messiah) คำว่า เมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรู ตรงกับคำว่า คริสต์ (Christ) หรือ ไครสต์ ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า ผู้ได้รับเลือก ให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวยิวมีความหวังในชีวิตเมื่อ พระเยซูประสูติ ชาวยิวจำนวนหนึ่งจึงมีความเชื่อว่า พระเยซู คือ พระเมสสิยาห์ (Jesus Christ = จีซัส หรือ เยซู ผู้ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า)
คริสตกาล
[แก้]พระเยซูเป็นชาวยิว คริสต์ศาสนาถือโดยสมมติว่าวันประสูติของพระองค์คือวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1 (ซึ่งถือเอาวันประสูติเป็นปีที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 543) ณ หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดาห์ ในดินแดนปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน) มารดาชื่อมารีย์ ชาวคริสต์เชื่อว่านางตั้งครรภ์โดยเดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ทั้งที่เป็นหญิงพรหมจารี มีบิดาเลี้ยงชื่อโยเซฟ สมัยนั้นกษัตริย์ผู้ครองเมืองคือพระเจ้าเฮโรดมหาราช เมื่อได้ยินคำพยากรณ์ว่าจะมีผู้มีบุญมาเกิดจึงคิดกำจัด โยเซฟและมารีย์จึงหนีไปอยู่อียิปต์เป็นการชั่วคราว เมื่อเรื่องราวสงบแล้วก็อพยพกลับถิ่นฐานเดิม พระเยซูเติบโตขึ้นที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี เมื่อวัยเยาว์พระเยซูเป็นผู้สนใจในเรื่องศาสนธรรมและเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีอายุครบ 30 ปี ได้ท่องเทียวไปในดินแดนปาเลสไตน์ ณ ริมแม่น้ำจอร์แดน ทรงพบกับยอห์นผู้ให้บัพติศมา หลังที่ได้รับบัพติศมาแล้ว ได้เสด็จไปถิ่นกันดารเพียงพระองค์เดียว ทรงถือศีลอดโดยงดเว้นพระกระยาหารเป็นเวลา 40 วัน จากนั้นพระองค์ก็เริ่มสอนประชาชนให้ทราบถึงความรอดของมนุษย์ ซึ่งเป็นของประทานจากพระเจ้า พระองค์มีอัครสาวกที่สำคัญ 12 คน (เนื่องจากวงศ์วานอิสราเอลมี 12 เผ่า) เรียกว่าอัครทูต สาวกคนแรกที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาคือซีโมนเปโตร นักบุญอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์คือเปาโลอัครทูต ซึ่งกลับใจจากผู้เบียดเบียนคริสตชน มาเป็นผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์มาตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่พระเยซูสิ้นพระชนม์
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาคริสต์ได้สร้างความหวั่นไหวและส่งผลสะเทือนต่อศาสนายิวเป็นอย่างยิ่ง ปุโรหิตผู้ดูแลวิหารเสียผลประโยชน์ เกรงว่าพระเยซูจะแย่งสาวกของตนไป เพราะคำสอนของศาสนาคริสต์ เน้นเรื่องจริยธรรมศีลธรรมมากกว่าพิธีกรรม ซึ่งพิธีกรรมของศาสนายิว ได้แก่ การบูชาพระเจ้าด้วยเครื่องเผาบูชา เช่น เนื้อวัว แพะ แกะ นกพิราบ นกเขา ฯลฯ เป็นต้น ในที่สุดผู้ปกครองชาวโรมันก็ทำการตรึงพระเยซูที่กางเขน เพราะเกรงว่าชาวยิวที่คัดค้านพระเยซูจะไม่พอใจ ชาวคริสต์ถือว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการแสดงความรักจากพระเยซู เพราะพระเจ้าทรงรักโลก จึงประทานพระบุตร มาไถ่บาปของมนุษย์ด้วยการสละชีวิตพระบุตรของพระองค์เอง พระเยซูสิ้นพระชนม์ที่เมืองกลโกธา (Golgotha) เมื่อพระชนม์ได้ 33 พรรษา ใช้เวลาในการประกาศศาสนาทั้งสิ้น 3 ปี
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูแล้ว ศาสนาคริสต์ได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิโรมัน ในปลายศตวรรษที่ 1 และปลายศตวรรษที่ 4 จากนั้นได้แพร่กระจายเป็นศาสนาประจำชาติของหลายประเทศในทวีปยุโรป
ยุคแรก (ค.ศ.33-325)
[แก้]ปลายยุคแรก (ค.ศ.320–478)
[แก้]สมัยกลาง
[แก้]ต้นสมัยกลาง (ค.ศ.500-780)
[แก้]ปลายสมัยกลาง (ค.ศ.800–1299)
[แก้]สงครามครูเสด (ค.ศ.1012–1299)
[แก้]ปลายสมัยกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (ค.ศ.1300–1520)
[แก้]การปฏิรูปและการปฏิรูปคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ค.ศ.1561–1648)
[แก้]ยุคการจัดตั้งคริสตจักรและการประกาศข่าวประเสริฐ (ค.ศ.1610–1800)
[แก้]ยุคต้นร่วมสมัย (ค.ศ.1720–1850)
[แก้]ยุคปลายร่วมสมัย (ค.ศ.1848–ปัจจุบัน)
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Church Triumphant: A History of Christianity Up to 1300, E. Glenn Hinson, p 223
- ↑ Georgian Reader, George Hewitt, p. xii
- ↑ Ethiopia, the Unknown Land: A Cultural and Historical Guide, by Stuart Munro-Hay, p. 234
- ↑ Prayers from the East: Traditions of Eastern Christianity, Richard Marsh, p. 3
- ↑ Adherents.com, Religions by Adherents เก็บถาวร 2008-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ BBC Documentary: A History of Christianity by Diarmaid MacCulloch, Oxford University