ประเทศฟีจี
สาธารณรัฐฟีจี Republic of Fiji (อังกฤษ) Matanitu ko Viti (ฟีจี) फ़िजी गणराज्य (ฮินดีฟีจี) | |
---|---|
คำขวัญ: Rerevaka na Kalou ka Doka na Tui (ยำเกรงพระเจ้าและเกียรติของสมเด็จพระราชินีนาถ) | |
![]() | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ซูวา |
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ ภาษาฟีจี และภาษาฮินดีฟีจี |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน สาธารณรัฐ |
• ประธานาธิบดี | Wiliame Katonivere |
• นายกรัฐมนตรี | แฟรงก์ ไบนีมารามา |
เอกราช | |
• จาก สหราชอาณาจักร | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513 |
พื้นที่ | |
• รวม | 18,270 ตารางกิโลเมตร (7,050 ตารางไมล์) (152) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 898,760[1] (161) |
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2560 | 884,887[2] |
46.4 ต่อตารางกิโลเมตร (120.2 ต่อตารางไมล์) (148) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 8.647 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 9,857 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 5.054 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 5,761 |
จีนี (2013) | 36.4[3] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | ![]() สูง · อันดับที่ 93 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์ฟีจี (FJD) |
เขตเวลา | UTC+12 |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | 679 |
โดเมนบนสุด | .fj |
ฟีจี[5] (อังกฤษ: Fiji, /ˈfiːdʒi/ ( ฟังเสียง); ฟีจี: Viti; ฮินดีฟีจี: फ़िजी) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟีจี (อังกฤษ: Republic of Fiji; ฟีจี: Matanitu ko Viti; ฮินดีฟีจี: फ़िजी गणराज्य) ตั้งอยู่บนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศวานูวาตู ทางทิศตะวันตกของประเทศตองงา และทางทิศใต้ของประเทศตูวาลู
ภูมิศาสตร์[แก้]
ประกอบด้วยเกาะ 322 เกาะ แต่มีประชากรอาศัยอยู่ 106 เกาะ เป็นเกาะ หินภูเขาไฟ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีพื้นที่ราบเพียง เล็กน้อย มีแร่ธรรมชาติ เช่น ทอง เงิน ทองแดง แมงกานีส ในเกาะวิติเลวู มีบ่อน้ำพุร้อนและหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ และต้นมะพร้าวบริเวณชายฝั่ง บริเวณที่แห้งแล้งเป็นทุ่งหญ้า หรือใช้ในการทำไร่อ้อย
ภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น
ประวัติศาสตร์[แก้]
ฟีจีมีชนพื้นเมืองอาศัยกระจัดกระจายอยู่บนเกาะต่าง ๆ มาราว 3,500 ปีมาแล้ว ชนพื้นเมืองมักต่อต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน ต่อมาคาโคบาอูซึ่งเป็นหัวหน้าของชนเผ่าหนึ่งสามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ฟีจี
ต่อมาได้มีผู้ค้นพบหมู่เกาะ และ ดินแดนฟีจี เป็นนักสำรวจชาวเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์) ที่มีชื่อว่า เอเบล ทัชแมน (ค.ศ. 1603 - 1659) ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กิจการค้ารองเท้าในดินแดนแห่งนี้มีได้รับความนิยมสูง จนเป็นเหุตให้มีชาวยุโรปจากประเทศต่าง ๆ เข้ามายังฟีจีเป็นจำนวนมากเพื่อแสวงหาทรัพยากร ประกอบกับความต้องการทำไร่ต้องเช่าที่ดินจากชนพื้นเมือง และ จ้างแรงงานภายนอกชาวอินเดียจำนวนมากมาทำไร่ ผลจากความละโมบเป็นชนวนเหตุของความวุ่นวายจากการก่อจลาจล และไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ประกอบกับแรงกดดันจากมหาอำนาจชาติต่าง ๆ เพื่อให้เหตุจลาจลครั้งนี้สงบลง ฟีจีต้องยอมเข้าเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) ในยุคอาณานิคมมีความพยายามในการปกป้องกรรมสิทธิ์ในการที่ดินและปกป้องการใช้แรงงานชนพื้นเมือง
การเมืองการปกครอง[แก้]
ระบบรัฐสภา ระบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ภาคกลาง (ซูวา)[แก้]
- จังหวัดไนทาซิลิ 1,666 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดนาโมซิ 570 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดเรมา 272 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดเซรัว 830 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดไทเลวู 755 ตารางกิโลเมตร
ภาคเหนือ (ลาบาซา)[แก้]
