ยุทธการที่ตูร์
ยุทธการที่ตูร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตของมุสลิม | |||||||
![]() “ยุทธการแห่งปัวติเยร์ของเดือนตุลาคม ค.ศ. 732” เป็นภาพของชาร์ลส์ มาร์เตล (บนหลังม้า) เผชิญหน้ากับ อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี (ขวา) ในยุทธการตูร์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
คาโรแล็งเชียงแฟรงค์ | จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ชาร์ลส์ มาร์เตล | อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี † | ||||||
กำลัง | |||||||
อาจจะราว 30,000 คน[1] | ไม่ทราบจำนวน แต่จากหลักฐานของมุสลิมที่เขียนหลังจากสงคราม[2] กล่าวว่าเป็นจำนวน 80,000 คน | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบจำนวน; บันทึกพงศาวดารคริสเตียนกล่าว่าเป็นจำนวน 1,500 คน | ไม่ทราบจำนวน, อาจจะระหว่าง 10,000 ถึง 12,000 คน; ที่สำคัญคืออับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกี[3] |
ยุทธการตูร์ หรือ ยุทธการปัวติเยร์ (อังกฤษ: Battle of Tours หรือ Battle of Poitiers, อาหรับ: معركة بلاط الشهداء (ma‘arakat Balâṭ ash-Shuhadâ’) ยุทธการแห่งราชสำนักผู้พลีชีพ[4]; 10 ตุลาคม ค.ศ. 732[5]) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นในบริเวณเมืองปัวติเยร์ และ ตูร์ ใกล้กับหมู่บ้าน Moussais-la-Bataille ราวยี่สิบกิโลเมตรทางตอนเหนือของปัวติเยร์ สมรภูมิของการสู้รบอยู่ติดกับเขตแดนระหว่างจักรวรรดิแฟรงค์และอากีแตน ยุทธการตูร์เป็นยุทธการระหว่างกองทัพแฟรงค์และเบอร์กันดี[6][7] ภายใต้การนำของออสตราเซียชาร์ลส์ มาร์เตลฝ่ายหนึ่ง และกองทัพของจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่นำโดยอับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีข้าหลวงใหญ่แห่งอัล-อันดะลุสอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายแฟรงค์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีเสียชีวิตในสนามรบ ชาร์ลส์ มาร์เตลขยายอำนาจลงมาทางใต้ นักบันทึกพงศาวดารของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ตีความหมายของชัยชนะว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบนที่เข้าข้างชาร์ลส์ และตั้งสมญานามให้ชาร์ลส์ว่า “Martellus” หรือ “ค้อน” ที่อาจจะมาจากสมญาว่า “The Hammer” ของจูดาส แม็คคาเบียส (Judas Maccabeus) ในกบฏมัคคาบี (Maccabean revolt) เมื่อชาวยิวปฏิวัติต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิซิลูซิด (Seleucid empire)[8][9] รายละเอียดของการสงครามที่รวมทั้งจุดที่ต่อสู้แต่ตัวเลขของผู้เข้าร่วมไม่เป็นที่ทราบแน่นอนจากหลักฐานที่ยังเหลืออยู่ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือฝ่ายแฟรงค์ได้รับชัยชนะโดยไม่มีกองทหารม้า[10]
นักประวัติศาสตร์คริสเตียนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรรเสริญชาร์ลส์ว่าเป็นวีรบุรุษของคริสเตียนและกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงความขัดแย้งต่อต้านอิสลาม การต่อสู้ที่เป็นการพิทักษ์คริสต์ศาสนาให้เป็นศาสนาของยุโรป นักประวัติศาสตร์ทางการทหารสมัยใหม่วิคเตอร์ เดวิส แฮนสันกล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เช่นกิบบอนมีความเห็นว่ายุทธการปัวติเยร์เป็นยุทธการสำคัญที่เป็นจุดที่แสดงอำนาจอันสูงสุดของมุสลิมที่คืบเข้ามาในยุโรป”[11] เลโอโพลด์ ฟอน รังเคอ (Leopold von Ranke) มีความเห็นว่า “ปัวติเยร์เป็นจุดของความหันเหของสมัยที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก”[12]
นักประวัติศาสตร์มีความเห็นขัดแย้งกันถึงความสำคัญของยุทธการครั้งนี้ ข้อที่ไม่เป็นที่ตกลงกันคือข้อที่ว่าสงครามครั้งนี้เป็นการยุติการคืบเข้ามาของมุสลิมในยุโรป แต่ที่เห็นพ้องกันคือยุทธการเป็นสิ่งที่ช่วยในการวางรากฐานของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงและอิทธิพลของแฟรงค์ในยุโรปต่อมาอีกร้อยปี นอกจากนั้นก็เห็นพ้องกันว่า “การวางอำนาจของแฟรงค์ในยุโรปตะวันตกเป็นการวางรูปทรงของอนาคตของทวีป และยุทธการตูร์ช่วยสนับสนุนการวางอำนาจนั้น”[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Davis, Paul K. "100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present"
- ↑ The earliest Muslim source for this campaign is the Futūh Miṣr of Ibn ʻAbd al-Ḥakam (c. 803-71) — see Watson, 1993 and Charles Cutler Torrey, 1922.
- ↑ Hanson, 2001, p. 141.
- ↑ Henry Coppée writes, "The same name (see ante) was given to the battle of Toulouse and is applied to many other fields on which the Moslemah were defeated: they were always martyrs for the faith" (Coppée, 1881/2002, p. 13.)
- ↑ Oman, 1960, p. 167.
- ↑ Bachrach, 2001, p. 276.
- ↑ Fouracre, 2002, p. 87 citing the Vita Eucherii, ed. W. Levison, Monumenta Germaniæ Historica, Scriptores Rerum Merovingicarum VII, pp. 46–53, ch. 8, pp. 49–50; Gesta Episcoporum Autissiodorensium, extracts ed. G. Waitz, Monumenta Germaniae Historica, Scriptores XIII, pp. 394–400, ch. 27, p. 394.
- ↑ Riche, 1993, p. 44.
- ↑ Hanson, 2001, p. 143.
- ↑ Schoenfeld, 2001, p. 366.
- ↑ Hanson, 2001, p. 166.
- ↑ Ranke, Leopold von. "History of the Reformation," vol. 1, 5
- ↑ Davis, 1999, p. 106.
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |