บางระจัน 2 (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางระจัน 2
กำกับธนิตย์ จิตนุกูล
อำนวยการสร้างธนพล - วิชัย ธนารุ่งโรจน์
นักแสดงนำภราดร ศรีชาพันธุ์
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ภูริ หิรัญพฤกษ์
วีรยุทธิ์ นานช้า
ชัยวัฒน์ ทองแสง
ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง
จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ
อรุณ ภาวิไล
ปรีชา เกตุคำ
จอห์น อิสรัมย์
อรุณี ไชยปรีชาวิทย์
พริ้ว วิริยะพานิช
ดนตรีประกอบเพลงนำภาพยนตร์ โดย ยืนยง โอภากุล และ บ่าววี
ผู้จัดจำหน่ายพระนครฟิลม์
วันฉาย25 มีนาคม พ.ศ. 2553
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง40 ล้านบาท[1]
ทำเงิน14 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้บางระจัน
ข้อมูลจากสยามโซน

บางระจัน 2 เป็นภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ ภาคต่อเนื่องจาก บางระจัน กำกับภาพยนตร์โดย ธนิตย์ จิตนุกูล เข้าฉายวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 จัดจำหน่ายโดย พระนครฟิลม์

เนื้อเรื่อง[แก้]

ภายหลังวีรกรรมของกลุ่มนักรบบ้านบางระจัน ที่ร่วมกันต่อสู้กับกองทัพพม่าจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต แม้จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ แต่เรื่องราวของพวกเขากลับกลายเป็นตำนานแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง ปลุกให้ชาวบ้านผู้กล้าอีกหลายคนทิ้งจอบ เสียม มาจับดาบสู้กับพม่า หลายหมู่บ้านลุกขึ้นต่อต้านการรุกรานจากพม่าด้วยกำลังอันน้อยนิด แม้ว่าอยุธยาเมืองหลวงจะอ่อนแอจากความแตกแยก แต่ชาวบ้านตัวเล็กๆกลับพยายามยืนหยัดต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินบ้านเกิด ทำให้การเคลื่อนทัพของพม่าเต็มไปด้วยอุปสรรค โดยการนำของพระอาจารย์ธรรมโชติกลุ่มผู้กล้าชุมเขานางบวชรวมตัวกันขึ้นมาเป็นนักรบผ้าประเจียด คอยซุ่มโจมตี และปล้นสะดมกองทัพพม่าเพื่อปลดปล่อยเชลยคนไทยหลายร้อยคน จากที่เคยเป็นเสี้ยนหนามเล็กๆ นอกสายตา สุกี้แม่ทัพพม่าประกาศล่าหัวกลุ่มนักรบผ้าประเจียด แม้ว่าต้องฆ่าคนไทยจนหมดทุกหมู่บ้านก็ตาม ทหารพม่าเริ่มไล่ฆ่าชาวบ้านทุกคนเพื่อบีบให้นักรบผ้าประเจียดยอมมอบตัว แม้ว่าชาวบ้านบางคนจะยอมสละแม้กระทั่งชีวิตก็ไม่ยอมเผยความลับ แต่ก็มีบางคนเพียงแค่เงินทอง และลาภยศก็เปิดปากมันได้ สุกี้นำทัพเข้าปิดล้อมที่ซ่อนของกองทัพนักรบผ้าประเจียดได้ในที่สุด

หากไม่มีความช่วยเหลือจากอยุธยา และไม่มีปาฏิหาริย์จากฟ้า เลือดของคนไทยจะไหลนองพื้นแผ่นดินเกิดอีกครั้ง กลุ่มกำลังนักรบผ้าประเจียดเพียงไม่กี่ร้อย ยกดาบขึ้นโห่ร้องก่อนเข้าประจันบานกองทัพนับพันของพม่า วันนี้ตำนานบ้านระจันกำลังจะถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยวิญญาณและเลือดเนื้อของคนไทย เสียงประดาบและเสียงโห่ร้องดังกึกก้อง นี้คืออีกตำนานการต่อสู้เพื่อจะบอกคนไทยทุกคนว่า

