ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐเยอรมันออสเตรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐเยอรมันออสเตรีย

Republik Deutschösterreich
ค.ศ. 1918ค.ศ. 1919
ธงชาติเยอรมันออสเตรีย
ธงชาติ
กลุ่มจังหวัดอ้างโดยเยอรมันออสเตรียที่ต่อมาขยายออกไปรวมเขตแดนสาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่ง (สีแดง)
กลุ่มจังหวัดอ้างโดยเยอรมันออสเตรียที่ต่อมาขยายออกไปรวมเขตแดนสาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่ง (สีแดง)
สถานะรัฐที่แตกแยกออกมาหลังจาก
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
เมืองหลวงเวียนนา
ภาษาทั่วไปเยอรมัน เช็ก และโปแลนด์
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองสาธารณรัฐ
ประธานรัฐสภาแห่งชาติ 
• 5 มีนาคม
ค.ศ. 1919
ถึง 9 ธันวาคม
ค.ศ. 1920
 
คาร์ล ไซทซ์
นายกรัฐมนตรี 
• 30 ตุลาคม
ค.ศ. 1918
ถึง 7 กรกฎาคม
ค.ศ. 1920
 
คาร์ล เร็นเนอร์
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งออสเตรีย
สภาขุนนาง
(Herrenhaus)
สภาล่าง (Abgeordnetenhaus)
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงครามโลกสองครั้ง
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
• ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐ
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
• Reichsrat อ้าง
    ซิสไลทาเนียทั้งหมด
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
10 กันยายน ค.ศ. 1919
• รับรองโดยรัฐสภา
21 ตุลาคม ค.ศ. 1919
สกุลเงินโครนออสเตรีย-ฮังการี
ก่อนหน้า
ถัดไป
ออสเตรีย-ฮังการี
ซิสไลทาเนีย
สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1
ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)
รัฐสโลวีน, โครแอท และเซิร์บ
1 krone banknote, overprinted Deutschösterreich

สาธารณรัฐเยอรมัน-ออสเตรีย หรือ เยอรมัน-ออสเตรีย (เยอรมัน: Republik Deutschösterreich หรือ Deutsch-Österreich, อังกฤษ: Republic of German-Austria หรือ German-Austria) เดิมเป็นรัฐหลงเหลือ (rump state) ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของบริเวณของผู้พูดภาษาเยอรมัน (ไม่ใช่ออสเตรียของเยอรมนี) กล่าวกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมด 118,311 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 10.4 คนที่รวมบริเวณที่ปัจจุบันคือออสเตรียและบริเวณของผู้พูดภาษาเยอรมัน (ซิสไลทาเนีย) ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งรวมทั้งจังหวัดโบลซาโน-โบลเซน และเมืองทาร์วิซิโอที่ปัจจุบันอยู่ในอิตาลี; ทางตอนใต้ของจังหวัดคารินเทีย และทางตอนใต้ของสไตเรียที่ปัจจุบันอยู่ในสโลวีเนียและซูเดเทินลันด์ (Sudetenland) และเยอรมันโบฮีเมีย (ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของซูเดเทินลันด์) ที่ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก ออสเตรียของเยอรมัน

เขตการปกครอง

[แก้]

แต่เดิมเยอรมันออสเตรียประกอบไปด้วยจังหวัด (พรอวินเซิน) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่

  1. ออสเตรียเหนือ (Oberösterreich) บริเวณรัฐออสเตรียเหนือรวมทั้งภูมิภาคป่าโบฮีเมีย (Böhmerwaldgau) ที่ปัจจุบันอยู่ในภูมิภาคโบฮีเมียใต้ของสาธารณรัฐเช็ก
  2. ออสเตรียใต้ (Niederösterreich) บริเวณรัฐออสเตรียใต้รวมทั้งเยอรมันโมราเวียใต้ (Deutschsüdmähren) ที่ปัจจุบันแบ่งระหว่างภูมิภาคเช็คของโบฮีเมียใต้ (Vysočina) และภูมิภาคโมราเวียใต้
  3. เยอรมันโบฮีเมีย (Deutschböhmen) บริเวณทางตะวันตกของโบฮีเมียที่ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของซูดเตนแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1938 ถึง ค.ศ. 1945 ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเช็ก
  4. ซูดเตนแลนด์ หรือบริเวณทางตอนเหนือของโมราเวียเช็ก และเช็คไซลีเชีย (ออสเตรียไซลีเชีย)
  5. สไตเรีย (Steiermark) ส่วนใหญ่ของอดีตสไตเรียที่รวมทั้งรัฐสไตเรียของออสเตรียปัจจุบัน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของสโลวีเนียในบริเวณสไตเรียใต้.
  6. ซัลทซ์บวร์ค บริเวณรัฐซัลทซ์บวร์คของออสเตรียปัจจุบัน
  7. คารินเทีย (Kärnten) ส่วนใหญ่ของอดีตคารินเทียรวมทั้งรัฐคารินเทียของออสเตรียปัจจุบัน, บริเวณจังหวัดคารินเทียของสโลวีเนีย, เมืองเยอแซร์สโคของสโลวีเนีย และเมืองทาร์วิซิโอ, วาลบรูนา และพอนเตบบาของอิตาลี
  8. เยอรมันไทโรล (Deutschtirol) บริเวณเกือบทั้งหมดของไทโรล รวมทั้งรัฐไทโรลของออสเตรียปัจจุบัน และจังหวัดโบลซาโน-โบลเซนของอิตาลี แต่ไม่รวมจังหวัดเทรนโต
  9. รัฐโฟราร์ลแบร์ก รวมบริเวณของรัฐโฟราร์ลแบร์กของออสเตรียในปัจจุบันทั้งหมด

ชาวเยอรมันส่วนน้อยในโมราเวีย รวมทั้งชาวเยอรมันในบรึนน์ (เบอร์โน), อิกเลา (ยีห์ลาวา) และโอลมึทซ์ (ออลอโมตซ์) ต่างก็พยายามประกาศตนเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันออสเตรียแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ดินแดนที่ในปัจจุบันอยู่นอกออสเตรียมักจะมีประชาชนส่วนน้อยที่มิได้พูดภาษาเยอรมัน แต่ก็ถูกบังคับโดยกำลังทหารให้เข้าร่วมในเวลาต่อมา แต่ชาวเยอรมันที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ทางตะวันตกของราชอาณาจักรฮังการีกลายมาเป็นบริเวณที่เรียกว่าบูร์เกนแลนด์

ดูเพิ่ม

[แก้]