บิ๊กฮีโร่ 6 (ภาพยนตร์)
บิ๊กฮีโร่ 6 | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ บิ๊กฮีโร่ 6 ในประเทศไทย | |
กำกับ | |
บทภาพยนตร์ | |
สร้างจาก | บิ๊กฮีโร่ 6 โดย แมนออฟแอ๊คชั่นสตูดิโอ |
อำนวยการสร้าง | รอย คอนลิ |
นักแสดงนำ | |
ตัดต่อ | ทิม เมอร์เทนส์ |
ดนตรีประกอบ | เฮนรี่ แจ๊คแมน |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิคเจอร์ส |
วันฉาย | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (สหรัฐอเมริกา) 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (ไทย) |
ความยาว | 102 นาที[1] |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3] |
ทำเงิน | 657.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
บิ๊กฮีโร่ 6 (อังกฤษ: Big Hero 6) เป็นภาพยนตร์ประเภทคอมพิวเตอร์แอนิเมชันสามมิติแนวตลก, ผจญภัย, ซูเปอร์ฮีโร่ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2557 อำนวยการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์และจัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 54 ของภาพยนตร์ในชุดแอนิเมชันคลาสสิกของวอลต์ดิสนีย์ ได้แรงบันดาลใจจากทีมซูเปอร์ฮีโร่ในชื่อเดียวกันจากมาร์เวลคอมิกส์[4] ภาพยนตร์กำกับโดยดอน ฮอลล์ และคริส วิลเลียมส์ เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มผู้มีความสามารถพิเศษในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ชื่อฮีโร่ ฮามาดะที่ได้รวมทีมซูเปอร์ฮีโร่ในการต่อสู้กับตัวร้ายที่สวมหน้ากาก นักพากย์เสียงตัวละครหลักได้แก่ ไรอัน พอตเตอร์, สก็อตต์ แอดซิท, แดเนียล เฮนนีย์, ที.เจ. มิลเลอร์, เจมี่ ชุง, เดมอน เวย์นส์ จูเนียร์, และ เจเนซิส โรดริเกวซ
บิ๊กฮีโร่ 6 เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกที่ดัดแปลงจากการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งมาเป็นบริษัทลูกในเครือของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 [5]
บิ๊กฮีโร่ 6 ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และในเทศกาลภาพยนตร์อาบูดาบี ในระบบสามมิติ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ได้ออกฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกอย่างล้นหลาม[6][7] ทำรายได้ทั่วโลกมากกว่า 546 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม และเคยได้รับการเสนอชือเข้าชิงรางวัลแอนนี่ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม และรางวัลแบฟตา สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม
ในประเทศไทย บิ๊กฮีโร่ 6 ได้ออกฉายรอบสื่อมวลชนที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ออกฉายรอบพิเศษหลัง 13.00 น. ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และออกฉายจริงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เนื้อเรื่อง
[แก้]ฮีโร่ ฮามาดะ เป็นอัจฉริยะด้านหุ่นยนต์อายุ 14 ปีที่อาศัยในเมืองซานฟรานโซเกียว และมักใช้เวลาไปกับการนำหุ่นยนต์ที่ตนประดิษฐ์ไปพนันแข่งขันด้วยการต่อสู้กับหุ่นยนต์ของคนอื่น ทาดาชิผู้เป็นพี่ชายกลัวว่าฮีโร่จะนำความสามารถที่มีไปใช้อย่างไร้ประโยชน์ จึงได้พาฮีโร่ไปที่สถาบันเทคโนโลยีที่ตนเรียนอยู่ ที่นั่นฮีโร่ได้พบกับเพื่อนของทาดาชิคือ โกโก้, วาซาบิ, ฮันนี่เลมอน, และเฟรด ทั้งยังได้พบกับเบย์แม็กซ์ หุ่นยนต์นักดูแลสุขภาพที่ทาดาชิประดิษฐ์ขึ้นมา ฮีโร่สนใจจะเข้าเรียนที่สถาบัน