จักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1848–1849)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิเยอรมัน

Deutsches Reich  (เยอรมัน)
1848–1849
ดินแดนควบคุมและอ้างสิทธิ์ของจักรวรรดิเยอรมัน:
  •       จักรวรรดิเยอรมัน
  •       ดินแดนอ้างสิทธิ์
สถานะกึ่งรัฐ
เมืองหลวงแฟรงก์เฟิร์ต
เดมะนิมชาวเยอรมัน
การปกครองสมาพันธรัฐระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
จักรพรรดิแห่งชาวเยอรมันจากการคัดเลือก 
• 1849
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 
• 1848-1849
อาร์ชดยุกโยฮ์น
นายกรัฐมนตรี 
• 1848 (คนแรก)
เจ้าชายคาร์ลแห่งไลนิงเงิน
• 1849 (คนสุดท้าย)
August Ludwig zu Sayn-Wittgenstein-Berleburg
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ต
ยุคประวัติศาสตร์ความร่วมมือแห่งยุโรป
1848
28 มีนาคม ค.ศ. 1849
31 พฤษภาคม 1849
1850
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมาพันธรัฐเยอรมัน
สมาพันธรัฐเยอรมัน
1: พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 ได้รับการเสนอมงกุฎจักรพรรดิ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะ "สวมมงกุฎจากรางน้ำ"[1]

จักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Reich) เป็นความพยายามรวมรัฐเยอรมันภายในสมาพันธรัฐเยอรมันให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อสร้างรัฐชาติเยอรมนีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1848 ในระหว่างการปฏิวัติเยอรมันโดยรัฐสภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ต โดยรัฐสภาได้เลือกอาร์ชดยุกโยฮ์นแห่งออสเตรียเป็นประมุขแห่งรัฐชั่วคราวในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1849 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและรัฐสภาได้เลือกพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของจักรวรรดิ ภายใต้พระอิสริยยศ ‘จักรพรรดิแห่งชาวเยอรมัน’ อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิยุติลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1849 เมื่อรัฐบาลกลางเยอรมันถูกคณะกรรมาธิการกลางสหพันธรัฐแทนที่

รัฐสภาแห่งชาติเยอรมัน (รัฐสภาแฟรงก์เฟิร์ต) มองตนเองในฐานะรัฐสภาของจักรวรรดิใหม่และออกกฎหมายหลวงจำนวนมาก รัฐสภาได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวและก่อตั้งกองเรือแรกของเยอรมนีทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1849 บรรดารัฐเยอรมันใหญ่อย่างออสเตรียและปรัสเซียบีบบังคับให้สมาชิกรัฐสภาลาออก รัฐบาลชั่วคราวดำรงอยู่จนถึงเดือนธันวาคมของปีนั้น ในฤดูร้อน ค.ศ. 1851 มีการฟื้นฟูบุนเดิสทาคแห่งสมาพันธรัฐเยอรมัน ส่งผลให้กฎหมายที่ผ่านในช่วงจักรวรรดิเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม ในบุนเดิสทาคหรือบรรดารัฐต่าง ๆ ก็ไม่เคยมีมุมมองต่อรัฐบาลชั่วคราวว่ากระทำอย่างผิดกฎหมาย

ตลอดเวลาของการดำรงอยู่ หลายประเทศให้การรับรองจักรวรรดิ เช่น เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ ส่วนทางกองทัพเรือเยอรมันสมัยใหม่ได้เลือกวันที่ 14 มิถุนายน เป็นวัดเฉลิมฉลองครบรอบกองทัพ เนื่องจากการก่อตั้งกองเรือของรัฐสภาใน ค.ศ. 1848 สำหรับธงชาติจักรวรรดิได้ประกาศใช้ตามกฎหมายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1848 ซึ่งมีรูปแบบตามธงชาติเยอรมนีในปัจจุบัน (ธงดำ-แดง-ทอง)

รัฐสภาแห่งชาติเยอรมันในแฟรงก์เฟิร์ต

อ้างอิง[แก้]

  1. Encyclopædia Britannica Vol. 2 p. 1078.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Ralf Heikaus: Die ersten Monate der provisorischen Zentralgewalt für Deutschland (Juli bis Dezember 1848). PhD thesis. Peter Lang, Frankfurt am Main [u. a.] 1997, ISBN 3-631-31389-6