ข้ามไปเนื้อหา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี
ใบปิดภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทภาพยนตร์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
อำนวยการสร้างหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
คุณากร เศรษฐี
นักแสดงนำ
ผู้บรรยายมนตรี เจนอักษร
กำกับภาพสตานิสลาฟ ดอร์ซิก
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ความยาว118 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
พม่า
มอญ
ทำเงิน206.86 ล้านบาท
(เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)
ก่อนหน้านี้ศึกนันทบุเรง
ต่อจากนี้อวสานหงสา
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี เป็นภาพยนตร์ภาคที่ห้าในภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำหนดฉายในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ทำรายได้ 206.86 ล้านบาท (ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)[1]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชั­ยต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกัลยา เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชบิดาทราบค­วามก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระ­ราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำ­ยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้­างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติค­รองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1

ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึงพระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นป­กติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร มังสาม­เกียด หรือมังกยอชวาที่ 1 พระมหาอุปราชาเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปยังสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณ ต.หนองสาหร่าย

โดยสมเด็จพระนเรศวรโปรดให้พระราชมนูแต่­งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนอง­สาหร่าย ทัพหน้าพระราชมนูปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้­นตะลุมบอน แต่กำลังข้างพระราชมนูน้อยกว่าจึงแตกพ่ายถ­อยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศวรทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศวร นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระ­ยาปราบไตรจักร (พลายบุญเรือง) ต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางว­งล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้างพระมหาอุปร­าชา สมเด็จพระนเรศวรทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยความคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว"

พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่าพลายพัทธกอเข้าทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวร ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าทำให้พลายพัทธกอชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพใช้เท้าหลังยันโคนต้นพุทราชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถทรงฟันมางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนานประมาณร้อยเจ็ดสิบห้าปี

นักแสดง

[แก้]

นักแสดงรับเชิญ

[แก้]

เพลงนำภาพยนตร์

[แก้]
  • สมรภูมิสุดท้าย ขับร้อง โดย รังสรรค์ ปัญญาเรือน (สงกรานต์ เดอะวอยซ์) ทำนองและเรียบเรียง โดย สันติ ชัยปรีชา เนื้อร้อง โดย โป โปษยะนุกุล, เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน และวสกร เดชสุธรรม มิวสิควีดีโอ โดย พิบูลย์ เชยอรุณ, หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล

การออกฉายและรายได้

[แก้]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี ออกฉายรอบสื่อมวลชน ในวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และออกฉายเป็นการทั่วไปในวันที่ 29 พฤษภาคม โดยภาพยนตร์ทำรายได้ 4 วันแรก 97 ล้านบาท (นับรายได้เฉพาะโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่) [2]

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 11.00 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรีในโรงภาพยนตร์จำนวน 160 โรงทั่วประเทศ หนึ่งคนต่อหนึ่งที่นั่ง และฉายเพียงโรงเดียว รอบเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ถึงขนาดที่บางคนไปยืนรอตั้งแต่เช้าก่อนโรงภาพยนตร์เปิด แต่ที่นั่งเต็ม[3][4] ทำให้ต่อมาได้จัดให้มีการซื้อหนึ่งที่นั่งแถมฟรีอีกหนึ่งที่นั่ง ระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน พ.ศ. 2557[5] ภาพยนตร์ทำรายได้ 206.86 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่

เบื้องหลังการถ่ายทำ

[แก้]

ฉากเสวยราชย์

[แก้]

ในฉากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขึ้นเสวยราชย์และสถาปนามณีจันทร์เป็นพระมเหสี หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลได้ขออนุญาตนำพระมหาพิชัยมงกุฏของจริง (ซึ่งไม่ตรงตามรัชกาล แต่เป็นของตกทอดในสมัยหลัง) จากพิพิธภัณฑ์มาใช้ในการถ่ายทำฉากนี้ด้วย

ฉากยุทธหัตถี

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2554 เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้องตัดต่อภาพยนตร์ ทำให้ฟิล์มที่ถ่ายทำภาพยนตร์บางส่วน กราฟิกฉากยุทธหัตถี และอุปกรณ์การตัดต่อเสียหายทั้งหมด ทำให้ต้องเริ่มถ่ายทำใหม่ ภาพยนตร์ภาคนี้จึงออกฉายช้ากว่ากำหนด

ข้อแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์กับภาพยนตร์

[แก้]
  • ไม่มีหลักฐานใดชี้ชัดว่าพระเจ้านันทบุเรงสูญเสียพระสิริโฉมหลังพ่ายศึกอโยธยา มีเพียงพงศาวดารพม่าบางฉบับที่เป็นส่วนน้อยระบุไว้ว่าพระองค์ทรงประชวรเป็นฝีที่พระพักตร์เท่านั้น เพียงแต่ผู้เขียนบทต้องการให้น้ำหนักถึงเหตุผลที่พระเจ้านันทบุเรงไม่ได้ยกทัพมาตีอโยธยาอีก ซึ่งมักจะส่งพระอุปราชามาแทน
  • ไม่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแต่งตั้งพระอัครมเหสีองค์ใด เพียงแต่ผู้เขียนบทได้ให้มณีจันทร์ขึ้นเป็นอัครมเหสีเพื่ออรรถรสของภาพยนตร์
  • ไม่มีหลักฐานที่กล่าวว่าพระพี่นางสุพรรณกัลยาตกเป็นชายาของพระเจ้านันทบุเรง มีแต่เพียงคำบอกเล่าและหนังสืออิงประวัติศาสตร์เท่านั้น
  • สงครามพระมหาอุปราชาหลังพระเจ้านันทบุเรงครองราชย์แท้จริงแล้วมี 2 ครั้ง คือครั้งที่ยกเข้ามาหลังครองราชย์และครั้งสุดท้ายคือศึกยุทธหัตถี
  • พระยาพะสิมในประวัติศาสตร์จริงๆ ถูกอโยธยาจับตัวได้ตั้งแต่ศึกพระอุปราชาครั้งที่ 1 ในประวัติศาสตร์ไม่น่าจะได้มาร่วมในสงครามยุทธหัตถีอีก

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายได้หนังประจำสัปดาห์ 24-30 กรกฎาคม 2557
  2. "ยุทธหัตถี เปิดตัวแรง4วันเฉียด100 ล้านบาท". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 4 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
  3. "แห่ดูฟรีแน่นขนัด หนัง'พระนเรศวร' ตามแผนคืนความสุข". ไทยรัฐ. 15 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
  4. "ทั่วไทย! แห่ดู 'พระนเรศวร' หลายคนเซ็ง ตั๋วเกลี้ยงอดชมฟรี". ไทยรัฐ. 15 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
  5. "คืนความสุขอีกรอบ!ซื้อตั๋วพระนเรศวร1แถม1". กรุงเทพธุรกิจ. 19 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]