- จังหวัดบัว 1,379 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดคากัวเดรฟ 2,816 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดมาคัวตา 2,008 ตารางกิโลเมตร
ภาคตะวันออก (เลวูกา)[แก้]
- จังหวัดคาดาวู 478 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดเลา 487 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดลาไมวีตี 411 ตารางกิโลเมตร
ภาคตะวันตก (เลาโตกา)[แก้]
- จังหวัดบา 2,634 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดนาดรอกา-นาโวซา 2,385 ตารางกิโลเมตร
- จังหวัดรา 1,341 ตารางกิโลเมตร
(*) เกาะโรตูมา 46 ตารางกิโลเมตร
เศรษฐกิจ[แก้]
โครงสร้าง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าของฟีจียังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์มีการนำเข้าลดลง นอกจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอแล้ว ฟีจียังมีเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความผันแปรตามราคาทองคำโลกค่อนข้างสูง ผลผลิตจากเหมืองทองคำ มีจำนวน 119,767 ออนซ์ ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้แล้ว ฟีจียังส่งออกน้ำดื่มบรรจุขวดไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย โดยอาศัยชื่อเสียงของฟีจีเรื่องการมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]
การคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ท่าอากาศยานนานาชาตินาดีเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟีจี อยู่ห่างจากตัวเมืองนาดีไปทางเหนือ 9 กิโลเมตร[6] ท่าอากาศยานนานาชาติเนาโซรีอยู่ห่างจากตัวเมืองซูวาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 23 กิโลเมตร และให้บริการสายการบินในประเทศเป็นหลัก Airports Fiji Limited (AFL) เป็นผู้ดำเนินงานท่าอากาศยาน 15 ท่าอากาศยานของหมู่เกาะฟีจี ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาดี ท่าอากาศยานนานาชาติเนาโซรี และท่าอากาศยานในเกาะรอบ ๆ อีก 13 ท่าอากาศยาน สายการบินหลักของฟีจีก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อแอร์แปซิฟิกแต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นฟีจีแอร์เวย์[7] ฟีจีแอร์เวย์ยังเป็นสายการบินแม่ของฟีจีลิงก์อีกด้วย
ประชากรศาสตร์[แก้]
ประกอบด้วยชาวฟีจี ร้อยละ 51 ส่วนอีกร้อยละ 44 เป็นชาวฟีจีเชื้อสายอินเดีย
ชาวฟีจีส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 85% รองลงมานับถือศาสนาอิสลาม, ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, และศาสนาคริสต์นิกายฟีจีออร์โธดอกซ์ ร้อยละ 52% ศาสนาฮินดู ร้อยละ 14 % ศาสนาซิกข์ 0.9% และไม่นับถือศาสนา ร้อยละ 5 % ตามลำดับ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ Fiji Bureau of Statistics (5 January 2018). "2017 Population and Housing Census – Release 1". Census 2017. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2018-03-20. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
- ↑ "Gini Index". World Bank. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560. [ออนไลน์]. 2561. สืบค้น 8 มิถุนายน 2561.
- ↑ Airports Fiji Limited. Retrieved April 2010.
- ↑ Gibson, Nevil (14 May 2012). "Air Pacific reverts to original Fiji Airways name". National Business Review. สืบค้นเมื่อ 14 May 2012.
- ประเทศฟีจี Archived 2009-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- รัฐบาล
- เว็บไซต์ทางการรัฐบาลฟีจี
- เว็บไซต์ทางการรัฐสภาฟีจี
- Chief of State and Cabinet Members ข้อมูลคณะรัฐบาลประเทศฟีจีจากเว็บไซต์ซีไอเอ]
- ข้อมูลทั่วไป
- Fiji entry at The World Factbook
- Fiji Archived 2008-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at UCB Libraries GovPubs
- ประเทศฟีจี ที่เว็บไซต์ Curlie
- Fiji profile from the BBC News
Wikimedia Atlas of Fiji
- Key Development Forecasts for Fiji from International Futures
- การศึกษา
- ด้านการท่องเที่ยว
- เว็บไซต์สำนักงานท่องเที่ยวฟีจีอย่างเป็นทางการ Archived 2007-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข่าว กีฬา และสภาพอากาศในฟีจี จากหนังสือพิมพ์ชั้นนำของฟีจี
New Zealand คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)