ข้ามไปเนื้อหา

แฟนฉัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟนฉัน
กำกับคมกฤษ ตรีวิมล
ทรงยศ สุขมากอนันต์
วิทยา ทองอยู่ยง
นิธิวัฒน์ ธราธร
อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม
วิชชา โกจิ๋ว
บทภาพยนตร์คมกฤษ ตรีวิมล
ทรงยศ สุขมากอนันต์
นิธิวัฒน์ ธราธร
วิชชา โกจิ๋ว
วิทยา ทองอยู่ยง
อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม
อมราพร แผ่นดินทอง
นักแสดงนำ
ผู้บรรยายชวิน จิตรสมบูรณ์
กำกับภาพทรงยศ สุขมากอนันต์
ตัดต่อนิธิวัฒน์ ธราธร
ดนตรีประกอบอมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายจีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์
ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์
หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม
จีทีเอช
จีดีเอช ห้าห้าเก้า (ฉายซ้ำ)
วันฉาย3 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (20 ปี)
ความยาว111 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน137.3 ล้านบาท
(เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

แฟนฉัน เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก-คอมเมดี้ดราม่า ความสนุกในยุค 80's ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2546 กำกับโดยกลุ่ม 365 ฟิล์ม บทภาพยนตร์โดย คมกฤษ ตรีวิมล ทรงยศ สุขมากอนันต์ นิธิวัฒน์ ธราธร วิชชา โกจิ๋ว วิทยา ทองอยู่ยง อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม อมราพร แผ่นดินทอง นำแสดงโดย ชาลี ไตรรัตน์ โฟกัส จีระกุล ชวิน จิตรสมบูรณ์ วงศกร รัศมิทัต อนุสรา จันทรังษี ปรีชา ชนะภัย นิภาวรรณ ทวีพรสวรรค์ ภาพยนตร์นี้เกี่ยวกับความรักวัยเด็ก ในอดีตแห่งความทรงจำ

ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เกิดขึ้นจากการที่ 3 บริษัทบันเทิงไทยอย่าง จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ที่พรั่งพร้อมด้วยแผนการตลาดและโฆษณามี ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการจัดจำหน่ายแน่นด้วยประสบการณ์ที่เข้าใจคนดูหนังไทย และ หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม ที่อัดแน่นด้วยทีมงานการสร้างภาพยนตร์ระดับแนวหน้าร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อบันทึกไว้เป็นเกียรติประวัติทั้ง 3 บริษัทมีมุมมองเดียวกัน นอกจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุดในปีนั้น ด้วยมูลค่าถึง 137.3 ล้านบาท [2] ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งด้านกระแสตอบรับและรายได้เป็นอย่างสูง และด้วยความสำเร็จนั้นทำให้บริษัททั้งสามได้ยุบตัวแล้วรวมตัวกันเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช[3]

ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566 จีดีเอช ซึ่งต่อยอดจากจีทีเอช ประกาศนำภาพยนตร์แฟนฉันกลับมาทำสำเนาบันทึกใหม่เป็นความละเอียด 4K เพื่อออกฉายใหม่ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมมือกับ ช่องวัน 31 และซีเนริโอ สร้างละครเวที แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล โดยมีกำหนดเปิดการแสดงในวันที่ 6 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ดิ เอสพละนาด โดยทั้งหมดเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี ของการฉายภาพยนตร์แฟนฉัน

นักแสดง

[แก้]

งานสร้างและสถานที่ถ่ายทำ

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน กำกับโดยผู้กำกับการแสดง 6 คน ในนามกลุ่ม 365 ฟิล์ม กลุ่มคนรักหนังของเพื่อนๆ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 29 วิชาเอกภาพยนตร์และภาพนิ่ง อันประกอบด้วย นิธิวัฒน์ ธราธร (ต้น), ทรงยศ สุขมากอนันต์ (ย้ง), คมกฤษ ตรีวิมล (เอส), วิทยา ทองอยู่ยง (บอล), วิชชา โกจิ๋ว (เดียว), อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม (ปิ๊ง) ฝึกสอนการแสดงโดย รสสุคนธ์ กองเกตุ หรือครูเงาะเจ้าของโรงเรียนสอนแอคติ้ง "The Drama Academy" โดยมี จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน และ ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ เป็นโปรดิวเซอร์

ในเรื่องการเขียนบทที่ผู้กำกับฯ ทั้ง 6 คนร่วมกันเขียน ยังได้ อมราพร แผ่นดินทอง รุ่นน้องที่เป็นนักเขียนนิตยสารเด็ก มาร่วมเขียนบทอีกด้วย โดยดัดแปลงมาจากเรื่องสั้น อยากบอกเธอรักครั้งแรก ในเว็บไซต์ นิเทศฯ ดอตเน็ต ที่บอล (วิทยา ทองอยู่ยง) เป็นคนเขียน[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้หลาย ๆ ฉากในภาพยนตร์ ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นยุค '80 เรื่องโดราเอมอนอีกด้วย

ชื่อภาพยนตร์ มาจากชื่อเพลง แฟนฉัน ของวงชาตรี

โดยฉากในภาพยนตร์ ถ่ายทำที่โรงเรียนเทพวิทยา อ.บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ,ชายหาดเจ้าสำราญ,เทศบาลเมืองเพชรบุรี, ค่ายเพชรบุรีราชสิรินธร กองพันล่าง จังหวัดเพชรบุรี, โรงเรียนบ้านท่ายาง(ประชาสรรค์) โครงรักษาและบำรุงน้ำ(เขื่อนเพชร) อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี, ตำบลบ่อนอก และสถานีรถไฟบ่อนอก อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในฉากปั่นจักรยานร้องเพลงคอนเสิร์ตคนจน ของวงนกแล

เพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ นำเพลงที่เคยโด่งดังในอดีต ถึง 19 เพลง ได้แก่ เพลงประตูใจ, รักคือฝันไป, เป็นแฟนกันได้อย่างไร ของ สาว สาว สาว, เพลงแฟนฉัน, รักครั้งแรก ของวงชาตรี, เพลงป้ากะปู่, รักบึงเก่า ของวงเพื่อน, เพลงใจเธอใจฉัน ของ 18 กะรัต, เพลงน่าอาย ของวงรอยัลสไปรท์, เพลงหัวใจสลาย ของเดอะฮอตเปปเป้อร์ซิงเกอร์, เพลงสายเกินไป จากวงโอเวชั่น, เพลงคนที่รู้ใจ ของ แหวน ฐิติมา สุตสุนทร, เพลงคอนเสิร์ตคนจน ของวงนกแล, เพลงอย่าดีกว่า ของวงไมโคร, เพลงสาวสวนแตง และ เป็นโสดทำไม ของ สุรพล สมบัติเจริญ รวมไปถึงเพลงเอก จากภาพยนตร์จีนชุดทางโทรทัศน์เรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน และเพลงสากลยอดนิยมในอดีต อย่างเพลง More Than I Can Say ของลีโอ เซเยอร์

ส่วนเพลงที่นำมาทำใหม่เช่น แฟนฉัน โดย AB Normal, เพลงรักครั้งแรก โดย จั๊ก - ชวิน, เพลงป้ากะปู่ โดย ดาจิม และเพลงความทรงจำสีจาง ที่แต่งใหม่ร้องโดย ปาล์มมี่

รางวัล

[แก้]
ปี รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
พ.ศ. 2547 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 13 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ / ไท เอนเตอเทนเมนท์ / หับ โห้ หิ้น เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คมกฤษ ตรีวิมล, ทรงยศ สุขมากอนันต์, นิวัฒน์ ธราธร, วิชชา โกจิ๋ว, วิทยา ทองอยู่ยง, อดิสรณ์ ตรีศิรีเกษม ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม , นิธิวัฒน์ ธราธร , ทรงยศ สุขมากอนันต์ , คมกฤษ ตรีวิมล , วิทยา ทองอยู่ยง , อมราพร แผ่นดินทอง , วิชชพัชร์ โกจิ๋ว เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม - เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2547 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 12 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ / ไท เอนเตอเทนเมนท์ / หับ โห้ หิ้น เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คมกฤษ ตรีวิมล, ทรงยศ สุขมากอนันต์, นิวัฒน์ ธราธร, วิชชา โกจิ๋ว, วิทยา ทองอยู่ยง, อดิสรณ์ ตรีศิรีเกษม เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม , นิธิวัฒน์ ธราธร , ทรงยศ สุขมากอนันต์ , คมกฤษ ตรีวิมล , วิทยา ทองอยู่ยง , อมราพร แผ่นดินทอง , วิชชพัชร์ โกจิ๋ว เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2547 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 2 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ / ไท เอนเตอเทนเมนท์ / หับ โห้ หิ้น ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คมกฤษ ตรีวิมล, ทรงยศ สุขมากอนันต์, นิวัฒน์ ธราธร, วิชชา โกจิ๋ว, วิทยา ทองอยู่ยง, อดิสรณ์ ตรีศิรีเกษม ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม , นิธิวัฒน์ ธราธร , ทรงยศ สุขมากอนันต์ , คมกฤษ ตรีวิมล , วิทยา ทองอยู่ยง , อมราพร แผ่นดินทอง , วิชชพัชร์ โกจิ๋ว ชนะ
กำกับภาพยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร ชนะ
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ ชนะ
พ.ศ. 2547 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 1 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ / ไท เอนเตอเทนเมนท์ / หับ โห้ หิ้น ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ดญ.โฟกัส จีระกุล ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ ชนะ
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รักครั้งแรก ชนะ
พ.ศ. 2547 รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 1 ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ ชนะ
รางวัลภาพยนตร์ยอดนิยม จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ / ไท เอนเตอเทนเมนท์ / หับ โห้ หิ้น ชนะ

แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล

[แก้]

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซีเนริโอ ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการละครเวที แฟนฉัน 1.5 เดอะมิวสิคัล เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปี ของภาพยนตร์เรื่องนี้โดยละครเวทีจะเล่าถึงเหตุการณ์นับจากวันที่น้อยหน่าย้ายบ้านไป 20 ปีให้หลัง และเจี๊ยบกับน้อยหน่ามีโอกาสได้กลับมาเจอกันอีกครั้งในรั้วมหาวิทยาลัย[4] ต่อมาได้มีการลดชื่อละครเวทีเหลือ แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล โดยมีกำหนดเปิดแสดงในวันที่ 6 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ดิ เอสพละนาด ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยมีการจัดแสดงรอบการกุศลในวันที่ 25 พฤศจิกายน เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์อีกด้วย[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อัปเดตภาพปัจจุบันของแก๊งแฟนฉัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21.
  2. ข่าว สรุปรายได้ภาพยนตร์ทำเงินที่เข้าฉายในบ้านเรา ปี 2546 ที่ สยามโซน.คอม
  3. 9 เลขมหัศจรรย์ของค่ายหนังอารมณ์ดี GTH !! myplaychannel.com
  4. "มาแล้ว 'แฟนฉัน' เวอร์ชั่นใหม่ '1.5' ละครเวทีที่จะพาไปพบ 'เจี๊ยบ' กับ 'น้อยหน่า' อีกครั้ง". มติชน. 2023-03-15. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ขอเชิญท่านร่วมชมละครเวที "แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล" รอบการกุศล". มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์. 2023-10-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-02. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]