ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

พิกัด: 08°06′48″N 098°19′01″E / 8.11333°N 98.31694°E / 8.11333; 98.31694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานภูเก็ต
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานรัฐบาล
ผู้ดำเนินงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ที่ตั้งตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
ฐานการบินการบินไทย ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์
เหนือระดับน้ำทะเล25 เมตร / 82 ฟุต
พิกัด08°06′48″N 098°19′01″E / 8.11333°N 98.31694°E / 8.11333; 98.31694
เว็บไซต์www.airportthai.co.th/phuket/th/home.php
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
09/27 9,843 3,000 ยางมะตอย
แหล่งข้อมูล: เว็บไซต์สนามบิน[1] และ DAFIF[2][3]

ท่าอากาศยานภูเก็ต หรือ สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ตอนเหนือสุดของเกาะภูเก็ต เป็นท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่สามของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[4] มีเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศ บินมาลงทุกวัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมาตรฐานทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 222 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 32 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 1,382 ไร่ แท๊กซี่เวย์ 8 จุด ทิศเหนือเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นสวนยางพารา ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6,500,000 คนต่อปี โดยในปี พ.ศ. 2557 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะขยายสนามบินแห่งนี้ ซึ่งจะช่วยให้สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12,500,000 คนต่อปี ปัจจุบันส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแห่งใหม่ได้เปิดใช้บริการแล้ว[5] พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ต รับผู้โดยสารทั้งหมด 25 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศอิตาลี ประเทศเยอรมนี ประเทศจีน ประเทศรัสเซีย ประเทศสวีเดน ประเทศกาตาร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศตุรกี ประเทศเกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศคีร์กีซสถาน ประเทศเวียดนาม ประเทศสิงคโปร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศออสเตรเลีย ประเทศยูเครน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศโปแลนด์ ประเทศอิหร่าน ประเทศนอร์เวย์ [6]

โดยประเทศนอร์เวย์ทำการบินเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 สายการบิน TUI Nordic จาก ท่าอากาศยานออสโล การ์เดอร์มอน และประเทศอิตาลี โดยสายการบิน Neos ทำการบินจาก ท่าอากาศยานมิลาโนมัลเปนซาเมืองมิลาน[7]แวะ ท่าอากาศยานนานาชาติฟู้โกว๊ก ปลายทางท่าอากาศยานภูเก็ต ในเที่ยวบิน NO279[8]ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ซึ่งเป็นเขตบริหารพิเศษ

ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562 สายการบินอุซเบกิสถานแอร์เวย์ ทำการบินจากเมืองทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน มายังท่าอากาศยานภูเก็ตในเที่ยวบิน HY535/HY536[9] นับเป็นประเทศล่าสุดที่ทำการบินมายังท่าอากาศยานภูเก็ต

ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เที่ยวบิน P4 787 ทำการบินตรงจากเอเซย์ ซ่า EZEIZA บัวโนสไอเรสมายังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต[10] นับเป็นเที่ยวบินตรงครั้งแรกระหว่างทวีปอเมริกาใต้กับทวีปเอเซีย

โครงสร้าง

[แก้]
ภายในอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ พ.ศ. 2562
การบินไทย โบอิง 747-400 ออกจากสนามบินนานาชาติภูเก็ต
วิวจากหาดไม้ขาวขณะ การบินไทย แอร์บัส เอ330-300 ลงจอดที่ทางวิ่ง 09 ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
ทางวิ่งสนามบิน โดยมีหาดไม้ขาวอยู่เบื้องหน้า
ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต พ.ศ. 2553

อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (X)

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคารผู้โดยสาร
แอโรฟลอต มอสโก-เชเรเมเตียโว X-Terminal
แอร์ไชนา ปักกิ่ง-แคพิทอล X-Terminal
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ X-Terminal
เอเชียนาแอร์ไลน์ โซล-อินช็อน X-Terminal
โอเคแอร์เวย์ หางโจว,ซีอาน X-Terminal
สเก็ตแอร์ไลน์ บิชเคก,อัลมาเตอ อัสตานา X-Terminal
เชจูแอร์ ปูซาน X-Terminal
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เฉิงตู,ไท่หยวน,คุนหมิง,เซี่ยงไฮ้ X-Terminal
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ อู่ฮั่น,กว่างโจว,เซินเจิ้น X-Terminal
เซินเจิ้นแอร์ไลน์ เซินเจิ้น X-Terminal
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง X-Terminal
จูนเยาแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง X-Terminal
เทียนจินแอร์ไลน์ ฉงชิ่ง X-Terminal
เตอร์กิชแอร์ไลน์ อิสตันบูล X-Terminal
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู X-Terminal
โกแอร์ บังคาลอร์,เดลี,มุมไบ X-Terminal
คาเธ่ย์ ดรากอน ฮ่องกง X-Terminal
ฉงชิ่งแอร์ไลน์ ฉงชิ่ง X-Terminal
ยูโรวิงส์ โคโลญ X-Terminal
ลัคกี้แอร์ คุนหมิง,เจิ้งโจว X-Terminal
รอสสิย่า แอร์ไลน์ มอสโก-วนูโกว่า X-Terminal
สปริงแอร์ไลน์ หวยอัน , ฉือเจียจวง , เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง , เฉิงตู X-Terminal
ไทยไลอ้อนแอร์ ฉางซา X-Terminal
ไทเกอร์แอร์ สิงคโปร์ X-Terminal
อีสตาร์เจ็ต โซล-อินช็อน X-Terminal
อีเดลเวสส์แอร์ ซือริช X-Terminal
เอมิเรตส์แอร์ไลน์ ดูไบ X-Terminal
อินดิโก บังคาลอร์,เดลี X-Terminal
เอทิฮัด อาบูดาบี X-Terminal
อุซเบกิสถาน แอร์ไลน์ ทาชเคนต์ X-Terminal
นิวเจนแอร์เวย์ส อู๋ซี,หางโจว,ฮูฮอต ยกเลิก
ฟินน์แอร์ เฮลซิงกิ X-Terminal
ไฟร์ฟลายแอร์ไลน์ ปีนัง X-Terminal
ไหหนานแอร์ไลน์ ปักกิ่ง-แคพิทอล X-Terminal
ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์ ฮ่องกง X-Terminal
เอเชียแอตแลนติกแอร์ไลน์ส เฉิ่นหยาง X-Terminal
เวียดเจ็ทแอร์ นครโฮจิมินห์ X-Terminal
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ เมลเบิร์น, ซิดนีย์ X-Terminal
เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ สิงคโปร์ X-Terminal
จูนเหยาแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เจิ้งโจว X-Terminal
จินแอร์ โซล-อินช็อน X-Terminal
โคเรียนแอร์ โซล-อินช็อน X-Terminal
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์ X-Terminal
มาลินโดแอร์ กัวลาลัมเปอร์ X-Terminal
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา,ปีนังยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต X-Terminal
เอสเซเว่นแอร์ไลน์ อีร์ตต X-Terminal
ซิลค์แอร์ สิงคโปร์ ยกเลิก
สายการบินสกู๊ต สิงคโปร์ X-Terminal
สิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์ X-Terminal
ไทยแอร์เอเชีย ฮ่องกง,สิงคโปร์,เสียมราฐ–อังกอร์ (29 ตุลาคม),อู่ฮั่น,มาเก๊า X-Terminal
ไนน์แอร์ กุ้ยหยาง X-Terminal
ไทยสมายล์ กว่างโจว,ฮ่องกง X-Terminal
การบินไทย สต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดา,แฟรงเฟิร์ต , โคเปนเฮเกน X-Terminal
ทียูไอ แอร์เวย์ ลอนดอน,กอเทนเบิร์ก,เออเรบรู,สต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดาแวะออสโล[11] ทรอนด์เฮม วาซา X-Terminal
อูซ แอร์เวย์ ครัสโนยาสค์,โนโวซีบีสค์,เยคาเตรินบุร์ก,มอสโก,อีร์คุตสค์,เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก,อูฟา,เชเลียบินสค์ X-Terminal
อซู แอร์ ยูเครน เคียฟ X-Terminal
ล็อตโปแลนด์ วอร์ซอ X-Terminal
เพกัส ฟลาย ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี,ครัสโนยาสค์,ซามารา (ประเทศรัสเซีย),เปียร์ม,โนโวซีบีสค์,โอเรนบุร์ก,เซอร์กัต,แคว้นเบลโกรอด,ตูย์เมน,บลาโกเวชเชนสค์,ยูซโน-ซาฮาลินสก์,ครัสโนดาร์,ชิต้า X-Terminal
นอร์ดวินด์ แอร์ไลน์ส เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก,ยาคุตสค์,อูฟา,ครัสโนยาสค์,อีร์คุตสค์,เชเลียบินสค์,นิจนีนอฟโกรอด,มอสโก-เชเรเมเตียโว,รอสตอฟ-นา-โดนู X-Terminal
รอยัล ไฟล์ท มอสโก-เชเรเมเตียโว,ออมสค์,โตมสค์,โนโวคุชเน็ช,บาร์นาอุล X-Terminal


Boeing 777-300 ของโคเรียนแอร์ ใช้บินมาภูเก็ตในเที่ยวบินKE637

อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (2)

