ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด مطار حمد الدولي | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||||||
![]() | |||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||
เจ้าของ | กาตาร์แอร์เวย์ | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | สถาบันการบินพลเรือนกาตาร์ | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | โดฮา, โดฮา | ||||||||||||||
ฐานการบิน | กาตาร์แอร์เวย์ | ||||||||||||||
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | 4 เมตร / {{{elevation-f}}} ฟุต | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | dohahamadairport.com | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สถิติ | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
Source: Bahrain AIM[2] |
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด (IATA: DOH, ICAO: OTHH) (อาหรับ: مطار حمد الدولي) เป็น ท่าอากาศยานนานาชาติ ตั้งอยูในโดฮา เมืองหลวงของประเทศกาตาร์ สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้แทน ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา เพื่อเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ
เป็นสนามบินที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาแห่งใหม่ (NDIA), ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด เดิมมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2009 แต่ก็เกิดความล่าช้าเรื่องค่าใช้จ่ายทำให้ท่าอากาศยานเปิดใช้จริงในวันที่ 30 เมษายน 2014 โดยเครื่องบินของกาตาร์แอร์เวย์ บินจากท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา ผู้ให้บริการหลักอย่าง กาตาร์แอร์เวย์ และผู้ให้บริการรายอื่นๆ ทั้งหมดย้ายมาอย่างเป็นทางการมายังสนามบินใหม่แห่งนี้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2014 [3]
ประวัติ[แก้]
แผนและการก่อสร้าง[แก้]
การวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งนี้เกิดขึ้นในปี 2003 และเริ่มก่อสร้างในปี 2005 ท่าอากาศยาน (อาคารผู้โดยสารและรันเวย์) ถูกสร้างขึ้นห่างเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์) จากท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาเดิม โดนสร้างกระจายในพื้นที่ 2,200 เฮกตาร์ (5,500 เอเคอร์) และอนุญาตให้สายการบินที่ไม่จำเป็นต้องใช้ห้องพักรับรองเข้ามาใช้บริการก่อน
ท่าอากาศนานาชาติฮาหมัด ออกแบบเพื่อรองรับการขยายตัวของปริมาณการจราจรทางอากาศในอนาคต ในชั้นแรกสามารถรองรับผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 29 ล้านคนต่อปี เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์รองรับปริมาณผู้โดยสารเป็น 50 ล้านคนต่อปี แม้จะมีบางคำแนะนำให้ให้สร้างสนามบินที่รองรับปริมาณคนถึง 93 ล้านคนต่อปีก็ตาม ทำให้ที่นี่กลายเป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่อันดับสองของภูมิภาคตะวันออกกลางรองจาก ดูไบ[4] นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าท่าอากาศยานแห่งนี้จะรองรับเที่ยวบินได้ 320,000 เที่ยว และสินค้า 2 ล้านตันต่อปี มีพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารและจำหน่ายสินค้ามาเป็นอันดับที่ 12 ของสนามบินในปัจจุบัน ท่าอากาศยานมีขนาดเป็น 2 ใน 3 ของกรุงโดฮา [5]
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดภายในถูกออกแบบให้เหมือน โอเอซิส ภายในอาคารจะประดับด้วยน้ำตก ลักษณะหลังคาจะเป็นรูปคลื่นและพืชทะเลทราย[6]
การเลื่อนการเปิด[แก้]
เครื่องบินของสายการบินกาตาร์ดำเนินการขนสินค้าในวันที่ 1 ธันวาคม 2013 โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ที่บินมาจากยุโรป.[7] ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดพร้อมเริ่มทำการบินในเดือนมกราคม 2014 โดยยังไม่ได้ทำการบินแบบเต็มรูปแบบในช่วงแรก .[8] หลังจากที่กำหนดการเดิมจะมีการเปิดใช้งานในวันที่ 2 เมษายน 2013 แต่ถูกยกเลิกไปเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าและถูกเลื่อนออกไปเพื่อความปลอดภัยโดยมีการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นระยะเวลาเก้าเดือนก่อนทำการเปิดอย่างเป็นทางการ.[9] After a series of delays, the first two phases and a part of the third phase are scheduled to open in 2014.[10] The third and final phase is scheduled for 2015. ท่าอากาศยานถูกสร้างขึ้นกว่า22 ตารางกิโลเมตร (8.5 ตารางไมล์), ครึ่งหนึ่งของที่ดิน.[11]
อับดุล อซิว อัล โนไอมี ประธานกรมการบินพลเรือนของกาตาร์และโฆษกของสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ ผู้ประกอบการของสนามบินและลูกค้า ได้ร่วมงานพิธีเปิดในวันที่ 30 เมษายน 2014.[12]
เปิดทำการ[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดได้ต้อนรับเที่ยวบินแรกของสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ แอร์บัส A320 จำนวนผู้โดยสาร 130 คนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เวลา 11:30 นาฬิกาตามเวลาของโดฮา
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดเริ่มต้นดำเนินการวันที่ 30 เมษายน 2014 กับ 10 สายการบิน.[13] สายการบินกาตาร์แอร์เวย์และสายการบินที่เหลือได้เริ่มให้บริการในวันที่ 27 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 09.00 ตามเวลาประเทศกาตาร์
สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]
อาคารผู้โดยสาร 1[แก้]
อาคารผู้โดยสารขาออก[แก้]
อาคารผู้โดยสารขาออกของท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัดแห่งนี้ มีด้วยกัน 2 อาคาร
อาคารอิมิรี่[แก้]
อาคารผู้โดยสารอิมิรี่ เป็นอาคารผู้โดยสารที่สร้างขึ้นแยกจากตัวอาคารผู้โดยสารหลัก เพื่อให้บริการสำหรับเจ้านายชั้นสูง ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาล และผู้มีฐานันดรศักดิ์ที่เสด็จหรือได้รับคำเชิญจากทางกาตาร์ ที่ถูกออกแบบอย่างหรูหรา ภายในมีเคาเตอร์เช็คอินทั้งหมด 6 เคาเตอร์ และเคาเตอร์ทางออกอีก 1 เคาเตอร์ ให้บริการเฉพาะสายการบินประจำชาติเท่านั้น
อาคารผู้โดยสารขาออกหลัก[แก้]
เป็นอาคารผู้โดยสารสำหรับผู้โดยสารทั้งชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และผู้โดยสารทั่วไป ประกอบด้วยกลุ่มแถวให้บริการ 1 ถึง 10 โดยแถวที่ 1 และ 2 เป็นผู้โดยสารในชั้นหนึ่งของสารการบินการตาร์แอร์เวย์เท่านั้น ส่วนแถวที่สองเป็นการให้บริการในชั้นธุรกิจ ส่วนแถวที่ 3 ถึง 6 เป็นการให้บริการในชั้นประหยัด ส่วนแถวที่ 7 ถึงแถวที่ 10 เป็นของสายการบินอื่นๆ ที่ทำการบินมายังสนามบินแห่งนี้ โดยแต่ละแถวมีจำนวนของเคาเตอร์เช็คอินตั้งแต่ 12 ถึง 14 เคาท์เตอร์
- อาคารเทียบเครื่องบิน เอ มีทางออกขึ้นอากาศยาน 10 ทาง โดยอยู่ทางทิศตะวันตกของพื่นที่เช็คอิน มี 2 ประตูที่ออกแบบเพื่อรองรับ แอร์บัส เอ 380.
- อาคารเทียบเครื่องบิน บี มีทางออกขึ้นอากาศยาน 10 ทาง โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของพื่นที่เช็คอิน โดยเปิดให้บริการวันที่ 30 เมษายน 2014 มี 10 สายการบินที่ถ่ายโอนมาจากท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มี 2 ประตูที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ แอร์บัส เอ 380 มีร้านกาแฟเล็ก ตั้งอยู่ส่วนท้ายของกลุ่มอาคาร มีพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่ พื้นที่สำหรับครอบครัว และร้านค้าปลอดภาษี .[14]
- อาคารเทียบเครื่องบิน ซี มีทางออกขึ้นอากาศยาน 13 ทาง โดยอยู่ทางทิศเหนือของพื่นที่เช็คอิน มี 2 ประตูที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ แอร์บัส เอ 380 และมีประตูระยะไกลที่ใช้รถบัสในการรับส่งผู้โดยสารในพื้นที่นี้ด้วย
- อาคารเทียบเครื่องบิน ดี รอเปิดอย่างเป็นทางการ
- อาคารเทียบเครื่องบิน อี รอเปิดอย่างเป็นทางการ
อาคารผู้โดยสาร 1 มีส่วนสำหรับรับรองผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ บริหารงานโดย กาตาร์แอร์เวย์
แผนการ อาคารผู้โดยสาร 2[แก้]
กาตาร์มีแผนสร้างอาคารผู้โดยสาร 2 ในท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นในอนาคตและส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการจัดมหกรรมฟุตบอลโลก 2022[15]
รันเวย์[แก้]
สนามบินแห่งนี้มี 2 รันเวย์ที่ขนานกันระยะห่างกัน (1.2 ไมล์) สำหรับการขึ้นลงของอากาศยาน รันเวย์แรกคือ 4,850 เมตร× 60 เมตร เป็นรันเวย์ที่มีความยาวที่สุดใน เอเชียตะวันตก, และรันเวย์นี้ยังเป็นรันเวย์หนึ่งที่ยาวที่สุดในโลก รันเวย์ที่สอง 4,250 เมตร× 60 เมตร[2]
เส้นทางการบิน[แก้]
สายการบินโดยสาร[แก้]
ขนส่งอากาศยาน[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ICAO code" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ 2.0 2.1 http://www.bahrainaims.com/airac0114/2012-10-18-AIRAC/pdf/OB-eSUP-2012-09-en-BH.pdf
- ↑ "General Information". dohaairport.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "albawaba.com middle east news information::$3.63 trillion earmarked for Middle East hotels and supporting tourism infrastructure". Menareport.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "New Doha International Airport, Qatar". Airport Technology. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Is the Hamad International ever going to open?". Qatar Chronicle. July 6, 2013. สืบค้นเมื่อ July 16, 2013.
- ↑ "Qatar Airways Cargo inaugurates freight operations at New Doha Airport". Ch-aviation.ch. 2013-12-01. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Doha's hamad airport to open in January 2014". Businesstraveller.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ April 1, 2013 1:14 PM (2013-04-01). "new Doha Airport launch put off". News.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "New $17.5b Doha airport to open on 12-12-12". GulfNews.com. 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Qatar targets 24m annual passengers in new airport". Gulfnews. 2008-02-11. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Arabian Aerospace - Qatar announces new name for its international airport". Arabianaerospace.aero. 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "New April 30 soft launch date set for Hamad International Airport". Dohanews.co. 2014-04-10. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ [1]
- ↑ "Qatar plans Airport City". Gulf Times. 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ Agcaoili, Lawrence (15 March 2015). "Cebu Pacific adds Qatar route in June". Manila: The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015. Italic or bold markup not allowed in:
|publisher=
(help) - ↑ "Qatar Airways Announces a New Route: Amsterdam" (Press release). Qatar Airways. 31 December 2014. สืบค้นเมื่อ 6 January 2015.
- ↑ Qatar Airways begin Asmara service from December 2014
- ↑ "Press Release". Qatar Airways. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ http://www.arabianaerospace.aero/qatar-airways-continues-expansion-in-south-africa-with-launch-of-durban-flights.html
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Qatar Airways expand in Pakistan with three new routes
- ↑ "Qatar Airways Continues China Expansion With Flights to Hangzhou" (Press release). Qatar Airways. 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 6 November 2013.
- ↑ "QATAR AIRWAYS TO COMMENCE FOUR WEEKLY SERVICES TO ISTANBUL'S SABIHA GOKCEN AIRPORT" (Press release). Qatar Airways. 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 December 2013.
- ↑ [2]
- ↑ "Press Release". Qatar Airways. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Qatar Air to launch sixth Saudi route in October - Transport". ArabianBusiness.com. 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Tokyo's Haneda Airport named Qatar Airways third destination in Japan" (Press release). Qatar Airways. 6 March 2014. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
- ↑ Qatar conform Zanzibar
- ↑ [3][ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.tradearabia.com/news/STN_222451.html
- ↑ http://www.falcongroup.bz/#/5_express_cargo_airlines/
- ↑ http://lufthansa-cargo.com/en_de/mainnav/network/maps-of-networks/asian-network/
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Our Bureau (2014-03-03). "Qatar Airways Cargo plans freight services to Hyderabad, Stansted | Business Line". Thehindubusinessline.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ Qatar cargo launching Los Angeles
- ↑ "Press Release". Qatar Airways. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "Qatar Airways cargo routemap". สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ QR adds new routings
- ↑ "New Saudia Europe-Doha freighter service". Freightweek.org. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.