ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคสามก๊ก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
RISE OF KINGDOMS
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
RISE OF KINGDOMS
{{ชื่ออื่น|||สามก๊ก (แก้ความกำกวม)}}
RISE OF KINGDOMS

RISE OF KINGDOMS
[[ไฟล์:Topographical 3K gif.gif|thumb|350px|ลำดับการเปลี่ยนแปลงของอาณาเขตในยุคสามก๊ก]]
RISE OF KINGDOMS

RISE OF KINGDOMS
{{Infobox Chinese
|title = '''สามก๊ก'''
|t = {{linktext|三國}}
|s = {{linktext|三国}}
|l = "สามรัฐ"
|p = Sānguó
|bpmf = ㄙㄢ   ㄍㄨㄛˊ
|mi = {{IPAc-cmn|s|an|1|.|g|wo|2}}
|w = San<sup>1</sup>-kuo<sup>2</sup>
|gr = Sangwo
|tp = Sanguó
|myr = Sāngwó
|j = Saam1gwok3
|ci = {{IPAc-yue|s|aam|1|.|gw|ok|3}}
|y = Sāamgwok
|wuu = Sẽ-kueʔ
|showflag= p
|shinjitai=三国
|hiragana=さんごく
|kyujitai=三國
|romaji=Sangoku
|hangul=삼국
|hanja={{lang|ko|三國}}
|rr=Samguk
|vie=Tam Quốc
|hn=三國
|altname = ยุคสามก๊ก
|t2 = {{linktext|三國|時代}}
|s2 = {{linktext|三国|时代}}
|p2 = Sānguó Shídài
|w2 = San<sup>1</sup>-kuo<sup>2</sup> Shih<sup>2</sup>-tai<sup>4</sup>
|mi2 = {{IPAc-cmn|s|an|1|.|g|wo|2|-|shi|2|.|d|ai|4}}
|gr2 = Sangwo Shyrday
|tp2 = Sanguó Shíhdài
|myr2 = Sāngwó Shŕdài
|bpmf2 = ㄙㄢ&nbsp;&nbsp;&nbsp;ㄍㄨㄛˊ&nbsp;&nbsp;&nbsp;ㄕˊ&nbsp;&nbsp;&nbsp;ㄉㄞˋ
|j2 = Saam1gwok3 Si4doi6
|ci2 = {{IPAc-yue|s|aam|1|.|gw|ok|3|-|s|i|4|.|d|oi|6}}
|y2 = Sāamgwok Sìhdoih
|wuu2 = Sẽ-kueʔ sy-de
}}

'''สามก๊ก''' (ค.ศ. 220–280; {{lang-en|Three Kingdoms}}; {{Zh-all|t=三國|s=三国|p=Sānguó}}) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐ[[วุยก๊ก|วุย]] (魏) [[จ๊กก๊ก|จ๊ก]] (蜀) และ[[ง่อก๊ก|ง่อ]] (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของ[[ราชวงศ์ฮั่น]]ในจีน นำสู่การเริ่ม[[หกราชวงศ์]] (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น

ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน ค.ศ. 220 และการพิชิตรัฐง่อโดย[[ราชวงศ์จิ้น]]ใน ค.ศ. 280 ส่วนแรก ๆ ซึ่งเป็นส่วน "ไม่เป็นทางการ" ของยุคสามก๊ก ตั้งแต่ ค.ศ. 184 ถึง 220 นั้น มีลักษณะการต่อสู้อุตลุดระหว่างขุนศึกในส่วนต่าง ๆ ของจีน ส่วนกลางของยุค ตั้งแต่ ค.ศ. 220 ถึง 263 มีลักษณะเป็นการจัดการที่เสถียรทางทหารมากกว่าระหว่างสามรัฐคู่แข่งวุย จ๊กและง่อ ส่วนหลังของยุคนี้มีลักษณะการล่มสลายของสถานการณ์ไตรภาคีซึ่งรวมการพิชิตจ๊กโดยวุย (ค.ศ. 263) การโค่นวุยโดยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265) และการพิชิตง่อโดยจิ้น (ค.ศ. 280)

ยุคสามก๊กเป็นยุคที่นองเลือดที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน สำมะโนประชากรระหว่างสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกรายงานประชากรไว้ประมาณ 50 ล้านคน แต่สำมะโนประชากรระหว่างต้นราชวงศ์จิ้นตะวันตกรายงานประชากรไว้ประมาณ 16 ล้านคน<ref name = ANU>{{cite web|title=The Three Kingdoms and Western Jin: A history of China in the Third Century AD|url=http://www.anu.edu.au/asianstudies/decrespigny/3KWJin.html|last=de Crespigny|first=Rafe|publisher=Australian National University|date=November 2003|accessdate=2007-10-29}}</ref>

แม้เป็นยุคที่ค่อนข้างสั้น แต่ยุคนี้ถูกตีความแบบโรมานซ์ (romanticize) อย่างมากในวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น เกาหลีและเวียดนาม มีการเฉลิมฉลองและเผยแพร่ในอุปรากร นิยายพื้นบ้าน นวนิยายและในสมัยหลัง ภาพยนตร์ โทรทัศน์และวิดีโอเกม งานที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ ''[[สามก๊ก]]'' (''Romance of the Three Kingdoms'') ของ[[หลัว กวั้นจง]] ซึ่งเป็นนวนิยายประวัติศาสตร์สมัย[[ราชวงศ์หมิง]]อิงเหตุการณ์ในยุคสามก๊ก


== จุดเกิดยุคสามก๊ก ==
== จุดเกิดยุคสามก๊ก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:16, 25 กันยายน 2562

RISE OF KINGDOMS RISE OF KINGDOMS RISE OF KINGDOMS RISE OF KINGDOMS RISE OF KINGDOMS

จุดเกิดยุคสามก๊ก

จุดเกิดของยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน มีจุดเริ่มต้นในยุคสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกซึ่งปกครองโดยพระเจ้าเหี้ยนเต้ ภายหลังถูกตั๋งโต๊ะเข้ายึดครองอำนาจทั้งหมดไว้เป็นของตน สถาปนาตนเองเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ภายหลังตั๋งโต๊ะถูกลอบสังหาร ราชสำนักและราชวงศ์เกิดความวุ่นวาย โจโฉฉวยโอกาสในสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งและปั่นป่วนเข้ายึดครองอำนาจและบังคับควบคุมให้พระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ภายใต้การปกครอง แต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราช มีอำนาจเด็ดขาดแก่เหล่าขุนศึก กองกำลังทหารและไพร่พล ครอบครองดินแดนทางเหนือส่วนหนึ่งไว้เป็นของตน

อ้วนเสี้ยวเป็นผู้มีอำนาจและกองกำลังทหารและไพร่พลเป็นจำนวนมาก ครอบครองพื้นที่บริเวณตอนกลางและตอนปลายของลุ่มแม่น้ำฮวงโห กองทัพอ้วนเสี้ยวจัดเป็นกองกำลังทหารที่มีอำนาจสูงสุดทางภาคเหนือเช่นเดียวกับกองทัพของโจโฉ ภายหลังโจโฉสามารถนำกำลังทหารเข้าโจมตีและเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้สำเร็จ จึงรวบรวมดินแดนทางเหนือทั้งหมดไว้เป็นของตน สำหรับดินแดนภาคใต้บริเวณตอนกลางลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเขตดินแดนปกครองของเล่าเปียวซึ่งปกครองดินแดนด้วยความสงบและมั่นคง และตอนปลายแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเขตแดนปกครองของซุนกวน[1]

ศึกสงคราม

ในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีความยาวนานมากกว่าร้อยปี ในระหว่างช่วงเวลานี้เกิดศึกสงครามใหญ่เพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่นับร้อยครั้ง และศึกเล็กศึกน้อยอีกนับครั้งไม่ถ้วน เช่นศึกโจรโพกผ้าเหลือง, ศึกกัวต๋อ, ศึกทุ่งพกบ๋อง ฯลฯ สำหรับศึกสงครามในสามก๊กที่ถือเป็นศึกใหญ่ที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์ได้แก่ศึกผาแดงหรือศึกเซ็กเพ็ก ในปี พ.ศ. 751 ซึ่งเป็นศึกสงครามระหว่างโจโฉ, เล่าปี่และซุนกวน โดยมีจุดเกิดของสงครามจากโจโฉ ที่ส่งกองกำลังทหารของตนลงใต้เพื่อโจมตีดินแดนของเล่าเปียว โดยใช้กองกำลังทหารเรือจิงโจวบุกประชิดเมืองซินเอี๋ยทั้งทางบกและทางน้ำ

ระหว่างที่โจโฉนำกองกำลังทหารเพื่อทำศึกสงคราม เล่าเปียวเกิดป่วยและเสียชีวิต เล่าจ๋องยอมจำนนและยกเมืองเกงจิ๋วแก่โจโฉ เล่าปี่ซึ่งอาศัยอยู่กับเล่าเปียวไม่ยอมจำนนต่อโจโฉ จึงแตกทัพจากเมืองซินเอี๋ยไปยังเมืองอ้วนเซีย ระหว่างทางอพยพเกิดศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวซึ่งเป็นศึกใหญ่อีกศึกในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขงเบ้งรับอาสาเป็นฑุตไปเจรจาขอเป็นพันธมิตรกับซุนกวนเพื่อร่วมกันต้านทัพของโจโฉ โดยเกลี้ยกล่อมซุนกวนและจิวยี่จนยอมเปิดศึกสงครามกับโจโฉ ไล่ต้อนเผากองทัพเรือของโจโฉจนวอดวาย ได้รับชัยชนะจากศึกเซ็กเพ็กอย่างงดงาม

อาณาจักรสามก๊ก

แผนที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี ค.ศ. 262 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก)


ในการปกครองบ้านเมืองของจีน ราชวงศ์ฮั่นถือเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปไกล ขับไล่ชนเผ่านอกด่านออกไปจากภาคเหนือของประเทศได้ ด้านทิศเหนือครอบครองแมนจูเรียและเกาหลีบางส่วน ทิศใต้ครองมณฑลกวางตุ้งและกว่างซีรวมถึงตอนเหนือของเวียดนาม ครั้นถึงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกหรือตงฮั่น จักรพรรดิทรงอ่อนแอ ขันทีมีอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขุนศึกหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่องและตั้งกองกำลังส่วนตัวขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไปทั่วแผ่นดิน ราษฎรได้รับความเดือนร้อนไปทั่วจนทำให้เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลืองขึ้น กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันโดยไม่สนใจรัฐบาลกลาง ในที่สุดแผ่นดินจีนแตกออกเป็นสามก๊กอย่างชัดเจนภายหลังจากที่โจโฉพ่ายแพ้แก่เล่าปี่และซุนกวนในการศึกที่ผาแดง เมื่อปี พ.ศ. 751

ภายหลังจากศึกเซ็กเพ็ก อำนาจความเป็นใหญ่ในแผ่นดินจีนแบ่งเป็นสามฝ่ายอย่างชัดเจน ต่างครอบครองเขตแดน ความยิ่งใหญ่และความแข็งแกร่งของกองกำลังทหาร คานอำนาจซึ่งกันและกันระหว่างโจโฉ ซุนกวนและเล่าปี่ ทำศึกสงครามและเป็นพันธมิตรร่วมกันมาตลอด โจโฉครอบครองดินแดนทางเหนือทั้งหมดเป็นแคว้นวุย ครองอำนาจบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห แคว้นวุยจัดเป็นแคว้นที่แข็งแกร่งที่สุด มีกองกำลังทหาร ขุนศึก ที่ปรึกษาเป็นกำลังจำนวนมาก โดยเฉพาะตระกูลสุมา ซึ่งภายหลังได้ทำการยึดครองอำนาจจากราชวงศ์วุยและสถาปนาราชวงศ์จิ้นแทน

ซุนกวนครอบครองดินแดนทางตะวันออกบริเวณทางใต้ทั้งหมดเป็นแคว้นง่อ ครองอำนาจบริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง มีกองกำลังทหาร ขุนศึกและที่ปรึกษาจำนวนมากเช่นเดียวกับแคว้นวุย เช่นจิวยี่ เตียวเจียว กำเหลง ลิบอง ลกซุนและโลซก

เล่าปี่ ครองอำนาจดินแดนทางภาคตะวันตกในแถบชิงอี้โจวกับฮั่นจงเป็นแคว้นจ๊ก มีกองกำลังทหาร ขุนศึกและที่ปรึกษา เช่น กวนอู เตียวหุย จูล่ง ม้าเฉียว ฮองตงและขงเบ้ง แคว้นจ๊กจัดเป็นแคว้นที่มีอายุน้อยที่สุดก่อนล่มสลายด้วยกองกำลังทหารของแคว้นวุย

แคว้นวุย

วุยหรือเฉาเวย (จีน: 曹魏) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่[2]

  1. พระเจ้าโจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 - 769
  2. พระเจ้าโจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 - 782
  3. พระเจ้าโจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 - 797
  4. พระเจ้าโจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 - 803
  5. พระเจ้าโจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 - 808

วุยก๊กถูกโจมตีและโค่นล้มราชวงศ์วุยโดยสุมาเอี๋ยน ซึ่งต่อมาภายหลังได้สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนและรวบรวมแผ่นดินที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

แคว้นจ๊ก

จ๊กหรือสู่ฮั่น (จีน: 蜀漢) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่[3]

  1. พระเจ้าเล่าปี่ ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 764 - 766
  2. พระเจ้าเล่าเสี้ยน ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 766 - 806

จ๊กก๊กมีอายุได้แค่เพียง 42 ปีก็ล่มสลายลงด้วยกองทัพของวุยก๊ก เนื่องจากการปกครองแผ่นดินที่ล้มเหลวของพระเจ้าเล่าเสี้ยน

แคว้นง่อ

ง่อหรืออาณาจักรอู่ตะวันออก (จีน: 東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ สถาปนาซุนเกี๋ยนผู้พ่อและซุนเซ็กผู้พี่เป็นจักรพรรดิย้อนหลัง 2 พระองค์ ได้แก่[4]

  1. พระเจ้าซุนกวน ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 765 - 795
  2. พระเจ้าซุนเหลียง ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 795 - 801
  3. พระเจ้าซุนฮิว ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 801 - 807
  4. พระเจ้าซุนโฮ ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 807 - 823

ง่อก๊กเป็นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาอาณาจักรสามก๊กที่ล่มสลายโดยกองทัพของสุมาเอี๋ยนและราชวงศ์จิ้น

การรวมแผ่นดิน

ภายหลังจากแผ่นดินจีนแตกแยกออกเป็นแคว้นใหญ่สามแคว้น ต่างครองอำนาจและความเป็นใหญ่ คานอำนาจซึ่งกันและกันรวมทั้งเกิดศึกสงครามแย่งชิงดินแดนบางส่วนของแคว้นจ๊ก การเป็นพันธมิตรระหว่างแคว้นง่อและแคว้นวุยจนเป็นเหตุให้แคว้นจ๊กเปิดศึกสงครามกับแคว้นง่อจนพ่ายแพ้ยับเยิน เป็นเหตุให้พระเจ้าเล่าปี่สิ้นพระชนม์ ขงเบ้งจึงเป็นผู้รับสืบทอดเจตนารมณ์ในการรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งสืบต่อไป แคว้นจ๊กเปิดศึกสงครามกับแคว้นวุยนับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ไม่อาจยึดครองดินแดนทั้งสามให้เป็นหนึ่งได้สำเร็จจนเสียชีวิตในระหว่างศึกอู่จั้งหยวน และหลังจากขงเบ้งเสียชีวิต พระเจ้าเล่าเสี้ยนไม่สามารถปกครองแคว้นจ๊กได้ เป็นเหตุแคว้นจ๊กก๊กเกิดความอ่อนแอและล่มสลาย

แคว้นวุยซึ่งปกครองโดยโจโฉผลัดแผ่นดินใหม่โดยโจผีเป็นผู้ครองแคว้นสืบต่อไป โดยแย่งชิงอำนาจจากพระเจ้าเหี้ยนเต้และตั้งตนเป็นจักรพรรดิ สถาปนาราชวงศ์วุยแทนราชวงศ์ฮั่น ภายหลังถูกสุมาเอี๋ยนแย่งชิงราชบัลลังก์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นแทน รวมทั้งนำกำลังทหารบุกโจมตีแคว้นง่อจนเป็นเหตุให้พระเจ้าซุนโฮยอมสวามิภักดิ์ และรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกออกเป็นสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ยุคสามก๊ก
  2. ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 58
  3. ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 52
  4. ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 58

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ยุคสามก๊ก ถัดไป
ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน
(ค.ศ. 220–280)
ราชวงศ์จิ้น