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคารผู้โดยสาร
บางกอกแอร์เวย์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, สุโขทัย อนาคต, สมุย, พัทยา-อู่ตะเภา, หาดใหญ่ 2
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง 2
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง 2
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, ขอนแก่น,อุดรธานี บินอีกครั้ง 29 ต.ค. 67 2
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ 2
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, เชียงราย 2
กาตาร์แอร์เวย์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต 2

สายการบินที่เคยทำการบินในอดีต[12]

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การบินไทย ท่าอากาศยานดอนเมือง, หาดใหญ่, เชียงใหม่
โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ภูเก็ตแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
กานต์แอร์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
เมียนมาร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ย่างกุ้ง

นีออส เกาะฟู้โกว๊ก มิลาน

ไทยสมายล์ ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานดอนเมือง​, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ อุดรธานี
ไทยแอร์เอเชีย อู่ตะเภา, อุบลราชธานี
นกแอร์ หาดใหญ่, อุบลราชธานี​, อู่ตะเภา
แอร์เอเชีย ปีนัง
นิวเจนแอร์เวย์ ท่าอากาศยานนครราชสีมา

สถิติ

[แก้]
โบอิง 747-400 ของการบินไทย
Airbus A330-300 ของสายการบินฟินน์แอร์ ทำการบินเที่ยวบินAY38กำลังบินออกจากสนามบินภูเก็ต
Airbus A330-300 ของสายการบินแอโรฟลอต
Boeing 767-300ER ของสายการบินทียูไอฟลาย นอร์ดิก
Boeing 787-8 ของสายการบินทอมป์สันแอร์เวย์ส ที่สนามบินภูเก็ต

เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

[แก้]
เส้นทางการบินระหว่างประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2555)
อันดับ ท่าอากาศยาน จำนวนผู้โดยสาร (คน)
1 สิงคโปร์ 884,104
2 กัวลาลัมเปอร์ 578,324
3 ฮ่องกง 567,534
4 โซล-อินช็อน 535,325
5 มอสโก-โดโมเดโดโว 233,650
6 เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง 176,234
7 เฉิงตู 152,902
8 อาบูดาบี 115,208
9 ฉงชิ่ง 115,014
10 สต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดา 112,033

เส้นทางการบินภายในประเทศ

[แก้]
เส้นทางการบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2555)
อันดับ ท่าอากาศยาน จำนวนผู้โดยสาร (คน)
1 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ 3,302,196
2 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง 559,887
3 เชียงใหม่ 276,499
4 เกาะสมุย 158,537
5 อุดรธานี 89,954
6 ระยอง/พัทยา 31,963

จำนวนผู้โดยสารรายปี

[แก้]
ข้อมูลการจราจรในแต่ละปีปฏิทิน[13]
ปี (พ.ศ.) ผู้ใช้บริการ (คน) เปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน
2549 4,467,982 เพิ่มขึ้น 28.66% 28,991
2550 5,478,137 เพิ่มขึ้น 22.61% 38,368
2551 5,943,468 เพิ่มขึ้น 8.49% 40,218
2552 5,441,585 ลดลง 8.44% 35,995
2553 7,043,783 เพิ่มขึ้น 0.61% 48,568
2554 8,467,995 เพิ่มขึ้น 20.22% 56,673
2555 9,541,552 เพิ่มขึ้น 12.68% 61,004
2556 11,342,491 เพิ่มขึ้น 18.87% 72,589
2557 11,401,498 เพิ่มขึ้น 0.52% 75,974
2558 12,859,356 เพิ่มขึ้น 12.79% 84,758
2559 15,107,185 เพิ่มขึ้น 17.48% 97,813
2560 16,855,178 เพิ่มขึ้น 11.57% 106,093
2561 18,221,525 เพิ่มขึ้น 8.11% 118,280
2562 18,118,440 ลดลง 0.57% 115,576
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[14]

