ข้ามไปเนื้อหา

จรวดแซตเทิร์น 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จรวดแซตเทิร์น 1
จรวดแซตเทิร์น 1 ที่ถูกปล่อยในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ.1961
หน้าที่Large booster technology
Large scientific satellite payloads in LEO
Apollo spacecraft development
ผู้ผลิตChrysler (S-I)
Douglas (S-IV)
Convair (S-V) - Unflown
ประเทศสหรัฐ
ขนาด
สูง55 เมตร (180 ฟุต)
เส้นผ่านศูนย์กลาง6.52 เมตร (21.39 ฟุต)
มวล1,124,000 ปอนด์ (510,000 กิโลกรัม)
ท่อน2 หรือ 3
(ส่วนที่ 3 ไม่ออกตัว)
ความจุ
น้ำหนักบรรทุกสู่วงโคจรต่ำของโลก20,000 lb (9,070 kg)
(2 ส่วน)
น้ำหนักบรรทุกสู่
TLI
4,900 lb (2,220 kg) (2 ส่วน)
ประวัติการบิน
สถานะปลดเกษียณแล้ว
จุดส่งตัวLC-37 & LC-34, Cape Canaveral
จำนวนเที่ยวบิน10
สำเร็จ10
ล้มเหลว0
เที่ยวบินแรกOctober 27, 1961
เที่ยวบินสุดท้ายJuly 30, 1965
น้ำหนักบรรทุกที่โดดเด่นBoilerplate Apollo CM
Pegasus
จรวดท่อนแรก - S-I
เครื่องยนต์8 H-1
แรงขับ1,500,000 lbf (6.7 MN)
เวลาเผาไหม้~150 วินาที
เชื้อเพลิงRP-1/LOX
จรวดท่อนที่สอง S-IV
เครื่องยนตร์6 RL10
แรงขับ90,000 lbf (400 kN)
เวลาเผาไหม้~482 วินาที
เชื้อเพลิงLH2/LOX
จรวดท่อนที่สาม - S-V (Centaur-C) - ไม่ลอย[1]
เครื่องยนต์2 RL10
แรงขับ133 kN (30,000 lbf)
เวลาเผาไหม้~430 วินาที
เชื้อเพลิงLH2/LOX

จรวดแซตเทิร์น 1 (อังกฤษ: Saturn I) ถือว่าเป็นผู้นำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่การสำรวจอวกาศอย่างแท้จริง เพราะเป็นจรวดนำส่งยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรของโลกได้ และเป็นตัวพัฒนาต่อไปเป็น จรวดแซตเทิร์น 5 ที่นำยานอพอลโลไปสู่ดวงจันทร์

ข้อมูล

[แก้]

จรวดแซตเทิร์น 1 ผลิตโดยบริษัทไครสเลอร์สามารถบรรทุกของหนัก 9000 กิโลกรัม เข้าสู่วงโคจรรอบโลกระดับต่ำ หรือ ภาษาอังกฤษ:Low Earth Orbit (LEO) คือที่ความสูงประมาณ 160 - 2000 กิโลเมตร (100 - 1,240 ไมล์) เหนือพื้นโลกหรือของที่หนัก 2200 กิโลกรัม ที่สามารถหลุดพ้นโรงดึงดูดของโลกได้ จรวดแซตเทิร์น 1 มี 3 ท่อน

  • ท่อนแรกคือ เอส 1 มีเครื่องยนต์ H-1 จำนวน 8 ตัว ให้แรงขับดัน ประมาณ 6.7 เมกกะนิวตัน (1,500,000 ฟุตปอนด์) ใช้เวลาเผาใหม้ราว 150 วินาที เชื้อเพลิงที่ใช้คือ RP-1 (Rocket Propellant-1 or Refined Petroleum-1 ) กับออกซิเจนเหลว
  • ท่อนที่สอง คือ S-IV มีเครื่องยนต์ RL-10 จำนวน 6 ตัวให้แรงขับดันประมาณ 400 กิโลนิวตัน (90,000 ฟุตปอนด์) ใช้เวลาเผาใหม้ราว 482 วินาที เชื้อเพลิงที่ใช้คือ LH2 หรือ ไฮโดรเจนเหลว กับ ออกซิเจนเหลว
  • ท่อนที่สาม คือ S-V (Centaur-C) มีเครื่องยนต์ RL-10 จำนวน 2 ตัว ให้แรงขับดัน ประมาณ 133 กิโลนิวตัน(30,000 ฟุตปอนด์) ใช้เวลาเผาใหม้ราว 430 วินาที เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเดียวกับท่อนที่ 2

จรวดแซตเทิร์น 1 ผลิตขึ้นมา 10 ลำ มีรหัส SA-1 ถึง SA-10 ยิงขึ้นและประสบความสำเร็จทั้ง 10 ลำ ระหว่าง ค.ศ. 1961 - ค.ศ. 1965 ก่อนที่จะถูกพัฒนาไปเป็นจรวดแซตเทิร์น 1 บี ต่อไป

อ้างอิง

[แก้]