ก้านกล้วย (แฟรนไชส์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้านกล้วย
กำกับคมภิญญ์ เข็มกำเนิด (1)
ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์ (2)
อำนวยการสร้างกันตนา แอนนิเมชั่น (1-2)
สหมงคลฟิล์ม (1)
ผู้จัดจำหน่ายกันตนา แอนิเมชั่น
วันฉาย18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (1)
26 มีนาคม พ.ศ. 2552 (2)
ประเทศไทย ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง150 ล้านบาท(1) 120ล้านบาท(2)
ทำเงิน196 ล้านบาท (1)(ทั่วประเทศ) 79 ล้านบาท (2)(กรุงเทพและปริมณฑล)

ก้านกล้วย เป็นแฟรนไชส์แอนิเมชันสามมิติอิงประวัติศาสตร์ของไทย ประกอบไปด้วยภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย, ก้านกล้วย 2 และซีรีส์ทางโทรทัศน์ ก้านกล้วยผจญภัย สร้างโดยกันตนาแอนิเมชัน โดยใช้ตัวละครเอกคือพระคชาธารในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นามว่า "ก้านกล้วย" หรือ "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี" ภาพยนตร์ภาคแรกและซีรีส์นั้นจะเป็นแนวผจญภัยและเน้นไปทางธรรมชาติและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัยอยุธยา ส่วนภาพยนตร์ภาค 2 จะเป็นแนวแฟนตาซีและผจญภัย เน้นทางโลกเวทมนตร์และอภินิหาร เนื้อเรื่องบางส่วนนั้นสร้างจากประวัติศาสตร์ไทย ในช่วงสงครามสยาม - พม่า ซึ่งภาคแรกนั้นสร้างจากเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 จนถึงสงครามยุทธหัตถี ส่วนภาคสองได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่ทัพอยุธยาเข้าตีกรุงหงสาวดีเพื่อปลดปล่อยเชลย

ก้านกล้วย เป็นแอนิเมชันที่สร้างด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์อีกเรื่องหนึ่งของไทย ซึ่งก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้เทคนิคดังกล่าว คือ ปังปอนด์ และ แอนิเมชันซึ่งถือเป็นเรื่องแรกของไทยคือ สุดสาคร ซึ่งเป็นแอนิเมชันสองมิติ

ภาพยนตร์[แก้]

ก้านกล้วย (2549)[แก้]

ก้านกล้วย 2 (2552)[แก้]

การ์ตูนโทรทัศน์[แก้]

ก้านกล้วย ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็น ภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ ทางช่อง 7 โดยใช้ชื่อว่า "ก้านกล้วย ผจญภัย" จัดฉายทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00-17.30 น. โดยมีเนื้อหารายละเอียดมากขึ้น และใช้ตัวละครที่มีอยู่เดิม

ตัวละคร[แก้]

ดูตัวละครทั้งหมดที่ รายชื่อตัวละครในก้านกล้วย
ตัวละคร ภาพยนตร์ การ์ตูนโทรทัศน์
ก้านกล้วย ก้านกล้วย 2 ก้านกล้วยผจญภัย
ก้านกล้วย ภูริ หิรัญพฤกษ์
อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล (วัยเด็ก)
อรรถพร ธีมากร ภูริ หิรัญพฤกษ์
อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล (วัยเด็ก)
ชบาแก้ว วรัทยา นิลคูหา
นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ (วัยเด็ก)
แอน ทองประสม วรัทยา นิลคูหา
นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ (วัยเด็ก)
จิ๊ดริด พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์ วรุฒ วรธรรม พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์
แสงดา นันทนา บุญหลง นัฏฐา ลอยด์ นันทนา บุญหลง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สุเมธ องอาจ
บุญชลิด โชคดีภูษิต (วัยเด็ก)
มนตรี เจนอักษร สุเมธ องอาจ
บุญชลิด โชคดีภูษิต (วัยเด็ก)
มะหูด เทพ โพธิ์งาม
พังนวล จุรี โอศิริ จุรี โอศิริ
มะโรง ฤทธิเดช ฤทธิชุ
มะโหนก โก๊ะตี๋ อารามบอย
บักอึด พุทธิพันธ์ พรเลิศ
เสริม วิยะดา จิตมะหิมา
สิงขร รอง เค้ามูลคดี รอง เค้ามูลคดี
งวงแดง เอกชัย พงศ์สมัย เอกชัย พงศ์สมัย
พระมหาอุปราชา กลศ อัทธเสรี
สราวุธ เจริญลาภ (วัยเด็ก)
กลศ อัทธเสรี
สราวุธ เจริญลาภ (วัยเด็ก)
ท่านอองสา มนตรี เจนอักษร
พระสุพรรณกัลยา อภิรดี ทศพร
พระเจ้านันทบุเรง นนทรีย์ นิมิบุตร
ต้นอ้อ ไม่มีเสียงพากย์
กอแก้ว ไม่มีเสียงพากย์
ดุ๊ยดุ่ย อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล[1]
กอไผ่ ประสิทธิโชค มานะสันทัดชาติ[1]
ส้มจิ๊ด ปัณฑารีย์ เตียรถ์สุวรรณ[1]
ใบบอน ดรันต์ ตันติวิชิตเวช[1]
ข้าวเม่า ซัน
งานิล ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์

การทำรายได้[แก้]

ภาพยนตร์ วันฉาย รายได้สูงสุด อันดับ งบประมาณ อ้างอิง
ก้านกล้วย 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 (2006-05-18) 196,000,000 บาท(ทั่วประเทศ(

103,000,000

บาท(กรุงเทพ,ปริมณฑล)

#5 150,000,000 บาท [2]
ก้านกล้วย 2 26 มีนาคม ค.ศ. 2009 (2009-03-26) 79,260,000 บาท

(กรุงเทพ,ปริมณฑล)

#41 [3]120,000,000บาท
รวมทั้งหมด 275,260,000 บาท

การตอบรับ[แก้]

ก้านกล้วย ได้รับการยกย่องจากนิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ ว่าเป็นผลงานการ์ตูนไทยในระดับนานาชาติ[4] และภาพยนตร์นี้ได้รับการเปิดตัวในรูปแบบดีวีดีที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 โดยใช้ชื่อในเวอร์ชันอเมริกันคือ The Blue Elephant

บริษัทเพอร์เซ็ปต์พิคเจอร์คอมพานีของอินเดีย ได้ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์และเปิดตัวในเวอร์ชันภาษาฮินดีโดยใช้ชื่อ Jumbo ซึ่งนักแสดงอินเดียชื่อ อักษัย กุมาร เป็นผู้ให้เสียงพากย์ตัวเอกของเรื่องที่ใช้ชื่อในเวอร์ชันนี้ว่า จัมโบ้[5]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]