แขวงบ้านช่างหล่อ
แขวงบ้านช่างหล่อ | |
---|---|
![]() วัดครุฑเป็นวัดแห่งหนึ่งในแขวงบ้านช่างหล่อ | |
อักษรไทย | แขวงบ้านช่างหล่อ |
อักษรโรมัน | Khwaeng Ban Chang Lo |
เขต | บางกอกน้อย |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 2.076 ตร.กม. (0.802 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[2] | |
• ทั้งหมด | 31,557 คน |
• ความหนาแน่น | 15,200.86 คน/ตร.กม. (39,370.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10700 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 102005 |
![]() |
บ้านช่างหล่อ เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นย่านการค้าและเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
แขวงบ้านช่างหล่อครอบคลุมพื้นที่ตอนกลาง-ใต้ของเขตบางกอกน้อย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[3]
- ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงบางขุนศรีและแขวงศิริราช มีถนนจรัญสนิทวงศ์ ทางรถไฟสายใต้ คลองวัดทอง และถนนสุทธาวาสเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงศิริราช มีถนนอิสรภาพ ถนนวังหลัง และคลองบ้านขมิ้นเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงวัดอรุณและแขวงวัดท่าพระ (เขตบางกอกใหญ่) มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางขุนศรี มีถนนจรัญสนิทวงศ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อแขวง[แก้]
บ้านช่างหล่อเดิมเป็นชุมชนของช่างฝีมือที่มีฝีมือในการประดิษฐ์หรือหล่อพระพุทธรูป มีศูนย์กลางซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนวังหลังใกล้กับแยกศิริราชและโรงพยาบาลศิริราช มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่กรุงธนบุรีหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ต่อมาทางการได้ห้ามการหล่อพระพุทธรูปอีก เนื่องจากสภาพเมืองมีการขยายตัวขึ้น มีบ้านเรือนและผู้มาอยู่อาศัยมากขึ้น เศษเปลวไฟจากการหล่อนั้นอาจกระเด็นไปโดนก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ ทำให้โรงหล่อต่าง ๆ ในชุมชนบ้านช่างหล่อต้องปิดกิจการหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น ปัจจุบันไม่มีโรงหล่อเหลืออยู่ในชุมชนบ้านช่างหล่อเลย โรงหล่อเดิมจึงเป็นเพียงสำนักงานเพื่อติดต่องาน ปัจจุบันชุมชนบ้านช่างหล่อจึงเหลือแต่เพียงชื่อเท่านั้น[4]
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงบ้านช่างหล่อ ได้แก่
ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงบ้านช่างหล่อ ได้แก่
- ถนนสุทธาวาส
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 22 และซอยอิสรภาพ 37 (วัดอัมพวา)
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 28 และซอยอิสรภาพ 39 (วัดดงมูลเหล็ก)
- ซอยอิสรภาพ 44 (แสงศึกษา)
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กองนโยบายและแผนงาน. สำนักผังเมือง. กรุงเทพมหานคร. ประชากรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2549.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showZoneData.php?rcode=1020&statType=1&year=61 2562. สืบค้น 15 สิงหาคม 2562.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงบ้านช่างหล่อ แขวงศิริราช และตั้งแขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (202): 1099. 21 พฤศจิกายน 2534. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ กทม.สาร ปีที่ 15 ฉบับที่ 165 ประจำเดือนมิถุนายน 2551 โดย พิมพ์นรี ศรีเมือง นักประชาสัมพันธ์ 6 เขต บางกอกน้อย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ แขวงบ้านช่างหล่อ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′21″N 100°28′56″E / 13.755712°N 100.482359°E