ทะเลสาบหนองหาน
ทะเลสาบหนองหาน | |
---|---|
ทางเดินในหนองหาน | |
ที่ตั้ง | จังหวัดสกลนคร, ประเทศไทย |
พิกัด | 17°13′N 104°10′E / 17.217°N 104.167°E |
ชนิด | ทะเลสาบนํ้าจืด |
ประเทศในลุ่มน้ำ | ประเทศไทย |
พื้นที่พื้นน้ำ | 125.2 ตารางกิโลเมตร (48.3 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) |
ความลึกสูงสุด | 10 เมตร (33 ฟุต) |
ความสูงของพื้นที่ | 158 เมตร (518 ฟุต) |
เมือง | จังหวัดสกลนคร |
ทะเลสาบหนองหาน หรือ หนองหานหลวง[1] เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ เป็นรองจากบึงบอระเพ็ด[2] ครอบคลุมพื้นที่ถึง 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม ตำบลท่าแร่ ตำบลเชียงเครือ ตำบลโคกก่อง ตำบลม่วงลาย ตำบลงิ้วด่อน ตำบลดงชน ตำบลธาตุนาเวง ตำบลฮางโฮง ตำบลเหล่าปอแดง ในอำเภอเมืองสกลนคร และตำบลบ้านแป้น ตำบลนาแก้ว ในอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่กว่า 77,000 ไร่ หรือ (123.2 ตารางกิโลเมตร) ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.0 - 10.0 เมตร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด นกน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย สันนิษฐานว่าหนองหานเกิดจากการยุบตัวของแผ่นเปลือกโลกอันเนื่องมาจากการถูกชะล้างของชั้นหินเกลือใต้ดินจนเกิดโพรงขนาดใหญ่ และเกิดการพังทลายยุบตัวลงเป็นหนองน้ำในเวลาต่อมา
ทะเลสาบหนองหานประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่มากกว่า 30 เกาะ เกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุดคือ เกาะดอนสวรรค์ โดยมีพุทธสถานโบราณภายในเกาะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555). "หนองหาน ไม่ใช่ หนองหาร ยุคสุโขทัย ปลูกเรือนเสาสูง". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 267 พ.ค. 2550 หน้า 172