“ดินทุกก้อน ต้นไม้ทุกต้น สายน้ำทุกสาย หล่อหลอมขึ้นมาจากเลือดและเนื้อของคนไทย จงรักษามันไว้ให้ดี”

นักแสดง[แก้]

นักแสดงรับเชิญ[แก้]

คำวิจารณ์และความนิยม[แก้]

ธนิตย์ จิตนุกูล มีความคิดที่จะทำ "บางระจัน 2" มาตั้งแต่ภาคที่แล้ว โดยทางนายทุนของฟิล์มบางกอกแนะนำให้สร้างต่อ จนกระทั่งค่ายหนังนั้นปิดตัวลง อดิเรก วัฏลีลา หรือ อังเคิล ก็ได้รับช่วงเพื่อนำเสนอให้นายทุนใหม่พิจารณาแต่ไม่สำเร็จ จนอังเคิลเปิดบริษัทของตนเองในนาม บางกอกฟิล์ม สตูดิโอ ก็มีการยืนยันว่าจะเป็นผู้สร้าง แต่ทางบางกอกฟิล์มฯ ได้นำภาพยนตร์เรื่อง ท้าชน ไปให้พระนครฟิลม์จัดจำหน่าย ฝ่ายหลังจึงได้เป็นผู้สร้างบางระจัน 2 โดยไม่มีชื่ออังเคิลปรากฏบนโปสเตอร์ [2]

ภาพยนตร์ถ่ายทำที่จังหวัดสระบุรี โดยเนื้อหาของเรื่องหยิบเอาจากภาคที่แล้วมาเป็นตัวต่อเรื่อง คือพระยาสุกี้ส่งกำลังตามล่าหลวงพ่อธรรมโชติ แต่สิ่งที่เพิ่มเติมจนเป็นแก่นของเรื่องคือ การแตกความสามัคคีของคนไทยด้วยกันเอง โดยกำหนดให้คู่กรณีเป็น พระยาเหล็ก กับ นายมั่น ศิษย์ของหลวงพ่อธรรมโชติซึ่งถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าชุมเขานางบวช นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมทางเทคนิคพิเศษเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยของงานสร้าง ซึ่งได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตั้งแต่ภาพยนตร์ยังไม่ฉายว่า มีส่วนคล้ายคลึงกับภาพยนตร์จากต่างประเทศเรื่อง "300" [3]

บางระจัน 2 เข้าฉายวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ท่ามกลางกระแสความวุ่นวายทางการเมืองอย่างหนัก โดยมีแฟนหนังจำนวนมากที่ไม่ยอมไปดูเรื่องนี้ ซึ่งมีแฟนหนังบางส่วนที่ได้ชมให้ความเห็นว่า มีหลายองค์ประกอบที่ยังไม่ดีพอ และไม่ควรจะมีภาคต่อ บ้างว่า เหมือนเป็นการรีเมก โดยโครงเรื่อง เนื้อหา ตลอดจนการเล่าเรื่อง แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากภาคแรกเลย เพียงเพิ่มเติมตัวละครเข้าไปเล็กน้อย [4] ส่วนนักแสดงหน้าใหม่ เช่น ภราดร ศรีชาพันธุ์ ก็อาจไม่ใช่จุดขายที่น่าสนใจของภาพยนตร์อย่างที่ผู้สร้างคาดหวังไว้ ด้วยปริมาณความแพร่หลายทางการโปรโมทและไม่มีกระแสแรงเท่าภาคที่แล้ว จึงหยุดจำนวนรายได้จากการฉายเพียงประมาณ 14 ล้านบาท [5]

บางระจัน 2 ยังถือเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของ บุญถิ่น ทวยแก้ว ผู้ออกแบบงานสร้าง จิรพันธ์ ปั้นคง ผู้กำกับคิวบู๊ และ จอห์น อิสรัมย์ ผู้ร่วมแสดง[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]