ข้ามไปเนื้อหา

วันเทคโนโลยีของไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันเทคโนโลยีของไทย
จัดขึ้นโดย ไทย
ประเภทวันสำคัญของชาติ
ความสำคัญเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"
วันที่19 ตุลาคม
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกพ.ศ. 2544

วันเทคโนโลยีของไทย (19 ตุลาคม) เป็นวันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน และกิจกรรมเกี่ยวกับการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”[note 1] โดยมีการเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544

ประวัติ

[แก้]

จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้มีมติว่า ให้ความเห็นชอบในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" เนื่องจากวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515[1] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลกด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และทรงพระปรีชาสามารถทำให้ฝนตกลงตรงเป้าหมาย ท่ามกลางสายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลจากต่างประเทศ เป็นครั้งแรก [2]โดยมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และ "วันเทคโนโลยีของไทย" ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยี ที่คิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย[3]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. การใช้คำว่า "พระบิดา" นี้ อาจจะไม่ถูกต้องทางด้านการใช้ภาษาเพราะ "เทคโนโลยีมิใช่เจ้า" จึงไม่มี "พระบิดา" แต่ผู้ใช้คำนี้อาจจะต้องการมุ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ "ทรงเป็นเจ้า" โดยเรื่องนี้ยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่ในวงการภาษา เก็บความจาก อักษรอริยกะ (๑) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]