รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เป็นรายได้ภาพยนตร์จากบ็อกซ์ออฟฟิสประเทศไทย เรียงลำดับตามรายได้แบบไม่ปรับอัตราเงินเฟ้อ เฉพาะโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และอำเภอเมืองเชียงใหม่ เท่านั้น
เนื่องจากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด อยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์แต่ละภูมิภาค หรือที่เรียกกันว่า "สายหนัง" ซึ่งทำหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้สร้าง (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) ไปจัดจำหน่ายต่อเองในพื้นที่ของตน แบ่งได้เป็นสายเหนือและแปดจังหวัดภาคกลาง (ไม่รวมอำเภอเมืองเชียงใหม่), สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายใต้และสายตะวันออก โดยการซื้อขายอาจเป็นไปในลักษณะขายสิทธิ์ขาด หรือแบ่งสัดส่วนรายได้ตามข้อตกลงทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน จึงอาจกล่าวได้ว่า สายหนังทำหน้าที่เสมือนเป็นพ่อค้าคนกลาง แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือใดทั้ง เอสเอฟ ซีเนม่า, เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ หรือโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัดซึ่งมีเจ้าของเป็นนักธุรกิจท้องถิ่น ก็ต้องรับซื้อภาพยนตร์จากสายหนังประจำภูมิภาคของตนเพียงเจ้าเดียว[1]
ขณะที่โรงภาพยนตร์ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ ผู้สร้าง (หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ) จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเอง เริ่มต้นจากผู้สร้างทำการติดต่อกับโรงภาพยนตร์เองโดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันในสัดส่วนที่แน่นอน (คำนวณจากตั๋วภาพยนตร์ที่ขายได้) ซึ่งส่งผลให้ผู้สร้างได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ขณะเดียวกันผู้สร้างยังต้องว่าจ้างผู้ควบคุมหรือเช็กเกอร์ ให้ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ด้วยว่าขายตั๋วได้ตามจำนวนเงินที่แจ้งมาหรือไม่[2][3]
รายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ จึงถือเป็นรายรับที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนและเข้าถึงบริษัทผู้สร้างโดยตรงหลังหักส่วนแบ่งกับโรงภาพยนตร์แล้ว สำหรับข้อมูลรายได้ทั่วประเทศ รวมไปถึงข้อมูลการซื้อขายภาพยนตร์ระหว่างผู้สร้างกับสายหนัง เป็นตัวเลขตามที่แต่ละฝ่ายยอมเปิดเผยและไม่นำมาใช้คำนวณเนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ปัจจุบันพบว่ามีผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์บางราย สามารถติดต่อขอจัดจำหน่ายภาพยนตร์ได้เองโดยตรงกับโรงภาพยนตร์ตามต่างจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสายหนัง แต่เป็นเพียงบางกรณีและบางพื้นที่เท่านั้น
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
[แก้]ในบรรดาภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยสี่สิบอันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่) ประกอบด้วยภาพยนตร์ไทย จำนวนสิบเอ็ดเรื่อง เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มากถึงห้าเรื่อง และมีภาพยนตร์ภาคเดียวเพียงสี่เรื่องเท่านั้นที่ทำเงินติดอันดับ ได้แก่ พี่มาก..พระโขนง, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้, 2012 วันสิ้นโลก และ ไททานิค ที่เหลือทั้งหมดล้วนเป็นภาพยนตร์แฟรนไชส์
หากนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินได้ดีที่สุดโดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์สิบสองเรื่อง จากมาร์เวลสตูดิโอส์ ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดยี่สิบอันดับแรก ขณะที่ภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ เช่น สไปเดอร์-แมน ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ของผู้กำกับชื่อดัง เจมส์ คาเมรอน ที่ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล ติดอันดับ 11 ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (สูงสุดเป็นอันดับสอง ณ ขณะนั้น) ขณะที่ภาพยนตร์ชุด ทรานส์ฟอร์เมอร์ส จากค่าย พาราเมาต์พิกเจอส์ และ เร็ว...แรงทะลุนรก จากค่าย ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ ทำเงินติดอันดับชุดละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค เวิลด์, จักรวาลขยายดีซี, จักรวาลไทบ้าน, แวมไพร์ ทไวไลท์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางเรื่องติดอันดับเข้ามาด้วย
ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จากค่าย มาร์เวลสตูดิโอส์ สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 หลังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท แซงหน้าภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่าย จีทีเอช โดยใช้เวลาเพียงสิบหกวัน และคาดว่าทำเงินประมาณการรวมทั่วประเทศสูงถึง 1,091 ล้านบาท[4]
ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำภายหลังจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ (ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท)R ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567
