ชัก เยเกอร์
ชัก เยเกอร์ | |
---|---|
![]() | |
ชื่อเกิด | ชาลส์ เอลวูด เยเกอร์ |
ชื่อเล่น | "ชัก" |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 ไมรา รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐ |
เสียชีวิต | 7 ธันวาคม ค.ศ. 2020 (97 ปี) ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
รับใช้ | ![]() |
บริการ/ | ![]() ![]() |
ประจำการ | 1941–1975 |
ชั้นยศ | ![]() |
การยุทธ์ | |
บำเหน็จ | |
คู่สมรส |
|
บุตร | 4 |
ความสัมพันธ์ | สตีฟ เยเกอร์ (ลูกพี่ลูกน้อง) |
งานอื่น | ครูสอนการบินและนักบินทดสอบ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
เว็บไซต์ | http://www.chuckyeager.com/ |
ชาลส์ เอลวูด เยเกอร์ (อังกฤษ: Charles Elwood Yeager, /ˈjeɪɡər/; 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 2020) เป็นทั้งอดีตเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐ และเสืออากาศ ในปีค.ศ. 1947 เขากลายเป็นคนแรกที่ยืนยันว่าสามารถฝ่าอัตราเร็วของเสียงในเวลาบิน
ชีวิตช่วงต้น[แก้]
เยเกอร์เกิดในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 มีพ่อแม่ชื่อว่าอัลเบิร์ด ฮาล เยเกอร์ (Albert Hal Yeager) และซูซี เม (ไซส์มอร์) (Susie Mae (Sizemore)) ซึ่งเป็นชาวไร่ในไมรา, รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย[1] และจบไฮสคูลที่แฮมลิน, รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 เขามีพี่น้องชายสองคนชื่อรอย และฮาล จูเนียร์ และพี่น้องสาวสองคนชื่อดอริส แอนน์ (เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุตอนอายุ 2 ขวบ โดยรอยตอนที่เขาอายุ 6 ขวบที่กำลังเล่นปืนลูกซอง)[2][3] และแพนซี ลี ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เยเกอร์แต่งงานกับเกลนนิส ดิกเฮาส์ (Glennis Dickhouse) แล้วมีลูกสี่คน เธอเสียชีวิตในปีค.ศ. 1990[4]
ชื่อ "เยเกอร์" (Yeager, /ˈjeɪɡər/) เป็นคำที่ถูกแปลงเป็นภาษาอังกฤษจากภาษาเยอรมันว่า ยีการ์ (Jäger หรือ Jaeger (แปล: "นักล่า")) เขามีลูกพี่ลูกน้องที่เป็นอดีตนักรับเบสบอลชื่อว่า สตีฟ เยเกอร์[5][a]
อาชีพ[แก้]
สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

เขาเข้าร่วมกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ (USAAF) ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1941 และกลายเป็นช่างซ่อมอากาศยานที่ฐานทัพอากาศจอร์จในวิกเตอร์วิลล์, รัฐแคลิฟอร์เนีย ในตอนสมัครนั้น เยเกอร์ไม่เหมาะสมที่จะทำการบินเพราะอายุและพื้นเพการศึกษา แต่ยังคงรับเขาเพราะมีสายตาที่ไม่ธรรมดา (อัตราของสายตาปกติคือ 20/10) จึงทำให้เขาสามารถยิงกวางที่อยู่ห่างไป 600 หลา[7]
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]
นักบินทดสอบ – ทลายกำแพงเสียง[แก้]
หลังสงครามโลก เยเกอร์ยังคงอยู่ในกองทัพอากาศสหรัฐ โดยเขากลายเป็นนักบินทดสอบที่สนามกองทัพอากาศมูร็อก (Muroc Army Air Field; ปัจจุบันคือฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด) แล้วได้รับปริญญาจาก Air Materiel Command Flight Performance School (Class 46C)[8] หลังโครงการ X-1 อันเป็นโครงการทดลองอากาศยานเครื่องยนต์จรวจของบริษัทเบลล์แอร์คราฟต์เปลี่ยนมาดูแลโดยกองทัพอากาศสหรัฐ และชาลเมอร์ส สลิก กูดลิน นักบินทดสอบของเบลล์แอร์คราฟต์เรียกร้องเงิน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ. 2020) เพื่อให้บินทลายกำแพงเสียง ทาง USAAF จึงเลือกเยเกอร์ให้ขับเครื่องบินเบลล์ เอ็กซ์วัน[9][10]
เยเกอร์ทลายกำแพงเสียงในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1947 โดยการใช้ X-1 Glamorous Glennis ที่มัค 1.05 ที่ระดับความสูง 45,000 ฟุต (14,000 เมตร)[11] เหนือทะเลสาบแห้งโรเจอร์ (Rogers Dry Lake) ในทะเลทรายโมฮาวี ความสำเร็จยังไม่เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะจนกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948[12]
หลังเกษียณ[แก้]
ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1975 หลังทำปฏิบัติการในเยอรมันและปากีสถาน เยเกอร์เกษียณจากกองทัพอากาศที่ฐานทัพอากาศนอร์ตันหลังรับใช้ชาติเป็นเวลา 33 ปี
ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ในวันครบรอบ 65 ปีของการทลายกำแพงเสียง เขาทำการทลายกำแพงเสียงอีกครั้งตอนอายุ 89 ปี ด้วยเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-15 อีเกิลที่ขับโดยกัปตันเดวิด วินเซนต์ ที่ฐานทัพอากาศเนลลิส[13]
ชัก เยเกอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ด้วยวัย 97 ปี[14]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ Chuck Yeager is not related to Jeana Yeager, one of the two pilots of the Rutan Voyager aircraft, which circled the world without landing or refueling.[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Sullivan, Ken (2006). The West Virginia Encyclopedia. West Virginia Humanities Council. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2018. สืบค้นเมื่อ October 15, 2018.
