วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/ตุลาคม
1 ตุลาคม: วันชาติในสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2492); วันประกาศเอกราชในไซปรัสและไนจีเรีย (พ.ศ. 2503), ตูวาลู (พ.ศ. 2521) และปาเลา (พ.ศ. 2537)
- พ.ศ. 213 (331 ปีก่อน ค.ศ.) – อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย (ในภาพ) ชนะจักรพรรดิดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซียในยุทธการที่กอกามีลา
- พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) – มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซึ่งก่อตั้งโดยลีแลนด์ สแตนฟอร์ด นักธุรกิจรางรถไฟและผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย และเจน ภริยา บนที่ดินเกษตรเดิมของพวกตนในพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เปิดอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – สงครามกลางเมืองจีน: หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อตุง ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – โทไกโดชิงกันเซ็ง เส้นทางรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งสายแรกในประเทศญี่ปุ่น เปิดให้บริการ
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) – เปิดตัววอลต์ดิสนีย์เวิลด์รีสอร์ต รีสอร์ตที่มีอาณาเขตใหญ่และมีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในโลก ใกล้กับออร์แลนโด รัฐฟลอริดา
ดูเพิ่ม: 30 กันยายน – 1 ตุลาคม – 2 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
2 ตุลาคม: วันประกาศเอกราชใน กินี (พ.ศ. 2501)
- พ.ศ. 2078 (ค.ศ. 1535) – นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ฌัก การ์ตีเย (ในภาพ) ล่องเรือในแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ นำสู่การค้นพบถิ่นฐานของชนพื้นเมืองบนเกาะที่ปัจจุบันคือ มอนทรีออล
- พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) – จอห์น โลจี เบร์ด นักประดิษฐ์ชาวสกอต สามารถส่งผ่านภาพโทรทัศน์ภาพแรกได้สำเร็จ
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) – โคเซ มารีอา เอสกรีบา เด บาลาเกร์ นักบวชชาวสเปนก่อตั้งคณะโอปุสเดอี องค์การศาสนจักรคาทอลิกทั่วโลกซึ่งสอนว่าทุกคนสามารถเป็นนักบุญได้
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพนาซีเยอรมนีเริ่ม ปฏิบัติการไต้ฝุ่น เป็นการรุกแบบเต็มตัวซึ่งเปิดฉากยุทธการที่มอสโกนานสามเดือน
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – การ์ตูนชุด พีนัตส์ โดย ชาลส์ เอ็ม. ชูลส์ ที่มีชาร์ลี บราวน์และสนูปปี้ สัตว์เลี้ยง เป็นตัวเอก ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สำคัญ
ดูเพิ่ม: 1 ตุลาคม – 2 ตุลาคม – 3 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
3 ตุลาคม: วันรวมชาติเยอรมัน; วันเอกราชในอิรัก (พ.ศ. 2475)
- พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) – หนังสือพิมพ์ปราฟดาดั้งเดิม ก่อตั้งโดยเลออน ทรอตสกี, อดอล์ฟ จอฟฟี, มัตเวย์ สโกเลเลฟ และชาวรัสเซียที่ถูกเนรเทศในกรุงเวียนนา
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: หลังกองทัพบัลแกเรียพ่ายต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 พระมหากษัตริย์บัลแกเรีย ทรงสละราชสมบัติ โดยซาร์บอริสที่ 3 ขึ้นครองราชย์แทน
- พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) – กองทัพอิตาลีภายใต้บังคับบัญชาของพลเอก เอมีลีโอ เด โบโน บุกครองอะบิสซิเนีย จุดชนวนสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันรวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ เพื่อตั้งเป็นรัฐเยอรมันสหภาพที่มีอธิปไตยครั้งแรกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – กองทัพสหรัฐพยายามเข้าจับกุมข้าราชการองค์การของขุนศึก โมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด ในยุทธการที่โมกาดิชู (ในภาพ)
ดูเพิ่ม: 2 ตุลาคม – 3 ตุลาคม – 4 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
4 ตุลาคม: วันสัตว์โลก; วันประกาศเอกราชในเลโซโท (พ.ศ. 2509)
- พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) – รัฐบาลชั่วคราวในบรัสเซลส์ประกาศสถาปนารัฐเอกราชและเป็นกลางเบลเยียมในการกบฏต่อสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
- พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – พระเจ้ามานูเอลที่ 2 พระมหากษัตริย์โปรตุเกสพระองค์สุดท้าย ทรงลี้ภัยไปยิบรอลตาร์หลังเกิดการปฏิวัติในกรุงลิสบอน วันรุ่งขึ้น มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐโปรตุเกสที่ 1
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (ในภาพ) ด้วยจรวดอาร์-7 จากท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ คาซัคสถาน และกลายเป็นดาวเทียมดวงแรกที่โคจรรอบโลก
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – เริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ซึ่งเป็นระบอบการเมืองปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – รถถังระดมยิงทำเนียบขาวในกรุงมอสโก ขณะเกิดการชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดีบอริส เยลซินนอกอาคาร ระหว่างวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย
ดูเพิ่ม: 3 ตุลาคม – 4 ตุลาคม – 5 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
5 ตุลาคม: วันสาธารณรัฐในโปรตุเกส (พ.ศ. 2453)
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – การปฏิวัติฝรั่งเศส: สตรีชาวปารีสและพันธมิตรหลายพันคนเดินขบวน (ในภาพ) ไปพระราชวังที่แวร์ซาย ด้วยไม่พอใจปัญหาขนมปังราคาแพงและขาดแคลน
- พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) – โกลกาตาในประเทศอินเดียถูกพายุไซโคลนทำลายเกือบสิ้น มีผู้เสียชีวิต 60,000 คน
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – ก่อตั้งสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติในการประชุม ณ ฟองแตนโบล ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีจูเลียน ฮักซ์เลย์ ผู้อำนวยการยูเนสโก เป็นผู้สนับสนุน
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – พยัคฆ์ร้าย 007 ภาพยนตร์ตอนแรกในชุดเจมส์ บอนด์ เข้าฉายเป็นวันแรก
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ลินุกซ์ เคอร์เนลเวอร์ชันแรกอย่างเป็นทางการ เวอร์ชัน 0.02 เปิดตัวเป็นวันแรก
ดูเพิ่ม: 4 ตุลาคม – 5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – ประเทศอียิปต์ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาตเปิดฉากปฏิบัติการบาเดอร์ ยกพลข้ามคลองสุเอซและโจมตีแนวบาร์เลฟของอิสราเอล เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามยมคิปปูร์
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) – เกิดเหตุการณ์ปราบปรามและลงประชาทัณฑ์นักศึกษาและผู้ประท้วงต่อต้านการเดินทางกลับประเทศของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์และที่สนามหลวง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 46 คน (ประติมากรรมรำลึกในภาพ) และเกิดรัฐประหารโค่นรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชในเวลาเย็น
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) – ฮั่ว กั๋วเฟิง นายกรัฐมนตรีจีน สั่งจับกุมแก๊งออฟโฟร์และผู้ร่วมงาน ยุติการปฏิวัติวัฒนธรรม
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – วารสาร เนเจอร์ เผยแพร่รายงานของนักดาราศาสตร์ มิเชล เมเยอร์และดิดิเยร์ เควลอซ เนื้อหาเกี่ยวกับการค้นพบดาวเคราะห์ซึ่งโคจรรอบ 51 เพกาซี นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) – อินสตาแกรมออกแอพพลิเคชันโมบายล์สำหรับอุปกรณ์ไอโอเอสรุ่นแรก
ดูเพิ่ม: 5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม – 7 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) – ก่อตั้งสายการบินเคแอลเอ็ม สายการบินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังใช้ชื่อเดิม
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – เบอร์ลินตะวันออกและเขตยึดครองของโซเวียตในเยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (ธงในภาพ)
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – มีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันซีเกมส์ 1995
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – สงครามต่อต้านการก่อการร้าย: สงครามอัฟกานิสถานเริ่มต้นด้วยการทัพทิ้งระเบิดทางอากาศโดยหมายกองกำลังตอลิบานและอัลกออิดะห์
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – 2008 TC3 ระเบิดเหนือทะเลทรายนูเบียในประเทศซูดาน เป็นครั้งแรกที่มีการทำนายการตกกระทบของอุกกาบาตขณะเป็นดาวหางก่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก
ดูเพิ่ม: 6 ตุลาคม – 7 ตุลาคม – 8 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) – ประเทศซานมารีโน สาธารณรัฐที่มีรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกาศใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของประเทศ
- พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) – ข้าราชการจีนจับกุมและจำคุกลูกเรือของเรือจดทะเบียนฮ่องกงชื่อ แอร์โรว์ 12 คน เนื่องจากต้องสงสัยว่าเป็นโจรสลัดและลักลอบนำเข้าหรือส่งออก เป็นชนวนเหตุของสงครามฝิ่นครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – มิตร ชัยบัญชา (ในภาพ) ตกเฮลิคอปเตอร์เสียชีวิตระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ อินทรีทอง ที่หาดดงตาล อ่าวพัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – เปิดท่าอากาศยานแห่งใหม่ในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ที่การ์เดอร์มอน แทนท่าอากาศยานขนาดเล็กกว่า ณ ที่ตั้งเดิมซึ่งใช้สำรองท่าอากาศยานหลักเดิมของนครที่ฟอร์เนบู
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – เกิดแผ่นดินไหวใหญ่มีศูนย์กลางบริเวณแคชเมียร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศปากีสถาน อินเดีย และอัฟกานิสถานกว่า 74,500 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 106,000 คน
ดูเพิ่ม: 7 ตุลาคม – 8 ตุลาคม – 9 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
9 ตุลาคม: วันเอกราชในยูกันดา (พ.ศ. 2505)
- พ.ศ. 1989 (ค.ศ. 1446) – นักวิชาการในราชสำนักของพระเจ้าเซจงมหาราช ประกาศใช้อักษรเกาหลีแบบใหม่ ปัจจุบันเรียก อักษรฮันกึล
- พ.ศ. 2057 (ค.ศ. 1514) – แมรี ทิวดอร์ พระขนิษฐาในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และมีพระอิสริยยศเป็นพระราชินีฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) – อนุสาวรีย์วอชิงตัน (ในภาพ) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อนุสรณ์ที่ระลึกจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และสิ่งก่อสร้างสูงสุดในโลกขณะนั้น เปิดต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – มีประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐเขมร ซึ่งมีพลเอก ลอน นอล และเจ้าสีสุวัตถิ์ สิริมตะเป็นผู้นำ ในประเทศกัมพูชา
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – มะลาละห์ ยูซัฟซัย นักกิจกรรมชาวปากีสถานซึ่งขณะนั้นอายุได้ 11 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากมือปืนตอลิบานในความพยายามลอบฆ่าที่ล้มเหลว
ดูเพิ่ม: 8 ตุลาคม – 9 ตุลาคม – 10 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
10 ตุลาคม: วันชาติในฟิจิ (พ.ศ. 2513) และไต้หวัน (พ.ศ. 2454)
- พ.ศ. 1275 (ค.ศ. 732) – ชาร์ล มาร์แตลและชาวแฟรงค์รบชนะกองทัพจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ นำโดย อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี ในยุทธการที่ตูร์ (ในภาพ) ใกล้เมืองตูร์และปัวติเยร์
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – การปฏิวัติซินไฮ่เริ่มต้นจากการก่อการกำเริบอู่ชาง เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิง และการสถาปนาสาธารณรัฐจีน
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – มีพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ในกรุงโตเกียว เป็นกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่จัดในทวีปเอเชีย และเป็นพิธีเปิดครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – สนธิสัญญาอวกาศซึ่งมีเนื้อหาวางรากฐานของกฎหมายอวกาศ มีผลใช้บังคับ
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) – คริสตจักรโรมันคาทอลิกประกาศให้แมกซิมิเลียน คอลบี ชาวโปแลนด์ผู้อาสาตายแทนชาวยิวอีกคนในค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นนักบุญ
ดูเพิ่ม: 9 ตุลาคม – 10 ตุลาคม – 11 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชนำกำลังจากภาคอีสานไปกรุงเทพมหานคร หวังยึดอำนาจรัฐบาลคณะราษฎร
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – โฮจิมินห์และเวียดมินห์เข้าปกครองประเทศเวียดนามเหนือตามเงื่อนไขของข้อตกลงเจนีวาหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง อันเป็นจุดสิ้นสุดของการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – นาซาส่งอะพอลโล 7 (ในภาพ) ในภารกิจแรกของโครงการอะพอลโลที่มีนักบินอวกาศขึ้นไปด้วย จากแหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ รายการคอมเมดี-วาไรตีโชว์ในสหรัฐอเมริกา ออกอากาศรอบปฐมทัศน์
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อันได้ชื่อว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"
ดูเพิ่ม: 10 ตุลาคม – 11 ตุลาคม – 12 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
12 ตุลาคม: วันชาติในอิเควทอเรียลกินี (พ.ศ. 2511) และสเปน (พ.ศ. 2035); วันเด็กในประเทศบราซิล
- พ.ศ. 2035 (ต.ศ. 1492) – คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสขึ้นฝั่งบนเกาะในทะเลแคริบเบียน โดยเชื่อว่าได้มาถึงหมู่เกาะอินเดียตะวันออกแล้ว
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - ผู้นำพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น อิเนจิโร อาซานูมะ ถูกโอโตยะ ยามางูจิ ลอบสังหารด้วยดาบสั้นขณะการโต้วาทีถ่ายทอดออกอากาศ
- พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) – ชุดยิงเยอรมันประหารชีวิตพยาบาลชาวอังกฤษ เอดิธ คาเวล หลังช่วยให้ทหารสัมพันธมิตรหลบหนีออกจากเบลเยียม
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ลอบวางระเบิดโรงแรมในไบรตัน ประเทศอังกฤษ เพื่อพยายามลอบสังหารมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ แต่ล้มเหลว
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – กลุ่มติดอาวุธอิสลาม ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ ก่อเหตุระเบิดหลายจุดบนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (อนุสรณ์ในภาพ) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 202 ราย และบาดเจ็บอีก 209 คน
ดูเพิ่ม: 11 ตุลาคม – 12 ตุลาคม – 13 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
13 ตุลาคม: วันตำรวจ, วันนวมินทรมหาราช
- พ.ศ. 587 (ค.ศ. 54) – จักรพรรดิคลอเดียสถูกพระมเหสีลอบปลงพระชนม์ ทำให้นีโร พระโอรสวัย 16 ชันษาของพระนาง เป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์ถัดมา
- พ.ศ. 1850 (ค.ศ. 1307) – ผู้แทนของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสจับกุมอัศวินเทมพลาร์จำนวนมากพร้อมกันในเวลารุ่งเช้า และภายหลังยังทรมานให้รับมิจฉาทิฐิ
- พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) – ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียในแอตแลนตา เป็นส่วนหนึ่งของแผนสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลังสงครามกลางเมือง
- พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) – ประเทศตุรกีย้ายเมืองหลวงจากอิสตันบูลเป็นอังการา
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) – มีการถ่ายทอดสดการช่วยเหลือคนงานเหมือง 33 คนที่ติดอยู่ในเหมืองซันโคเซในประเทศชิลีทางโทรทัศน์ มีผู้รับชมกว่า 1 พันล้านคน (ในภาพ)
ดูเพิ่ม: 12 ตุลาคม – 13 ตุลาคม – 14 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
14 ตุลาคม: วันครูในโปแลนด์; วันประชาธิปไตยในไทย
- พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) – หนังสือเล่มแรกที่มีตัวการ์ตูนวินนี่ เดอะ พูห์ โดย เอ.เอ. มิลน์ ปรากฏ ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – นักบินทดสอบชาวอเมริกัน ชัก เยเกอร์ (ในภาพ) เป็นบุคคลแรกที่บินด้วยความเร็วสูงจนผ่านกำแพงเสียง
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ยูเอสเอ 11 คนถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานพยายามใช้กำลังล้มล้างรัฐบาล
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาเริ่มต้นเมื่อเครื่องบินสอดแนมยู-2 ของกองทัพอากาศสหรัฐสามารถถ่ายภาพการติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ในประเทศคิวบา
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจรใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวัง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน
ดูเพิ่ม: 13 ตุลาคม – 14 ตุลาคม – 15 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2072 (ค.ศ. 1529) – การล้อมกรุงเวียนนาสิ้นสุดเมื่อชาวออสเตรียขับกองทัพเติร์กผู้รุกราน นับเป็นจุดพลิกผันของการพิชิตดินแดนอย่างไม่หยุดยั้งนานเกือบศตวรรษทั่วยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางของจักรวรรดิออตโตมัน
- พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) – สเปน โปรตุเกส เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัฐอิตาลีหลายแห่งเป็นประเทศแรก ๆ ที่เริ่มใช้ปฏิทินเกรกอเรียนแทนปฏิทินจูเลียน
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – คนงาน 35 คนเสียชีวิตสะพานเวสต์เกตในเมลเบิร์นเกิดถล่มบางส่วนเนื่องจากโครงสร้างล้มเหลว
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – ภารกิจยานอวกาศ กัสซีนี–เฮยเคินส์ ของนาซาถูกปล่อยขึ้นอวกาศเพื่อไปสำรวจดาวเสาร์
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งเสินโจว 5 (ในภาพ) พร้อมนักบินอวกาศคนแรกของตนขึ้นอวกาศ
ดูเพิ่ม: 14 ตุลาคม – 15 ตุลาคม – 16 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) – มารี อองตัวแนต (ในภาพ) พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ทรงถูกสำเร็จโทษด้วยกิโยติน ณ ปลัสเดอลากงกอร์ด ในกรุงปารีส ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) – วอลต์ ดิสนีย์และรอย ดิสนีย์ก่อตั้งเดอะวอลต์ดิสนีย์ขึ้นในฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งต่อมาเติบโตจนกลายเป็นบริษัทด้านสื่อและการบันเทิงใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งในโลก
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ฮันส์ ฟรังค์ ข้าหลวงใหญ่นาซี ก่อตั้งวอร์ซอเกตโต เกตโตยิวใหญ่ที่สุดในประเทศโปแลนด์
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – คารอล โจเซฟ วอยตีวา พระคาร์ดินัลจากคราคูฟ ประเทศโปแลนด์ ได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 นับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ไม่ใช่ชาวอิตาลี และเป็นพระองค์แรกที่เป็นกลุ่มชนสลาฟ
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) – การบินลาว เที่ยวบินที่ 301 ตกลงในแม่น้ำโขง ทำให้ทั้ง 49 คนบนเครื่องเสียชีวิต เป็นอุบัติเหตุทางอากาศครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศลาว
ดูเพิ่ม: 15 ตุลาคม – 16 ตุลาคม – 17 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
17 ตุลาคม: วันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2147 (ค.ศ. 1604) – โยฮันเนส เคปเลอร์ (ในภาพ) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน สังเกตดาวสว่างผิดปกติ ซึ่งปัจจุบันเรียก มหานวดาราเคปเลอร์ ซึ่งปรากฏโดยฉับพลันในกลุ่มดาวคนแบกงู
- พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) – แอล คาโปน นักเลงชาวอเมริกัน ถูกพิพากษาลงโทษจากการหนีภาษีห้ากระทง
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) – จักรวรรดิญี่ปุ่นก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะเพื่อสนับสนุนกำลังของตนในการทัพพม่าในสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จ โดยมีแรงงานบังคับเสียชีวิตประมาณ 100,000 คน
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – โอเปกเริ่มกักตุนน้ำมันเพื่อต่อต้านประเทศตะวันตกที่สนับสนุนประเทศอิสราเอลทำสงครามกับประเทศซีเรีย
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 บนรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส บริเวณอ่าวแซนแฟรนซิสโก มีผู้เสียชีวิต 63 คน บาดเจ็บ 3,757 คน และไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 8,000 คน
ดูเพิ่ม: 16 ตุลาคม – 17 ตุลาคม – 18 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) – โมบิดิก นวนิยายโดยเฮอร์แมน เมลวิลล์ (ในภาพ) นักเขียนชาวอเมริกัน จัดพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ เดอะเวล
- พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) – สงครามฝิ่นครั้งที่สองสิ้นสุดลงด้วยอนุสัญญาปักกิ่ง ซึ่งเป็นการให้สัตยาบันสนธิสัญญาเทียนจิน
- พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) – สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองดินแดนอะแลสกาอย่างเป็นทางการ หลังซื้อมาจากจักรวรรดิรัสเซีย
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ควน เปรอน นายทหารและนักการเมืองชาวอาร์เจนตินา สมรสกับดาราที่ได้รับความนิยม เอบา ดัวร์เต หรือรู้จักกันในชื่อ เอบีตา
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – ยานสำรวจอวกาศเวเรนา 4 ของโซเวียตวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของดาวศุกร์โดยตรง และเป็นอวกาศยานลำแรกที่ลงจอดบนดาวเคราะห์ดวงอื่น แม้หยุดทำงานไปก่อนหน้านั้นแล้ว
ดูเพิ่ม: 17 ตุลาคม – 18 ตุลาคม – 19 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
19 ตุลาคม: วันรัฐธรรมนูญในนีอูเอ (พ.ศ. 2517); วันเทคโนโลยีในไทย
- พ.ศ. 2012 (ค.ศ. 1469) – พระเจ้าเฟรนานโดที่ 2 แห่งอารากอนราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล อันเป็นการปูทางไปสู่การรวมอารากอนและคาสตีล เป็นประเทศสเปน
- พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) – สงครามปฏิวัติอเมริกา: กองทัพอังกฤษ นำโดยพลเอกชาลส์ คอร์นวอลลิส ยอมจำนนต่อกองทัพฝรั่งเศส-อเมริกา นำโดยพลเอกจอร์จ วอชิงตัน อย่างเป็นทางการ เป็นการยุติการล้อมยอร์กทาวน์
- พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) – มักซ์ พลังค์ (ในภาพ) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ตั้งกฎการแผ่รังสีวัตถุดำ อันเป็นผลลัพธ์บุกเบิกของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่และทฤษฎีควอนตัม
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) – นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยรัทเจอส์แยกสเตรปโตมัยซิน ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาวัณโรคชนิดแรก ได้เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) – ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลงถึงร้อยละ 22.6 ในวันเดียว เรียกว่า วันจันทร์ทมิฬ นับเป็นการลดลงมากที่สุดในวันเดียวเมื่อเทียบเป็นร้อยละในประวัติศาสตร์ของดาวโจนส์
ดูเพิ่ม: 18 ตุลาคม – 19 ตุลาคม – 20 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) – จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาสืบราชบัลลังก์ฮับส์บูร์กในออสเตรีย
- พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) – สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาลงนามสนธิสัญญา ค.ศ. 1818 ซึ่งเป็นการกำหนดพรมแดนสหรัฐอเมริกา-แคนาดา ณ เส้นละติจูด 49 องศาเหนือ
- พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) – กองเรือพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียทำลายกองเรือผสมออตโตมันและอียิปต์ที่ยุทธนาวีที่นาวาริโน อันเป็นช่วงชี้ขาดในสงครามประกาศอิสรภาพกรีซ
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฐานะที่เป็นพระราชินีนาถออสเตรเลีย เปิดโรงอุปรากรซิดนีย์ (ในภาพ) ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย อย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – สงครามกลางเมืองลิเบีย: มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียที่ถูกโค่น ถูกจับได้และถูกฆ่าจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง
ดูเพิ่ม: 19 ตุลาคม – 20 ตุลาคม – 21 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2348 (ค.ศ. 1805) – สงครามนโปเลียน: กองเรืออังกฤษภายใต้บัญชาการของพลเรือโท โฮราชิโอ เนลสัน ชนะกองเรือผสมฝรั่งเศส–สเปนในยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ ทำให้นโปเลียนหันไปบุกทางตะวันออกแทน
- พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) – ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (ในภาพ) และคณะพยาบาลอีก 38 คนถูกส่งไปจักรวรรดิออตโตมันเพื่อช่วยรักษาทหารบริติชที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างสงครามไครเมีย
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ญี่ปุ่นเริ่มการโจมตีแบบกามิกาเซครั้งแรก โดยบรรทุกระเบิดหนัก 200 กิโลกรัมโจมตีเรือหลวงออสเตรเลีย นอกชายฝั่งเกาะเลย์เต ประเทศฟิลิปปินส์ หลังยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตเริ่มต้น
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – โมเช ดายันลาออกจากรัฐบาลอิสราเอล เพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่อชาติอาหรับของนายกรัฐมนตรี เมนาเฮม เบกิน
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) – ในการประชุมใหญ่ชั่ง ตวง วัดครั้งที่ 17 มีการนิยามเมตรใหม่เป็นระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศใน 1/299,792,458 วินาที
ดูเพิ่ม: 20 ตุลาคม – 21 ตุลาคม – 22 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2379 (ค.ศ. 1836) – แซม ฮูสตันเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐเท็กซัสคนแรก
- พ.ศ. 2422 (ค.ศ. 1879) – โทมัส เอดิสันทดสอบและประสบความสำเร็จในการใช้เส้นใยไส้หลอดคาร์บอนในหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา ซึ่งจะกลายมาเป็นรุ่นของผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
- พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) – การแห่ถอนเงินทำให้บริษัทนิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ของนครนิวยอร์กต้องยุติการทำงาน เป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (ในภาพ) นักปรัชญาและนักเขียนชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ปฏิเสธรับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม หลังคณะกรรมการโนเบลประกาศผล
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – อินเดียส่งยานอวกาศจันทรายาน-1 ยานอวกาศไม่มีมนุษย์ควบคุมลำแรกของประเทศ ขึ้นสู่อวกาศในภารกิจสำรวจดวงจันทร์
ดูเพิ่ม: 21 ตุลาคม – 22 ตุลาคม – 23 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
23 ตุลาคม: วันชาติในฮังการี (พ.ศ. 2499); วันปิยมหาราชในไทย
- พ.ศ. 501 (42 ปีก่อนคริสตกาล) – สงครามกลางเมืองผู้ปลดปล่อย: มาร์ค แอนโทนีและออคเตเวียนชนะกองทัพของบรูตัสได้อย่างเด็ดขาดในยุทธการที่ฟิลิปปีครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) – ยุทธการที่เอ็ดจฮิลล์ระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ ใกล้กับเอ็ดจฮิลล์
- พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในภาพ) เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – มีการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งแรกในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเชเชนบุกยึดโรงละครแห่งหนึ่งในกรุงมอสโก จับผู้ชมและนักแสดงราว 700 คนเป็นตัวประกัน
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) – เกิดแผ่นดินไหว บริเวณจังหวัดนีงาตะ ขนาด 6.6 ซึ่งมีความรุนแรงแผ่นดินไหวถึงระดับ 7 ทำให้รถไฟชิงกันเซ็งตกรางครั้งแรก
ดูเพิ่ม: 22 ตุลาคม – 23 ตุลาคม – 24 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
24 ตุลาคม: วันสหประชาชาติ; วันเอกราชในแซมเบีย (พ.ศ. 2507)
- พ.ศ. 1803 (ค.ศ. 1260) – พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิหารชาทร์ ในเมืองชาทร์ ประเทศฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) – มีการลงนามสนธิสัญญามึนสเตอร์ (ในภาพ) สนธิสัญญาฉบับที่สองในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งมีผลยุติสงครามสามสิบปีในทวีปยุโรป และการปฏิวัติเนเธอร์แลนด์ และรับรองสาธารณรัฐเจ็ดสหเนเธอร์แลนด์และสหพันธรัฐสวิสเป็นรัฐเอกราช
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) – จัดตั้งสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์ สโมสรฟุตบอลซึ่งมิใช่สโมสรฟุตบอลในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่มีบันทึก
- พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) – มีพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานจอร์จ วอชิงตันเชื่อมระหว่างนครนิวยอร์กกับฟอร์ตลี รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งปัจจุบันนับเป็นสะพานที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – กฎบัตรสหประชาชาติ ธรรมนูญของสหประชาชาติ มีผลบังคับใช้ หลังสาธารณรัฐจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และชาติที่ร่วมลงนามส่วนใหญ่ให้สัตยาบัน
ดูเพิ่ม: 23 ตุลาคม – 24 ตุลาคม – 25 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
25 ตุลาคม: วันสาธารณรัฐในคาซัคสถาน (พ.ศ. 2533); วันการคืนดินแดนในไต้หวัน; วันกองทัพในโรมาเนีย
- พ.ศ. 1690 (ค.ศ. 1147) – เรกองกิสตา: กำลังซึ่งมีพระเจ้าอาฟองโซที่ 1 (ในภาพ) เป็นผู้นำยึดลิสบอนคืนจากชาวมัวร์หลังการล้อมนานสี่เดือน เป็นหนึ่งในชัยไม่กี่ครั้งของฝ่ายคริสต์ศาสนิกชนระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2303 (ค.ศ. 1760) – เจ้าชายจอร์จที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
- พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) – มีการแสดงเปียโนคอนแซร์โตหมายเลข 1 ของไชคอฟสกี รอบปฐมทัศน์ในบอสตัน
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้แทนของจีน ณ สหประชาชาติ แทนสาธารณรัฐจีน
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์เอกซ์พี ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์รุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและใช้กันแพร่หลายที่สุด
ดูเพิ่ม: 24 ตุลาคม – 25 ตุลาคม – 26 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
26 ตุลาคม: วันชาติในออสเตรีย (พ.ศ. 2498)
- พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) – ก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน องค์การกำกับดูแลกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – นอร์ทอเมริกัน พี-51 มัสแตง อากาศยานขับไล่ทรงประสิทธิภาพที่สุดแบบหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ออกบินเที่ยวแรก
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – ประธานาธิบดีปัก จุง ฮี (ในภาพ) แห่งเกาหลีใต้ ถูกคิม แจ ยู ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองเกาหลีใต้ ลอบสังหาร
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) – โลร็อง บากโบเป็นประธานาธิบดีคนแรกของโกตดิวัวร์นับแต่รอแบร์ เกอีถูกโค่นอำนาจในรัฐประหารเมื่อปี 2542
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามรัฐบัญญัติความรักปิตุภูมิ ซึ่งขยายอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐในการต่อสู้กับการก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกอย่างมาก
ดูเพิ่ม: 25 ตุลาคม – 26 ตุลาคม – 27 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
27 ตุลาคม: วันประกาศเอกราชในเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (พ.ศ. 2522) และเติร์กเมนิสถาน (พ.ศ. 2534)
- พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) – สหรัฐอเมริกาและสเปนลงนามสนธิสัญญามาดริด ที่ข้อตกลงแบ่งเขตแดนระหว่างอาณานิคมสเปนกับสหรัฐอเมริกา รวมทั้งให้สิทธิแก่สหรัฐอเมริกาเหนือแม่น้ำมิสซิสซิปปี
- พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) – รถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กซึ่งเชื่อมระหว่างศาลาเทศบาลนครนิวยอร์กกับเขตชุมชนเดอะ บรองซ์ในเขตนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เปิดใช้งานส่วนแรก
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – นาซาปล่อยจรวดแซตเทิร์น 1 (ในภาพ) ลำแรกขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจแซตเทิร์น-อะพอลโล 1
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) – สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นซาอีร์
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกทรุดตัวลง เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอย ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลงถึง 554.26 จุด ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบเป็นจุด
ดูเพิ่ม: 26 ตุลาคม – 27 ตุลาคม – 28 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 855 (ค.ศ. 312) – จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงชนะจักรพรรดิแม็กเซ็นติอัส ณ ยุทธการที่สะพานมิลเวียน กรุงโรม เป็นการสิ้นสุดสมัยจตุราธิปไตย และทำให้พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันแต่เพียงพระองค์เดียว
- พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) – เกิดแผ่นดินไหวปีโฮเอ ค.ศ. 1707 แผ่นดินไหวครั้งเดียวที่ทำให้เมกะทรัสต์นันไคทุกส่วนแยกออกพร้อมกัน มีขนาดประเมินที่แมกนิจูด 8.6
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) – โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นประธานในพิธีรับมอบอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ของกำนัลจากฝรั่งเศส ในโอกาสครบรอบ 100 ปี การประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) – วาเก รูดอล์ฟ ซูปราตมัน นักประพันธ์เพลงชาวอินโดนีเซีย นำเสนอ "อินโดเนเซีย รายา" ซึ่งปัจจุบันเป็นเพลงชาติอินโดนีเซีย
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) – กริสตินา เฟรนันเดซ เด กีร์ชเนร์ (ในภาพ) เป็นหญิงคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอาร์เจนตินา โดยมีคะแนนเสียงทิ้งห่างคู่แข่งอันดับสองถึงร้อยละ 22
ดูเพิ่ม: 27 ตุลาคม – 28 ตุลาคม – 29 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
29 ตุลาคม: วันสาธารณรัฐในตุรกี
- พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) – มีการแสดงดอน โจวานนี อุปรากรของว็อล์ฟกัง โมทซาร์ท (ในภาพ) ครั้งแรก ณ กรุงปราก
- พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) – ชาติยุโรป 16 ชาติร่วมประชุมที่กรุงเจนีวาเพื่อก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) – ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กลดลงอย่างรุนแรงใน "วันอังคารทมิฬ" ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) – วิกฤติการณ์สุเอซเริ่มเมื่อประเทศอิสราเอลบุกครองคาบสมุทรไซไน ผลักดันให้กำลังอียิปต์ล่าถอยไปคลองสุเอซ
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – จอห์น เกล็นน์ นักบินอวกาศชาวอเมริกันวัย 77 ปี โดยสารกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี เพื่อศึกษาผลกระทบของการเดินทางในอวกาศต่อผู้สูงอายุ หลังเว้นช่วงภารกิจอวกาศนานกว่า 3 ทศวรรษ
ดูเพิ่ม: 28 ตุลาคม – 29 ตุลาคม – 30 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) – วิลเฮล์ม เจ้าชายแห่งเดนมาร์กพระชนมายุ 17 พรรษา เสด็จมากรุงเอเธนส์ เพื่อครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ (ในภาพ)
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – ตั้งความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญขององค์การการค้าโลก
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – สหภาพโซเวียตทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ซาร์บอมบา บนเกาะโนวายา เซมลียาในทะเลอาร์กติก เป็นอาวุธนิวเคลียร์รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยจุดระเบิด
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – ผลการลงประชามติ ปรากฏว่ารัฐเกแบ็กยังคงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแคนาดา ด้วยเสียงเห็นชอบเฉียดฉิว 50.58%
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - เหตุเพลิงไหม้ไนต์คลับในบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 64 ราย บาดเจ็บ 146 คน และนำไปสู่การประท้วงกรณีการฉ้อโกงทางการเมืองในเวลาต่อมา
ดูเพิ่ม: 29 ตุลาคม – 30 ตุลาคม – 31 ตุลาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
31 ตุลาคม: ฮาโลวีน; วันปฏิรูปศาสนาในนิกายโปรแตสแตนต์
- พ.ศ. 2060 (ค.ศ. 1517) – มาร์ติน ลูเธอร์นำประกาศ ข้อปัญหา 95 ข้อ ไปปิดที่โบสถ์วิตเตนเบิร์กครั้งแรก ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี เป็นจุดเริ่มต้นของนิกายโปรเตสแตนด์
- พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) – เบนีโต มุสโสลีนีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีขณะมีอายุ 39 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลีอายุน้อยที่สุด
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – กัตซอน บอร์กลัมสร้างรูปปั้นครึ่งตัวของประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน, โทมัส เจฟเฟอร์สัน, ธีโอดอร์ โรสเวลต์ และอับราฮัม ลิงคอล์น บนภูเขารัชมอร์ (ในภาพ) เสร็จ
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกองครักษ์ชาวซิกข์ลอบฆ่า นำไปสู่การจลาจลต่อต้านซิกข์ทั่วประเทศ
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – มหาเธร์ โมฮัมหมัดเกษียณจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังครองอำนาจ 22 ปี
ดูเพิ่ม: 30 ตุลาคม – 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