เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1569–1795[1] | |||||||||||||||
คำขวัญ:
| |||||||||||||||
เขตแดนเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (เขียว) กับรัฐบริวาร (เขียวอ่อน) ในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 1619 | |||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ทางการ: โปแลนด์และละติน | ||||||||||||||
ศาสนา | ทางการ: โรมันคาทอลิก[3] | ||||||||||||||
การปกครอง |
| ||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ / แกรนด์ดยุก | |||||||||||||||
• 1569–1572 (องค์แรก) | ซีกิสมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส | ||||||||||||||
• 1764–1795 (องค์สุดท้าย) | สตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุส | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | แซย์ม | ||||||||||||||
• สภาสูง | วุฒิสภา | ||||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยใหม่ตอนต้น | ||||||||||||||
1 กรกฎาคม 1569 | |||||||||||||||
5 สิงหาคม ค.ศ. 1772 | |||||||||||||||
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 | |||||||||||||||
23 มกราคม ค.ศ. 1793[1] | |||||||||||||||
24 ตุลาคม 1795[1] | |||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
1582[8] | 815,000 ตารางกิโลเมตร (315,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
1618[9][10] | 1,000,000 ตารางกิโลเมตร (390,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||
• 1582[8] | ~8,000,000 | ||||||||||||||
|
เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (โปแลนด์: Rzeczpospolita Obojga Narodów; อังกฤษ: Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย (Królestwo Polskie i Wielkie Księstwo Litewskie; Kingdom of Poland and the Grand Duchy of Lithuania) เป็นสองรัฐสมาพันธรัฐ[11] บางครั้งเรียกเป็นสหพันธรัฐ[12] ของโปแลนด์และลิทัวเนียที่มีพระมหากษัตริย์ โดยดำรงตำแหน่งทั้งพระมหากษัตริย์โปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ใหญ่ที่สุด[13][14] และมีประชากรมากที่สุดในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ในช่วงที่มีพื้นที่มากที่สุดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เครือจักรภพครอบคลุมพื้นที่เกือบ 1,000,000 km2 (400,000 sq mi)[15][16] และใน ค.ศ. 1618 มีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์เกือบ 12 ล้านคน[17][18] โดยมีภาษาโปแลนด์กับภาษาละตินเป็นภาษาราชการ
เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1569 โดยสหภาพลูบลิน (Union of Lublin) ซึ่งรวมราชอาณาจักรโปแลนด์เข้ากับแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียมาจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 เครือจักรภพมีได้ครอบคลุมเพียงดินแดนโปแลนด์และลิทัวเนียเท่านั้น แต่ยังรวมดินแดนทั้งหมดของเบลารุสและลัตเวีย ดินแดนส่วนใหญ่ของยูเครนและเอสโตเนีย รวมถึงบางส่วนของประเทศรัสเซียปัจจุบัน (แคว้นสโมเลนสค์และคาลินินกราด)
เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียเป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งจากอาณาจักรสองแห่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1386 ระบบการปกครองที่มักจะเรียกกันว่า “ประชาธิปไตยของชนชั้นสูง” (Noble's democracy) หรือ “เสรีภาพทอง” ซึ่งเป็นการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครที่ปกครองตามกฎหมายและสภานิติบัญญัติเซย์ม (Sejm) ที่ควบคุมโดยขุนนาง (szlachta) ระบบที่ว่านี้เป็นรากฐานของระบบประชาธิปไตยอย่างกว้าง ๆ ในสมัยใหม่[19] และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ ค.ศ. 1791[20][21][22] รวมทั้งระบบสหพันธรัฐ.[23] แม้ว่ารัฐทั้งสองแต่เดิมมีฐานะเท่ากันอย่างเป็นทางการ แต่ตามความเป็นจริงโปแลนด์มักจะมีอำนาจเหนือกว่า[24]
เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และเสรีภาพในการนับถือศาสนาสูง ซึ่งยืนยันจากพระราชบัญญัติสมาพันธรัฐวอร์ซอใน ค.ศ. 1573[25][26][b] แต่เสรีภาพจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมัย[27] โดยรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1791 ยอมรับให้นิกายโรมันคาทอลิกเป็น "ศาสนาหลัก" แต่ยังคงให้เสรีภาพทางศาสนา ซึ่งต่างจากสมาพันธรัฐวอร์ซอ[22]
หลังผ่านยุครุ่งเรืองมาหลายทศวรรษ[28][29][30] เครือจักรภพจึงเข้าสู่ยุคการเสื่อมถอยทางการเมือง[22][31] การทหาร และเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ[32] ความอ่อนแอที่เติบโตขึ้นนำไปสู่การแบ่งเครือจักรภพให้แก่เพื่อนบ้าน (ออสเตรีย, ปรัสเซีย และรัสเซีย) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนการล่มสลายไม่นาน เครือจักรภพได้ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่และจัดตั้งรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการประมวลฉบับแรกในประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ และอันที่สองในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ตามหลังรัฐธรรมนูญสหรัฐ[33][34][35][36][37]