จึงได้ทำโครงงานประดิษฐ์ฝูงหุ่นยนต์ขนาดจิ๋วเรียกว่าไมโครบอทที่สั่งงานได้โดยใช้เพียงจินตนาการในสมอง และได้นำออกแสดงในนิทรรศการประจำปีเพื่อให้ได้ผ่านการประเมินสู่การได้เข้าเรียนในสถาบัน ศาสตราจารย์คัลลาแฮนประทับใจในผลงานของฮีโร่จึงรับฮีโร่เข้าเรียนที่สถาบัน แต่หลังจากที่ฮีโร่แสดงผลงานไมโครบอทได้ไม่นาน ก็เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่อาคารจัดแสดงนิทรรศการ ทาดาชิวิ่งเข้าไปในอาคารเพื่อช่วยศาสตราจารย์คัลลาแฮนที่ยังติดอยู่ในอาคาร แต่ก็ได้เกิดระเบิดขึ้น ฮีโร่จึงได้สูญเสียพี่ชายไปในเหตุการณ์นั้น และหลังจากนั้นมาก็เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน
วันหนึ่ง ฮีโร่ได้บังเอิญทำให้เบย์แม็กซ์ที่ถูกเก็บไว้ที่บ้านทำงานขึ้นมา พร้อมกันนั้นก็ได้พบว่าไมโครบอทชิ้นหนึ่งที่ฮีโร่เก็บไว้ไม่ได้สูญเสียไปในเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่สถาบันได้มีปฏิกิริยาเหมือนจะเข้าหาไมโครบอทตัวอื่น เบย์แม็กซ์ได้ใช้ไมโครบอทชิ้นนั้นตามหาสถานที่ที่ไมโครบอทนั้นจะไปจนมาถึงโกดังร้างแห่งหนึ่ง ฮีโร่ที่ตามเบย์แม็กซ์มาได้พบว่าไมโครบอทที่น่าจะถูกเผาไปแล้วในกองเพลิง กลับถูกใครบางคนลักเอาไป ทั้งยังมีการผลิตเพิ่มจำนวนไปอีก แล้วทั้งคู่ก็ถูกโจมตีโดยชายผู้สวมหน้ากากคาบูกิที่สามารถควบคุมไมโครบอทได้ ฮีโร่พาเบย์แม็กซ์หนีออกมาได้ และตัดสินใจที่จะจับชายคนนี้ให้ได้ จึงได้อัพเกรดเบย์แม็กซ์ให้มีความสามารถในการต่อสู้ ทั้งยังได้รวมกลุ่มกับโกโก้, วาซาบิ, ฮันนี่เลมอน, และเฟรด ตั้งเป็นทีมซูเปอร์ฮีโร่ขึ้นมา
ตัวละคร
[แก้]บิ๊กฮีโร่ 6
[แก้]- ฮิโระ ฮามาดะ (อังกฤษ: Hiro Hamada) ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นเด็กหนุ่มอายุ 14 ปีผู้มีความสามารถพิเศษในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เป็นหัวหน้าของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
- เบย์แม็กซ์ (อังกฤษ: Baymax) หุ่นยนต์นักดูแลสุขภาพที่ประดิษฐ์โดยทาดาชิ มีลักษณะเป็นหุ่นพองลมสีขาวอ้วนกลม ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
- เฟรด (อังกฤษ: Fred) แฟนหนังสือการ์ตูนแนวสัตว์ประหลาด ทำหน้าที่สวมชุดมอสคอตในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว และเป็นผู้ตั้งชื่อเล่นให้กับโกโก้, วาซาบิ, และฮันนี่เลมอน ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
- โกโก้ โทมาโกะ (อังกฤษ: GoGo Tomago) ผู้พัฒนาล้อแม่เหล็กไฟฟ้าในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
- วาซาบิ (อังกฤษ: Wasabi) ผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
- ฮันนี่เลมอน (อังกฤษ: Honey Lemon) ผู้เชียวชาญด้านเคมีในสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว ต่อมาได้เป็นสมาชิกของทีมบิ๊กฮีโร่ 6
ตัวละครอื่นๆ
[แก้]- ทาดาชิ ฮามาดะ (อังกฤษ: Tadashi Hamada) พี่ชายของฮีโร่ และเป็นผู้ประดิษฐ์เบย์แมกซ์
- ศาสตราจารย์โรเบิร์ต คัลลาแฮน (อังกฤษ: Professor Robert Callaghan) ศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว
- แคส ฮามาดะ (อังกฤษ: Cass Hamada) ป้าของฮีโร่และทาดาชิ เป็นเจ้าของร้านกาแฟในซานฟรานโซเกียว
- อลิสแตร์ เคร (อังกฤษ: Alistair Krei) เจ้าของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ และเป็นศิษย์เก่าของสถาบันเทคโนโลยีซานฟรานโซเกียว
- อาบิเกล คัลลาแฮน (อังกฤษ: Abigail Callaghan) ลูกสาวของศาสตราจารย์คัลลาแฮน
