เทศบาลเมืองชุมพร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลเมืองชุมพร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Chumphon |
คำขวัญ: ชุมพรเมืองน่าอยู่ เคียงคู่ธรรมาภิบาล | |
พิกัด: 10°29′39″N 99°10′46″E / 10.494161°N 99.179506°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชุมพร |
อำเภอ | เมืองชุมพร |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ศรีชัย วีระนรพานิช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 21.10 ตร.กม. (8.15 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 33,663 คน |
• ความหนาแน่น | 1,595.40 คน/ตร.กม. (4,132.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04860102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 333 ถนนปรมินทรมรรคา ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000 |
เว็บไซต์ | www |
ชุมพร เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ประวัติ
[แก้]เทศบาลเมืองชุมพร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง เทศบาลเมืองชุมพร พุทธศักราช 2479 ซึ่งในขณะนั้นมีพื้นที่ในเขตเทศบาล 21.10 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 3,000 คน 500 หลังคาเรือน และได้จัดตั้งเขตชุมชนในตำบล อันเป็นที่ตั้งศาลากลาง จังหวัดชุมพร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมพร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 111 ตอนที่ 31 ก. ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2537
ภูมิศาสตร์
[แก้]เทศบาลเมืองชุมพร ตั้งอยู่บนถนนปรมินทรมรรคา ในเขตตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งอยู่ในบริเวณชุมชนที่มีกิจกรรมธุรกิจการค้า และการบริการ ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 463 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 485 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ 21.10 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลท่าตะเภา และพื้นที่บางส่วนของตำบลบางหมาก ตำบลตากแดด ตำบลวังไผ่ ตำบลนาทุ่ง และตำบลขุนกระทิง
- ทิศเหนือ จดคลองชลประทานสามแก้ว (เทศบาลตำบลบางลึกและเทศบาลตำบลนาชะอัง)
- ทิศตะวันออก จดคลองหนองม่วงค้อม-คลองท่านางสังข์ (เทศบาลตำบลท่ายางและองค์การบริหารส่วนตำบลนาทุ่ง)
- ทิศใต้ จดสะพานคลองท่าตะเภา (เทศบาลตำบลบางหมากและองค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด)
- ทิศตะวันตก จดเขต เทศบาลตำบลวังไผ่ และเทศบาลตำบลขุนกระทิง
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบริมแม่น้ำ และมีความลาดเอียงของพื้นที่เนื่องจาก เทศบาลเมืองชุมพรเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาตะนาวศรีฝั่งตะวันตกและชายฝั่งทะเลด้าน ตะวันออก ดังนั้น พื้นที่จึงมีความลาดเอียงจากด้านทิศตะวันตกสู่ด้านทิศตะวันออกลงสู่ทะเล
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมีฝนตกชุกตลอดปี เนื่องจากได้รับมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,701.9 มิลลิเมตร อากาศจะเย็นสบายในช่วงฤดูฝนและไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.1 องศาเซลเซียส
เศรษฐกิจ
[แก้]ประชากรในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย โดยเฉพาะในบริเวณชุมชนย่านธุรกิจการค้าซึ่งสถานประกอบการค้าจะเป็นร้านค้าบริการและร้านค้าปลีกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ร้านให้บริการต่างๆ และร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ร้านเสริมสวย เป็นต้น ส่วนอาชีพอื่นอันได้แก่ การทำนา ทำสวนผลไม้ ประมง จะอยู่ในพื้นที่รอบนอกเขต เทศบาลเมืองชุมพร
สภาพทางเศรษฐกิจของเทศบาลจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการบริการเป็นสำคัญ กิจการค้าและบริการที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสถานประกอบการจะเป็นทั้งร้านค้าบริการ และร้านค้าปลีก ส่วนกิจกรรมอุตสาหกรรมที่ตั้งในพื้นที่เขตเทศบาลส่วนมากจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทอู่ซ่อมรถ เคาะพ่นสีรถยนต์ รองลงมาคือทำท่อซีเมนต์ ประตู-หน้าต่าง ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนกำลังแรงงานโดยส่วนมากจะเป็นกำลังแรงงานในกิจการอุตสาหกรรม อู่ซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์
ประชากร
[แก้]ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 33,529 คน เป็นเพศชาย 15,828 คน เพศหญิง 17,701 คน เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 24,550 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 16,268 หลังคาเรือน
การศึกษา
[แก้]สถานการศึกษาในเขตเทศบาลมีจำนวน 12 แห่ง จำแนกเป็น
- ระดับก่อนประถมศึกษา
- โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน
- โรเรียนในสังกัดเทศบาล จำนวน 2 โรงเรียน
- ระดับมัธยมศึกษา
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนในสังกัดเทศบาล จำนวน 1 โรงเรียน
- โรงเรียนสังกัดกรมการศาสนา จำนวน - โรงเรียน
- ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา
จำนวน 1 โรงเรียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองชุมพร". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)