ชื่อ
[แก้]ชื่อทางการของเครือจักรภพคือราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย (โปแลนด์: Królestwo Polskie i Wielkie Księstwo Litewskie; ลิทัวเนีย: Lenkijos Karalystė ir Lietuvos Didžioji Kunigaikštystė; ละติน: Regnum Poloniae Magnusque Ducatus Lithuaniae) โดยชื่อภาษาละตินมักใช้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศและการทูต[38]
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และภายหลังมีอีกชื่อว่า 'เครือจักรภพสาธารณรัฐอันสงบสุขยิ่งโปแลนด์' (โปแลนด์: Najjaśniejsza Rzeczpospolita Polska; ละติน: Serenissima Res Publica Poloniae)[39] เครือจักรภพราชอาณาจักรโปแลนด์[40] หรือเครือจักรภพโปแลนด์[41]
ชาวยุโรปตะวันตกมักย่อชื่อเป็น 'โปแลนด์' และในข้อมูลส่วนใหญ่ใรสมัยก่อนและสมัยใหม่มักเรียกเป็นราชอาณาจักรโปแลนด์ หรือแค่โปแลนด์[38][42][43]
ชื่ออย่างไม่เป็นทางการได้แก่ 'สาธารณรัฐชนชั้นขุนนาง' (โปแลนด์: Rzeczpospolita szlachecka) และ 'เครือจักรภพแห่งแรก' (โปแลนด์: I Rzeczpospolita) ชื่อหลังมักใช้ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ เพื่อแยกจากสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
สิ่งสืบทอด
[แก้]ดัชชีวอร์ซอ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1807 มีรากฐานมาจากเครือจักรภพ ขบวนการการปฏิรูปเกิดขึ้นระหว่าง “การปฏิวัติเดือนมกราคม” ระหว่างปี ค.ศ. 1863 ถึงปี ค.ศ. 1864 และในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยความพยายามที่ล้มเหลวในการสร้างสหพันธรัฐ “Międzymorze” (ระหว่างทะเล) ของยูแซฟ ปิวซูตสกี (Józef Piłsudski) ซึ่งถ้าสำเร็จก็จะรวมพื้นที่จากฟินแลนด์ทางเหนือไปถึงบอลข่านทางใต้[44]
ในปัจจุบันประเทศโปแลนด์ถือว่ามีรากฐานมาจากเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย[45] แต่ประเทศลิทัวเนียซึ่งก่อตั้งใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อเริ่มได้รับอิสรภาพใหม่มองเห็นการรวมตัวเป็นเครือจักรภพในทางลบ[46] แต่ทัศนคตินี้ก็เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[47]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ราชอาณาจักรโปแลนด์ (ค.ศ. 1025–1385)
- สหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย
- ราชอาณาจักรโปแลนด์ (ค.ศ. 1916–1918)
- พระเจ้าฟรีดริชมหาราช
- ผู้สำเร็จราชการ (เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย)
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Pro Fide, Lege et Rege เป็นคำขวัญที่ใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18
a. ^ ชื่อในภาษาอื่นและภาษาราชการ:
- ละติน: Regnum Poloniae Magnusque Ducatus Lithuaniae / Serenissima Res Publica Poloniae[39]
- ฝรั่งเศส: Royaume de Pologne et Grand-duché de Lituanie / Sérénissime République de Pologne et Grand-duché de Lituanie[48]
- โปแลนด์: Królestwo Polskie i Wielkie Księstwo Litewskie
- ลิทัวเนีย: Lenkijos Karalystė ir Lietuvos Didžioji Kunigaikštystė
- เบลารุส: Каралеўства Польскае і Вялікае Княства Літоўскае (Karaleŭstva Polskaje і Vialikaje Kniastva Litoŭskaje)
- ยูเครน: Королівство Польське і Велике князівство Литовське
- เยอรมัน: Königreich Polen und Großfürstentum Litauen
b. ^ นักประวัติศาสตร์บางคนจัดวันที่เปลี่ยนเมืองหลวงจากกรากุฟไปเป็นวอร์ซอในช่วง ค.ศ. 1595 ถึง 1611 ถึงแม้ว่าวอร์ซอไม่ได้มีสถานะเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการจนถึง ค.ศ. 1793[49] เครือจักรภพแซย์มเริ่มจัดการประชุมที่วอร์ซอหลังจัดตั้งสหภาพลูบลินและผู้ปกครองได้ประทับที่นั่น แม้ว่าจะจัดพิธีราชาภิเษกที่กรากุฟ[49] แนวคิดเมืองหลวงเดียวในสมัยใหม่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในเครือจักรภพที่ใช้ระบอบศักดินาและการกระจายอำนาจ[49] นักประวัติศาสตร์บางคนจัดให้วอร์ซอเป็นเมืองหลวงของทั้งเครือจักรภพ[50][51] บางครั้ง วิลนอ เมืองหลวงของแกรนด์ดัชชี[52][53][54] ถูกจัดเป็นเมืองหลวงที่สองของเครือจักรภพ[55][56]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ราชวงศ์วาซาใช้ธงราชวงศ์
- ↑ This quality of the Commonwealth was recognized by its contemporaries. Robert Burton, in his The Anatomy of Melancholy, first published in 1621, writes of Poland: "Poland is a receptacle of all religions, where Samosetans, Socinians, Photinians ..., Arians, Anabaptists are to be found"; "In Europe, Poland and Amsterdam are the common sanctuaries [for Jews]".