- ยามะ (อังกฤษ: Yama) นักแข่งขันหุ่นยนต์ที่ชนะได้เงินพนันจากการนำหุ่นยนต์มาต่อสู้หลายครั้ง แต่ได้มาพ่ายแพ้ให้กับหุ่นยนต์ของฮีโร่
- โมจิ (อังกฤษ: Mochi) แมวของบ้านฮามาดะ
- เจ้าหน้าที่เจอร์สัน (อังกฤษ: Sergeant Gerson) ตำรวจที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจในเมืองซานฟรานโซเกียว หลังจากที่ฮีโร่และเบย์แม็กซ์ถูกโจมตีโดยชายสวมหน้ากากคาบูกิแล้วหนีมาได้ ก็ได้มาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่เจอร์สัน เจ้าหน้าที่เจอร์สันใช้ชื่อเดียวกับผู้ให้เสียงพากย์คือแดเนียล เจอร์สัน ซึ่งเป็นผู้เขียนบทคนหนึ่งของภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6
- พ่อของเฟรด (อังกฤษ: Fred's father) อดีตซูเปอร์ฮีโร่ ตัวละครมีต้นแบบมาจากสแตน ลี และให้เสียงพากย์โดยตัวสแตน ลี เอง
นักแสดง
[แก้]ชื่อ | พากย์ | พากย์ไทย |
---|---|---|
ฮิโระ ฮามาดะ | ไรอัน พอตเตอร์ | โอม เปล่งขำ |
เบย์แม็กซ์ | สก็อต แอดซิท | รัตนชัย เหลืองวงศ์งาม |
ทาดาชิ ฮามาดะ | แดเนียล เฮนนีย์ | วิรุฬห์วิชญ์ ถิรสุวรรณ |
เฟรด | ที.เจ. มิลเลอร์ | ชานน จำเนียรแพทย์ |
โกโก้ โทมาโกะ | เจมี่ ชุง | กรกรัณย์ ชงสกุล |
วาซาบิ | เดมอน เวย์นส์ จูเนียร์ | กริน อักษรดี |
ฮันนี่เลมอน | เจเนซิส โรดริเกวซ | สมิตา ไทยจำนง |
โรเบิร์ต คัลลาแฮน | เจมส์ ครอมเวล | เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง |
อลิสแตร์ เคร | อลัน ทูดิค | สิทธิสม มุทธานุกูลวงศ์ |
แคส ฮามาดะ | มายา รูดอล์ฟ | สุมาลี สุธีรธรรม |
พ่อของเฟรด | สแตน ลี | กฤษณะ ศฤงคารนนท์ |
การฉาย
[แก้]บิ๊กฮีโร่ 6 ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [8] ฉายรอบปฐมทัศน์ในระบบ 3 มิติในเทศกาลภาพยนตร์อาบูดาบี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [9] และออกฉายจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 [10]
ในการฉายภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 ได้มีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่อง ฟีสท์ (อังกฤษ: Feast) เป็นภาพยนตร์สั้นฉายแปะหน้าภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 [11] เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์บอสตันเทร์เรียร์ชื่อวินสตัน ที่ได้รับการประคบประหงมจากเจ้าของด้วยอาหารต่างๆ
ในประเทศไทย บิ๊กฮีโร่ 6 ได้ออกฉายรอบสื่อมวลชนที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 [12] ออกฉายรอบพิเศษหลัง 13.00 น. ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [13] และออกฉายจริงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในการฉายภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6ในประเทศไทย ก็มีการฉายภาพยนตร์สั้นแปะหน้าเรื่องฟีสท์ด้วย
เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]เฮนรี่ แจ๊คแมนเป็นผู้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 [14] ส่วนเพลงประกอบภาพยนตร์ "อิมมอร์ทัลส์" แต่งและบันทึกเสียงโดยวงดนตรีร็อกฟอลล์เอาต์บอย ซึ่งได้ออกจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ เรคคอร์ด เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [15][16]
อัลบั้มของเพลงประกอบภาพยนตร์บิ๊กฮีโร่ 6 ออกจำหน่ายผ่านสื่อดิจิตอลโดยวอลท์ ดิสนีย์ เรคคอร์ด เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และวางจำหน่ายในรูปแบบซีดีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557[17] นอกจากเพลงประกอบภาพยนตร์ในอัลบั้มแล้ว ยังมีช่วงดนตรีสั้นๆของเพลงอายออฟเดอะไทเกอร์ปรากฏในภาพยนตร์ แต่ไม่ได้อยู่รวมอยู่ในอัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์[18]
เพลงประกอบภาพยนตร์ทุกเพลง ประพันธ์ทำนองโดยเฮนรี่ แจ๊คแมน (ยกเว้นเพลง อิมมอร์ทัลส์)
Big Hero 6 (Original Motion Picture Soundtrack) | |
---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย | |
วางตลาด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 |
บันทึกเสียง | พ.ศ. 2557 |
แนวเพลง | ฟิล์มสกอร์ |
ความยาว | 53:57 |
ค่ายเพลง | วอลท์ ดิสนีย์ เรคคอร์ด |
โปรดิวเซอร์ | คริส มอนแทน |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ศิลปิน | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Immortals" | แพทริค สตัมพ์, เพท เวนตซ์, โจ โทรแมน, แอนดี้ เฮอร์เลย์ | ฟอลล์เอาต์บอย | 3:15 |
2. | "Hiro Hamada" | 1:57 | ||
3. | "Nerd School" | 2:12 | ||
4. | "Microbots" | 1:46 | ||
5. | "Tadashi" | 1:46 | ||
6. | "Inflatable Friend" | 1:56 | ||
7. | "Huggable Detective" | 1:35 | ||
8. | "The Masked Man" | 1:29 | ||
9. | "One of the Family" | 1:49 | ||
10. | "Upgrades" | 2:27 | ||
11. | "The Streets of San Fransokyo" | 4:08 | ||
12. | "To the Manor Born" | 1:15 | ||
13. | "So Much More" | 3:01 | ||
14. | "First Flight" | 2:35 | ||
15. | "Silent Sparrow" | 4:39 | ||
16. | "Family Reunion" | 2:39 | ||
17. | "Big Hero 6" | 6:57 | ||
18. | "I Am Satisfied With My Care" | 5:29 | ||
19. | "Signs of Life" | 1:14 | ||
20. | "Reboot" | 1:48 | ||
ความยาวทั้งหมด: | 53:57 |
รางวัล
[แก้]รางวัล | ||||
---|---|---|---|---|
รางวัล | สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล | |
รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 87 | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | ดอน ฮอลล์, คริส วิลเลียมส์ และ รอย คอนลิ | ชนะ | |
สมาคมนักตัดต่อภาพยนตร์แห่งอเมริกา[19] | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นตัดต่อยอดเยี่ยม | ทิม เมอร์เทนส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลแอนนี่ประจำปีครั้งที่ 42[20] | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เทคนิคพิเศษในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน | ไมเคิล คาสชาล์ค, ปีเตอร์ เดอมุนด์, เดวิด ฮัทชินส์, เฮนริค ฟอลท์, และจอห์น คอสนิค | ชนะ | ||
ผู้ออกแบบตัวละครในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน | ชิยูน คิม, จิน คิม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้กำกับในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน | ดอน ฮอลล์, คริส วิลเลียมส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้เขียนสตอรี่บอร์ดในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน | มาร์ค อี. สทิธ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้เขียนบทในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน | โรเบิร์ต แอล. แบร์ด, แดเนียล เจอร์สัน, จอร์แดน โรเบิร์ตส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้ตัดต่อในงานผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน | ทิม เมอร์เทนส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลแบฟตา ครั้งที่ 68[21] | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์แพร่ภาพกระจายเสียง | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 72[22] | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์เนวาด้า | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | ชนะ | |
