ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่โมกาดิชู (พ.ศ. 2536)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรบที่โมกาดิชู
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองโซมาเลีย

ซุปเปอร์ หก-สี่ หนึ่งในแบล็คฮอว์คที่โดนยิงร่วง บินอยู่เหนือน่านฟ้ากรุงโมกาดิชู
วันที่3 - 4 ตุลาคม, พ.ศ. 2536
สถานที่
ผล กองกำลังร่วมเรนเจอร์ปฏิบัติภารกิจสำเร็จลุล่วง*
คู่สงคราม

สหรัฐสหรัฐอเมริกา

สหประชาชาติกองกำลังสหประชาชาติ

ทหารบ้านของพันธมิตรแห่งชาติโซมาเลีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
วิลเลียม เอฟ. แกริสัน โมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด
ความสูญเสีย
สหรัฐฯ
เสียชีวิต 18 นาย
บาดเจ็บ 73 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 1 นาย
มาเลเซีย
เสียชีวิต 1 นาย
บาดเจ็บ 7 นาย
ปากีสถาน
บาดเจ็บ 2 นาย
ทหารบ้านและพลเรือน
เสียชีวิตอย่างน้อย 1,000 คน
บาดเจ็บอย่างน้อย 3,000 คน

การรบที่โมกาดิชู หรือที่ชาวโซมาเลียเรียกว่า Ma-alinti Rangers (แปลว่าวันแห่งพวกเรนเจอร์) คือการรบภายใต้ปฏิบัติการโกธิคเซอร์เพนท์ (Operation Gothic Serpent) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการจับกุมขุนศึกแห่งพันธมิตรแห่งชาติโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด 2 คน คือ Omar Salad Elmi และ Mohamed Hassan Awale การสู้รบเริ่มขึ้นในวันที่ 3 และวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (1993) นำโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกา สนับสนุนด้วยกองกำลังปฏิบัติการณ์สหประชาชาติในโซมาเลียชุดที่ 2 (UNOSOM II) ต่อสู้กับทหารบ้านชาวโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด การรบในกรุงโมกาดิชูครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 (2006)

กองกำลังร่วมเรนเจอร์ของสหรัฐฯ ถูกจัดตั้งขึ้นเฉพาะยุทธการครั้งนี้ ประกอบด้วย กองกำลังเดลตา (Delta Force) มีหน้าที่บุกไปจับ เป้าหมายทั้ง 2คน, หน่วยรบเนวีซีลสหรัฐ ทีม 6​ (Navy SEAL Team Six) และกองพันจู่โจมที่ 3 สังกัดกรมทหารจู่โจมที่ 75 (3rd Ranger Battalion, 75th Ranger Regiment) ของกองทัพบกสหรัฐ มีหน้าที่คุ้มกัน 4 มุมตึกของเป้าหมาย โดยการจู่โจมลงมาจาก เฮลิคอปเตอร์ที่ลอยอยู่เหนือพื้นดิน โดยใช้การลงสู่พื้นแบบ ฟาสต์ โรป Fast Ropeส่วนการสนับสนุนทางอากาศนั้น กรมบินปฏิบัติการพิเศษที่ 160 ("นักสะกดรอยยามราตรี") เป็นผู้รับผิดชอบ และสมาชิกของพลร่มกู้ภัยและทหารควบคุมการบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการขนส่งกองกำลังจากที่มั่นไปยังชานเมืองโมกาดิชู เพื่อทำการจับกุมบรรดาผู้นำของทหารบ้านที่ภักดีต่อไอดิด กองกำลังจู่โจมประกอบด้วยอากาศยาน 19 ลำ, ยานพาหนะ 20 คัน และทหาร 160 นาย โดยระหว่างปฏิบัติการณ์นั้น เฮลิคอปเตอร์ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ ถูกยิงตก 2 ลำ รหัสเรียกขาน super 61และ super 64โดยเครื่องยิงจรวด RPG-7 ของทหารบ้าน ในขณะที่อีก 3 ลำ ได้รับความเสียหาย และ ขบวนรถที่จะใช้เพื่อขนเป้าหมายที่จับกุมได้กลับนั้น เกิดความผิดพลาดในการเดินทาง เพราะถูกฝูงชนเข้าปะทะโดยใช้ จรวดRPG-7 และ การซุมยิงจากตึก และ บ้านเรือนสองฟากถนน ทำให้ทั้งสองฝ่ายคลาดกัน ทหารที่ติดอยู่ที่จุดตกบางส่วนสามารถอพยพกลับมายังจุดนัดพบและใช้เป็นฐานที่มั่นชั่วคราวได้ ในขณะที่คนอื่นๆ ติดอยู่ตรงจุดตก ฮ. และขาดการติดต่อกับกองกำลังส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดการปะทะระหว่างทหารสหรัฐฯ กับทหารบ้านของไอดิดตลอดทั้งคืนวันที่ 3 จนกระทั่งตอนเช้าวันที่ 4 เมื่อกองกำลังนานาชาติถูกส่งเข้าไปช่วยทหารที่ติดอยู่ออกมา โดยกองกำลังนานาชาติประกอบด้วยทหารจากปากีสถานและมาเลเซีย รวมทั้งกองพลภูเขาที่ 10 (10th Mountain Division) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถรวบรวมยานพาหนะได้ 100 กว่าคัน รวมไปถึงรถถัง M48 ของปากีสถานและยานเกราะขนส่งบุคคลคอนดอร์ของมาเลเซียหลายคัน สนับสนุนทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์ A/MH-6 ลิตเติลเบิร์ดและ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ กองกำลังนานาชาติสามารถเข้าไปถึงจุดตก ฮ. จุดแรกและพาทหารที่ติดอยู่ออกมาได้ ในขณะที่จุดตกที่สองถูกยึดครองโดยทหารบ้านโซมาเลีย และนักบินเฮลิคอปเตอร์ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ ที่ถูกยิงตกรหัสเรียกขาน super 64ไมค์ ดูแรนท์ ผู้รอดชีวิตคนเดียวในจุดตก และถูกจับตัวเป็นเชลย แต่ได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา

ความสูญเสียทางฝ่ายโซมาเลียนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยฝ่ายอเมริกันคาดว่าประชาชนพลเรือนและทหารบ้านชาวโซมาเลียประมาณ 1,000-1,500 คนที่เสียชีวิตจากศึกครั้งนี้ และมีผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 3,000-4,000 คน ส่วนฝ่ายอเมริกานั้นเสียทหารไป 18 นายและมีทหารได้รับบาดเจ็บอีก 73 นาย (ไม่รวมถึงจ่าสิบตรีแมท เรียร์สันที่เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยปืน ค. สองวันหลังจากการรบ) ในขณะที่กองกำลังสหประชาชาติ มีทหารมาเลเซียเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บอีก 7 นาย รวมถึงทหารปากีสถานที่บาดเจ็บอีก 2 นาย

หนังสือ และภาพยนตร์

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2542 เหตุการณ์ในการรบที่โมกาดิชูถูกถ่ายทอดเป็นหนังสือชื่อ Black Hawk Down: A Story of Modern War และถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ ชื่อเรื่อง Black Hawk Down