ข้ามไปเนื้อหา

อัลอันดะลุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิสเปเนียของราชวงศ์อุมัยยฮ์ในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 719

อัลอันดะลุส (อาหรับ: الأندلس; อังกฤษ: Al-Andalus) คือบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ (ที่เรียกโดยทั่วไปว่ามัวร์) ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ. 1492[1][2][3]

หลังจากการพิชิตคาบสมุทรไอบีเรีย อัลอันดะลุสก็ถูกแบ่งออกเป็นเขตบริหาร 5 เขตที่ใกล้เคียงกับเขตในปัจจุบันที่เป็นแคว้นอันดาลูซิอา, แคว้นกาลิเซียและลูซิตาเนีย, คาสตีลและเลออน, แคว้นอารากอนและแคว้นกาตาลุญญา และเซ็พติเมเนีย[4] ซึ่งถือว่าเป็นเขตการบริหารของจักรวรรดิต่าง ๆ ที่ตามกันมา เริ่มด้วยจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่ก่อตั้งโดยอัลวะลิดที่ 1 (ค.ศ. 711-ค.ศ. 750); อาณาจักรเอมีร์แห่งกอร์โดบา (ราว ค.ศ. 750-ค.ศ. 929); อาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา (ค.ศ. 929-ค.ศ. 1031); และของราชอาณาจักรย่อย ๆ ที่ตามมาจากอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา

ในช่วงเวลาหลายร้อยปีต่อมาอัลอันดะลุสก็กลายเป็นจังหวัดของราชวงศ์เบอร์เบอร์มุสลิมแห่งอัลมอราวิยะห์และอัลโมฮัด ต่อมาก็แบ่งออกเป็นรัฐย่อย ๆ แต่สำคัญที่สุดคืออาณาจักรเอมีร์แห่งกรานาดา ตลอดช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา อัลอันดะลุสก็เป็นศูนย์กลางของการศึกษา และเมืองกอร์โดบาก็กลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียนและโลกอิสลาม

อัลอันดะลุสก็มีความขัดแย้งกับอาณาจักรของชาวคริสต์ทางตอนเหนือตลอดมาในสมัยประวัติศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1085 พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งคาสตีลก็ทรงยึดเมืองโตเลโดได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมโทรมของอำนาจของมุสลิมในไอบีเรีย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1236 หลังจากเสียกอร์โดบา ราชอาณาจักรกรานาดาก็กลายเป็นเพียงดินแดนเดียวที่ยังเหลือเป็นของมุสลิมในดินแดนที่มารู้จักกันในปัจจุบันว่าสเปน

การพิชิตดินแดนคืนของโปรตุเกสเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1249 โดยการยึดอัลการ์วีโดยพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 ในปี ค.ศ. 1238 กรานาดาก็กลายเป็นอาณาจักรบริวารของราชอาณาจักรคาสตีลที่ขณะนั้นปกครองโดยพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3 และเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1492 มุฮัมมัดที่ 12 แห่งกรานาดาก็ยอมแพ้ยกการปกครองกรานาดาให้แก่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล ผู้ทรงได้รับสมญานามร่วมกันว่า “Los Reyes Católicos” (พระมหากษัตริย์คาทอลิก)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Para los autores árabes medievales, el término al-Andalus designa la totalidad de las zonas conquistadas - siquiera temporalmente - por tropas arabo-musulmanas en territorios actualmente pertenecientes a Portugal, Espana y Francia" ("For the medieval Arab authors, al-Andalus designates all the conquered areas - even temporarily - by Arab-Muslim troops in territories now belonging to Portugal, Spain and France"), José Ángel García de Cortázar, V Semana de Estudios Medievales: Nájera, 1 al 5 de agosto de 1994, Gobierno de La Rioja, Instituto de Estudios Riojanos, 1995, p.52.
  2. "Los arabes y musulmanes de la Edad Media aplicaron el nombre de al-andalus a todas aquellas tierras que habian formado parte del reino visigodo : la Peninsula Ibérica y la Septimania ultrapirenaica." ("The Arabs and Muslims from the Middle Ages used the name of al-Andalus to all those lands that were formerly part of the Visigothic kingdom: the Iberian Peninsula and Septimania"), Eloy Benito Ruano, Tópicos y realidades de la Edad Media, Real Academia de la Historia, 2000, p.79.
  3. "Andalus, al-" Oxford Dictionary of Islam. John L. Esposito, Ed. Oxford University Press. 2003. Oxford Reference Online. Oxford University Press. Accessed 12 June 2006.
  4. Joseph F. O'Callaghan, A History of Medieval Spain , Cornell University Press, 1983, p.142