UIPภาพยนตร์จากค่ายยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์, พาราเมาต์พิกเจอส์ และบริษัทในเครือทั้งหมดที่เข้าฉายในประเทศไทย จะถูกจัดจำหน่ายผ่านบริษัทยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ยูไอพี) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกัน[28]
Rรายได้ของภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท เป็นรายรับรวมจากการออกฉายภาพยนตร์ฉบับปกติครั้งแรก (ความยาว 3 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2544 และภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์ (ตัดต่อใหม่ ความยาว 5 ชั่วโมง) เมื่อปี พ.ศ. 2546
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
[แก้]ในบรรดาภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดสี่สิบอันดับแรก (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่) ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ที่สร้างและจัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม มากที่สุดสิบเอ็ดเรื่อง เกินกว่าครึ่งมาจากผลงานภาพยนตร์ชุดอิงประวัติศาสตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ขณะที่ภาพยนตร์จากค่าย จีทีเอช ทำเงินติดอันดับเข้ามาจำนวนสิบเรื่อง โดยเป็นผลงานการกำกับของบรรจง ปิสัญธนะกูล มากถึงสี่เรื่อง (ผลงานกำกับร่วมสองเรื่อง ได้แก่ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และห้าแพร่ง) และถ้าหากนับรวม แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว จากค่ายจีดีเอช ด้วย จะทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงห้าเรื่อง
แนวโน้มการทำเงินสูงของภาพยนตร์ไทย ยังคงมาจากภาพยนตร์แนวตลก ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์แนวสยองขวัญเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากสัดส่วนของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์แนวตลกและภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เกินครึ่ง อีกแปดเรื่องเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ก่อนหน้านี้ภาพยนตร์ กาเหว่าที่บางเพลง และ 2499 อันธพาลครองเมือง เคยเป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แต่ภาพยนตร์ นางนาก นับว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามภูมิภาค และภาพยนตร์ภาคต่อจากละครโทรทัศน์หรือซีรีส์ชื่อดัง เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วงหลัง เช่น บุพเพสันนิวาส ๒, สัปเหร่อ, นาคี ๒ และ ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค ที่ต่างทำเงินเกิน 100 ล้านบาททุกเรื่อง
ภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย หลังทำเงินเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท และคาดว่าทำเงินประมาณการรวมทั่วประเทศเกิน 1 พันล้านบาท[29] จากการเข้าฉายนานถึงสิบสัปดาห์ รวมทั้งเคยสร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (นับรวมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้ว) นานกว่าหกปี ก่อนถูกภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ทำเงินแซงหน้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2562[5]
ในตารางนี้จะแสดงภาพยนตร์ไทยเรียงลำดับตามจำนวนเงิน และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายซ้ำใหม่ภายหลังจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ (ยกเว้นภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท)R ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อมูลรายได้รวมทั่วประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่อง มีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์, บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และบทความอิสระ) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567
ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
[แก้]ในบรรดาภาพยนตร์แอนิเมชันที่เข้าฉายในประเทศไทย มีเพียงสี่เรื่องเท่านั้นที่สามารถทำเงินได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยยี่สิบอันดับแรกของภาพยนตร์แอนิเมชันทำเงินสูงสุด เป็นภาพยนตร์จากวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์มากถึงเก้าเรื่อง (เฉพาะสตูดิโอพิกซาร์ ห้าเรื่อง) ตามมาด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันจากอิลลูมิเนชันเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และดรีมเวิกส์แอนิเมชัน ค่ายละสามเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันไทย และญี่ปุ่น ทำเงินติดอันดับสัญชาติละสองเรื่อง โดยภาพยนตร์อนิเมะอย่าง ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ ได้สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นทำเงินสูงสุดในประเทศไทย และภาพยนตร์เอเชียทำเงินสูงสุดอันดับสาม[43]
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567
TLKวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ ผู้สร้างภาพยนตร์ เดอะไลอ้อนคิง ถือว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สัตว์แสดง ทั้ง ๆ ที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ (นอกจากฉากเปิดเรื่อง) สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเสมือนจริง[62] ขณะที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำฮอลลีวูด (ผู้จัดรางวัลลูกโลกทองคำ) ถือว่าเป็นแอนิเมชันตามเกณฑ์ที่กำหนด[63]
สถิติของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
[แก้]ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเรียงตามปีที่ออกฉาย
[แก้]มีภาพยนตร์ไทยเก้าเรื่องที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปี โดยเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2542–2544) และหากนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ อีเรียมซิ่ง กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีเพียงเรื่องเดียวที่ทำเงินต่ำกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19
ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ เป็นค่ายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงหกเรื่อง ครึ่งหนึ่งเป็นผลงานการกำกับของ เจมส์ คาเมรอน และเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสี่ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2537–2540) ต่อมาภาพยนตร์แนวแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้รับความนิยม และทำเงินได้อย่างถล่มทลายในช่วงเปลี่ยนผ่านคริสต์ศตวรรษ ก่อนที่ภาพยนตร์ชุดแนวซูเปอร์ฮีโรจะกลายเป็นภาพยนตร์กระแสหลักของผู้ชมชาวไทย นับจนถึงปัจจุบัน มีภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงห้าเรื่องที่มาจากค่ายมาร์เวลสตูดิโอส์
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567
YRการฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าหนึ่งปี (ข้ามปี) ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น เพียงแต่ปีที่ระบุในตารางข้างต้นนี้ ยึดจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าฉายในประเทศไทย รายได้จึงถูกนับรวมตลอดโปรแกรมการฉายของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในประเทศไทย แต่ไม่ได้นับรวมรายได้จากการนำกลับมาฉายใหม่
เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด
[แก้]มีภาพยนตร์เพียงแปดเรื่องเท่านั้นที่ได้รับการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ของผู้กำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2536 ต่อมาภาพยนตร์เรื่อง ไอดี 4 สงครามวันดับโลก กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินในประเทศไทยเกิน 100 ล้านบาท ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค สามารถทำลายสถิติเพียงหกเดือนของเดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค สำเร็จ หลังทำเงินรวมเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2541
ภายหลังมีภาพยนตร์ไทย ทั้งสองเรื่องอย่าง สุริโยไท และพี่มาก..พระโขนง ถือครองสถิตินี้รวมกันนานกว่าสิบแปดปี ก่อนที่ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จะทำเงินแซงหน้าไปในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2562 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบันรวมห้าปี
ปีที่เริ่ม | ภาพยนตร์ | บริษัทผู้จัดจำหน่าย | ทำเงิน (ล้านบาท) |
อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2536 | จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ | ยูไอพีUIP | 74.34 | [22] |
2539 | ฅนเหล็กพยัคฆ์ร้ายพระกาฬ | วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส | 79.85 | [22] |
ไอดี 4 สงครามวันดับโลก | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ | 123.42 | [22] | |
2540 | เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค | ยูไอพี | 124.75 | [22] |
2541 | ไททานิค | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ | 213.65 | [13][22] |
2544 | สุริโยไท | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล | 324.5R | [9][10] |
2556 | พี่มาก..พระโขนง | จีทีเอช | 568.55 | [6][7] |
2562 | อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก | วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ | 617.55 | [5] |
ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัวสูงสุด
[แก้]ภาพยนตร์จากมาร์เวลคอมิกส์ ทำเงินเปิดตัววันแรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรกมากถึงแปดเรื่อง โดยภาพยนตร์เรื่อง อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่สูงสุดตลอดกาลที่ 75.32 ล้านบาท ทั้งที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันธรรมดา และยังเป็นรายรับสูงสุดตลอดกาลในหนึ่งวันของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศไทยอีกด้วย ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง ไอรอนแมน 3, ดิ อเวนเจอร์ส และ ไอ้แมงมุม 3 ต่างเข้าฉายวันแรกตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ (1 พฤษภาคม) ทั้งสิ้น สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ เป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดกาลที่ 29.17 ล้านบาท แต่ไม่ติดอยู่ในสิบอันดับแรก[67]
ภาพยนตร์แฟรนไชส์ อเวนเจอร์ส ทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรกมากถึงสามเรื่อง โดยภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกที่ 251.89 ล้านบาท ใกล้เคียงกับรายรับรวมตลอดทั้งโปรแกรมฉายของภาพยนตร์ภาคแรกในแฟรนไชส์อย่าง ดิ อเวนเจอร์ส ส่วนภาพยนตร์จากแฟรนไชส์ เร็ว...แรงทะลุนรก, จูราสสิค เวิลด์ และทรานส์ฟอร์เมอร์ส ทำเงินติดอันดับเข้ามาชุดละสองเรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง เป็นเจ้าของตำแหน่งภาพยนตร์ไทยทำเงินเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดตลอดกาลที่ 105.98 ล้านบาท แต่ไม่ติดอยู่ในสิบอันดับแรก[68]
- † พื้นหลังสีเหลืองแสดงภาพยนตร์ที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดตามประเพณี
ODรายได้เฉพาะวันแรกของการเข้าฉายปกติ ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษก่อนฉายจริง (Sneak Preview)
OWรายได้เฉพาะช่วงวันพฤหัสบดี จนถึงวันอาทิตย์แรกของการเข้าฉายเท่านั้น ไม่นับรวมรายได้จากการเปิดรอบพิเศษก่อนฉายจริง (Sneak Preview) หรือการเข้าฉายปกติก่อนวันพฤหัสบดี
แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
[แก้]ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนคริสต์ศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มขึ้น โดยมีมากกว่าห้าสิบภาพยนตร์ชุด[87] นอกจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้วนั้น ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดได้สร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "พรี–โซลด์" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[88]
รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว"[89] ผลที่ตามมาของการข้ามฝั่งคือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม"[90]
มีภาพยนตร์เพียงเก้าชุดเท่านั้นที่สามารถทำเงินรวมในประเทศไทยเกิน 1 พันล้านบาท โดย จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ถือเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินรวมสูงที่สุดในประเทศไทย มีภาพยนตร์ในแฟรนไชส์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงยี่สิบห้าเรื่อง แต่หากย้อนไป ภาพยนตร์ชุด โลกเวทมนตร์ เป็นแฟรนไชส์ชุดแรกที่สามารถทำเงินทะลุ 1 พันล้านบาท หลังจากที่ภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าฉายไปได้เจ็ดภาค ขณะที่ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส และ อวตาร เป็นเพียงสองแฟรนไชส์ต่างประเทศที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 100 ล้านบาท มีภาพยนตร์ไทยเพียงชุดเดียวที่ติดอันดับเข้ามา นั่นคือ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และยังไม่มีภาพยนตร์แอนิเมชันชุดใดสามารถทำเงินรวมในประเทศไทยติดยี่สิบอันดับแรกได้
- † ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
BWภาพยนตร์ แบล็ค วิโดว์ เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 5 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะสุดสัปดาห์แรกที่เข้าฉายเท่านั้น
TSSภาพยนตร์ เดอะ ซุยไซด์ สควอด เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 16 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และปรากฏรายได้เฉพาะวันแรกที่เข้าฉายเท่านั้น
JBภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ฉบับที่นำแสดงโดยโรเจอร์ มัวร์, ฌอน คอนเนอรี, ทิโมธี ดาลตัน และจอร์จ ลาเซนบี ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย
SWภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ไม่ปรากฏข้อมูลรายได้ในประเทศไทย
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด
- รายชื่อภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุด
- รายชื่อภาพยนตร์ระดับอาร์ที่ทำเงินสูงสุด
- รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศญี่ปุ่น
- รายชื่อภาพยนตร์ไทยที่เสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กลยุทธ์ทางเลือกในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของผู้สร้างภาพยนตร์รายย่อยในประเทศไทย
- ↑ ทำความรู้จักกับ “สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
- ↑ ม็อกค่าปาท่องโก๋ : Checker ฟันเฟืองสำคัญของ “หนังไทย”
- ↑ อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 5 มิถุนายน 62
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 5.24 Avengers: Endgame ครองแชมป์หนังทำรายได้สูงสุดตลอดกาลของไทย และอีก 19 อันดับนับถึงปัจจุบัน
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 หนังไทยเรื่องไหนที่เป็นที่ถูกใจคอหนัง จนผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์หนังทำเงินช่วงปิดเทอมใหญ่มาแล้วบ้าง เราจะย้อนกลับไปดูกัน
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดตลอดกาล
- ↑ 8.0 8.1 รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน 2566
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 สรุป 10 อันดับหนังไทย ทำเงินสูงสุดตลอดกาล (สิ้นสุด 4 กันยายน 2548)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Country Project #2: Thai Film Industry
- ↑ 11.0 11.1 รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 18-21 พฤษภาคม 2560
- ↑ 12.0 12.1 Avengers : Infinity War กลายเป็นหนัง MCU ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
- ↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 13.22 Thailand Box Office ฉบับข้อมูลเน้นๆ สรุปข้อมูลรายได้หนัง และ สถิติต่างๆ ในไทย ประจำปี 2554 อย่างละเอียดยิบ
- ↑ 14.0 14.1 14.2 อันดับหนังทำเงินบ้านเราประจำวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567
- ↑ รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 ทำเนียบหนังไทยทำเงินในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีนี้
- ↑ 17.0 17.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ อันดับหนังทำเงินประจำสุดสัปดาห์ที่ 16-19 มิ.ย. 2565
- ↑ 19.00 19.01 19.02 19.03 19.04 19.05 19.06 19.07 19.08 19.09 19.10 19.11 19.12 19.13 19.14 19.15 19.16 19.17 19.18 19.19 19.20 19.21 19.22 รู้หรือไม่? 20 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาลมีเรื่องอะไรบ้าง
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Thai Box Office For 2009
- ↑ Top Grossers ~ Thailand (Bangkok)
- ↑ 22.00 22.01 22.02 22.03 22.04 22.05 22.06 22.07 22.08 22.09 22.10 22.11 22.12 สรุป 50 อันดับหนังทำเงินตลอดกาลในประเทศไทย สุริโยไท ยังครองอันดับหนึ่งหนังทำเงินตลอดกาลอย่างเหนียวแน่น
- ↑ 10 อันดับรายได้ "หนังต่างประเทศ" ในไทย 2018
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 สรุป 25 อันดับหนังต่างประเทศทำเงินสูงสุดตลอดกาลในประเทศไทย
- ↑ รายได้หนังทำเงินประจำสัปดาห์ 13 - 19 ธ.ค. 55
- ↑ 26.0 26.1 สรุปรายได้หนังไทยประจำปี 2548"ต้มยำกุ้ง" เข้าวิน183.35 ล้าน "หลวงพี่เท่ง" 141.7 ล้านที่ 2
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 10-13 สิงหาคม 2560
- ↑ "ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ยูไอพี)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-12. สืบค้นเมื่อ 2023-12-12.
- ↑ พี่มาก..พระโขนง PEE MAK – มรดกภาพยนตร์ของชาติ
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567
- ↑ รายได้หนังสุดสัปดาห์ 22 - 25 กันยายน 2565
- ↑ 32.0 32.1 32.2 ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดในรอบ 9 ปีนี้
- ↑ 33.0 33.1 10 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดปี 2018
- ↑ รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 9—12 มกราคม 2563
- ↑ 35.0 35.1 35.2 ลำดับรายได้ภาพยนตร์ค่าย GDH ตลอด 4 ปี
- ↑ 10 อันดับ “หนังไทย” ทำรายได้สูงสุด ปี 2562
- ↑ "สรุปรายได้หนังไทย ปี 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
- ↑ ฉลาดเกมส์โกง สรุปยอดรายได้รวม 112.15 ล้านบาท
- ↑ "(สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26) สรุปรายได้ Box Office หนังไทยปี 2559". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
- ↑ รายได้รวมหนังไทยปี 2557
- ↑ 41.0 41.1 41.2 41.3 ข้อมูลเน้นๆ! สรุปข้อมูลรายได้หนัง และ สถิติต่างๆ ในไทย ครึ่งปีแรก ประจำปี 2554
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 42.6 100 อันดับ หนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาล !!! (รวบรวมถึงปี 2552)
- ↑ หนังทำเงินประจำสุดสัปดาห์ที่ 31 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564 : Monster Hunter คว้าแชมป์รับหยุดยาวปีใหม่
- ↑ รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 2-5 มกราคม 2563
- ↑ รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 6 - 12 ส.ค. 58
- ↑ รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 29 สิงหาคม - 1 กันยายน 2562
- ↑ รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 7- 10 มีนาคม 2562
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567
- ↑ รายได้หนังประจำสัปดาห์ : 31 มี.ค. - 6 เม.ย. 2559
- ↑ 50.0 50.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2564
- ↑ รายได้หนังประจำวันที่ 1-7 ส.ค. 2556
- ↑ รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2562
- ↑ Fast & Furious 7 แชมป์หนังต่างประเทศทำเงินสูงสุด ครึ่งปีแรกของไทย
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ ช่วงสุดสัปดาห์ วันที่ 2-5 สิงหาคม 2561
- ↑ สรุป 10 อันดับหนังทำเงินสูงสุดในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่ช่วงครึ่งปีแรก ปี 2023
- ↑ รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 10-13 มกราคม 2562
- ↑ THAI BOX OFFICE : 17 - 23 ก.ย. 2558
- ↑ Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทยประจำสุดสัปดาห์ 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2559
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 13-16 กรกฎาคม 2560
- ↑ 10 อันดับหนังทำเงินสูงสุดในเขตกรุงเทพ ปริมณฑลเชียงใหม่ ประจำปี 2022
- ↑ Top Ten หนังแอนิเมชัน ทำเงินตลอดกาล ในประเทศไทย
- ↑ Smith, Nigel (July 29, 2019). "The Lion King Director Reveals There's One 'Real Shot' in Hit CGI Remake". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2019. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.
