องค์บาก 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์บาก 2
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับทัชชกร ยีรัมย์
พันนา ฤทธิไกร
บทภาพยนตร์เอก เอี่ยมชื่น
นนทกร ทวีสุข
เนื้อเรื่องทัชชกร ยีรัมย์
พันนา ฤทธิไกร
อำนวยการสร้างปรัชญา ปิ่นแก้ว
ทัชชกร ยีรัมย์
พันนา ฤทธิไกร
อัครพล เตชะรัตนประเสริฐ
สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
นักแสดงนำทัชชกร ยีรัมย์
สรพงศ์ ชาตรี
นิรุตติ์ ศิริจรรยา
พริมรตา เดชอุดม
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
สันติสุข พรหมศิริ
ปัทมา ปานทอง
ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
ชูพงษ์ ช่างปรุง
กำกับภาพณัฐวุฒิ กิตติคุณ
ตัดต่อนนทกร ทวีสุข
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ความยาว93 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง$8,000,000 (ประมาณ)
ทำเงิน97.44 ล้านบาท
(กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)
$8,936,663 (ทั่วโลก)
ก่อนหน้านี้องค์บาก
ต่อจากนี้องค์บาก 3
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

องค์บาก 2 (อังกฤษ: Ong Bak 2) เป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ ที่นำแสดงโดย ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ องค์บาก ของสหมงคลฟิล์ม ซึ่งกำกับโดยปรัชญา ปิ่นแก้ว ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ

ภาพยนตร์กำกับโดย ทัชชกร ยีรัมย์ ร่วมกับผู้กำกับและการสนับสนุนของ พันนา ฤทธิไกร โดยมีการนำศิลปะการต่อสู้ของไทย มาผสมผสานกับศิลปะการแสดงโขน เริ่มถ่ายทำตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 มีกำหนดออกฉายช่วงต้นปี พ.ศ. 2551[1] แต่ภาพยนตร์ประสบปัญหาเนื่องจากเปลี่ยนผู้ควบคุมงานซึ่งเดิมคือ แวว ยีรัมย์ และ ธรัช ศุภโชคไพศาล ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งไอยราฟิล์มออก จึงทำให้เกิดปัญหาของการควบคุมงาน และปัญหาความล่าช้าในการถ่ายทำ และใช้งบประมาณบานปลาย จนต้องหยุดการถ่ายทำ และเกิดความขัดแย้งระหว่าง จาพนม ยีรัมย์ กับ ปรัชญา ปิ่นแก้ว และบริษัท สหมงคลฟิล์ม จนต้องมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันหลายครั้ง

ได้เปิดตัวในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และมีกำหนดการฉายอย่างเป็นทางการ ในประเทศไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทำรายได้รวมในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 97.44 ล้านบาท[2] วีซีดีและดีวีดีวางจำหน่าย วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

เรื่องย่อ[แก้]

เหตุการณ์เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 "เทียน" (ทัชชกร ยีรัมย์) บุรุษผู้ถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายที่ว่า "จะเติบโตกาย ใต้วังวนแห่งคมดาบและกลิ่นคาวเลือด" เข่าเป็นหอก ศอกเป็นดาบ ทุกส่วนของร่างกายใช้เป็นสรรพาวุธสยบคู่ต่อสู้ให้พ่ายแพ้ไร้ข้อต่อรอง โดยการสอนของ "เชอนัง" (สรพงศ์ ชาตรี) หัวหน้ากองโจรผาปีกครุฑผู้ยิ่งใหญ่ที่ช่วยเทียนไว้จากตลาดการค้าทาส และสอนทุกศาสตร์ให้โดยหวังให้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้ากองโจรต่อไป แต่สิ่งเดียวที่เทียนต้องการ คือการเปิดสังเวียนเลือดล้างเลือด ล้างแค้นให้ผู้เป็นพ่อ "ออกญาสีหเดโช" (สันติสุข พรหมศิริ) ที่ต้องตายอย่างทุกข์ทรมาณโดยฝีมือของ "พระยาราชเสนา" (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง)

นักแสดง[แก้]

ภาพยนตร์ องค์บาก 2
รับบทเป็น นักแสดงนำโดย
เทียน ทัชชกร ยีรัมย์
เชอนัง สรพงศ์ ชาตรี
ครูบัว นิรุตติ์ ศิริจรรยา
พิม พริมรตา เดชอุดม
พระยาราชเสนา ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
ออกญาสีหเดโช สันติสุข พรหมศิริ
นางไปล่ ปัทมา ปานทอง
องครักษ์เกราะทอง ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
เทียน (วัยเด็ก) ณัฐดนัย กองทอง
พิม (วัยเด็ก) ปริญญาพร ครามเขียว
รับบทเป็น นักแสดงรับเชิญ
ภูติสางกา ชูพงษ์ ช่างปรุง
ไอ้เหม็น เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
ท่านผู้เฒ่า โยกเยก เชิญยิ้ม
ครูมายากล เฉลิมสวรรค์ ไพบูลย์พันธ์
ครูระเบิด ตู้ม หงา คาราวาน
หมื่นศรี จรัญ งามดี
หลวงไกร วัชร ภูมิรี
ยักษ์ขมู สมเดช แก้วลือ

รางวัลในประเทศไทย[แก้]

ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัลไป

ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผล
รางวัลสุพรรณหงส์ ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม

(ทัชชกร ยีรัมย์)

เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

(ณัฐดนัย กองทอง)

เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

(สรพงษ์ ชาตรี)

ได้รับรางวัล
ลำดับภาพยอดเยี่ยม

(ศราวุธ นะคะจัด), (นนทกร ทวีสุข)

เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม

(สุนิตย์ อัศวินิกุล)

เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม

(เอก เอี่ยมชื่น), (บรรพต งามขำ), (สุประสิทธิ์ ภูตะคาม)

เสนอชื่อเข้าชิง
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม

(ชาติชาย ไชยยนต์)

เสนอชื่อเข้าชิง
แต่งหน้ายอดเยี่ยม

(ภูษณิศา กิติเกรียงไกร)

เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

(สรพงษ์ ชาตรี)

ได้รับรางวัล
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม

(เอก เอี่ยมชื่น), (บรรพต งามขำ), (สุประสิทธิ์ ภูตะคาม)

เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม

(ศราวุธ นะคะจัด), (นนทกร ทวีสุข)

เสนอชื่อเข้าชิง
คมชัดลึก อวอร์ด นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

(สรพงษ์ ชาตรี)

ได้รับรางวัล
เฉลิมไทยอวอร์ด นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี

(ทัชชกร ยีรัมย์)

ได้รับรางวัล
ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ภาพยนตร์แห่งปี ได้รับรางวัล
ท็อปอวอร์ด ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

(ทัชชกร ยีรัมย์), (พันนา ฤทธิไกร)

เสนอชื่อเข้าชิง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
ดารานำชายยอดเยี่ยม

(ทัชชกร ยีรัมย์)

เสนอชื่อเข้าชิง
สตาร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

(สรพงษ์ ชาตรี)

ได้รับรางวัล


อ้างอิง[แก้]

  1. Payee, Parinyaporn (2006-11-30). "High-kicking khon". The Nation (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-23. สืบค้นเมื่อ 2007-06-11.
  2. มยุรี อำนวยพร, ที่สุดของหนังเด่น-หนังโดนแห่งปี เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน dailynews.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]