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Partitions of Poland ที่สารานุกรมบริตานิกา
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Jagiellonian University Centre for European studies, "A Very Short History of Kraków", see: "1596 administrative capital, the tiny village of Warsaw". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2009. สืบค้นเมื่อ 29 November 2012.
- ↑ Richters, Katja (2012). The Post-Soviet Russian Orthodox Church: Politics, Culture and Greater Russia. Routledge. p. 133. ISBN 9781136296369.
formed part of the Polish–Lithuanian Commonwealth which was ruled by Catholic monarchs who made Roman Catholicism the state religio...
- ↑ 4.0 4.1 Janusz Sykała: Od Polan mieszkających w lasach – historia Polski – aż do króla Stasia, Gdansk, 2010.
- ↑ 5.0 5.1 Georg Ziaja: Lexikon des polnischen Adels im Goldenen Zeitalter 1500–1600, p. 9.
- ↑ "Artykuły henrykowskie - szlachecka prekonstytucja - Historia - polskieradio24.pl". polskieradio24.pl.
- ↑ "Poland - The First Partition | Britannica". www.britannica.com.
- ↑ 8.0 8.1 Panstwowe Przedsiebiorstwo Wydawnictw Kartograficznych: Atlas Historyczny Polski, wydanie X, 1990, p. 14, ISBN 83-7000-016-9.
- ↑ Bertram Benedict (1919): A history of the great war. Bureau of national literature, inc. p. 21.
- ↑ According to Panstwowe Przedsiebiorstwo Wydawnictw Kartograficznych: Atlas Historyczny Polski, wydanie X, 1990, p. 16, ~ 990.000 km2
- ↑ Hahn, Gordon M. (2021-11-09). The Russian Dilemma: Security, Vigilance and Relations with the West from Ivan III to Putin (ภาษาอังกฤษ). McFarland. p. 35. ISBN 978-1-4766-8187-0.
- ↑ Zbigniew Pucek: Państwo i społeczeństwo 2012/1, Krakow, 2012, p. 17.
- ↑ Norman Davies, Europe: A History, Pimlico 1997, p. 554: "Poland–Lithuania was another country which experienced its 'Golden Age' during the sixteenth and early seventeenth centuries. The realm of the last Jagiellons was absolutely the largest state in Europe"
- ↑ Piotr Wandycz (2001). The price of freedom (p.66). p. 66. ISBN 978-0-415-25491-5. สืบค้นเมื่อ 13 August 2011.
- ↑ Bertram Benedict (1919). A history of the great war. Bureau of national literature, inc. p. 21. สืบค้นเมื่อ 13 August 2011.
- ↑ According to Panstwowe Przedsiebiorstwo Wydawnictw Kartograficznych: Atlas Historyczny Polski, wydanie X, 1990, p. 16, 990.000 km2
- ↑ Based on 1618 population map เก็บถาวร 17 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 115), 1618 languages map (p119), 1657–67 losses map (p. 128) and 1717 map เก็บถาวร 17 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 141) from Iwo Cyprian Pogonowski, Poland a Historical Atlas, Hippocrene Books, 1987, ISBN 0-88029-394-2
- ↑ According to Panstwowe Przedsiebiorstwo Wydawnictw Kartograficznych: Atlas Historyczny Polski, wydanie X, 1990, p. 16, just over 9 million in 1618.