รางวัลกลุ่มนักวิจารณ์ภาพยนตร์สตรี | ภาพยนตร์ครอบครัวยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | ชนะ | |
ตัวละครแอนิเมชั่นหญิงยอดเยี่ยม | โกโก้ โทมาโกะ พากย์โดย เจมี่ ชุง | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ฮันนี่ เลมอน พากย์โดย เจเนซิส โรดริเกวซ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
วลียอดเยี่ยมในภาพยนตร์ | "Stop Whining. Woman Up!" พูดโดย เจมี่ ชุง | ชนะ | ||
รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฟีนิกซ์ ครั้งที่ 15[23] | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อิมมอร์ทัลส์ โดย ฟอลล์เอาต์บอย | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลแซทเทลไลท์ ครั้งที่ 19[24] | ภาพยนตร์แอนิเมชั่นหรือสื่อผสมยอดเยี่ยม | บิ๊กฮีโร่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลโปรดิวเซอร์ กิลด์ ออฟ อเมริกา | Best Outstanding Producer of Animated Theatrical Motion Pictures | รอย คอนลิ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสมาคมเทคนิคพิเศษด้านภาพ ครั้งที่ 13 [25] | Outstanding Animation in an Animated Feature Motion Picture | ดอน ฮอลล์, คริส วิลเลียมส์,รอย คอนลิ และ ซาจ พาร์ริซ | ชนะ | |
Outstanding Models in any Motion Media Project | Brett Achorn, Minh Duong, Scott Watanabe, Larry Wu | ชนะ | ||
Outstanding Created Environment in an Animated Feature Motion Picture | Ralf Habel, David Hutchins, Michael Kaschalk, Olun Riley | ชนะ | ||
Outstanding Effects Simulations in an Animated Feature Motion Picture | Henrik Falt, David Hutchins, Michael Kaschalk, John Kosnik | ชนะ | ||
Outstanding Animated Character in an Animated Feature Motion Picture | Colin Eckart, John Kahwaty, Zach Parrish, Zack Petroc | ชนะ |
วีดิโอเกม
[แก้]มีการจำหน่ายวิดีโอเกมสำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอสและนินเท็นโด 3ดีเอส ที่อิงจากภาพยนตร์ชื่อเกมว่า Big Hero 6: Battle in the Bay วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [26] นอกจากนี้ยังมีเกมแอปพลิเคชันที่อิงจากภาพยนตร์ชื่อเกมว่า Big Hero 6: Bot Fight [27][28] และนอกจากสองเกมข้างต้นแล้ว สแควร์อีนิกซ์ ยังได้ประกาศนำโลกจากภาพยนตร์เรื่องนี้ไปลงไว้ในเกม คิงดอมส์ฮาร์ท 3 ทั้งหมด และสร้างเนื้อเรื่องต่อจากภาพยนตร์หลักอีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ontario Film Review Board: Big Hero 6". Ontario Film Review Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-05. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Brent Lang (4 พฤศจิกายน 2557). "Box Office: 'Interstellar,' 'Big Hero 6' Eye Record-Breaking Weekend". Variety. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "Big Hero 6 (2014)". Box Office Mojo. Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ May 29, 2015.
