มาร์ติน ลูเทอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์ติน ลูเทอร์
ลูเทอร์ในปี 1533 วาดโดย ลูคัส ครานัค
เกิด10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483(1483-11-10)
Eisleben แซกโซนี จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เสียชีวิต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1546(1546-02-18) (62 ปี)
Eisleben แซกโซนี จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาชีพพระ นักบวช นักเทววิทยา
ผลงานเด่นThe Ninety-Five Theses, Luther's Large Catechism,
Luther's Small Catechism, On the Freedom of a Christian
คู่สมรสKatharina von Bora
บุตรHans (Johannes), Elisabeth, Magdalena, Martin, Paul, Margarethe
อิทธิพลPaul the Apostle, Augustine of Hippo
ได้รับอิทธิพลPhilipp Melanchthon, นิกายลูเทอแรน, John Calvin, Karl Barth
ลายเซ็น

มาร์ติน ลูเทอร์[1] (เยอรมัน: Martin Luther; 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นชาวเยอรมันที่เป็นทั้งศาสตราจารย์ด้านเทววิทยา นักบวช นักเขียน คีตกวี นักบวชแห่งคณะออกัสติเนียน[2] และบุคคลที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนา ลูเธอร์ได้เข้ามาบวชเป็นบาทหลวงในปี ค.ศ. 1507 เขาได้ปฏิเสธคำสอนและแนวทางปฏิบัติหลายประการของศาสนจักรนิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้โต้แย้งกับมุมมองของการไถ่บาป ลูเธอร์ได้เสนอการอภิปรายโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและประสิทธิผลของการไถ่บาปในญัตติ 95 ข้อของเขาในปี ค.ศ. 1517 การปฏิเสธที่จะละทิ้งงานเขียนทั้งหมดของเขาตามคำเรียกร้องของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ในปี ค.ศ. 1520 และจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชุมสภาเมืองวอร์มส์ ในปี ค.ศ. 1521 ส่งผลทำให้สมเด็จพระสันตะปาปาทำการตัดขาดออกจากศาสนจักร และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ประณามว่าเป็นคนนอกกฎหมาย

ลูเธอร์ได้สอนว่า การช่วยให้รอดพ้นจากบาป และด้วยเหตุนี้ ชีวิตอันเป็นนิรันดร์จึงไม่ได้มาจากการกระทำกรรมดี แต่จะได้รับเป็นของขวัญจากพระกรุณาของพระเจ้าโดยไม่เสียค่าใช่จ่ายเท่านั้น โดยผ่านทางความเชื่อของผู้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ในฐานะพระผู้ไถ่จากบาป ลัทธิเทววิทยาของเขาได้ท้าทายอำนาจและตำแหน่งของสมเด็จพระสันตะปาปา โดยสอนว่า พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นแหล่งเดียวของความรู้ที่ถูกเปิดเผยโดยพระผู้เป็นเจ้า[3] และต่อต้านทฤษฏีสังฆสภาพ(sacerdotalism) โดยถือว่า ชาวคริสเตียนที่ได้เข้าพิธีบัพติศมาทั้งหมดเป็นบาทหลวงอันศักดิ์สิทธิ์[4] ผู้ที่ระบุด้วยสิ่งเหล่านี้ และคำสอนที่กว้างขวางทั้งหมดของลูเธอร์จึงถูกเรียกว่า ลูเทอแรน แม้ว่าลูเธอร์ได้ยืนยันว่าชาวคริสเตียนหรืออีแวนเจลิคอล (German: evangelisch) เป็นเพียงชื่อนามที่ยอมรับได้สำหรับบุคคลที่นับถือพระคริสต์

การแปลพระคัมภีร์ไบเบิลมาเป็นภาษาเยอรมัน (แทนที่ภาษาละติน) ทำให้สามารถเข้าถึงเหล่าฆราวาสได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งคริสตจักรและวัฒนธรรมเยอรมัน มันส่งเสริมการพัฒนาภาษาเยอรมันแบบมาตรฐาน และเพิ่มหลักการหลายประการในศิลปะของการแปลภาษา[5] และมีอิทธิพลต่อการเขียนแปลภาษาอังกฤษ พระคัมภีร์ไบเบิลทินเดล[6] เพลงสวดของเขาได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของการร้องเพลงในศาสนจักรนิกายโปรเตสแตนต์[7] เขาได้สมรสกับคาธารินา ฟอน โบรา อดีตแม่ชี ซึ่งได้วางแบบจำลองสำหรับการแต่งงานแบบนักบวช โดยอนุญาตให้นักบวชในนิกายโปรเตสแตนต์สามารถแต่งงานกันได้[8]

ในผลงานสองชิ้นต่อมาของเขา ลูเธอร์ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อชาวยิวอย่างรุนแรง และเรียกร้องให้มีการเผาธรรมศาลาและการตายของพวกเขา[9] วาทศิลป์ของเขาไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ชาวยิวเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รวมไปถึงชาวนิกายโรมันคาทอลิก ชาวนิกายอนาบัปติสต์ (ศาสนาคริสต์นิกายที่ยึดถือการล้างบาป) และชาวคริสเตียนที่ปฏิเสธถึงหลักตรีเอกภาพ(Nontrinitarian)[10] ลูเธอร์ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1546 ในขณะที่คำสั่งตัดขาดออกจากศาสนจักรของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ยังคงมีผลบังคับใช้

ประวัติ[แก้]

มาร์ติน ลูเทอร์ เกิดที่เมือง ไอสเลเบน นครแซกโซนี ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 บิดามารดาเป็นคนยากจนและไม่ได้รับศึกษา เมื่อเติบโตขึ้นก็ไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าโรงเรียน ลูเทอร์ต้องเที่ยวร้องเพลงขอทานตามบ้านต่าง ๆ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนในโรงเรียน เผอิญมีหญิงมั่งคั่งคนหนึ่งเกิดความเมตตาได้ช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัยเมื่อ ค.ศ. 1500

ลูเทอร์ได้ศึกษาเทววิทยา วรรณคดี ดนตรี และที่เอาใจใส่มากที่สุดคือกฎหมาย บิดาของลูเทอร์ก็ปรารถนาให้ลูเธอร์เป็นนักกฎหมาย แต่เมื่ออายุ 22 ปีเกิดเหตุการณ์หนึ่งคือเพื่อนของลูเทอร์ถูกฆ่าตายในเวลาดวลต่อสู้กับบุคคลหนึ่ง ทำให้ลูเทอร์กลายเป็นคนกลัวผี ขี้ขลาด ต่อมาอีก 2-3 วันลูเทอร์จะเข้าประตูมหาวิทยาลัย ก็เกิดฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามาใกล้ ๆ ลูเทอร์ได้อธิษฐานว่า ถ้ารอดพ้นไปได้จะบวชเป็นบาทหลวง ต่อมาในไม่ช้าในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1505 ลูเธอร์ก็เข้าไปอยู่ในอารามคณะออกัสติเนียนในมหาวิทยาลัยวิตเทนบูร์ก ตั้งหน้าศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างเอาใจใส่ เป็นคนเฉลียวฉลาด พูดเก่ง จนในที่สุดก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น

ในปี ค.ศ. 1511 ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาราม ลูเทอร์ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่โรม และได้พบเห็นชีวิตของสันตะปาปาโอ่โถง หรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ และเห็นว่านักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น

จนในปีค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 10 อยากจะสร้างโบสถ์ให้งดงามสมตำแหน่งจึงได้ตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป และบรรดานายธนาคารทั้งหลายในประเทศต่าง ๆ ก็ตกลงเป็นเอเยนต์รับฝากเงินที่คนทั้งหลายจะชำระล้างบาปโดยไม่ต้องส่งไปโรม ลูเทอร์ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่

จนในปีค.ศ. 1517 เดือนตุลาคม ลูเทอร์ได้นำประกาศที่เรียกว่า "ญัตติ 95 ข้อ" (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเทนบูร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา และการกระทำที่เหลวแหลกอื่นๆ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1521 ลูเทอร์ได้รับหมาย ”การตัดขาดจากศาสนา” (Excommunication) ซึ่งเป็นสารตราพระสันตะปาปา โดยที่ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิไปที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ที่นั่นท่านได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งพิธีมิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งลูเทอร์ตั้งใจที่จะให้ชาวบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้

ลูเทอร์ป่วยตายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1546 ขณะที่มีอายุได้ 62 ปี เขาได้เขียนข้อความสุดท้ายบนกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ไว้ว่า เราเป็นขอทาน และนี่เป็นเรื่องจริง (เยอรมัน : Wir sind bettler. Hoc est verum)

ผลงานของลูเทอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละตินได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอกที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง นิกายนี้จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคลภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์จึงไม่มีรูปเคารพและศิลปกรรมที่ตกแต่งดังเช่นโบสถ์คาทอลิก บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้นที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียงเปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 323
  2. Luther consistently referred to himself as a former monk. For example: "Thus formerly, when I was a monk, I used to hope that I would be able to pacify my conscience with the fastings, the praying, and the vigils with which I used to afflict my body in a way to excite pity. But the more I sweat, the less quiet and peace I felt; for the true light had been removed from my eyes." Martin Luther, Lectures on Genesis: Chapters 45–50, ed. Jaroslav Jan Pelikan, Hilton C. Oswald, and Helmut T. Lehmann, vol. 8 Luther’s Works. (Saint Louis: Concordia Publishing House, 1999), 5:326.
  3. Ewald M. Plass, What Luther Says, 3 vols., (St. Louis: CPH, 1959), 88, no. 269; M. Reu, Luther and the Scriptures, (Columbus, Ohio: Wartburg Press, 1944), 23.
  4. Luther, Martin. Concerning the Ministry (1523), tr. Conrad Bergendoff, in Bergendoff, Conrad (ed.) Luther's Works. Philadelphia: Fortress Press, 1958, 40:18 ff.
  5. Fahlbusch, Erwin and Bromiley, Geoffrey William. The Encyclopedia of Christianity. Grand Rapids, MI: Leiden, Netherlands: Wm. B. Eerdmans; Brill, 1999–2003, 1:244.
  6. Tyndale's New Testament, trans. from the Greek by William Tyndale in 1534 in a modern-spelling edition and with an introduction by David Daniell. New Haven, CT: Yale University Press, 1989, ix–x.
  7. Bainton, Roland. Here I Stand: a Life of Martin Luther. New York: Penguin, 1995, 269.
  8. Bainton, Roland. Here I Stand: a Life of Martin Luther. New York: Penguin, 1995, p. 223.
  9. Hendrix, Scott H. "The Controversial Luther" เก็บถาวร 2 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Word & World 3/4 (1983), Luther Seminary, St. Paul, MN. Also see Hillerbrand, Hans. "The legacy of Martin Luther" เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Hillerbrand, Hans & McKim, Donald K. (eds.) The Cambridge Companion to Luther. Cambridge University Press, 2003. In 1523, Luther wrote that Jesus Christ was born a Jew which discouraged mistreatment of the Jews and advocated their conversion by proving that the Old Testament could be shown to speak of Jesus Christ. However, as the Reformation grew, Luther began to lose hope in large-scale Jewish conversion to Christianity, and in the years his health deteriorated he grew more acerbic toward the Jews, writing against them with the kind of venom he had already unleashed on the Anabaptists, Zwingli, and the pope.
  10. Schaff, Philip: History of the Christian Church, Vol. VIII: Modern Christianity: The Swiss Reformation, William B. Eerdmans Pub. Co., Grand Rapids, Michigan, USA, 1910, page 706.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]