ข้ามไปเนื้อหา

กัสซีนี–เฮยเคินส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัสซีนี–เฮยเคินส์
ภาพยาน กัสซีนี โคจรรอบดาวเสาร์โดยศิลปิน
ประเภทภารกิจกัสซีนี: โคจรรอบดาวเสาร์
เฮยเคินส์: จอดบนดวงจันทร์ไททัน
ผู้ดำเนินการกัสซีนี: NASA / JPL
เฮยเคินส์: ESA / ASI
COSPAR ID1997-061A
SATCAT no.25008
เว็บไซต์
ระยะภารกิจ
  • ภาพรวม:
    •  19 ปี 335 วัน
    •  13 ปี 76 วัน at Saturn
  • ระยะเวลาเดินทาง:
    •  6 ปี 261 วัน
  • ภารกิจหลัก:
    •  3 ปี
  • ภารกิจเสริม:
    •  Equinox: 2 ปี 62 วัน
    •  Solstice: 6 ปี 205 วัน
    •  Finale: 4 เดือน 24 วัน
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตกัสซีนี: Jet Propulsion Laboratory
เฮยเคินส์: Thales Alenia Space
มวลขณะส่งยาน5,712 kg (12,593 lb)[1][2]
มวลแห้ง2,523 kg (5,562 lb)[1]
กำลังไฟฟ้า~885 วัตต์ (BOL)[1]
~670 วัตต์ (2010)[3]
~663 วัตต์ (EOM/2017)[1]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น08:43:00, 15 ตุลาคม 2540 (UTC) (1997-10-15T08:43:00Z)
จรวดนำส่ง Titan IV(401)B B-33
ฐานส่งCape Canaveral SLC-40
สิ้นสุดภารกิจ
การกำจัดบังคับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์[4][5]
ติดต่อครั้งสุดท้าย15 กันยายน พ.ศ.2560
  • 11:55:39 UTC X-band telemetry
  • 11:55:46 UTC S-band radio science[6]
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงKronocentric
บินผ่านดาวศุกร์ (Gravity assist)
เข้าใกล้สุด26 เมษายน พ.ศ.2541
ระยะทาง283 km (176 mi)
บินผ่านดาวศุกร์ (แรงโน้มถ่วง)
เข้าใกล้สุด24 มิถุนายน พ.ศ.2542
ระยะทาง623 km (387 mi)
บินผ่านระบบโลก-ดวงจันทร์ (แรงโน้มถ่วง)
เข้าใกล้สุด18 สิงหาคม พ.ศ.2542, 03:28 UTC
ระยะทาง1,171 km (728 mi)
บินผ่าน2685 Masursky (โดยบังเอิญ)
เข้าใกล้สุด23 มกราคม พ.ศ.2543
ระยะทาง1,600,000 km (990,000 mi)
บินผ่านดาวพฤหัส (แรงโน้มถ่วง)
เข้าใกล้สุด30 ธันวาคม พ.ศ.2543
ระยะทาง9,852,924 km (6,122,323 mi)
ยานอวกาศโคจรรอบดาวเสาร์
แทรกวงโคจร1 กรกฎาคม พ.ศ.2547, 02:48 UTC
ยานลงจอด ไททัน
ส่วนประกอบยานอวกาศเฮยเคินส์
วันที่ลงจอด14 มกราคม พ.ศ.2548
 
ภาพจำลองสามมิติ ยานสำรวจอวกาศกัสซีนี ขณะโคจรรอบดาวเสาร์

ภารกิจ กัสซีนี–เฮยเคินส์ (Cassini–Huygens) หรือตามสื่อนิยมเขียนเป็น แคสสินี–ฮอยเกนส์ เป็นความร่วมมือระหว่างนาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อส่งยานไปศึกษาดาวเสาร์และระบบดาวเสาร์ อันรวมถึงวงแหวนดาวเสาร์และดาวบริวาร ยานอวกาศหุ่นยนต์ไร้คนบังคับชั้นแฟลกชิปประกอบด้วยยานกัสซีนีของนาซา และส่วนลงจอดเฮยเคินส์ของ ESA ซึ่งจะลงจอดบนไททัน ดาวบริวารใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ กัสซีนีเป็นยานอวกาศลำที่สี่ที่เยือนดาวเสาร์และเป็นลำแรกที่เข้าสู่วงโคจร ยานนี้ตั้งชื่อตามโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และคริสตียาน เฮยเคินส์ นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์

ยานโดยสารไปกับไททัน 4บี/เซ็นทอร์เมื่อวันี่ 15 ตุลาคม 2540 ปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลากว่า 19 ปี โดยใช้เวลา 13 ปีโคจรรอบดาวเสาร์ แล้วศึกษาดาวเคราะห์และระบบดาวหลังเข้าสู่โคจรเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 การเดินทางสู่ดาวเสาร์มีการบินผ่านดาวศุกร์ (เมษายน 2541 ถึงกรกฎาคม 2542) โลก (สิงหาคม 2542) ดาวเคราะห์น้อย 2685 มาเซอร์สกี และดาวพฤหัสบดี (ธันวาคม 2543) ภารกิจสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2560 เมื่อกัสซีนีได้รับคำสั่งให้บินเข้าชั้นบรรยากาศบนของดาวเสาร์และถูกเผาไหม้เพื่อป้องกันความเสี่ยงการทำให้ดาวบริวารของดาวเสาร์ปนเปื้อนจุลชีพจากโลกที่ติดไปกับยาน ทั้งนี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์บางดวงมีสิ่งแวดล้อมที่อาจมีสิ่งมีชีวิตได้ ภารกิจดังกล่าวเป็นที่รู้กันแพร่หลายว่าประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมาย ผู้อำนวยการกองวิทยาดาวเคราะห์ของนาซาเรียก กัสซีนี–เฮยเคินส์ ว่าเป็น "ภารกิจแห่งครั้งแรก" ซึ่งปฏิบัติความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับระบบดาวเสาร์ ซึ่งรวมทั้งดาวบริวารและวงแหวน และความเข้าใจว่าอาจพบสิ่งมีชีวิตได้ในระบบสุริยะ

ภารกิจดั้งเดิมของกัสซีนีวางแผนไว้กินเวลาสี่ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ถึงพฤษภาคม 2551 ต่อมาภารกิจถูกขยายเวลาไปสองปีถึงเดือนกันยายน 2553 เรียก ภารกิจวิษุวัตกัสซีนี (Cassini Equinox Mission)[7] และขยายเวลาครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายด้วย ภารกิจอายันกัสซีนี (Cassini Solstice Mission) ที่กินเวลาต่อมาอีกเจ็ดปีถึงวันที่ 15 กันยายน 2560

16 ประเทศในทวีปยุโรปพร้อมทั้งสหรัฐจัดตั้งทีมซึ่งรับผิดชอบต่อการออกแบบ การก่อสร้าง การบิน และการเก็บข้อมูลจากส่วนโคจรกัสซีนีและยานสำรวจเฮยเคินส์ ภารกิจดังกล่าวบริหารจัดการโดยห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซาในสหรัฐ ที่ซึ่งส่วนบนรนโคจรถูกออกแบบและประกอบ การพัฒนายานสำรวจไททันเฮยเคินส์บริหารจัดการโดยศูนย์วิจัยอวกาศและเทคโนโลยียุโรป อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับยานสำรวจดังกล่าวได้รับการจัดหาจากหลายประเทศ องค์การอวกาศอิตาลี (ASI) จัดหาเสาวิทยุกำลังขยายสูงของยานสำรวจกัสซีนี และเรดาร์น้ำหนักเบาและกะทัดรัด ซึ่งทำหน้าที่อเนกประสงค์ทั้งเป็นการถ่ายภาพจากเรดาร์ (synthetic aperture radar) มาตรความสูงเรดาร์และมาตรรังสี

กัสซีนีได้รับพลังงานโดยพลูโทเนียม-238 หนัก 32.7 กิโลกรัม[8] โดยเป็นความร้อนจากการสลายกัมมันตรังสีของธาตุนั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เฮยเคินส์ได้รับการสนับสนุนโดยกัสซีนีระหว่างการเดินทาง และเมื่อแยกออกมาใช้แบตเตอรีเคมี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Cassini–Huygens: Quick Facts". NASA. สืบค้นเมื่อ August 20, 2011.
  2. Krebs, Gunter Dirk. "Cassini / Huygens". Gunter's Space Page. สืบค้นเมื่อ June 15, 2016.
  3. Barber, Todd J. (August 23, 2010). "Insider's Cassini: Power, Propulsion, and Andrew Ging". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2012. สืบค้นเมื่อ August 20, 2011.
  4. Brown, Dwayne; Cantillo, Laurie; Dyches, Preston (September 15, 2017). "NASA's Cassini Spacecraft Ends Its Historic Exploration of Saturn". NASA. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.
  5. Chang, Kenneth (September 14, 2017). "Cassini Vanishes Into Saturn, Its Mission Celebrated and Mourned". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.
  6. "Cassini Post-End of Mission News Conference" (Interview). Pasadena, CA: NASA Television. September 15, 2017.
  7. Brown, Dwayne; Martinez, Carolina (April 15, 2008). "NASA Extends Cassini's Grand Tour of Saturn". NASA / Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ August 14, 2017.
  8. Ruslan Krivobok: Russia to develop nuclear-powered spacecraft for Mars mission. Ria Novosti, November 11, 2009, retrieved January 2, 2011

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]