- ↑ "Chuck Yeager: What I've Learned". Esquire Magazine. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2014. สืบค้นเมื่อ May 25, 2014.
- ↑ Yeager, Chuck & Janos, Leo (1985). Yeager: An Autobiography. New York: Bantam. p. 6. ISBN 978-0-553-25674-1.CS1 maint: ref=harv (link)
- ↑ Houvouras, John H. (Winter 1998). "The Man" (PDF). The Huntington Quarterly. p. 21. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ September 23, 2015. สืบค้นเมื่อ April 14, 2015.
- ↑ Kantowski, Ron (April 6, 2006). "Q+A Steve Yeager". Las Vegas Sun. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2016. สืบค้นเมื่อ February 26, 2016.
He's not my uncle, he's a cousin. That's a misprint. You can't believe everything you read.
- ↑ "Jeana Yeager Was Not Just Along for the Ride". Los Angeles Times. December 24, 1986. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ February 26, 2016.
- ↑ Yeager & Janos (1985), p. 297.
- ↑ "Getting schooled with the Air Force's elite test pilots". CNET. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ September 6, 2017. สืบค้นเมื่อ April 30, 2017.
- ↑ Yeager & Janos (1985), p. 121.
- ↑ Wolfe, Tom (1979). The Right Stuff. New York: Farrar-Straus-Giroux. pp. 52–53. ISBN 0-374-25033-2.CS1 maint: ref=harv (link)
- ↑ "New U.S. Plane Said to Fly Faster Than Speed of Sound". The New York Times. December 22, 1947. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ July 23, 2018.
An experimental rocket plane, the Bell XS-1, has flown faster than the speed of sound a number of times recently, Aviation Week reports in an issue to be released tomorrow.
- ↑ "This day in history: Yeager breaks the sound barrier". เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.
- ↑ Rogers, Keith (October 12, 2012). "Famous pilot Yeager re-enacting right stuff 65 years later". Las Vegas Review-Journal. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ September 10, 2018.
- ↑ Muntean, Pete; Silverman, Hollie (December 7, 2020). "Chuck Yeager, pilot who broke the sound barrier, dies at 97". CNN. สืบค้นเมื่อ December 7, 2020.
สาานุกรม[แก้]
- Hallion, Richard P. (1982). Designers and Test Pilots. New York: Time-Life Books. ISBN 0-8094-3316-8.CS1 maint: ref=harv (link)
- Pisano, Dominick A.; van der Linden, R. Robert & Winter, Frank H. (2006). Chuck Yeager and the Bell X-1: Breaking the Sound Barrier. Washington, DC: Smithsonian National Air and Space Museum (in association with Abrams, New York). ISBN 0-8109-5535-0.CS1 maint: ref=harv (link)
- Yeager, Chuck; Cardenas, Bob; Hoover, Bob; Russell, Jack & Young, James (1997). The Quest for Mach One: A First-Person Account of Breaking the Sound Barrier. New York: Penguin Studio. ISBN 0-670-87460-4.CS1 maint: ref=harv (link)
- Yeager, Chuck & Leerhsen, Charles (1988). Press on! Further Adventures in the Good Life. New York: Bantam Books. ISBN 0-553-05333-7.CS1 maint: ref=harv (link)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการ
- Biography from ChuckYeager.org
- U.S. Air Force: Chuck Yeager biography
- Yeager in Biography.com
- Biography in the National Aviation Hall of Fame
- Biographical sketch ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (archived พฤษภาคม 2, 2006)
- Airport Journals' "Chuck Yeager: Booming And Zooming" Part 1 and Part 2
- "Chuck Yeager & the Sound Barrier" in Aerospaceweb.org
- Space.com: Chuck Yeager
- The Crash of Yeager's NF-104
- Yeager CNN Fast Facts
- CS1 maint: ref=harv
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2466
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- กองทัพอากาศสหรัฐทั่วไป
- เสืออากาศสัญชาติอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง
- นักบินผู้บุกเบิก
- ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง
- นักบินชาวอเมริกัน
- ทหารอากาศชาวอเมริกัน
- เสืออากาศชาวอเมริกัน
- ผู้ได้รับรางวัลฮาร์มอน
- ผู้ได้รับรางวัลคอลเลียร์
- ผู้ได้รับรางวัลเพรซิเดนทัลมีดัลออฟฟรีดอม
- ผู้ได้รับรางวัลซิลเวอร์สตาร์
- ผู้ได้รับรางวัลดิแอร์ฟอร์ซดิสติงกวิชด์เซอร์วิส
- ผู้ได้รับรางวัลเดอะดิสติงกวิชด์ฟลายอิงครอส (สหรัฐ)
- ผู้ได้รับรางวัลลีเจียนออฟเมริต
- ผู้ได้รับรางวัลแอร์มีดัล
- บุคคลจากรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย
- ศิษย์จากโรงเรียนนักบินทดสอบฐานทัพอากาศสหรัฐ
- นักบินทดสอบสัญชาติอเมริกัน
- ทหารในกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ
- เจ้าหน้าที่ในกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ
- กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สอง
- นักบินจากรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย
- ผู้ได้รับรางวัลแมคเคย์
- ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุทางการบิน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์