อุบัติเหตุในอดีต

[แก้]
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2530 – เครื่องบินโบอิง 737 (HS-TBC) ของสายการบินเดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 เดินทางจากหาดใหญ่ มุ่งหน้ามายังภูเก็ต ได้ประสบอุบัติเหตุตกทะเลขณะกำลังลงจอด ที่บริเวณใกล้กับสนามบินภูเก็ต ทำให้มีผู้เสียชีวิต 83 คน สาเหตุเกิดจากความสับสนของ นักบินสายการบินดรากอนแอร์ ที่ลงจอดในเวลาใกล้เคียงกัน กับเครื่องของบริษัทเดินอากาศไทย และเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินซึ่งสังกัดกรมการบินพานิชย์ในขณะนั้น จึงเป็นเหตุให้ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยเข้ามาดำเนินการแทนในเวลาต่อมา[15]
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 เครื่องบิน Learjet 31 ทะเบียน 9V-ATD ของสายการบิน สิงคโปร์แอร์ไลน์ ทำการบินจากท่าอากาศยานภูเก็ตไปท่าอากาศยานระนองพร้อมนักบิน 2 ราย ประสบอุบัติเหตุตก เสียชีวิต 2 ราย[16]
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2550 – สายการบินวัน-ทู-โก เที่ยวบินที่ 269 จากท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มุ่งหน้ามายังจังหวัดภูเก็ต พร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 130 คน ระหว่างที่ลงจอดบริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต ทันที่ที่แตะพื้นรันเวย์เครื่องเสียการทรงตัว ลื่นไถลออกนอกรันเวย์ไปชนกับกำแพงดินซึ่งเป็นคันดินลาดเชิงเขา พร้อมเกิดระเบิดตามมา 2 ครั้ง ทำให้เครื่องบินหักเป็น 2 ท่อน และมีไฟลุกไหม้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 89 คนและบาดเจ็บ 41 คน สาเหตุเป็นความล้มเหลวในการโกอะราวนด์ของนักบิน[17] และลมเฉือน[18] [19]
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – สายการบินแอร์เบอร์ลินเที่ยวบินที่ AB-7425 เป็นเครื่องชนิด Airbus A330-200 ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องยนต์ขัดข้องขณะนำเครื่องขึ้นมุ่งหน้าสู่กรุงอาบูดาบี โดยต้องนำเครื่องบินกลับมาลงฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานภูเก็ตส่งผลให้เครื่องบินออกล่าช้า 15 ชั่วโมง โดยมีผู้โดยสารส่วนหนึ่งเดินทางไปกับสายการบินเอทิฮัดเที่ยวบินที่ EY-403 ซึ่งย้อนกลับมารับผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานภูเก็ตภายหลังจากที่ได้ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่งผลให้เที่ยวบินดังกล่าวล่าช้าไป3ชั่วโมงครึ่ง[20]
  • 21 กันยายน พ.ศ. 2559 – สายการบินไทย TG221 ทะเบียน HS-THB เป็นเครื่องบินชนิด Airbus 350-900 ได้เกิดอุบัติเหตุยางระเบิดไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ สาเหตุเนื่องจากนักบินไม่ชินกับเครื่องบินชนิดใหม่และเป็นไฟล์ท Training นักบิน นักบินผู้ช่วยเป็นคนนำเครื่องบินลงจอด
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2561 - สายการบิน สมาคมการบินสยาม ทะเบียน HS-PMS เป็นเครื่องบิน ชนิด Jabiru J450 เกิดอุบัติเหตุตก ที่ตำบลป่าคลอก มีผู้เสียชีวิต 2 ราย[21]
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - สายการบินเคแอลเอ็มเที่ยวบิน 809 ลงฉุกเฉินพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือเข้าพักที่โรงแรมในจังหวัดภูเก็ต[22]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Phuket International Airport, เว็บอย่างเป็นทางการ
  2. Airport information for VTSP at World Aero Data. Data current as of October 2006.. Source: DAFIF.
  3. Airport information for HKT at Great Circle Mapper.
  4. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  5. Sorry! That page doesn't seem to exist.[ลิงก์เสีย]
  6. ท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารภายในประเทศเต็มรูป
  7. Incident: Neos B763 near Delhi on Apr 18th 2018, only the pouring of water was missing
  8. NO279
  9. HY535/HY536
  10. Flight P4787
  11. BY746
  12. "Phuket Airport Main Information". About Thailand (ภาษารัสเซีย).
  13. "สถิติขนส่งทางอากาศ". Airports of Thailand.
  14. Airports of Thailand Public Company Limited. Statistics for airports operated by Airports of Thailand Public Company Limited, namely, Suvarnabhumi Airport, Phuket Airport, Chiang Mai Airport, Don Mueang Airport, Hat Yai Airport and Chiang Rai Airport[ลิงก์เสีย] (ไทย)
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18.
  16. เครื่องบิน Learjet 31 สิงคโปร์ ประสบอุบัติเหตุตก
  17. "ONE-TWO-GO AIRLINES Pilot error blamed for crash". บางกอกโพสต์. 21 ก.ค. 2551. สืบค้นเมื่อ 21 ก.ค. 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "Thai plane dead may take weeks to identify: police". Channel NewsAsia. 20 ก.ย. 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-03. สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "โศกนาฏกรรม "วันทูโก"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2007-09-17.
  20. Incident: Air Berlin A332 at Phuket on Dec 20th 2012, uncontained engine failure and fire
  21. เครื่องบินเล็กบินพา 2 นักศึกษาดูงาน เสียการทรงตัวตกกระแทกพื้น กัปตันและครูดับ นักศึกษาเจ็บ 2 ราย
  22. ระทึกกลางฟ้า! บินเนเธอร์แลนด์ลงฉุกเฉินที่ภูเก็ต หลังมีกลุ่มควันในห้องโดยสาร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]