- ↑ Maciej Janowski, Polish Liberal Thought, Central European University Press, 2001, ISBN 963-9241-18-0, Google Print: p. 3, p. 12
- ↑ Paul W. Schroeder, The Transformation of European Politics 1763–1848, Oxford University Press, 1996, ISBN 0-19-820654-2, Google print p. 84
- ↑ Rett R. Ludwikowski, Constitution-Making in the Region of Former Soviet Dominance, Duke University Press, 1997, ISBN 0-8223-1802-4, Google Print, p. 34
- ↑ 22.0 22.1 22.2 George Sanford, Democratic Government in Poland: Constitutional Politics Since 1989, Palgrave, 2002, ISBN 0-333-77475-2, Google print p. 11 – constitutional monarchy, p. 3 – anarchy
- ↑ Aleksander Gella, Development of Class Structure in Eastern Europe: Poland and Her Southern Neighbors, SUNY Press, 1998, ISBN 0-88706-833-2, Google Print, p. 13
- ↑ "Formally, Poland and Lithuania were to be distinct, equal components of the federation ... But Poland, which retained possession of the Lithuanian lands it had seized, had greater representation in the diet and became the dominant partner.""Lublin, Union of". Encyclopædia Britannica. 2006.[1]
- ↑ # Norman Davies, God's Playground. A History of Poland, Vol. 1: The Origins to 1795, Vol. 2: 1795 to the Present. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-925339-0 / ISBN 0-19-925340-4
- ↑ Halina Stephan, Living in Translation: Polish Writers in America, Rodopi, 2003, ISBN 90-420-1016-9, Google Print p. 373. Quoting from Sarmatian Review academic journal mission statement: "Polish–Lithuanian Commonwealth was ... characterized by religious tolerance unusual in premodern Europe"
- ↑ Gross, Feliks (1999). Citizenship and Ethnicity: The Growth and Development of a Democratic Multiethnic Institution (notes). Greenwood Press. p. 122. ISBN 0-313-30932-9.
- ↑ "In the mid-1500s, united Poland was the largest state in Europe and perhaps the continent's most powerful state politically and militarily". "Poland". Encyclopædia Britannica. 2009. Encyclopædia Britannica Online. Retrieved 26 June 2009.
- ↑ Francis Dvornik (1992). The Slavs in European History and Civilization. Rutgers University Press. p. 300. ISBN 0-8135-0799-5.
- ↑ Martin Van Gelderen, Quentin Skinner, Republicanism: A Shared European Heritage, Cambridge University Press, 2002, ISBN 0-521-80756-5 p. 54.
- ↑ "The Causes of Slavery or Serfdom: A Hypothesis" เก็บถาวร 15 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (discussion and full online text) of Evsey Domar (1970). Economic History Review 30:1 (March), pp. 18–32.
- ↑ "Page Not Found: Error: IU Robert H. McKinney School of Law: IUPUI". IU Robert H. McKinney School of Law. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-18.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ Blaustein, Albert (1993). Constitutions of the World. Fred B. Rothman & Company. ISBN 9780837703626.
- ↑ Isaac Kramnick, Introduction, Madison, James (1987). The Federalist Papers. Penguin Classics. p. 13. ISBN 0-14-044495-5.
May second oldest constitution.
- ↑ John Markoff describes the advent of modern codified national constitutions as one of the milestones of democracy, and states that "The first European country to follow the U.S. example was Poland in 1791." John Markoff, Waves of Democracy, 1996, ISBN 0-8039-9019-7, p. 121.
- ↑ Davies, Norman (1996). Europe: A History. Oxford University Press. p. 699. ISBN 0-19-820171-0.
- ↑ 38.0 38.1 "Regnum Poloniae Magnusque Ducatus Lithuaniae – definicja, synonimy, przykłady użycia". sjp.pwn.pl. สืบค้นเมื่อ 27 October 2016.
- ↑ 39.0 39.1 Ex quo serenissima respublica Poloniae in corpore ad exempluin omnium aliarnm potentiarum, lilulum regiuin Borussiae recognoscere decrevit (...)
Antoine-François-Claude Ferrand (1820). "Volume 1". Histoire des trois démembremens de la Pologne: pour faire suite à l'histoire de l'Anarchie de Pologne par Rulhière (ภาษาฝรั่งเศส). Deterville. p. 182. - ↑ the name given by Marcin Kromer in his work Polonia sive de situ, populis, moribus, magistratibus et re publica regni Polonici libri duo, 1577.
- ↑ the therm used for instance in Zbior Deklaracyi, Not I Czynnosci Głownieyszych, Ktore Poprzedziły I Zaszły Pod Czas Seymu Pod Węzłem Konfederacyi Odprawuiącego Się Od Dnia 18. Wrzesnia 1772. Do 14 Maia 1773
- ↑ Name used for the common state, Henryk Rutkowski, Terytorium, w: Encyklopedia historii gospodarczej Polski do 1945 roku, t. II, Warszawa 1981, s. 398.
- ↑ Richard Buterwick. The Polish Revolution and the Catholic Church, 1788–1792: A Political History. Oxford University Press. 2012. pp. 5, xvii.
- ↑ Barile, Davide (2019). Historic Power Europe; A Post-Hegelian Interpretation of European Integration. New York: Taylor & Francis. ISBN 9781000731132.
- ↑ A. stated, for instance by the preamble of the Constitution of the Republic of Poland of 1997.
- ↑ Alfonsas Eidintas, Vytautas Zalys, Lithuania in European Politics: The Years of the First Republic, 1918–1940, Palgrave, 1999, ISBN 0-312-22458-3. Print, p. 78
- ↑ ""Zobaczyć Kresy". Grzegorz Górny. Rzeczpospolita 23 August 2008 (in Polish)" (ภาษาโปแลนด์). Rp.pl. 23 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 February 2009.
- ↑ Guillaume de Lamberty (1735). "Volume 3". Mémoires pour servir à l'histoire du XVIIIe siècle, contenant les négociations, traitez, résolutions et autres documents authentiques concernant les affaires d'état: avec le supplément aux années MDCXCVI-MDCCIII (ภาษาฝรั่งเศส). p. 343.
Généreux et Magnifiques Seigneurs les Sénateurs et autres Ordres de la Sérénissime République de Pologne et du grand Duché de Lithuanie
- ↑ 49.0 49.1 49.2 Francis W. Carter (1994). Trade and urban development in Poland: an economic geography of Cracow, from its origins to 1795 – Volume 20 of Cambridge studies in historical geography. Cambridge University Press. pp. 186, 187. ISBN 978-0-521-41239-1.
- ↑ Daniel Stone (2001). The Polish–Lithuanian state, 1386–1795. University of Washington Press. p. 221. ISBN 978-0-295-98093-5.
- ↑ Robert Bideleux, Ian Jeffries (1998). A history of eastern Europe: crisis and change. Routledge. p. 126. ISBN 978-0-415-16111-4.
- ↑ Norman Davies (1998). Europe: A History. HarperCollins. pp. 657–660. ISBN 978-0-06-097468-8.
vilnius capital grand duchy.
- ↑ Politics and reformations: communities, polities, nations, and empires. 2007 p. 206.
- ↑ Zeitschrift für Ostmitteleuropa-Forschung. 2006, Vol. 55; p. 2.
- ↑ Thomas A. Brady, Christopher Ocker; entry by David Frick (2007). Politics and reformations: communities, polities, nations, and empires : essays in honor of Thomas A. Brady, Jr. Brill Publishers. p. 206. ISBN 978-90-04-16173-3.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Marcel Cornis-Pope, John Neubauer; essay by Tomas Venclova (2004). History of the literary cultures of East-Central Europe: junctures and disjunctures in the 19th and 20th centuries (Volume 2). John Benjamins Publishing Company. p. 11. ISBN 978-90-272-3453-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Polish-Lithuanian Commonwealth
- Commonwealth of Diverse Cultures: Poland's Heritage เก็บถาวร 24 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาโปแลนด์และอังกฤษ)
- Knowledge passage (ในภาษาโปแลนด์)
- The Polish–Lithuanian Commonwealth–Maps, history of cities in Poland, Ukraine, Belarus and Lithuania เก็บถาวร 17 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาโปแลนด์)
- The Polish-Lithuanian Commonwealth on BBC Radio 4 "In Our Time" 14 Oct. 2021, Melvyn Bragg with Robert I. Frost, University of Aberdeen, Katarzyna Kosior, Northumbria University and Norman Davies, University of Oxford
- CS1 errors: generic title
- เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
- ราชาธิปไตยในอดีต
- สหภาพรัฐสิ้นสภาพ
- สหภาพที่แท้จริง
- รัฐร่วมประมุข
- ประเทศลิทัวเนีย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศโปแลนด์
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศลิทัวเนีย
- ประวัติศาสตร์ลิทัวเนีย
- ประวัติศาสตร์โปแลนด์
- ประเทศเบลารุส
- ประเทศลัตเวีย
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 16
- สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18
- อดีตสาธารณรัฐ
- รัฐคริสต์
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์