- ↑ Whitten, Sarah (2019-12-09). "Disney calls 'The Lion King' live-action. The Golden Globes just nominated it for best animated feature". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
- ↑ Top Films in Thailand – 1994
- ↑ "Transformer" เปิดตัวสะท้านเมือง 4 วัน 60.1 ล้าน, "Die Hard 4.0" รอบพิเศษ อึดเฉียด 8 ล้าน
- ↑ 10 หนังไทย-เทศ ยอดฮิตแดนสยามปี 2551
- ↑ ธี่หยด 2 ทำเงินวันแรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงถึง 24.87 ล้านบาท กระโดดเข้าสู่ Top 3 หนังไทยเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดตลอดกาลได้สำเร็จ
- ↑ ธี่หยด 2 ทำเงินช่วงสี่วันสุดสัปดาห์แรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงถึง 104.97 ล้านบาท กลายเป็นหนังไทยเรื่องที่ 2 ตลอดกาลที่สามารถทำเงินสุดสัปดาห์แรกทะลุหลักร้อยล้านขึ้นมาได้
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ ประจำวันพุธที่ 24 เมษายน 2562
- ↑ รายได้เปิดตัว AVENGERS: INFINITY WAR "อเวนเจอร์ส: อินฟินิตี้ วอร์ มหาสงครามล้างจักรวาล" เพียงแค่วันเดียว 54.88 ล้านบาท
- ↑ รายได้หนังประจำวันที่ 25 เม.ย. - 1 พ.ค. 56 และรายได้เปิดตัว Iron Man 3
- ↑ หนังทำเงินในไทย ประจำวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 : Doctor Strange in the Multiverse of Madness ขึ้นแท่นเปิดตัววันแรกสูงสุดในบ้านเรารอบสามปีนี้
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
- ↑ รายได้เปิดตัว FAST & FURIOUS 8 "เร็ว...แรงทะลุนรก 8" (เข้าฉาย 12 เมษายน)
- ↑ 75.0 75.1 "The Avengers" ทุบสถิติหนังเปิดตัวในไทยวันแรก 39.1 ล้านบาท
- ↑ รายได้หนังประจำสัปดาห์ : 21 - 27 เม.ย. 2559
- ↑ รายงานหนังทำเงิน วันพุธที่ 6 มีนาคม 2562 : Captain Marvel ขึ้นแท่นหนังเปิดตัววันแรกสูงสุดของปีนี้
- ↑ รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 25-28 เมษายน 2562
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ ช่วงสุดสัปดาห์ 26-29 เมษายน 2561
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ ช่วงสุดสัปดาห์ วันที่ 7 - 10 มิถุนายน 2561
- ↑ 81.0 81.1 สถิติเด่นอย่าง"รายได้สุดสัปดาห์แรกสูงสุดตลอดกาล" เรามาดูกันว่า 10 อันดับหนังเปิดตัวสุดสัปดาห์แรกสูงสุดของบ้านเรามีเรื่องอะไรกันบ้าง?
- ↑ Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทย ประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 30 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2558
- ↑ Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทยประจำสุดสัปดาห์ 28 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2559
- ↑ รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 13 - 16 เมษายน 2560
- ↑ Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทยประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 11-14 มิถุนายน 2558
- ↑ THAILAND BOX OFFICE**NEW UPDATE** 30 มิ.ย.-3 ก.ค. 2011
- ↑ "Movie Franchises". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ July 7, 2022.
- ↑ The Economist online (July 11, 2011). "Pottering on, and on". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2011.
- ↑ Nevins, Jess (August 23, 2011). "A Brief History of the Crossover". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
- ↑ Nevins, Jess (September 9, 2011). "The First Shared Universes". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.