วันชาติจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่ออื่นวันชาติจีน
จัดขึ้นโดยจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน, ฮ่องกง และมาเก๊า
ประเภทประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ชาตินิยม
ความสำคัญวันประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2492
การเฉลิมฉลองมอบกระเช้าดอกไม้แด่อนุสาวรีย์วีรชน สวนสนามทางทหาร (ทุกๆ 10 ปี) การแสดงดอกไม้ไฟ คอนเสิร์ต ฯลฯ
เริ่ม1 ตุลาคม
สิ้นสุด3 ตุลาคม (อย่างเป็นทางการ)
อีกสี่วันจะถูกเพิ่มลงในวันหยุดราชการ 3 วันโดยปกติจะเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 รอบในช่วงวันที่ 1 ตุลาคมทำให้วันหยุดนักขัตฤกษ์มีระยะเวลาเจ็ดวันติดต่อกัน (黄金周/หวงจินโจว, "สัปดาห์ทอง"), เฉพาะเจาะจงที่กำหนดโดยสภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน[1]
วันที่1 ตุลาคม
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกพ.ศ. 2492
การเฉลิมฉลองวันชาติจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี พ.ศ. 2549[2]

วันชาติจีน (จีน: 国庆节; พินอิน: guóqìng jié; แปลตรงตัว: "วันเฉลิมฉลองแห่งชาติ") คือวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ (中华人民共和国国庆节) เป็นวันหยุดราชการในประเทศจีนที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อระลึกถึงการประกาศอย่างเป็นทางการของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 [3]

หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม ยังมีการเพิ่มวันหยุดนักขัตฤกษ์อีก 6 วันตามปกติแทนวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 ครั้งในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ทำให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์มีระยะเวลา 7 วันติดต่อกันหรือที่เรียกว่า สัปดาห์ทอง (黄金周; huángjīn zhōu)

ประวัติศาสตร์[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 โดยมีพิธีฉลองการจัดตั้งรัฐบาลประชาชนกลางที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชื่อปักกิ่ง (เดิมชื่อเป่ย์ผิง) ในวันเดียวกัน การสวนสนามทางทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนถูกจัดขึ้นที่นั่น

ตามคำประกาศของเหมา เจ๋อตง ที่ประกาศถึงการจัดตั้งสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐบาลกลางได้มีมติประกาศให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน

การเฉลิมฉลอง[แก้]

วันชาติเป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ทอง ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ยาว 1 สัปดาห์

วันดังกล่าวมีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า โดยมีเทศกาลที่รัฐบาลจัดขึ้นมากมาย เช่น ดอกไม้ไฟ คอนเสิร์ต ตลอดจนกีฬาและกิจกรรมทางวัฒนธรรม สถานที่สาธารณะ เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง วันหยุดนี้ยังมีการเฉลิมฉลองโดยชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก

พิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์วีรชน[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556 พิธีวางพวงมาลาแห่งชาติถูกจัดขึ้นในวันชาติที่จัตุรัสเทียนอันเหมินหลังจากพิธีชักธงในปีที่ไม่มีการสวนสนาม พิธีนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่อนุสาวรีย์วีรชน ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2501 เพื่อรำลึกถึงวีรชนชาวจีนหลายล้านคนที่เสียชีวิตระหว่างการต่อสู้เพื่อชาติเป็นเวลาหลายปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 พิธีนี้จัดขึ้นในวันหยุดใหม่ในชื่อ Martyrs' Day ซึ่งกำหนดขึ้นใหจัดในวันที่ 30 กันยายน และมีผู้นำพรรคและรัฐเป็นประธาน[4]

พิธีชักธงชาติ[แก้]

ในบางปี พิธีชักธงชาติจะถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในตอนเช้า หากไม่มีกำหนดการสวนสนาม[5]

เป็นเวลาหลายปีที่พิธีชักธงวันชาติในเวลา 6.00 น. เป็นกิจกรรมที่สำคัญในปีที่ไม่มีการสวนสนามที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พิธีนี้เปิดให้สาธารณชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวเข้าชม และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และสื่อออนไลน์สำหรับผู้ชมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในตอนท้ายของพิธี จะมีการปล่อยนกเขา

พิธีสวนสนามทางทหาร[แก้]

จอมพลหลิน เปียว ตรวจพลสวนสนามการสวนสนามครบรอบ 10 ปี ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2502

การสวนสนามทางทหารและพลเรือนของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตำรวจติดอาวุธประชาชน และกองทหารรักษาการณ์ร่วมกับตัวแทนประชาชนทุกสาขาอาชีพ รวมถึงผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์ของจีนถูกจัดขึ้นในช่วงเช้าของวันชาติในปีที่กำหนด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 พิธีสวนสนามได้รับการถ่ายทอดสดครั้งแรกผ่านทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) (และออกอากาศทั่วโลกผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวี) เป็นไฮไลท์สำคัญของการเฉลิมฉลองระดับชาติในกรุงปักกิ่ง

การสวนสนามถูกจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2502 และไม่ได้จัดจนถึงปี พ.ศ. 2527 เนื่องจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

ในตอนแรกมีแผนจะจัดการสวนสนามในปี พ.ศ. 2532 แต่ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดเหตุการณ์การปราบปรามและสังหารหมู่ผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันที่ 4 มิถุนายน และการสวนสนามถูกจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2552

ระเบียงภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 黄金周/Huángjīnzhōu, "Golden Week"
  2. China at 60: Nostalgia and progress | Fu Ying | Comment is free. The Guardian (2008-07-16). Retrieved on 2011-04-30.
  3. Flag-raising ceremony held for China's National Day celebration_English_Xinhua. News.xinhuanet.com (2009-10-01). Retrieved on 2011-04-30.
  4. "First national Martyrs' Day remembers those who sacrificed for China". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 30 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
  5. "National Day celebrated across China". Xinhua News Agency. 1 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 April 2011.