อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก Francia occidentalis | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 843–ค.ศ. 987 | |||||||||||
West Francia within Europe after the Treaty of Verdun in 843. | |||||||||||
เมืองหลวง | ปารีส | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | แกลโล-โรมัน, ลาติน, แฟรงกิช | ||||||||||
ศาสนา | คริสตจักรโรมันคาทอลิก | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||
• ค.ศ. 840–877 | ชาร์ลผู้หัวล้าน (องค์แรก) | ||||||||||
• ค.ศ. 986–987 | หลุยส์ที่ 5 แห่งฝรั่งเศส (องค์สุดท้าย) | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||||
ค.ศ. 843 | |||||||||||
ค.ศ. 870 | |||||||||||
• ก่อตั้งราชวงศ์กาเปเตียง | ค.ศ. 987 | ||||||||||
สกุลเงิน | เดอนีเย | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ฝรั่งเศส สเปน |
เวสต์ฟรังเกีย หรือ อาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก[1] (อังกฤษ: West Francia หรือ West Frankish Kingdom) เป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้น ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ได้ตกมาเป็นของจักรพรรดิคาร์ลพระเศียรล้าน[2] ตามสนธิสัญญาแวร์เดิงปี ค.ศ. 843
เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตก ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง
การก่อตัวและชายแดน
[แก้]ในเดือนกันยายน ค.ศ. 843 สามปีหลังสงครามกลางเมืองที่ตามมาหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์ผู้ศรัทธาเมื่อ 20 มิถุนายน ค.ศ. 840 สนธิสัญญาแวร์เดิงถูกลงนามโดยพระโอรสและทายาททั้งสาม คนเล็กสุด ชาร์ลผู้หัวล้าน ได้รับเวสต์ฟรังเกีย
นับตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าปิปปินที่ 1 แห่งอากีแตนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 838 พระโอรสของพระองค์ได้รับการยอมรับจากเหล่าขุนนางอากีแตนให้เป็นพระเจ้าปิปปินที่ 2 แห่งอากีแตน แม้การสืบทอดต่อจะไม่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิก็ตาม ชาร์ลผู้หัวล้านทำสงครามกับปิปปินที่ 2 ตั้งแต่เริ่มต้นรัชสมัยของพระองค์ใน ค.ศ. 840 และสนธิสัญญาแวร์เดิงได้ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์และการยกอากีแตนให้เป็นของชาร์ล[3] ดังนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 845 หลังความพ่ายแพ้ทางทหารหลายครั้ง ชาร์ลได้ลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นัวต์-ซูร์-ลัวร์และยอมรับการปกครองของพระนัดดา ข้อตกลงนี้คงอยู่มาจนถึง 25 มีนาคม ค.ศ. 848 เมื่อบารอนอากีแตนยอมรับชาร์ลเป็นกษัตริย์ หลังจากนั้นกองทัพของชาร์ลกุมความได้เปรียบ และใน ค.ศ. 849 ก็สามารถรักษาอากีแตนเอาไว้ได้[4] ในเดือนพฤษภาคม ชาร์ลสวมมงกุฎให้ตนเองเป็น "กษัตริย์ของชาวแฟรงก์และชาวอากีแตน" ในเออร์ลียงส์ อาร์ชบิชอปเวนิโลแห่งซ็องส์เป็นผู้ประกอบพิธีในการราชาภิเษก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการเจิมน้ำมันหลวงในเวสต์ฟรังเกีย
รัชสมัยของชาร์ลผู้อ้วนพี
[แก้]หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนัดดาของชาร์ล คาร์โลมันที่ 2 เมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 884 ขุนนางเวสต์ฟังเกียเลือกพระปิตุลาของพระองค์ ชาร์ลผู้อ้วนพี ที่เป็นกษัตริย์ในอีสต์ฟรังเกีย (อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก) กับราชอาณาจักรอิตาลีอยู่แล้ว เป็นกษัตริย์ของตน พระองค์อาจได้รับการสวมมงกุฎ "กษัตริย์แห่งกอล" (เร็กซ์ อิน อัลเลีย) เมื่อ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 885 ที่กร็องด์[5] รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาเดียวหลังการสิ้นพระชนม์ของหลุยส์ผู้ศรัทธาที่ฟรังเกียทั้งหมดถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งภายใต้ผู้ปกครองคนเดียว ด้วยสามารถที่มีในฐานะกษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย พระองค์น่าจะมอบยศตำแหน่งและอาจจะเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย ให้แก่ผู้ปกครองกึ่งเอกเทศแห่งบริททานี อลันที่ 1[6] การรับมือกับชาวไวกิ้งที่ปิดล้อมปารีสใน ค.ศ. 885–86 ลดพระเกียรติภูมิของพระองค์ลงอย่างมาก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 887 พระนัดดาของพระองค์ อาร์นูล์ฟแห่งคารินเธียก่อปฏิวัติและยึดเอาตำแหน่งกษัตริย์แห่งอีสต์ฟรังเกียไป ชาร์ลเกษียณตัวเองและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อ 13 มกราคม ค.ศ. 888
ในอากีแตน ดยุครานูล์ฟที่ 2 อาจยอมรับตนเองเป็นกษัตริย์ แต่ก็มีชีวิตอยู่อีกเพียงสองปี[7] แม้อากีแตนจะไม่ได้กลายเป็นราชอาณาจักรที่แยกออกมา แต่ก็อยู่เหนือการควบคุมของกษัตริย์เวสต์ฟรังเกียอย่างมาก
ต่อมาโอโด เคานต์แห่งปารีส ได้รับเลือกโดยเหล่าขุนนางให้เป็นกษัตริย์คนใหม่ของเวสต์ฟรังเกีย และได้รับการสวมมงกุฎในเดือนต่อมา ถึงตอนนี้ เวสต์ฟรังเกียประกอบด้วยนิวสเตรียในฝั่งตะวันตก ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นสิทธิครอบครองของฟรังเกีย แคว้นที่อยู่ระหว่างแม่น้ำเมิซกับแม่น้ำเซน
การขึ้นมาของชาวโรแบเตียง
[แก้]หลังยุค 860 ขุนนางโลธาริงเกีย โรแบต์ผู้แข็งแกร่ง เริ่มมีอำนาจมากขึ้นในฐานะเคานต์แห่งอ็องฌู, ตูแรน และเมน พี่น้องชายของโรแบต์ อูก พระอธิการแห่งแซ็งต์-เดอนีส์ ได้รับอำนาจควบคุมออสเตรเชียจากชาร์ลผู้หัวล้าน บุตรชายของโรแบต์ โอโด ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ในค.ศ. 888[8] พี่น้องชายของโอโด โรแบต์ที่ 1 ปกครองในช่วง ค.ศ. 922 ถึง ค.ศ. 923 และตามมาด้วยรูดอล์ฟ ตั้งแต่ ค.ศ. 923 จนถึง ค.ศ. 936 อูกมหาราช พระโอรสของโรแบต์ที่ 1 ได้รับเลือกเป็น "ดยุคของชาวแฟรงก์" โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ใน ค.ศ. 987 บุตรชายของพระองค์ พระเจ้าอูก กาแป ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์และเริ่มต้นราชวงศ์กาเปเตียง ถึงตอนนี้พวกเขาควบคุมดินแดนเล็กมาก ๆ เหนืออิล-เดอ-ฟร็องซ์
การขึ้นมาของเหล่าดยุค
[แก้]นอกอาณาเขตเดิมของชาวแฟรงก์และในตอนใต้ หลัง ค.ศ. 887 ขุนนางท้องถิ่นได้ตั้งตนเป็นดัชชีกึ่งเอกเทศ - เบอร์กันดี, อากีแตน, บริททานี, แกสโคนี, นอร์ม็องดี, ช็อมปาญ และเคานตี้ฟลานเดอส์
อำนาจของกษัตริย์ถูกปฏิเสธต่อไป ทั้งด้วยความไร้พระปรีชาสามารถในการต่อต้านชาวไวกิ้ง และการต่อต้านของเหล่าขุนนางประจำแคว้นที่ไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยกษัตริย์อีกต่อไป แต่กลายเป็นดยุคท้องถิ่นที่สืบทอดตำแหน่งทางสายเลือด ใน ค.ศ. 877 โบโซแห่งโพรว็องซ์ พระอนุชาของพระมเหสีของชาร์ลผู้หัวล้าน สวมมงกุฎให้ตนเองเป็นกษัตริย์แห่งเบอร์กันดีและโพรว็องซ์ พระโอรสของพระองค์ หลุยส์ผู้ตาบอด เป็นกษัตริย์แห่งโพรว็องซ์ตั้งแต่ ค.ศ. 890 และจักรพรรดิในช่วง ค.ศ. 901 ถึง ค.ศ. 905 รูดอล์ฟที่ 2 แห่งเบอร์กันดีสถาปนาราชอาณาจักรอาร์ลส์ขึ้นมาใน ค.ศ. 933
ชาร์ลผู้เรียบง่าย
[แก้]หลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์การอแล็งเฌียงคนสุดท้ายของอีสต์ฟรังเกีย พระเจ้าหลุยส์ผู้เป็นเด็กน้อย โลธาริงเกียเปลี่ยนมาเป็นพันธมิตรกับกษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย ชาร์ลผู้เรียบง่าย หลัง ค.ศ. 911 ดัชชีชวาเบียขยายอาณาเขตไปทางตะวันออกและได้ดินแดนอัลซาสมาเพิ่ม บาลด์วินที่ 2 แห่งฟลานเดอส์เริ่มมีอำนาจมากขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์ของโอโดใน ค.ศ. 898 โดยได้โบโลญและแทร์นัวส์มาจากชาร์ล อาณาเขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์อย่างแท้จริงลดลงอย่างมาก และถูกตัดทอนดินแดนที่อยู่ระหว่างนอร์ม็องดีกับแม่น้ำลัวร์ ราชสำนักมักอยู่ในไรม์หรือไม่ก็ล็อง[9]
ชาวนอร์สเริ่มตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดี และตั้งแต่ ค.ศ. 919 ชาวมักยาร์รุกรานครั้งแล้วครั้งเล่า ในการขาดหายไปของพระราชอำนาจที่แข็งแกร่ง ผู้รุกรานถูกสู้รบและปราบโดยเหล่าขุนนางท้องถิ่น อาทิเช่น ริชาร์ดแห่งเบอร์กันดีและโรแบต์แห่งนิวสเตีย ที่ปราบผู้นำไวกิ้ง รอลโล ใน ค.ศ. 911 ที่ชาร์ตส์ ท้ายที่สุดการคุกคามของชาวนอร์มันก็สิ้นสุดลง พร้อมกับการจ่ายเดนเกลด์ก้อนสุดท้ายใน ค.ศ. 924 และ ค.ศ. 926 เหล่าขุนนางต่อต้านชาร์ลมากขึ้นและใน ค.ศ. 922 ได้ปลดพระองค์ออกจากตำแหน่งและเลือก โรแบต์ที่ 1 เป็นกษัตริย์คนใหม่ หลังการสิ้นพระชนม์ของโรแบต์ใน ค.ศ. 923 เหล่าขุนนางเลือกรูดอล์ฟเป็นกษัตริย์ และยังคงคุมขังชาร์ลจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 929 หลังการปกครองของพระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่าย ดยุคท้องถิ่นเริ่มออกเงินตราของตนเอง
รูดอล์ฟ
[แก้]พระเจ้ารูดอล์ฟได้รับการสนับสนุนจากพระอนุชา ฮิวจ์ดำ พระโอรสของโรแบต์ที่ 1 อูกมหาราช ดยุคแห่งนอร์ม็องดีปฏิเสธที่จะยอมรับรูดอล์ฟจนถึง ค.ศ. 933 กษัตริย์ยังคงต้องไปต่อสู้กับเหล่าขุนนางทางใต้พร้อมกับกองทัพเพื่อให้ได้มาซึ่งการถวามความเคารพและความจงรักภักดี ทว่าเคานต์แห่งบาร์เซโลนาหาทางหลีกเลี่ยงได้อย่างสมบูรณ์แบบ
หลัง ค.ศ. 925 รูดอล์ฟมีส่วนร่วมในสงครามกับแอร์แบร์ที่ 2 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว ผู้ก่อการปฏิวัติ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าเฮนรี่นักล่านกกับอ็อตโตที่ 1 แห่งอีสต์ฟรังเกีย การก่อกบฏของเขาดำเนินต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 943
หลุยส์ที่ 4
[แก้]พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 กับดยุคอูกมหาราชอภิเษกสมรสกับพี่น้องหญิงของกษัตริย์อีสต์ฟรังเกีย อ็อตโตที่ 1 ที่หลังพระสวามีของตนสิ้นพระชนม์ก็ได้หาทางทำให้การปกครองของการอแล็งเฌียงและโรแบเตียงรวมเข้าด้วยกันโดยมีพระอนุชา บรูโนผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หลังชัยชนะในเวลาต่อมาของแอร์แบต์ที่ 2 หลุยส์มีเพียงขุนนางกลุ่มใหญ่กับพระเจ้าอ็อตโตที่ 1 คอยให้ความช่วยเหลือ ใน ค.ศ. 942 หลุยส์ยอมยกโลธาริงเกียให้อ็อตโตที่ 1
สงครามสืบทอดตำแหน่งในนอร์ม็องดีนำไปสู่สงครามครั้งใหม่ที่หลุยส์ถูกหักหลังโดยอูกมหาราชและถูกจับกุมตัวโดยเจ้าชายเดนมาร์ก ฮารัลด์ ที่ท้ายที่สุดก็ปล่อยพระองค์ให้อยู่ในการคุมตัวของอูก ที่คืนอิสรภาพให้กษัตริย์หลังจากได้รับเมืองล็องเป็นค่าชดเชย[10]
โลแธร์
[แก้]โลแธร์แห่งฝรั่งเศสวัย 13 ชันษาได้รับช่วงต่อดินแดนทั้งหมดของพระบิดาใน ค.ศ. 954 ในตอนนั้นมันมีขนาดเล็กมาก หลักปฏิบัติแบบการอแล็งเฌียงในการแบ่งดินแดนกันภายในกลุ่มพระโอรสไม่ได้รับการทำตาม และพระอนุชาของพระองค์ ชาร์ล ไม่ได้อะไรเลย ใน ค.ศ. 966 โลแธร์อภิเษกสมรสกับเอ็มมา พระธิดาเลี้ยงของพระอัยกาของพระองค์ อ็อตโต แต่กระนั้น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 978 โลแธร์โจมตีเมืองหลวงเดิมของจักรวรรดิ อาเคน อ็อตโตที่ 2 ตอบโต้ด้วยการโจมตีปารีส แต่ถูกปราบโดยกองทัพร่วมของพระเจ้าโลแธร์กับเหล่าขุนนาง และสันติภาพได้รับการลงนามใน ค.ศ. 980
โลแธร์หาทางเพิ่มอำนาจของตนให้มากขึ้น แต่กลับถูกทำให้เป็นไปในทางตรงกันข้ามด้วยการมาถึงของยุคของพระเจ้าอูก กาแป ที่เริ่มสร้างสัมพันธไมตรีกับเหล่าขุนนางและท้ายที่สุดก็ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์
รายนามพระมหากษัตริย์
[แก้]- ชาร์ลผู้หัวล้าน (ค.ศ. 843–77)
- หลุยส์ผู้ติดอ่าง (ค.ศ. 877–879)
- หลุยส์ที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 879–882)
- คาร์โลมันที่ 2 (ค.ศ. 882–884)
- ชาร์ลผู้อ้วนพี (ค.ศ. 885–888)
- โอโดแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 888–898)
- ชาร์ลผู้เรียบง่าย (ค.ศ. 898–922)
- โรแบต์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 922–923)
- รูดอล์ฟแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 923–936)
- หลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 936‐954)
- โลแธร์แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 954–986)
- หลุยส์ที่ 5 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 986–987)
- พระเจ้าอูก กาแป (ค.ศ. 987–996)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๓ อักษร E-G ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 527 หน้า. หน้า 189. ISBN 978-616-7073-55-2
- ↑ สารานุกรมคาทอลิก: Charlemagne
- ↑ AF a. 843: Karolus Aquitaniam, quasi ad partem regni sui iure pertinentem, affectans ... ("Charles wanted Aquitaine, which belonged by right to a part of his kingdom").
- ↑ Coupland 1989, 200–202.
- ↑ MacLean 2003, 127.
- ↑ Smith 1992, 192.
- ↑ Richard 1903, 37–38.
- ↑ The Cambridge Illustrated History of France
- ↑ The New Cambridge Medieval History: Volume 3, C.900-c.1024
- ↑ The New Cambridge Medieval History: Volume 3, C.900-c.1024