แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับไมค์ นิวเวลล์
เขียนบทจากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง
บทภาพยนตร์โดย สตีฟ โกลฟส์
อำนวยการสร้างเดวิด เฮย์แมน
เดวิด แบร์รอน
นักแสดงนำแดเนียล แรดคลิฟฟ์
เอ็มม่า วัตสัน
รูเพิร์ท กรินท์
รอบบี้ โคลเทรน
ราล์ฟ เฟนน์ส
ไมเคิล แกมบอน
มิแรนด้า ริชาร์ดสัน
แบรนแดน กลีสัน
เจสัน ไอแซ็กส์
แกรี่ โอล์ดแมน
อลัน ริคแมน
แมคกี้ สมิธ
ทิโมธี สปอลล์
กำกับภาพโรเจอร์ แพรตต์
ตัดต่อมิค ออดสลีย์
ดนตรีประกอบแพททริค ดอยล์
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
วันฉาย18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (2005-11-18)
สหราชอาณาจักร
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (2005-11-18)
สหรัฐอเมริกา
ความยาว157 นาที
ประเทศสหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
ทำเงิน896.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
ก่อนหน้านี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน
ต่อจากนี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี (อังกฤษ: Harry Potter and the Goblet of Fire) ภาพยนตร์ภาคที่ 4 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน จากบทภาพยนตร์ของ สตีฟ โกลฟส์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง นำแสดงโดยสามนักแสดงหลักจากสามภาคแรก แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์ และ เอ็มม่า วัตสัน ร่วมด้วย รอบบี้ โคลเทรน, ราล์ฟ เฟนน์ส, ไมเคิล แกมบอน, มิแรนด้า ริชาร์ดสัน, แบรนแดน กลีสัน, เจสัน อิซาคส์, แกรี่ โอล์ดแมน, อลัน ริคแมน, แมคกี้ สมิธ และทิโมธี สปอลล์

เนื้อเรื่อง[แก้]

แฮร์รี่ถูกคุกคามด้วยฝันร้าย ทำให้แผลเป็นของเขาเจ็บอย่างมาก เขาได้ไปชมการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพกับ รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ เพื่อนรัก

ในขณะการแข่งขันควิดดิช ได้เกิดบางอย่างเหนือท้องฟ้าที่ตั้งแคมพ์กับผู้ชมการแข่งขัน คือตรามาร สัญลักษณ์ของลอร์ดโวลเดอมอร์ ซึ่งถูกเสกขึ้นมาโดยผู้เสพความตาย สาวกของเขาซึ่งไม่เคยกล้าปรากฏตัวในที่สาธารณะ ตั้งแต่ครั้งที่มีผู้เห็น โวลเดอมอร์ เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อสิบสามปีก่อน ในคืนที่เขาสังหารพ่อแม่ของแฮร์รี่

ดัมเบิลดอร์ประกาศว่า ฮอกวอตส์จะเป็นเจ้าภาพการประลองเวทไตรภาคี การแข่งขันด้านเวทมนตร์ของพวกพ่อมดแม่มด ซึ่งจะมีตัวแทนหนึ่งคนจะถูกคัดเลือกจากแต่ละโรงเรียน ในสามสถาบันพ่อมดแม่มดที่ใหญ่ และมีชื่อเสียงที่สุด โดยมีตัวแทนแข่งขันจากโรงเรียนเวทมนตร์คาถาโบซ์บาตง และหนุ่มๆ ที่ดูลึกลับและน่าเกรงขาม จากโรงเรียนเดิร์มสแตรงก์ เพื่อเข้าแข่งขันในหลากหลายภารกิจ ที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต เพื่อครอบครองถ้วยรางวัลไตรภาคี

บาร์ตี้ เคร้าช์ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงเวทมนตร์ และศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์ เป็นประธานพิธีประชุมกลางแสงเทียน ถ้วยอัคนีคัดเลือกนักเรียนหนึ่งคน จากแต่ละโรงเรียนเพื่อเข้าแข่งขัน โดยถ้วยอัคนีได้ขานนาม วิคเตอร์ ครัม นักกีฬาควิดดิชชื่อดังจากเดิร์มสแตรงก์ ตามมาด้วย เฟลอร์ เดอลากูร์ ผู้งามสง่าจากโบซ์บาตง และท้ายที่สุด เซดริก ดิกกอรี่ หนุ่มเนื้อหอมผู้สามารถแห่งฮอกวอตส์ และสุดท้ายคือชื่อของ แฮร์รี่ พอตเตอร์

ด้วยอายุ 14 ปี แฮร์รี่ยังขาดอีกสามปี จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันนี้ได้ แฮร์รี่ยืนกรานว่าไม่ได้ใส่ชื่อตัวเองลงไปในถ้วย และเขาไม่อยากเข้าแข่งขัน แต่การตัดสินใจของถ้วยอัคนีนั้นถือเป็นข้อผูกพัน และเขาต้องเข้าร่วมแข่งขันด้วย

นักข่าวจอมสาดโคลนอย่าง ริต้า สกีตเตอร์ โหมกระพือไฟใส่สีอยู่เบื้องหลังแฮร์รี่ ด้วยคอลัมน์ซุบซิบที่หวือหวาของเธอ จนแม้กระทั่งรอนเองยังเชื่อว่าเพื่อน "ที่อยากดัง" ของเขา ได้ใช้อุบายหลอกให้ถ้วยเลือกชื่อเขาขึ้นมา แต่ด้วยความกังขาสงสัยนี้ ว่าใครก็ตามที่ใส่ชื่อของแฮร์รี่ ลงไปในการประลอง มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เขาตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ดัมเบิลดอร์จึงขอให้ อลาสเตอร์ 'แม้ด-อาย' มู้ดดี้ อาจารย์สอนวิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืดผู้แปลกประหลาด ช่วยใช้ตาวิเศษที่เฉียบคมของเขา จับตาพ่อมดวัยรุ่นไว้

ในการประลองเวทไตรภาคี แฮร์รี่ได้หลบหลีกให้พ้นจากมังกรพ่นไฟ การดำดิ่งสู่ก้นบึ้งทะเลสาบใหญ่ และการหาทางเดินในเขาวงกตที่มีชีวิต

แฮร์รี่ การรับมือกับมังกร ชาวเงือก และกรินดี้โลว์ หลังจากการแข่งขันจบลง เขาได้ขอนัดกับ โช แชงไปงานเต้นรำ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นลางร้าย เมื่อมีใครคนหนึ่งถูกฆ่าตาย ในบริเวณโรงเรียนฮอกวอตส์ ด้วยความหวาดกลัว และถูกหลอนด้วยความฝันเรื่องโวลเดอมอร์ แฮร์รี่จึงหันไปหาดัมเบิลดอร์ แต่แม้กระทั่งอาจารย์ใหญ่ผู้น่านับถือ ก็ยังยอมรับว่าไม่มีคำตอบง่ายๆ ให้อีกต่อไปแล้ว

ในขณะที่แฮร์รี่และตัวแทนคนอื่นๆ ต้องรับมือกับภารกิจสุดท้าย และกิ่งก้านสาขาที่งอกอย่างรวดเร็วของเขาวงกตที่น่ากลัว บางคนหรือบางสิ่งกำลังจับตามองอยู่ พวกเขามองเห็นชัยชนะอยู่เบื้องหน้า แต่เมื่อเข้าไปใกล้ถ้วยไตรภาคี ทุกอย่างกลับไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น

นักแสดง[แก้]

ความสำเร็จทางภาพยนตร์[แก้]

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี สามารถทำรายได้มากมายจากการฉายภาพยนตร์ โดยทำรายได้ไปกว่า 890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสืบเนื่องมาจากฉากแอ๊คชั่นที่มีเพิ่มมากขึ้นจากภาคก่อน ๆ และผู้กำกับมากประสบการณ์อย่างไมค์ นิวเวลล์ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในระดับสูงเมื่อเทียบกับทุนสร้างของภาพยนตร์ นอกจากนี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยมอีกด้วยแต่ภายหลังพลาดรางวัลไป อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลรางวัลบาฟต้าสาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม

การดัดแปลงเนื้อหาอื่นๆ[แก้]

