ดาวเสาร์
ภาพถ่ายสีธรรมชาติของดาวเสาร์ที่ระยะห่าง 6.3 ล้านกิโลเมตร ถ่ายโดยยานแคสซินี (2004) | |||||||
ลักษณะของวงโคจร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ต้นยุคอ้างอิง J2000 | |||||||
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1,503,983,449 กม. (10.05350840 หน่วยดาราศาสตร์) | ||||||
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1,349,467,375 กม. (9.02063224 หน่วยดาราศาสตร์) | ||||||
กึ่งแกนเอก: | 1,426,725,413 กม. (9.53707032 หน่วยดาราศาสตร์) | ||||||
เส้นรอบวง ของวงโคจร: | 59.879 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.05415060 | ||||||
คาบดาราคติ: | 10,757.7365 วัน (29.45 ปีจูเลียน) | ||||||
คาบซินอดิก: | 378.09 วัน | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: | 9.638 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วสูงสุด ในวงโคจร: | 10.182 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วต่ำสุด ในวงโคจร: | 9.136 กม./วินาที | ||||||
ความเอียง: | 2.48446° (5.51° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) | ||||||
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 113.71504° | ||||||
มุมของจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 338.71690° | ||||||
จำนวนดาวบริวาร: | 146 [1][2] | ||||||
ลักษณะทางกายภาพ | |||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวศูนย์สูตร: | 120,536 กม. (9.449×โลก) | ||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวขั้ว: | 108,728 กม. (8.552×โลก) | ||||||
ความแป้น: | 0.09796 | ||||||
พื้นที่ผิว: | 4.27×1010 กม.² (83.703×โลก) | ||||||
ปริมาตร: | 7.46×1014 กม.³ (688.79×โลก) | ||||||
มวล: | 5.6846×1026 กก. (95.162×โลก) | ||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 0.68730 กรัม/ซม.³ (น้อยกว่าน้ำ) | ||||||
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: | 10.456เมตร/วินาที² (1.066 จี) | ||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 35.49 กม./วินาที | ||||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | 0.4440092592 วัน (10 ชม. 39 นาที 22.40000 วินาที) | ||||||
ความเร็วการหมุน รอบตัวเอง: | 9.87 กม./วินาที (35,500 กม./ชม.) | ||||||
ความเอียงของแกน: | 26.73° | ||||||
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ: | 40.59° (2 ชั่วโมง 42 นาที 21 วินาที) | ||||||
เดคลิเนชัน ของขั้วเหนือ: | 83.54° | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.47 | ||||||
อุณหภูมิ: | 93 K (ที่ยอดเมฆ) | ||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: เคลวิน |
| ||||||
ลักษณะของบรรยากาศ | |||||||
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: | 140 กิโลปาสกาล | ||||||
องค์ประกอบ: | >93% ไฮโดรเจน >5% ฮีเลียม 0.2% มีเทน 0.1% ไอน้ำ 0.01% แอมโมเนีย 0.0005% อีเทน 0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์ |
ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า[3][4] แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า[5][6][7] ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
[แก้]ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
วงแหวน
[แก้]วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Saturn Turns 60 เก็บถาวร 2012-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - NASA
- ↑ Saturn: Moons เก็บถาวร 2011-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - NASA
- ↑ Brainerd, Jerome James (24 November 2004). "Characteristics of Saturn". The Astrophysics Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
- ↑ "General Information About Saturn". Scienceray. 28 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
- ↑ Brainerd, Jerome James (6 October 2004). "Solar System Planets Compared to Earth". The Astrophysics Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
- ↑ Dunbar, Brian (29 November 2007). "NASA – Saturn". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMass ref 3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Saturn profile เก็บถาวร 2015-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at NASA's Solar System Exploration site
- Saturn Fact Sheet, by NASA
- Gazeteer of Planetary Nomenclature - Saturn (USGS)
- Cassini-Huygens mission เก็บถาวร 2007-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน to Saturn, by NASA
- Research News about Saturn
- General information about Saturn
- Studies on the Rings เก็บถาวร 2016-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Saturn
- Astronomy Cast: Saturn