โรงพยาบาลสกลนคร
โรงพยาบาลสกลนคร Sakon Nakhon Hospital | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 1041 ถนนเจริญเมือง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000, ประเทศไทย |
หน่วยงาน | |
ประเภท | ภูมิภาค |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 909 เตียง |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2496 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลสกลนคร เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย ซึ่งจัดอยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาค ขนาดจำนวนเตียง 909 เตียง[1]
ประวัติ
[แก้]เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ได้ทำการเปิดโรงพยาบาลสกลนครในบริเวณวัดสระแก้ว ข้างทะเลสาบหนองหาน โดยหลายปีที่ผ่านมา ได้เห็นพัฒนาการที่สำคัญโดยเฉพาะจากการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ท้องถิ่นที่ได้รับความเคารพนับถือ ทั้งหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และพระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (แบน ธนากโร) ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคที่มีความจุ 909 เตียงผู้ป่วยใน ณ พ.ศ. 2565[2][3]
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
[แก้]- ศูนย์โรคหัวใจ
ซึ่งเปิดบริการผ่าตัดหัวใจ สวนหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งจี้ไฟฟ้าหัวใจ รับส่งต่อจากจังหวัดสกลนคร,นครพนม,และบึงกาฬ
- ศูนย์โรคมะเร็ง
บริการผ่าตัดและฉายรังสีรักษา
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
[แก้]วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันจัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสนับสนุนการเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์หลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ในระดับชั้นคลินิก [4] โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนจะเปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา 2567 จำนวน 48 คน [5][6][7][8]
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร ภายหลังเปิดรับนิสิต ปีการศึกษา 2567 เป็นรุ่นแรก จำนวน 48 คน/รุ่น[9] โดยเป็นส่วนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสกลนคร จำนวน 24 คน/รุ่น และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 24 คน/รุ่น มีรายละเอียด คือ
|
ระยะเวลาในการศึกษา
[แก้]ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด!! ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (ณ เดือนเมษายน 2566)[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
- ↑ "ความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
- ↑ "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 ณ กุมภาพันธ์ 2565". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566
- ↑ ไทยรัฐ ออนไลน์, มก.จับมือ สธ.ตั้งศูนย์แพทย์สุพรรณบุรี-สกลนคร, 31 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2566
- ↑ สยามรัฐ, มก. MOU สธ. พัฒนาศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ณ โรงพยาบาลหลัก ผลิตแพทย์ให้ประเทศไทย, 29 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
- ↑ มติชน, ม.เกษตรฯ จับมือ สธ.พัฒนาศูนย์แพทย์ศึกษาชั้นคลินิก ที่ รพ.หลัก เล็งรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกปี’67 วันที่ 2 มิถุนายน 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
- ↑ เดลินิวส์ ออนไลน์ ครบรอบ 4 ปี ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชเดินหน้าดูแลปชช., 10 สิงหาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
- ↑ แพทยสภา, ประกาศแพทยสภา เรื่อง แพทยสภาให้การรับรองคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566