เอาโทบาน
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
บุนเดิสเอาโทบาเนิน (Bundesautobahnen) แปล: ยนตรมารคสหพันธ์ | |
---|---|
ป้ายสัญลักษณ์เอาโทบาน | |
แผนที่โครงข่ายบุนเดซเอาโทบาเนินในประเทศเยอรมนี | |
ข้อมูลของระบบ | |
บำรุงรักษาโดย กระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล | |
ระยะทาง | 13,183 กิโลเมตร (ค.ศ. 2020) (8,192 ไมล์) |
ชื่อของทางหลวง | |
เอาโทบาน: | Bundesautobahn X (BAB X หรือ A X) |
เอาโทบาน (เยอรมัน: Autobahn, พหุพจน์: Autobahnen แปลว่า ยนตรมารค) เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันหมายถึงทางด่วนระหว่างเมือง ซึ่งเป็นทางคู่และมีทางยกระดับข้ามทางแยก ศัพท์คำนี้ใช้เรียกทางด่วนในเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ [1] แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปมักหมายถึงทางหลวงพิเศษในเยอรมนี เอาโทบานในเยอรมนีใช้งานฟรี ส่วนออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์เก็บค่าธรรมเนียมการใช้ทางในอัตราเหมาจ่าย
พาหนะที่ใช้งานได้; เยอรมนีและออสเตรียกำหนดให้พาหนะที่ใช้งานเอาโทบานได้จะต้องเป็นพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และทำความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กม/ชั่วโมง ส่วนสวิตเซอร์แลนด์กำหนดไว้ที่ 80 กม/ชั่วโมง
ข้อจำกัดความเร็ว; ออสเตรียกำหนดให้พาหนะใช้ความเร็วบนเอาโทบานได้ไม่เกิน 130 กม/ชั่วโมง สวิตเซอร์แลนด์กำหนดไว้ไม่เกิน 120 กม/ชั่วโมง ขณะที่เอาโทบานในเยอรมนีไม่มีข้อจำกัดความเร็วสูงสุด[2] แต่มีการกำหนดความเร็วแนะนำที่ 130 กม/ชั่วโมง[3] อย่างไรก็ตาม บางรัฐในเยอรมนีเช่นรัฐเบรเมินเริ่มออกกฎจำกัดความเร็วเพื่อควบคุมระดับเสียงและลดมลภาวะ [4]
ประวัติ
[แก้]ทางหลวงในลักษณะเดียวกับเอาโทบานนี้ เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1929 เชื่อมระหว่างนครโคโลญกับบ็อน โดยเป็นเส้นทางคู่ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะรถยนต์ ห้ามคนเดินเท้าและรถม้า ในสมัยนั้นใช้ชื่อเรียกว่า ครัฟท์ฟาร์ทชตรัสเซอ (Kraftfahrtstraße) เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1932 [5] ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1940 ในยุคของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้มีการเร่งสร้างอย่างขนานใหญ่เป็นระยะทาง 3,736 กิโลเมตร นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังยกเลิกภาษีรถยนต์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตลอดจนสั่งสร้างรถยนต์ ฟ็อลคส์วาเกิน ที่ราคาถูกเท่าจักรยานยนต์ นโยบายดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันเติบโตอย่างก้าวกระโดด เกิดการจ้างแรงงานนับล้านอัตรา [6] และมีนัยทางทหารเพื่อการลำเลียงกำลังที่รวดเร็วขึ้นด้วย ทางด่วนนี้ในช่วงแรกใช้ชื่อว่า ไรชส์เอาโทบาน (ยนตรมารคไรช์) และมีสมญาว่า ถนนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (die Straßen Adolf Hitlers)
ปัจจุบันโครงข่ายของเอาโทบานในเยอรมนีมีความยาวทั้งสิ้น 13,183 กิโลเมตร (ข้อมูลปี 2020) เป็นโครงข่ายถนนขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก (2012) รองจากระบบทางหลวงอินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา และระบบทางหลวงในประเทศจีน ระบบทางหลวงในประเทศแคนาดา และ มอเตอร์เวย์ของประเทศสเปน ตามลำดับ เอาโทบานในเยอรมนีได้ชื่อว่าเป็นทางหลวงสายหนึ่งที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่ำที่สุด [7] การบำรุงรักษาเอาโทบานใช้งบประมาณสูงถึง 512,000 ยูโร/กิโลเมตร/ปี (ราว 20 ล้านบาท/กิโลเมตร/ปี)[8]
ความยาวเอาโทบาน
[แก้]สถิติความเร็วขับขี่
[แก้]ตัวบ่งชี้ | ค.ศ. | ||
---|---|---|---|
(รถยนต์ส่วนบุคคล) | 1982 | 1987 | 1992 |
ความเร็วโดยเฉลี่ย | 112.3 km/h (70 mph) | 117.2 km/h (73 mph) | 120.4 km/h (75 mph) |
ความเร็วของรถที่ขับขี่เร็วสุด 15% แรก | ≥ 139.2 km/h (86 mph) | ≥ 145.1 km/h (90 mph) | ≥ 148.2 km/h (92 mph) |
รถที่ขับเร็วกว่า 130 กม/ชม. | 25.0% | 31.3% | 35.9% |
ที่มา: Kellermann, G: Geschwindigkeitsverhalten im Autobahnnetz 1992. Straße+Autobahn,[9] Issue 5/1995.[10]
สถิติอุบัติเหตุ
[แก้]ปี | ทางหลวงเอาโทบาน | ทางหลวงอื่น | ภาพรวมจราจรทางบก | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ผู้เสียชีวิต[11] | สัดส่วน[12] | ผู้เสียชีวิต | สัดส่วน * | ผู้เสียชีวิต | สัดส่วน * | |
1970 | 945 | 27.0 | 18,248 | 84.5 | 19,193 | 76.5 |
1980 | 804 | 10.0 | 12,237 | 42.6 | 13,041 | 35.4 |
1985 | 669 | 7.1 | 7,731 | 26.7 | 8,400 | 21.9 |
1990 | 936 | 6.9 | 6.970 | 19.8 | 7,906 | 16.2 |
1995 | 978 | 5.5 | 8,476 | 19.0 | 9,454 | 15.1 |
2000 | 907 | 4.5 | 6,596 | 14.3 | 7,503 | 11.3 |
2005 | 662 | 3.1 | 4,699 | 10.0 | 5,361 | 7.8 |
2010 | 430 | 2.0 | 3,218 | 6.6 | 3,648 | 5.2 |
หมายเหตุ * สัดส่วน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตต่อระยะทางที่มีรถวิ่งครบหนึ่งพันล้านกิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ในสวิสใช้คำศัพท์ภาษาเยอรมันว่า Autobahnen, ภาษาฝรั่งเศสว่า Autoroutes และภาษาอิตาลีว่า Autostrade
- ↑ "Driving in Germany". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-18. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
- ↑ German State Introduces Autobahn Speed Limit
- ↑ Germany Gets First Ever Autobahn Speed Limit
- ↑ Biography and Timeline of Konrad Adenauer (1876-1967)
- ↑ The German Autobahn
- ↑ Autobahn Safety Vs. Interstate Safety
- ↑ Eight things you never knew about the German Autobahn thelocal.de 6 เมษายน 2016
- ↑ "Straße und Autobahn die Zeitschrift / Fachzeitschrift – Wegebau Straßenplanung Straßenentwässerung Flüsterasphalt Reparaturasphalt Geokunststoffe Straßenfertiger Straßenerhaltung Straßenwalzen". Strasse-und-autobahn.de. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
- ↑ Gunnar Gohlisch & Marion Malow (June 1999). "Umweltauswirkungen von Geschwindigkeitsbeschränkungen [Environmental Impacts of Speed Limits]" (PDF). Umweltbundesamt[Federal Environmental Office]. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
Auf Autobahnabschnittten, die eine weitgehend freie Geschwindigkeitswahl zulassen, lag die mittlere Pkw-Geschwindigkeit 1992 bei 132 km/h. Mehr als die Hälfte der Pkw-Fahrer (51 %) überschreitet auf derartigen Abschnitten die Richtgeschwindigkeit.
- ↑ เก็บถาวร (Date missing) ที่ bast.de (Error: unknown archive URL) bast.de
- ↑ เก็บถาวร (Date missing) ที่ bast.de (Error: unknown archive URL) bast.de
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Autobahn