ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา พ.ศ. 2532

พิกัด: 37°02′N 121°53′W / 37.04°N 121.88°W / 37.04; -121.88
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา พ.ศ. 2532
รูปภาพของโครงสร้างทางด่วนไซเพรสที่พังทลายในโอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย
แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา พ.ศ. 2532ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ซานตากรุซ
ซานตากรุซ
โอกแลนด์
โอกแลนด์
ซาลินาส
ซาลินาส
แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา พ.ศ. 2532
เวลาสากลเชิงพิกัด1989-10-18 00:04:14
รหัสเหตุการณ์ ISC389808
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น17 ตุลาคม 2532 (2532-10-17)
เวลาท้องถิ่น17:04:15 PDT[1]
ระยะเวลา8–15 วินาที[2]
ขนาด6.9 Mw 7.2 MS [3]
ความลึก19 กิโลเมตร (12 ไมล์)[4]
ศูนย์กลาง37°02′N 121°53′W / 37.04°N 121.88°W / 37.04; -121.88[1]
ประเภทย้อนตามแนวเฉียง
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบCentral Coast (California)
San Francisco Bay Area
สหรัฐ
ความเสียหายทั้งหมด5.6–6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][5] (เทียบเท่ากับ 12.2–13.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันนี้)
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง) [1]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.65 g (ที่จุดศูนย์กลาง) [2]
สึนามิมี[6][7]
แผ่นดินถล่ม1,000–4,000[1][2]
แผ่นดินไหวนำ5.3 ML 27 มิถุนายน ค.ศ. 1988[8]
5.4 ML 8 สิงหาคม ค.ศ. 1989[8]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 63 คน, บาดเจ็บ 3,757 คน[1][9]

แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา (อังกฤษ: Loma Prieta earthquake) หรือ Quake of '89 เพราะเกิดในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) หรือรู้จักกันในนาม The World Series Quake เพราะเกิดแผ่นดินไหวในช่วงที่มีการแข่งขันเบสบอลเวิลด์ซีรีส์ ซึ่งแผ่นดินไหวเกิดขึ้นขณะกำลังถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 17.04 น. ของวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2532 จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ในป่าของสวนสาธารณะประจำรัฐไนซีนมาร์ก, เคาน์ตีแซนตาครูซ และเป็นเขตที่ไม่มีคนอาศัย ห่างจากเมืองแซนตาครูซไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 16 กิโลเมตร ชื่อโลมาพรีเอตามาจากยอดเขาที่อยู่ในทิวเขาแซนตาครูซ

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว

[แก้]

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ในป่าของสวนสาธารณะประจำรัฐไนซีนมาร์ก ซึ่งเป็นเขตที่ไม่มีคนอาศัยบริเวณของภูเขาแซนตาครูซ (พิกัดทางภูมิศาสตร์ : 37.04, -121.88) ประมาณ 4 กิโลเมตรทางเหนือของเมืองแอพโตส และประมาณ 16 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของแซนตาครูซ ชื่อแผ่นดินไหวครั้งนี้ตั้งชื่อตามยอดเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของแซนตาแคลราเคาน์ตี

ผู้เสียชีวิต

[แก้]

ประชาชน 63 คนเสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวและต่อมาก็มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมในภายหลังจากการบาดเจ็บสาหัส 6 คนและอีกกว่า 3,757 คนได้รับบาดเจ็บในเวลาต่อมา เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวทั้งสิ้น หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็เริ่มออกปฏิบัติงานแต่เพราะความเสียหายในครั้งนี้รุนแรงและเป็นวงกว้างทำให้เจ้าหน้าที่มีงานล้นมือ ประชาชนที่รอดชีวิตจึงได้ออกมาช่วยเจ้าหน้าที่ในการกู้ภัยโดยส่วนใหญ่มุ่งไปที่ทางด่วนสองชั้นไซเพรสส์ (Cypress Street Viaduct) ได้ถล่มลงมาทำให้ทางด่วนที่อยู่ชั้นบนถล่มลงมาบีบอัดรถยนต์ที่แล่นจราจรอยู่เบื้องล่างจนเกิดความเสียหายรุนแรงและจากบริเวณนี้เองที่มีการเสียชีวิตจำนวนมาก และสะพานเชื่อมแซนแฟรนซิสโก-โอกแลนด์ ที่เป็นสะพานสองชั้นเองก็ถล่มเช่นกัน ทางด่วนและสะพานต่างๆ ต้องปิดการจราจรไปหลายเดือนจนเปิดการจราจรได้ใหม่ในวันที่ 18 พฤศจิกายน อีกทั้งยังมีระบบขนส่งมวลชน ท่าเรือเฟอร์รี ตลอดจนสะพานต่าง ๆ เช่น สะพานแซนมาเทโอ สะพานริชมอนด์-แซนราเฟล และสะพานโกลเดนเกต

เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว มันได้ทำลายการแข่งขันเบสบอลเวิลด์ซีรีส์แชมเปี้ยนชิปประจำปี พ.ศ. 2532 ซึ่งพึ่งจะเริ่มขึ้น และระหว่างเหตุการณ์นั้นเองทั้งสองทีมของการแข่งขัน (ทีมแซนแฟรนซิสโกไจแอนต์และทีมโอกแลนด์แอทเลติกส์) ก็ตื่นตกใจ ในวันนั้นพนักงานและคนทำงานทั่วไปต่างพากันกลับบ้านเร็วกว่าปกติหรือไม่ก็ไปช่วยกู้ภัยจนดึกดื่นในภายหลัง ปกติแล้วผู้คนต่างก็รู้กันดีถึงสภาพการจราจรที่เลวร้ายของชั่วโมงเร่งด่วนในตอนเย็นและจากเหตุผลนี้เองก็ซ้ำเติมเหตุการณ์ ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตก่อนที่จะถึงมือแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การสื่อสารล้มเหลวเนื่องจากการขอความช่วยเหลือที่มากมายทำให้ระบบสื่อสารมวลชนล่ม ผู้เสียชีวิตในขั้นแรกอยู่ที่ประมาณ 300 คน และแถลงยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการออกมาในวันต่อมา

ความเสียหาย

[แก้]

แผ่นดินไหวทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงตลอดตามแนวชายฝั่งอ่าวแซนแฟรนซิสโก โดยเฉพาะที่เมืองแซนแฟรนซิสโกและโอกแลนด์ แต่ก็ยังรวมถึงบริเวณอื่น ๆ ด้วยเช่น แอละเมดา แซนมาเทโอ แซนเบนีโตเคาน์ตี แซนตาครูซ และมอนเทอเรย์เคาน์ตี ส่วนความเสียหายของอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่บริเวญเขตมารีน่า 95 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว เป็นผลมาจากความอ่อนนุ่มของชั้นดินบริเวณนั้นทำให้อาคารถล่มซึ่งบริเวณนี้เองเคยเป็นพิ้นดินถมมาก่อน และยังมีความเสียหายจากดินไถล รวมทั้งรอยแยกที่พื้นดินบริเวณแซนวอลเคโน บ้านเรือนกว่า 18,306 หลังและอาคารสำนักงานกว่า 2,575 หลังได้รับความเสียหายในแซนตาครูซ ซึ่งใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อาคาร 40 หลังถล่มลงมาคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 6 คน

ได้มีการประกาศเขตภัยพิบัติทั้งจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและพื้นที่ที่ถูกสั่นไหวรุนแรง นักธรณีวิทยาเองต่างก็รู้สึกประหลาดใจกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ภายหลังได้มีการตรวจวิเคราะห์พบว่าเกิดจากการสั่นไหวที่รุนแรงและคลื่นสะท้อนแผ่นดินไหวที่ลึกประมาณ 24 กิโลเมตร และเกิดจากพื้นผิวโลกที่ไม่ราบเรียบเสมอกัน และแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้มีการคาดการถึงตัวเลขความเสียหายออกมาประมาณ 6-13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มันกลายมาเป็นความเสียหายสูงที่สุดจากเหตุภัยพิบัติของประวัติศาสตร์สหรัฐฯ มันเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงและใหญ่ที่สุดที่เกิดกับรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสนับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเมื่อปี ค.ศ. 2449 ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้มีเงินช่วยเหลือหลั่งไหลมาช่วยบรรเทาทุกข์จำนวนมากและประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิล ยู บุช ลงนามในการให้เงินช่วยเหลือกว่า 3.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับรัฐแคลิฟอร์เนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Stover, C. W.; Coffman, J. L. (1993), Seismicity of the United States, 1568–1989 (Revised), U.S. Geological Survey Professional Paper 1527, United States Government Printing Office, pp. 98, 99, 180–186
  2. 2.0 2.1 2.2 Clough, G. W.; Martin, II, J. R.; Chameau, J. L. (1994), "The geotechnical aspects", Practical lessons from the Loma Prieta earthquake, National Academies Press, pp. 29–46, ISBN 978-0309050302
  3. International Seismological Centre. ISC-EHB Bulletin. Thatcham, United Kingdom. [Event 389808].
  4. ISC-EHB Event 389808 [IRIS].
  5. Housner 1990, pp. 19–23
  6. Ma, K.; Satake, K.; Kanamori, H. (1991), "The origin of the tsunami excited by the 1989 Loma Prieta Earthquake – Faulting or slumping" (PDF), Geophysical Research Letters, 18 (4): 637–640, Bibcode:1991GeoRL..18..637M, doi:10.1029/91gl00818, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 23, 2010, สืบค้นเมื่อ August 10, 2014
  7. Breaker, L. C.; Murty, T. S.; Norton, J. G.; Carrol, D. (2009), "Comparing sea level response at Monterey, California from the 1989 Loma Prieta earthquake and the 1964 Great Alaskan earthquake" (PDF), Science of Tsunami Hazards, Tsunami Society, 28 (5): 255–271
  8. 8.0 8.1 Perfettini, H.; Stein, R. S.; Simpson, R.; Cocco, M. (1999), "Stress transfer by the 1988–1989 M = 5.3 and 5.4 Lake Elsman foreshocks to the Loma Prieta fault: Unclamping at the site of peak mainshock slip", Journal of Geophysical Research: Solid Earth, 104 (B9): 20, 169, 20, 173, 20, 174, Bibcode:1999JGR...10420169P, doi:10.1029/1999JB900092
  9. Bolt, B. (2005), Earthquakes: 2006 Centennial Update – The 1906 Big One (Fifth ed.), W. H. Freeman and Company, pp. 10–14, 293–297, ISBN 978-0716775485

แหล่งข้อมูล