บุนเดิสแวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองป้องกันสหพันธ์
Bundeswehr
กางเขนเหล็ก เครื่องหมายของบุนเดิสแวร์
คำขวัญ"Wir. Dienen. Deutschland."[1]
("เรารับใช้เยอรมนี")
ก่อตั้ง12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1955
รูปแบบปัจจุบัน3 ตุลาคม ค.ศ. 1990
เหล่ากองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
เหล่ายุทธบริการ
เหล่าสาธารณสุขกลาง
เหล่าไซเบอร์และสนเทศบริการ
กองบัญชาการบ็อน, เบอร์ลิน และพ็อทซ์ดัม
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.สส.รมว.กลาโหม (ในยามสงบ)
นายกรัฐมนตรี (ในภาวะป้องกันประเทศ)
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ17 ปีบริบูรณ์
การเกณฑ์มีการเกณฑ์ทหารแต่ถูกระงับชั่วคราวตั้งแต่การรวมประเทศเยอรมนี
ยอดประจำการ181,514 คน (2023)
ยอดสำรอง930,000 คน (2023)
รายจ่าย
งบประมาณ47.878 พันล้านยูโร (2019)
ร้อยละต่อจีดีพี1.38% (2019)
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตนอกประเทศ สหภาพยุโรป
 สหรัฐ

บุนเดิสแวร์ (เยอรมัน: Bundeswehr) หรือ กองป้องกันสหพันธ์ คือชื่อของกองทัพเยอรมัน ภายใต้รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กฎหมายพื้นฐานไม่อนุญาตให้รัฐเยอรมันต่างๆมีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง ภาระหน้าที่ในกิจการทหารทั้งปวงต้องอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลางที่กรุงเบอร์ลิน

ต้นปี 2020 บุนเดิสแวร์มีกำลังทหารประจำการ 184,001 นาย[2] ถือเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหภาพยุโรปรองจากฝรั่งเศส บุนเดิสแวร์ยังมีทหารกองหนุนประมาณ 29,200 นาย[3] มีรายจ่ายทางทหารอยู่ที่ราวแปดพันล้านยูโร[4] ติดหนึ่งในสิบกองทัพที่ได้รับงบประมาณมากที่สุดของโลก แต่เมื่อคิดเป็นร้อยละต่อจีดีพี ค่าใช้จ่ายทางทหารของเยอรมนีอยู่ที่ 1.38% เท่านั้นซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของเนโทที่ 2% เยอรมนีมีเป้าหมายที่ขยายกองทัพให้มีกำลังพล 203,000 นายในปี 2025 เพื่อรับมือกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น[5]

บุนเดิสแวร์เป็นกองทัพแรกในเนโทที่เคยมี MiG 29 ในประจำการ ซึ่งได้จากเยอรมนีตะวันออกหลังรวมประเทศ

อำนาจบังคับบัญชา[แก้]

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้หลักการพลเรือนคุมทหารเหมือนสหรัฐ จึงไม่มีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก-ทหารเรือ-ทหารอากาศ กฎหมายพื้นฐานกำหนดให้อำนาจบังคับบัญชาสูงสุดของบุนเดิสแวร์อยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในยามสงบ และโอนไปอยู่ที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในภาวะป้องกันประเทศ

ตำแหน่งสูงสุดของนายทหารประจำการในบุนเดิสแวร์ คือตำแหน่งจเรทหารทั่วไปแห่งบุนเดิสแวร์ (Generalinspekteur der Bundeswehr) ซึ่งมียศเป็นพลเอกและไม่ได้รับอำนาจสั่งการกำลังทหาร มีบทบาทเป็นเพียงผู้รับผิดชอบหลักคิดการป้องกันประเทศของกองทัพ รวมถึงการวางแผน การเตรียมพร้อม และการตรวจประเมินปฏิบัติการของบุนเดิสแวร์[6] ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาฝ่ายทหารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

โครงสร้าง[แก้]

บุนเดิสแวร์แบ่งสายบัญชาการออกเป็นสองฝ่ายคือ ส่วนเหล่าทัพ (Streitkräfte) และส่วนกิจการพลเรือน (Wehrverwaltung) โดยที่ส่วนเหล่าทัพแบ่งเป็นหกแผนก ได้แก่:

  • กองทัพบก (Heer)
  • กองทัพเรือ (Marine)
  • กองทัพอากาศ (Luftwaffe)
  • กองยุทธบริการ (Streitkräftebasis),
  • กองสุขอนามัยกลาง (Zentraler Sanitätsdienst)
  • กองไซเบอร์และสนเทศบริการ (Cyber- und Informationsraum)

ยศทหารบุนเดิสแวร์[แก้]

ทหารบกเยอรมัน

กองทัพบกและกองทัพอากาศ[แก้]

  • พลเอก (General)
  • พลโท (Generalleutant)
  • พลตรี (Generalmajor)
  • พลจัตวา (Brigade­general)
  • พันเอก (Oberst)
  • พันโท (Oberstleutnant)
  • พันตรี (Major)
  • ร้อยเอกพิเศษ (Stabshauptmann)
  • ร้อยเอก (Hauptmann)
  • ร้อยโท (Oberleutnant)
  • ร้อยตรี (Leutnant)

กองทัพเรือ[แก้]

  • พลเรือเอก (Admiral)
  • พลเรือโท (Vize­admiral)
  • พลเรือตรี (Konter­admiral)
  • พลเรือจัตวา (Flottillen­admiral)
  • นาวาเอก (Kapitän zur See)
  • นาวาโท (Fregatten­kapitän)
  • นาวาตรี (Korvetten­kapitän)
  • เรือเอกพิเศษ (Stabskapitän­leutnant)
  • เรือเอก (Kapitän­leutnant)
  • เรือโท (Oberleutnant zur See)
  • เรือตรี (Leutnant zur See)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Die Stärke der Streitkräfte [Personnel strength of German Armed Forces]". 22 มีนาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2019.
  3. International Institute for Strategic Studies (15 February 2019). The Military Balance 2019. London: Routledge. ISBN 978-1857439885.
  4. (PDF). 25 June 2019 https://www.nato.int/nato_static_fl2014/assets/pdf/pdf_2019_06/20190625_PR2019-069-EN.pdf. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. (www.dw.com), Deutsche Welle. "Germany may increase troop numbers to 203,000 by 2025 - DW - 26.11.2018". DW.COM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2019.
  6. "The Chief of Defence". bmvg.de. Federal Ministry of Defence. 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022. The Chief of Defence is the administrative superior of all the soldiers in the armed forces under his command. As both the military advisor to the Federal Government and the senior military representative of the Bundeswehr, he is a member of the Ministry of Defence Executive Group.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]