ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เตียงปัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เตียงปัน

ภาพวาดจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊าที่ระเบียงยาวภายในพระราชวังฤดูร้อน ที่กรุงปักกิ่ง
วันที่ตุลาคม ค.ศ. 208
สถานที่
ผล โจโฉเป็นฝ่ายชนะ เล่าปี่ต้องอพยพหลบหนี
คู่สงคราม

กองทัพโจโฉ

  • กองทัพฮูโต๋
  • กองทัพทางเหนือ
  • ทหารเกงจิ๋วที่ยอมจำนน
กองทัพแคว้นเกงจิ๋วที่สวามิภักดิ์

กองทัพเล่าปี่

  • ทหารจากซินเอี๋ย
  • ทหารจากอ้วนเซีย

ประชาชนที่ติดตามเล่าปี่

  • ชาวซินเอี๋ย
  • ชาวอ้วนเซีย

กองทัพเล่ากี๋(ยกมาช่วยภายหลัง)

  • กังเหลง
  • กังแฮ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โจโฉ
บุนเพ่ง
ชัวมอ
เล่าปี่
เตียวหุย
จูล่ง
บิต๊ก
บิฮอง
เล่ากี๋
กวนอู
ขงเบ้ง
กำลัง

ทหารม้า 5,000 คน

ทหารราบ 80,000นาย
ทหารราบ 5,000-40,000 คน
ประชาชนหลายแสนคน
ภาพอุกิโยะของญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงเตียวหุย ดักรอบุนเพ่ง หนึ่งในขุนพลของโจโฉที่สะพานเตียงปันเกี้ยว

ยุทธการที่เตียงปัน (อังกฤษ: Battle of Changban ; จีน: 長坂之戰; พินอิน: Chángbǎn zhī zhàn) เกิดขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก กองทัพของโจโฉไล่ตามกองทัพของเล่าปี่ที่เตียงปันใกล้เมืองตังหยาง มณฑลเกงจิ๋ว ถือได้ว่ายุทธการครั้งนี้เป็นด่านหน้าของยุทธการที่ผาแดง

จุดเกิดของศึกสงคราม

[แก้]

ในศักราชเจี้ยนอัน ปีที่ 7 (ค.ศ. 202) แฮหัวตุ้นนำกองทัพของโจโฉรบกับกองทัพของเล่าปี่ที่ทุ่งพกบ๋อง จากนั้นกองทัพของแฮหัวตุ้นก็ล่าถอย[1] หลังจากยุทธการที่เขาเป๊กลงสานในปี ค.ศ. 207 ก็ทำให้สถานการณ์ทางเหนือสงบลง ในปี ค.ศ. 208 กองทัพของโจโฉได้เคลื่อนลงใต้ไปยังเกงจิ๋ว ในเดือน 8 ของปีนั้นเล่าเปียวเจ้าแคว้นเกงจิ๋วถึงแก่อสัญกรรม หลังจากเล่าจ๋องบุตรชายคนที่ 2 ของเขาขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าแคว้นก็ยอมจำนนโดยไม่มีการต่อสู้ ก่อนที่เล่าปี่ซึ่งอยู่ที่ซินเอี๋ยจะทราบข่าวและถอยไปที่กังแฮ และอพยพไปยังกังเหล็งเขายังแจ้งให้กวนอู นำกองทัพเรือร่วมเดินทางไปกังเหล็งโดยมีผู้คนมากกว่า 100,000 คนติดตามเขาไป โดยกังเหล็งเป็นคลังเสบียงและอาวุธของเกงจิ๋ว ในเดือน 9 โจโฉกลัวว่าเล่าปี่จะเข้ายึดครองกังเหล็ง เขาและโจซุนจึงนำทหารม้าอัศวินพยัคฆ์เสือดาว (虎豹騎) จำนวน 5,000 นายเข้าโจมตีและไล่ติดตามกองทัพของเล่าปี่

การรบ

[แก้]

กองทัพของเล่าปี่มีทหารไม่กี่นาย และเล่าปี่ถูกบังคับให้ละทิ้งผู้คนและหลบหนี ดังนั้นเตียวหุยจึงนำทหารม้ายี่สิบนายไปขัดขวางโจโฉและเตียวหุยทำให้กองทัพของโจโฉหวาดกลัวด้วยการตะโกน ในเวลาเดียวกันจูล่งรับผิดชอบในการคุ้มกันนางกำฮูหยินและเล่าเสี้ยนภรรยาและบุตรชายของเล่าปี่ ในระหว่างการต่อสู้ บุตรสาวสองคนของเล่าปี่ถูกจับเป็นเชลย

หลังสงครามเล่าปี่ละทิ้งแผนการที่จะลงใต้และหนีไปกังเหล็งและหันไปทางทิศตะวันออกเพื่อเข้าร่วมกองทัพเรือของกวนอูที่ออกเดินทางมาล่วงหน้า และหนีไปกังแฮเพื่อเข้าร่วมกับเล่ากี๋บุตรชายคนโตของเล่าเปียว

ผลลัพธ์

[แก้]

โจหยิน (ลูกพี่ลูกน้องของโจโฉ) และโจซุนโจมตีกังเหล็ง จูล่งได้รับการเลื่อนตำแหน่งตอบแทนการคุ้มครองครอบครัวของเล่าปี่ แม่ของชีซีถูกโจโฉจับตัวไประหว่างการสู้รบครั้งนี้ ดังนั้นชีซีจึงเปลี่ยนมาทำงานกับโจโฉในภายหลัง

โลซกทูตของง่อก๊กเดินทางมาเคารพศพของเล่าเปียว พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเล่าปี่ให้เข้าร่วมกับซุนกวนเพื่อต่อต้านโจโฉและจูกัดเหลียงถูกส่งไปที่ง่อก๊กเพื่อหารือเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตร

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. s:三國志無載年份。s:資治通鑒_(胡三省音注)/卷064:建安七年……劉表使劉備北侵,至葉,曹操遣夏侯惇、于禁等拒之。備一旦燒屯去,惇等追之。裨將軍鉅鹿李典曰:「賊無故退,疑必有伏。南道窄狹,草木深,不可追也。」惇等不聽,使典留守而追之,果入伏裏,兵大敗。典往救之,備乃退。