- ↑ McDaniel, Matt (May 21, 2014). "Disney Throws Out the Marvel Rulebook for 'Big Hero 6'". Yahoo! Movies. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Truitt, Brian (May 9 พฤษภาคม 2556). "Disney animates Marvel characters for 'Big Hero 6'". USA Today. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Big Hero 6 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Big Hero 6 (2014)". Rotten Tomatoes.
- ↑ Amidi, Amid (31 กรกฎาคม 2557 2014). "World Premieres of 'Big Hero 6' and 'Parasyte' Set for Tokyo International Film Festival". Cartoon Brew. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "World premiere of Big Hero 6 in 3D to close Abu Dhabi Film Festival". The National. 31 ตุลาคม คม 2557. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Bahr, Lindsey (24 สิงหาคม 2557). "Big Hero 6 Preview". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2557.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Walt Disney Animation Studios' 'Feast' to Premiere at the Annecy International Animated Film Festival". Disney Post. April 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2014.
- ↑ "Big Hero 6 : Thailand Gala Premiere จากเพจทางการของวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิคเจอร์ส ประเทศไทย". วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิคเจอร์ส ประเทศไทย. 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "บิ๊กฮีโร่ 6". เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Henry Jackman to Score Disney's 'Big Hero 6'". Film Music Reporter. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
- ↑ Wickman, Kase (October 9, 2014). "'Big Hero 6' Sizzle Reel Brings New Fall Out Boy Song, Two Minutes Of Cuteness". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-13. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
- ↑ Dornbush, Jonathon (October 14, 2014). "Hear 'Immortals,' Fall Out Boy's song from the 'Big Hero 6' soundtrack". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-16. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
- ↑ "'Big Hero 6' Soundtrack Details". Film Music Reporter. October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 25, 2014.
- ↑ Feldman, Abigail (November 12, 2014). "'Big Hero 6' succeeds at box office". The Tufts Daily. สืบค้นเมื่อ November 16, 2014.
- ↑ "American Cinema Editors announce nominees". Awards Dailydate=3 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "42nd Annual Annie Award Nominees". สืบค้นเมื่อ December 1, 2014.
- ↑ Ritman, Alex (8 มกราคม 2558). "BAFTA Nominations: 'Grand Budapest Hotel' Leads With 11". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2558.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Gray, Tim (December 11, 2014). "Golden Globes: 'Birdman,' 'Fargo' Top Nominations". Variety. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
- ↑ "Phoenix Film Critics Society 2014 Awards". Phoenix Film Critics Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ December 9, 2014.
- ↑ Pond, Steve (December 1, 2014). "'Birdman' Leads Satellite Awards Nominations". The Wrap. สืบค้นเมื่อ December 3, 2014.
- ↑ "VES Awards 2015: Complete Winners List". สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Kingdom, Stitch (June 10, 2014). "E3: Nintendo Names Future Disney Titles for 'Big Hero 6,' 'Planes' and More". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
- ↑ "'Disney Infinity' Hands-On Review, Part Three: San Diego Comic-Con". Stitch Kingdom. July 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ August 3, 2014.
- ↑ Hollada, Becky (August 23, 2014). "Big Hero 6's Hiro and Baymax Get Disney Infinity Figures". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ August 23, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กันยายน 2024
- Rotten Tomatoes template using name parameter
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2557
- ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
- ภาพยนตร์อเมริกัน
- ภาพยนตร์ไอแมกซ์
- แอนิเมชันตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากสื่ออนิเมะ
- ภาพยนตร์แอนิเมชันเกี่ยวกับมิตรภาพ
- ภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ
- ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์
- ภาพยนตร์แอนิเมชันอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 2010
- ภาพยนตร์จินตนิมิตวิทยาศาสตร์
- ภาพยนตร์ตลกโลดโผนอเมริกัน
- ภาพยนตร์แอนิเมชันโดยวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์
- ภาพยนตร์โดยวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในโตเกียว