ข้ามไปเนื้อหา

ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(1 ปี 168 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
ถัดไปชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2552 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
ถัดไปกว้าง รอบคอบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤษภาคม พ.ศ. 2495
อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (65 ปี)
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองกิจสังคม (2527–2535)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535–2543)
ไทยรักไทย (2544–2550)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2554–2561)
คู่สมรสบังอร เบ็ญจาธิกุล (นอกสมรส)

ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม

ประวัติ

[แก้]

นายชาญชัย เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายสดใส และ นางทองใบ ชัยรุ่งเรือง ที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ใช้ชีวิตคู่กับบังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี[1]

นายชาญชัย ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งลำไส้ เมื่อเวลา 3 นาฬิกาของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[2] ณโรงพยาบาลเวิล์ดเมดิคอลเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยตั้งศพที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร และกำหนดพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การศึกษา

[แก้]

นายชาญชัย สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบรบือ และ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ระดับอาชีวศึกษา จากวิทยาลัยช่างก่อสร้างอุเทนถวาย รุ่นที่ 40 (ร่วมรุ่นกับ ยืนยง โอภากุล และ ปรีชา ชนะภัย) ในระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และหลักสูตรการปกครองราชอาณาจักร เอกชนและการเมือง (วปม.รุ่นที่ 1) ในระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์ทางการเมือง

[แก้]

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เริ่มเข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2535/1 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 เคยดำรงตำแหน่งในการเมืองตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 ซึ่งมีพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาได้มีการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมว่าผิดข้อบังคับ โดย กกต. ได้มีมติเห็นว่าการประชุมดังกล่าวผิดข้อบังคับ[3] หลังจากนั้นได้มีการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ปรากฏว่านายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินแทน จนกระทั่งในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายชาญชัย พร้อมด้วยสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ตัดสินใจย้ายไปร่วมงานการเมืองกับพรรครวมชาติพัฒนา และเปลี่ยนชื่อพรรคใหม่เป็น พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553[4] หลังการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เพราะ ส.ส. 2 คนของพรรคเพื่อแผ่นดินได้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาล 2 คน คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล และนายโสภณ ซารัมย์ จากพรรคภูมิใจไทย ทำให้แกนนำของพรรคภูมิใจไทย แสดงความไม่พอใจ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

นอกจากงานการเมืองแล้ว ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เคยได้รับหน้าที่เป็นประธานที่ปรึกษา และอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ต้องอ่านใครเป็นใครใน"ม.กรุงเทพธนบุรี"
  2. “ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง” อดีตส.ส.มหาสารคามเสียชีวิตแล้ว, มติชน, 17 กุมภาพันธ์ 2561
  3. โมฆะ “ประชา” หน.พรรค
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ถัดไป
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ครม. 59)

(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553)
ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์