จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง
![]() | บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จักรวรรดิฝรั่งเศส Empire Français Imperium Francicum | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1804–1814 ค.ศ. 1815 | |||||||||||||||||||||
เพลงชาติ: ชานท์ดูเดอปาร์ท "Chant du départ" เวยองอูซาลูทเดอล็องปีร์ "Veillons au salut de l'Empiret"[1][2] | |||||||||||||||||||||
![]() | |||||||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ปารีส | ||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ลัทธิโบนาปาร์ต สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||||||
นโปเลียนที่ 1 | |||||||||||||||||||||
นโปเลียนที่ 2 | |||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา | ||||||||||||||||||||
• สภาสูง | วุฒิสภา | ||||||||||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยนโปเลียน | ||||||||||||||||||||
• นโปเลียนปราบดาภิเษก | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 | ||||||||||||||||||||
• จักรพรรดินโปเลียนถูกถอดจากบัลลังก์ | 6 เมษายน ค.ศ. 1814 | ||||||||||||||||||||
• จักรวรรดิร้อยวัน | 13 มีนาคม - 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1815 | ||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | ฟรังก์ฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||
|
ประเทศฝรั่งเศส |
![]() บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ: |
|
ร่วมสมัย
|
ประเทศอื่นๆ · แผนที่ |
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (ฝรั่งเศส: Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า (ฝรั่งเศส: L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลฝรั่งเศส จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในปี ค.ศ. 1804 นโปเลียน โบนาปาร์ต หนึ่งในสามผู้นำของคณะกงสุลฝรั่งเศส ได้ปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิและเริ่มต้นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "กองทัพใหญ่" (Grand Armée) ในปี ค.ศ. 1805 การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆ รวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่สาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ทรงนำทัพบุกเยอรมนี ชนะกองทัพออสเตรียที่อุล์ม แต่ทางทะเลต้องพ่ายแพ้อังกฤษที่แหลมทราฟัลการ์ในยุทธนาวีทราฟัลการ์ ชัยชนะที่อุล์มทำให้จักรพรรดินโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย และชนะออสเตรียกับรัสเซียที่เอาสเทอร์ลิทซ์ เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ทำให้สัมพันธมิตรครั้งที่สาม สลายตัวด้วยสนธิสัญญาเพรสบูร์ก (Treaty of Pressburg) ผลของสนธิสัญญาคือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ ยังผลให้จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ซึ่งในช่วงต้นของสงครามกับนานาประเทศ ฝรั่งเศสบุกชนะในหลายประเทศอาทิเช่น ออสเตรีย ปรัสเซีย โปรตุเกส และชาติพันธมิตรชาติอื่น ๆ อีกทั้งยังยึดครองดินแดนในทวีปยุโรปไว้ได้มากมาย
ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่เยนา-เออร์ชเตดท์ และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ ทำให้เกิดสนธิสัญญาแห่งทิลซิต (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี ค.ศ. 1807 จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีวอร์ซอว์ (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือสวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1807 และก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 (ราชวงศ์บูร์บง) มาให้พระอนุชาคือ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทางสหราชอาณาจักรส่งดยุกแห่งเวลลิงตัน มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า นโปเลียนนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย
ต่อมาจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงทำสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงได้นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าทำสงครามอีกครั้งโดยครั้งนี้พระองค์ต้องการจะบุกไปรุกรานจักรวรรดิรัสเซีย ที่หลอกล่อให้กองทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย ซึ่งมีระยะทางยาวไกลจากกรุงปารีสมาก โดยใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะบุกตีหัวเมืองต่าง ๆ ของรัสเซียไปจนถึงกรุงมอสโก แต่เมื่อไปถึงยังกรุงมอสโกก็ต้องพบกลับความว่างเปล่าของเมืองที่ชาวเมืองพร้อมใจกันเผาเมืองเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือกองทัพฝรั่งเศสและอพยพถอยร่นไปทางตะวันออก ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่หก เอาชนะนโปเลียนในยุทธการที่ไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) ทำให้ในปี ค.ศ. 1813 นโปเลียนจำใจต้องยกทัพกลับฝรั่งเศสแม้เสบียงจะเหลือไม่มากแล้ว กองทัพเองก็เหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกล นอกจากนี้ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียก็คืบคลานเข้ามาทุกขณะ โดยในระหว่างทางถอยทัพกลับฝรั่งเศสก็ยังถูกกองทัพของรัสเซียและชาติสัมพันธมิตรซุ่มโจมตีในลักษณะกองโจร ซึ่งเมื่อถอยทัพกลับถึงกรุงปารีสก็เหลือพลทหารไม่กี่พันคนจากที่ยกทัพไปมากกว่า 600,000 คน ทั้งนี้เป็นผลมากจากฤดูหนาวที่โหดร้ายทารุณทำให้ทหารแข็งตาย การขาดแคลนอาหาร การที่เหนื่อยล้าจากการเดินทัพและการซุ่มโจมตีของรัสเซีย ฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้นโปเลียนต้องสละราชสมบัติเพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1814 และสัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตงโบล (Treaty of Fontainebleau) ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งสิ้นสุดลง ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนทรงหวนคืนสู่ราชบัลลังก์และปกครองอยู่นานหนึ่งร้อยวัน แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องสละราชสมบัติอีกครั้งจากการที่พ่ายแพ้ในยุทธภูมิวอร์เตอร์ลู (Battle of Waterloo) และทรงถูกเนรเทศออกนอกฝรั่งเศสไปยังเกาะเอลบาในอิตาลี ต่อมาจึงมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงและเข้าสู่ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Le Chant du Départ, Fondation Napoléon, 2008, สืบค้นเมื่อ 16 May 2012
- ↑ Words and Music, Fondation Napoléon, 2008, สืบค้นเมื่อ 6 July 2014
- ↑ Taagepera1997
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]
- Chandler, David G. The Campaigns of Napoleon. New York: Simon & Schuster, 1995. ISBN 0-02-523660-1
- Colton, Joel and Palmer, R.R. A History of the Modern World. New York: McGraw-Hill, Inc., 1992. ISBN 0-07-040826-2
- Elting, John R. Swords Around a Throne: Napoleon's Grande Armée. New York: Da Capo Press Inc., 1988. ISBN 0-306-80757-2
- Fisher, Todd & Fremont-Barnes, Gregory. The Napoleonic Wars: The Rise and Fall of an Empire. Oxford: Osprey Publishing Ltd., 2004. ISBN 1-84176-831-6
- Lyons, Martyn. Napoleon Bonaparte and the Legacy of the French Revolution. New York: St. Martin's Press, Inc., 1994. ISBN 0-312-12123-7
- McLynn, Frank. Napoleon: A Biography. New York: Arcade Publishing Inc., 1997. ISBN 1-55970-631-7
- Roberts, J.M. History of the World. New York: Penguin Group, 1992. ISBN 0-19-521043-3
- Schom, Alan. Napoleon Bonaparte. New York: HarperCollins, 1997. ISBN 0-06-092958-8
- Tolstoy, Leo. War and Peace. London: Penguin Group, 1982. ISBN 0-14-044417-3
- Uffindell, Andrew. Great Generals of the Napoleonic Wars. Kent: Spellmount, 2003. ISBN 1-86227-177-1
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Pages using infobox country or infobox former country with the flag caption or type parameters
- Pages using infobox country or infobox former country with the symbol caption or type parameters
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศฝรั่งเศส
- ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
- จักรวรรดิฝรั่งเศส
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2347
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2357
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์