การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีก 5 คน โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ส่วนการลงมติจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผู้อภิปราย[แก้]

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน
2 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน
3 นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน
4 ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน
5 นายไชยา พรหมมา ส.ส.หนองบัวลำภู
6 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่
7 นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ
8 นางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา
9 นายชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน
10 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร
11 นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน
12 นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน
13 นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี
14 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา
15 นายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน
16 นางอรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา
17 นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม
18 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา
19 ว่าที่ร้อยตรีพงศ์พันธ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย
20 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กรุงเทพมหานคร
21 นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่

[1]

รัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย[แก้]

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี
3 นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
5 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
6 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

[2]

การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย[แก้]

วันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 11.55 น. ที่รัฐสภา ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน เข้ายื่นหนังสือพร้อมแนบรายชื่อ ส.ส. 159 คน ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270

นายวิทยา กล่าวว่า การยื่นถอดถอนครั้งนี้เป็นบทบัญญัติที่เมื่อมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วจะต้องยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในเรื่องทุจริตด้วย ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลควรจัดให้พิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะหากยังมีความขัดแย้ง รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายได้นั้นต่อให้มีงบประมาณไปก็คงไม่เกิดประโยชน์

นายวิทยา กล่าวว่า ส่วนการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล มี ส.ส.พรรคเพื่อไทย 184 คน ลงชื่อในยื่นญัตติเพื่อยื่นต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายมี 6 คน คือนายอภิสิทธิ์, นายสุเทพ, นายชวรัตน์, นายโสภณ, นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่ารกระทรวงการคลัง และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยนายกรณ์ และนายกษิต นั้นฝ่ายค้านไม่ได้ยื่นถอดถอนเนื่องจากมีหลักฐานไม่เพียงพอจะดำเนินการได้ อภิปรายความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเพียงอย่างเดียว

ต่อมาเวลา 13.30 น. นายวิทยานำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 184 รายชื่อ จากทั้งหมด 189 คน ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ 2 ญัตติ คือ

  1. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยแนบชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง
  2. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล 5 คน ได้แก่ นายสุเทพ นายชวรัตน์ นายโสภณ นายกรณ์ และนายกษิต ต่อนายชัย

สำหรับ ส.ส.พรรคเพื่อไทยมีทั้งหมด 189 คน แต่ร่วมลงชื่อในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียง 184 คนขาด 5 คนคือ

  1. นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1
  2. พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2
  3. นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร
  4. ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร ส.ส.สระบุรี
  5. นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.สัดส่วน

โดยนายจุมพฏ และ ร.ต.ปรพล ได้ไปทำงานร่วมกับพรรคภูมิใจไทยนานแล้ว ส่วนนายสมบูรณ์ แจ้งความจำนงกับพรรคมาก่อนหน้าแล้วว่าหากมีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะไม่ร่วมลงชื่อด้วย[3]

การอภิปราย[แก้]

31 พฤษภาคม[แก้]

1 มิถุนายน[แก้]

ผลการลงมติ[แก้]

รายนามรัฐมนตรี ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ งดออกเสียง ไม่ลงคะแนน ผู้เข้าร่วมประชุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 246 186 11 21 464
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 245 187 11 21 464
นายกรณ์ จาติกวณิช 244 187 12 22 465
นายกษิต ภิรมย์ 239 190 15 21 465
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 236 194 14 22 466
นายโสภณ ซารัมย์ 234 196 13 22 465

[4]

การเรียกร้องให้ปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากการร่วมรัฐบาล[แก้]

หลังการลงมติในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งมี ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วน ได้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาล 2 คน คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล และนายโสภณ ซารัมย์ จากพรรคภูมิใจไทย ทำให้แกนนำของพรรคภูมิใจไทย แสดงความไม่พอใจ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากพรรคร่วมรัฐบาล[5] จนเป็นที่มาของการปรับคณะรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน 8 ตำแหน่ง ซึ่งในส่วนของกลุ่ม ส.ส. พรรคเพื่อแผ่นดินที่มีการลงมติไม่ไว้วสงใจดังกล่าว ถูกปรับออกจากตำแหน่ง คือ ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม และนายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.การคลัง และมีการดึงพรรคมาตุภูมิ และ ส.ส. พรรคเพื่อแผ่นดิน ในกลุ่มของนายไชยยศ จิรเมธากร เข้าร่วมรัฐบาลแทน

อ้างอิง[แก้]

  1. ""เพื่อไทย"เปิดรายชื่อทีมอภิปรายไม่ไว้วางใจ "จตุพร" ร่วมวงด้วย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  2. ญัตติฝ่ายค้านขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ และ 5 รมต.
  3. "เพื่อไทยยื่นถอดมาร์ค เทือก +2รมต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-24. สืบค้นเมื่อ 2010-06-05.
  4. สภาโหวตไว้วางใจนายกฯ - 5 รมต.[ลิงก์เสีย]
  5. พรรคภูมิใจไทยจี้พรรคประชาธิปัตย์ ปรับพรรคเพื่อแผ่นดินออก
ก่อนหน้า การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 ถัดไป
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554