  • ทีมงานได้ตัดฉากที่พวกวีสลีย์ไปรับแฮร์รี่ที่บ้านของพวกเดอร์สลีย์
  • บาร์ตี้ เคร้าซ์ จูเนียร์ไม่ได้ใช้ไม้กายสิทธิ์ของแฮร์รี่เสกตรามาร
  • ตรามารได้ถูกเสกขึ้นหลังจากเหล่าผู้เสพความตายบุก
  • ในหนังสือทั้งโบซ์บาตงและเดิร์มสแตรงก์เป็นโรงเรียนสหศึกษา แต่ในภาพยนตร์ได้เปลี่ยนให้โบซ์บาตงเป็นโรงเรียนหญิงล้วน และเดิร์มสแตรงก์เป็นโรงเรียนชายล้วน
  • ดัมเบิลดอร์ถามแฮร์รี่ด้วยความโกรธหลังจากชื่อของแฮร์รี่ออกมาจากถ้วยอัคนี แต่ในหนังสือดัมเบิลดอร์ถามแฮร์รี่ด้วยท่าทีสงบ
  • ในหนังสือไข่ทองคำจะรวมอยู่กับไข่มังกรของจริงเพื่อเพิ่มความดุร้ายของมังกร แต่ในภาพยนตร์ไม่มีไข่มังกร
  • ริต้า สกีตเตอร์ไม่ได้ลงข่าวเรื่องแฮร์รี่กับเฮอร์ไมโอนี่เพราะความโกรธที่โดนเฮอร์ไมโอนี่ดูถูก
  • ในหนังสือ แฮกริดหายตัวไปเพราะริต้า สกีตเตอร์เขียนข่าวเปิดโปง ทำให้แฮร์รี่กังวล แต่ในภาพยนตร์ แฮกริดไม่ได้หายตัวไป
  • ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้ให้หญ้าเหงือกปลากับแฮร์รี่ จากด็อบบี้เป็นเนวิลล์
  • ในภาพยนตร์ไม่มีเจ้าหน้าที่กระทรวงเวทมนตร์ เบอร์ธา จอร์กิ้นส์
  • ไม่มีฉากแฮร์รี่ได้รับรางวัลชนะการแข่งประลองเวทไตรภาคี
  • ไม่มีฉากแฮร์รี่มอบเงินให้กับพ่อแม่ของเซดริกหรือเฟร็ดกับจอร์จ
  • ไม่มีการพูดถึงบาร์ตี้ เคร้าซ์ จูเนียร์ว่าถูกจุมพิตผู้คุมวิญญาณ

สื่ออื่นๆ[แก้]

เกม[แก้]

ความสำเร็จอย่างล้นหลามจากภาคก่อนๆทำให้บริษัท Electronic Artสร้างแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีในรูปแบบวิดีโอเกมต่อจากครั้งก่อนโดยครั้งนี้เทคนิคเหมือนจริงเพิ่มจากภาคที่แล้วมาก คุณสมบัติของเกมนี้คือได้สู้ในการประลองเวทไตรภาคีทั้ง3 ภารกิจ ทั้ง สู้กับมังกร ภารกิจทะเลสาบ และเขาวงกต นอกจากนี้ยังได้เผชิญหน้ากับโวลเดอมอรือีกด้วย

ดนตรีประกอบภาพยนตร์[แก้]

ดนตรีประกอบภาพยนตร์มีดังนี้

  1. "The Story Continues" - 1:31
  2. "Frank Dies" - 2:12
  3. "The Quidditch World Cup" - 1:52
  4. "The Dark Mark" - 3:27
  5. "Foreign Visitors Arrive" - 1:30
  6. "The Goblet of Fire" - 3:23
  7. "Rita Skeeter" - 1:43
  8. "Sirius Fire" - 2:00
  9. "Harry Sees Dragons" - 1:54
  10. "Golden Egg" - 6:11
  11. "Neville's Waltz" - 2:11
  12. "Harry in Winter" - 2:56
  13. "Potter Waltz" - 2:19
  14. "Underwater Secrets - 2:28
  15. "The Black Lake" - 4:38
  16. "Hogwarts' March" - 2:47
  17. "The Maze" - 4:44
  18. "Voldemort" - 9:39
  19. "Death of Cedric" - 1:59
  20. "Another Year Ends" - 2:21
  21. "Hogwarts' Hymn" - 2:59
  22. "Do the Hippogriff - 4:02

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง