กังฟูแพนด้า 2
กังฟูแพนด้า 2 | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | Jennifer Yuh Nelson |
บทภาพยนตร์ | |
สร้างจาก | Characters created โดย Ethan Reiff Cyrus Voris |
อำนวยการสร้าง | Melissa Cobb |
นักแสดงนำ | |
ตัดต่อ | Clare Knight |
ดนตรีประกอบ | ฮันส์ ซิมเมอร์ John Powell |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | พาราเมาต์พิกเจอส์ |
วันฉาย |
ฮอลลีวูด ปฐมทัศน์
สหรัฐอเมริกา |
ความยาว | 90 นาที |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] |
ทำเงิน | 665.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
ก่อนหน้านี้ | กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อก ช็อคยุทธภพ |
ต่อจากนี้ | กังฟูแพนด้า 3 |
กังฟูแพนด้า 2 (อังกฤษ: Kung Fu Panda 2) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแนวตลก ดราม่า และกำลังภายในอเมริกันที่ออกฉายใน ค.ศ. 2011 ผลิตโดยดรีมเวิกส์แอนิเมชันและจัดจำหน่ายโดยพาราเมาต์พิกเจอส์[a] โดยถือเป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อก ช็อคยุทธภพ ที่ออกฉายใน ค.ศ. 2008 ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยเจนนิเฟอร์ หยู เนลซอน ซึ่งเป็นผลงานการกำกับครั้งแรกของเธอ การพากย์เสียงยังคงใช้ทีมพากย์ชุดเดิมจากภาพยนตร์ภาคแรกเป็นส่วนใหญ่ และมีแกรี โอลด์แมน, หยาง จื่อฉยง, แดนนี แม็คไบรด์, เดนนิส เฮส์เบิร์ต, ฌ็อง-โกลด ว็อง ดาม และวิกเตอร์ การ์เบอร์ เป็นผู้พากย์เสียงตัวละครใหม่ ในภาพยนตร์ โปและห้าผู้พิทักษ์ ต้องต่อสู้กับ "อ๋องเช็น" ผู้ครองนครกงเหมินและเป็นผู้มีศาสตราวุธอันทรงพลังเพื่อครอบครองแผ่นดินจีน ในขณะเดียวกัน โปก็ค้นพบอดีตอันขมขื่นของตนเอง และพบว่าอ๋องเช็นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ด้วย
ภาพยนตร์ปล่อยฉายครั้งแรกในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ในระบบสามมิติ กังฟูแพนด้า 2 ยังคงได้รับการพูดถึงในเชิงบวกเหมือนกับภาคแรก ในด้านของแอนิเมชัน การพากย์เสียง ฉากการต่อสู้ เพลงประกอบ และพัฒนาการของตัวละคร ภาพยนตร์ใช้งบประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้ทั่วโลก 665 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำรายได้สูงที่สุดในปีนั้น และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 84 ก่อนที่จะพ่ายให้กับภาพยนตร์เรื่อง แรงโก้ ฮีโร่ทะเลทราย ภาคต่อของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ กังฟูแพนด้า 3 ซึ่งออกฉายใน ค.ศ. 2016[4]
เนื้อเรื่อง
[แก้]โปได้ใช้ชีวิตในฝันในฐานะนักรบมังกร ที่คอยคุ้มครองหุบเขาสันติภาพ ร่วมกับเพื่อนพ้องและอาจารย์กังฟูทั้งห้า ซึ่งได้แก่ นางพยัคฆ์ , นกกระเรียน , ตั๊กแตน , อสรพิษ และ วานร แต่ชีวิตใหม่ของโปกลับถูกคุกคามด้วยการปรากฏตัวของอ๋องเช็น วายร้ายที่น่าสะพรึงกลัว ผู้วางแผนที่จะใช้อาวุธลับในการเข้ายึดครองประเทศจีนและทำลายกังฟู เป็นหน้าที่ของโปและอาจารย์กังฟูทั้งห้าที่จะต้องเดินทางข้ามจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อเผชิญหน้าและกำจัดภัยคุกคามนี้ แต่โปจะหยุดอาวุธที่สามารถหยุดยั้งพลังกังฟูได้ยังไงกันล่ะ เขาจะต้องมองย้อนกลับไปยังอดีตของตัวเอง เพื่อไขปริศนาที่มาอันลึกลับของตัวเอง เมื่อนั้นเขาจึงจะสามารถปลดพันธนาการพลังที่จำเป็นต่อความสำเร็จของเขาออกมาได้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งานพากย์
[แก้]- แจ็ก แบล็ก ให้เสียง โป
- แอนเจลีนา โจลี ให้เสียง นางพยัคฆ์
- ดัสติน ฮอฟแมน ให้เสียง อาจารย์ชิฟู
- แกรี โอลด์แมน ให้เสียง อ๋องเช็น
- แจ๊กกี้ ชาน ให้เสียง วานร
- ลูซี ลิว ให้เสียง อสรพิษ
- เซท โรเกน ให้เสียง ตั๊กแตน
- เดวิด ครอส ให้เสียง กระเรียน
- เจมส์ ฮง ให้เสียง อาปิง
- หยาง จื่อฉยง ให้เสียง นางพยากรณ์
- แดนนี แม็คไบรด์ ให้เสียง หัวหน้าหมาป่า
- เดนนิส เฮส์เบิร์ต ให้เสียง อาจารย์วัวสลาตัน
- ฌ็อง-โกลด ว็อง ดาม ให้เสียง อาจารย์เข้เคี่ยมพิฆาต
- วิกเตอร์ การ์เบอร์ ให้เสียง อาจารย์แรดสายฟ้า
- เฟร็ด ทาทาสเคียร์ ให้เสียง พ่อแพนด้า
- ลอเรน ทอม ให้เสียง แกะในตลาด
- คอนแรด เวอร์นอน ให้เสียง หมูป่า
งานสร้าง
[แก้]หลังจากที่ภาพยนตร์ภาคแรก กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อก ช็อคยุทธภพ ได้ออกฉายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 ดรีมเวิกส์แอนิเมชันได้วางแผนสร้างภาพยนตร์เรื่องที่สอง ที่มีชื่อเรื่องว่า Pandamoneum[5] ต่อมาใน ค.ศ. 2010 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ The Kaboom of Doom[6] และเปลี่ยนชื่อเป็น กังฟูแพนด้า 2 เจนนิเฟอร์ หยู เนลซอน ผู้มีส่วนควบคุมท้องเรื่องในภาคแรก ได้มีบทบาทในการกำกับภาคสองอย่างเต็มตัว ทีมงานยังคงใช้ทีมพากย์จากภาพยนตร์ภาคแรกเป็นส่วนใหญ่ ภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบสามมิติ เช่นเดียวกันกับภาพยนตร์ดรีมเวิกส์ทุกเรื่องนับตั้งแต่ มอนสเตอร์ ปะทะ เอเลี่ยน เป็นต้นมา
โจนาธาน ไอเบล และเกลนน์ เบอร์เกอร์ ผู้เขียนฉากและผู้ร่วมสร้างในภาคแรก ได้กลับมาทำหน้าที่อีกครั้งในภาคสอง[7] โดยมีชาร์ลี คอฟมัน เป็นที่ปรึกษา[8][9] ในขั้นตอนการพัฒนาบทภาพยนตร์[10]
ใน กังฟูแพนด้า 2 ทีมงานการผลิตได้แสดงความใกล้ชิดต่อวัฒนธรรมจีนมากขึ้น โดยใน ค.ศ. 2008 หลังจากที่ กังฟูแพนด้า ปล่อยฉายแล้ว ผู้บริหารของดรีมเวิกส์ เจฟฟรีย์ แคตเซนเบิร์ก พร้อมทั้งผู้กำกับ ผู้ออกแบบการผลิต และทีมงานคนอื่น ๆ ได้เดินทางไปยังเฉิงตู ซึ่งได้รับสมญาว่า "บ้านเกิดของแพนด้า"[11] พวกเขาได้เดินทางไปพบแพนด้าที่ศูนย์วิจัยแพนด้ายักษ์ และสมาชิกทีมออกแบบการผลิตก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่นั่น แคตเซนเบิร์กกล่าวว่า ภาคต่อนี้จะนำองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างในเฉิงตูเข้ามารวมด้วย[12] ภูมิลักษณ์และสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในภาพยนตร์ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่จริงที่ภูเขาชิงเฉิง ซึ่งเป็นภูเขาของลัทธิเต๋าที่มีชื่อเสียง[13] ในการสัมภาษณ์กับไชนาเดลี ซีบาชเล่าว่าศูนย์วิจัยแพนด้าจะมีอิทธิพลต่อภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขามีประสบการณ์ในการดูแลลูกแพนด้าอายุน้อย ซึ่งเป็นแนวคิดให้เกิดภาพของโปในวัยเด็กที่ปรากฏในฉากย้อนอดีต[14] นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการนำเสนออาหารเสฉวน อาทิ เต้าหู้หม่าโพ และก๋วยเตี๋ยวตันตาน[15] ในการสัมภาษณ์กับมูฟวีไลน์ เบอร์เกอร์กล่าวว่า "เราไม่เคยคิดว่าภาพยนตร์ที่มีฉากในประเทศจีนนี้จะทำเพื่อชาวอเมริกัน แต่เป็นภาพยนตร์ที่มีฉากในจีนอันเป็นตำนานและเป็นสากลเพื่อทุกคนในโลก"[16][17]
การออกฉายและจัดจำหน่าย
[แก้]กังฟูแพนด้า 2 ถูกฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์กานในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ก่อนที่จะถูกฉายในเชิงพาณิชย์ในภายหลัง[18] ในสหรัฐ ภาพยนตร์ฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ที่โรงละครจีนกรอมันในฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย[19] ภาพยนตร์ฉายทั่วสหรัฐครั้งแรกในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ต่อมาได้ฉายในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2011 และฉายในออสเตรเลียครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2011 นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังฉายทางไอแมกซ์ในภูมิภาคยุโรป-ตะวันออกกลาง-แอฟริกา[20]
ภาพยนตร์ได้จำหน่ายทางดีวีดีและบลูเรย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2011 โดยมาพร้อมกับภาพยนตร์สั้น กังฟูแพนด้า: ซีเคร็ตออฟเดอะมาสเตอร์ และละครโทรทัศน์ กังฟูแพนด้า: ตำนานสะท้านโลกันตร์[21]
การตอบรับ
[แก้]คำวิจารณ์
[แก้]รอตเทนโทเมโทส์ได้ให้คะแนนภาพยนตร์จากผู้วิจารณ์ 172 คน อยู่ที่ร้อยละ 81 และให้คะแนนโดยเฉลี่ย 6.91 เต็ม 10 โดยคำวิจารณ์ได้กล่าวว่าโดยรวมว่า "เนื้อเรื่องอาจดูชินตาไม่แปลกใจ แต่ กังฟูแพนด้า มีฉากต่อสู้ ฉากตลก และฉากสวยงามเปล่งประกายที่เพียงพอต่อการชดเชย"[22] ส่วนเมทาคริติก ได้ให้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 67 เต็ม 100 จากผู้ประเมิน 31 คน โดยระบุว่า "เป็นที่ชื่นชอบโดยทั่วไป"[23]
นิตยสาร วาไรตี พูดถึงภาพยนตร์นี้ว่า "เป็นภาคต่อที่คุ้มค่าซึ่งมีสิ่งพิเศษจากฉากต่อสู้ในรูปแบบสามมิติ"[24] ขณะที่ เดอะฮอลลีวูดรีพอร์เตอร์ ก็กล่าวชื่นชมภาพยนตร์ในทำนองเดียวกัน[25] โรเจอร์ อีเบิร์ต ได้ให้คะแนนภาพยนตร์ 3.5 เต็ม 4 ดาว และยกย่องว่าภาคนี้เหนือว่าภาคแรก โดยถือเป็นส่วนต่อขยายที่มีความทะเยอทะยาน[26]
ผู้วิจารณ์บางคนได้สังเกตว่า ผู้บริหารงานผลิต กิเยร์โม เดล โตโร มีส่วนต่องานภาพยนตร์ในธีมที่มืดขึ้น[27] และจิม ทูดอร์ จากทวิตช์ฟิล์ม.เน็ต บรรยายว่า "เมื่อภาพยนตร์มีเดล โตโร เป็นทีมงาน ทำให้ภาพยนตร์เจาะลึกไปยังเรื่องราวการเดินทางและปัญหาในอดีตของโป คล้ายกับต้นฉบับของแคมป์เบลเลียน แต่ก็ยังมีความบันเทิงที่เหมาะกับทุกวัย"[28]
แฟรงก์ ลอเวซ จาก ฟิล์มเจอร์นัลอินเตอร์เนชันนัล กล่าวว่าภาพยนตร์ "มีความสวยงามที่เห็นได้อย่างแท้จริง" และ "ทำงานบนสุนทรียภาพและอารมณ์"[29] เบ็ตซี ชาร์คีย์ จาก ลอสแอนเจลิสไทมส์ เขียนว่า "สำหรับ แพนด้า 2 ไม่ใช่เพียงภาพยนตร์ทั่ว ๆ ไป แต่มันคืองานศิลป์ในระดับสูง"[30] ผู้วิจารณ์หลายคนกล่าวยกย่องแกรี โอลด์แมน ในด้านการพากย์เสียงและพัฒนาตัวละครที่ชื่ออ๋องเช็น และมีการเปรียบเทียบกับเอียน แม็คเชน ที่พากย์เสียงไต้ลุงในภาคแรก แองจี เออริโก จากนิตยสาร เอ็มไพร์ กล่าวถึงโอลด์แมนว่า "เป็นวายร้ายปกคลุมด้วยขนที่น่าเหลือเชื่อ และลักษณะตัวละครก็ทำให้การแสดงของเขานั้นได้เผยถึงการต่อสู้ที่ชวนตะลึง และหางนกยูงที่สะบัดไปด้วยสเน่ห์อันร้ายแรง"[31] ไคล์ สมิท จาก นิวยอร์กโพสต์ กล่าวว่า "ตอนแรกมันค่อนข้างยากที่จะรู้สึกว่านกยูงมันน่ากลัว (เสือดาวหิมะในภาคแรกยังดูน่ากลัวกว่า) แต่ทีมงานก็ประสบความสำเร็จในการปรุงแต่งนกยูงอ๋องหนุ่มให้ดูน่ากลัวขึ้นได้"[32]
รายได้
[แก้]ตลอดช่วงที่ฉาย ภาพยนตร์ทำรายได้ถึง 165.2 ล้านดอลลาร์ฯ ในสหรัฐและแคนาดา และทำรายได้ในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกอีก 500.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมรายได้ทั้งหมด 665.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] โดยการฉายในระบบสามมิติมีส่วนในการทำรายได้ถึงร้อยละ 53 ของรายได้ทั้งหมดทั่วโลก[33] ภาพยนตร์นี้จึงกลายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำรายได้สูงสุดที่ใน ค.ศ. 2011 และเป็นภาพยนตร์ที่รายได้สูงเป็นอันดับที่ 6 ในปีนั้นด้วย[34] แต่ถ้านับรวมทุกปีแล้ว นี่เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำรายได้สูงเป็นอันดับที่ 14 และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงเป็นอันดับที่ 69[35] ในช่วงสัปดาห์แรกของการฉาย ภาพยนตร์ทำรายได้ถึง 108.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 รองจาก ไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน: ผจญภัยล่าสายน้ำอมฤตสุดขอบโลก และ เดอะ แฮงค์โอเวอร์ ภาค 2[36] นอกจากนี้ยังเคยเป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดยผู้หญิงที่ทำรายได้สูงสุดจนกระทั่งถูกทำลายสถิตินี้โดย ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ ที่ออกฉายในอีกสองปีถัดมา และยังเป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดยผู้หญิงเพียงคนเดียวที่ทำรายได้สูงสุดจนกระทั่งถูกทำลายโดย วันเดอร์ วูแมน ใน ค.ศ. 2017[37]
ในอเมริกาเหนือ ภาพยนตร์ทำรายได้ 5.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในวันเปิดตัว (26 พฤษภาคม ค.ศ. 2011) โดยมากเป็นอันดับที่สอง รองจาก เดอะ แฮงค์โอเวอร์ ภาค 2[38] และในวันถัดมา ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 13.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังน้อยกว่าที่ภาคแรกเคยทำได้ในช่วงเวลาเท่ากัน (20.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[39] ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ภาพยนตร์ทำรายได้เพิ่มเป็น 47.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังคงน้อยกว่าที่ภาคแรกเคยทำไว้ (60.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[40] และในวันจันทร์วัดถัดมา (เมมโมเรียลเดย์) ภาพยนตร์ทำรายได้ในวันนั้น 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มีรายได้ในช่วงวันหยุด 4 วันช่วงสุดสัปดาห์มากถึง 60.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[41]
ในภูมิภาคอื่น ๆ นอกจากอเมริกาเหนือ ภาพยนตร์ทำรายได้ในสัปดาห์แรก 55.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับหนึ่งของบ็อกซ์ออฟฟิศใน 9 จาก 11 ประเทศที่เข้าฉาย และเมื่อนับรวมทุกประเทศ ภาพยนตร์ทำรายได้มากเป็นอันดับที่ 3 รองจาก ไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน: ผจญภัยล่าสายน้ำอมฤตสุดขอบโลก และ เดอะ แฮงค์โอเวอร์ ภาค 2[42] นอกจากนี้ยังภาพยนตร์ยังทำรายได้นอกอเมริกาเหนือติดอันดับหนึ่งของบ็อกซ์ออฟฟิศ 2 สัปดาห์ติดต่อกัน (สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของการฉาย)[43][44]
ในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ทำรายได้สูงสุดรองจากอเมริกาเหนือ มีการรายงานรายได้ในช่วงสุดสัปดาห์จากแหล่งข่าวสองแหล่งซึ่งมีข้อมูลต่างกัน แหล่งข่างแรกรายงานว่าทำรายได้ 19.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่อีกแหล่ง รายงานรายได้อยู่ที่ 16.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี กังฟูแพนด้า 2 ได้ทำสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ในวันเปิดตัวมากที่สุดในจีน[45][46] และตลอดช่วงที่ฉาย ภาพยนตร์ทำรายได้ถึง 93.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำรายได้มากที่สุดในจีน แซงหน้าภาคแรก (26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[47] ก่อนที่จะถูกทำลายสถิติโดยภาพยนตร์จีน ไซอิ๋ว วานรผู้พิทักษ์ ที่ออกฉายใน ค.ศ. 2015[48] กังฟูแพนด้า 2 เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในช่วงสุดสัปดาห์แรกของการเปิดตัวในมาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ และไทย[49][50] นอกจากนี้ ยังกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้สูงที่สุดในเวียดนาม แซงหน้าภาพยนตร์เรื่อง อวตาร[51][52]
รางวัล
[แก้]รางวัล | ประเภท | ผู้ชนะ/ผู้เสนอชื่อเข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|
รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 84[53] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Jennifer Yuh Nelson | เสนอชื่อเข้าชิง |
สมาคมสตรีผู้สื่อข่าวภาพยนตร์[54] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | กังฟูแพนด้า 2 | |
Best Animated Female | Angelina Jolie | ||
Best Woman Director | Jennifer Yuh Nelson | ||
Annie Awards[55][56] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Melissa Cobb | |
Animated Effects in an Animated Production | Dave Tidgwell Jason Mayer | ||
Character Animation in a Feature Production | Dan Wagner Pierre Perifel | ||
Directing in a Feature Production | Jennifer Yuh Nelson | ชนะ | |
Production Design in a Feature Production | Raymond Zilbac | ||
Storyboarding in a Feature Production | Gary Graham Philip Craven |
เสนอชื่อเข้าชิง | |
Voice Acting in a Feature Production | Gary Oldman | ||
Voice Acting in a Feature Production | James Hong | ||
Editing in a Feature Production | Clare Knight | ||
ASCAP Award | Top Box Office Films | Hans Zimmer and John Powell | ชนะ |
1st Behind the Voice Actors Awards[57] | Best Vocal Ensemble in a Feature Film | กังฟูแพนด้า 2 | |
Best Female Vocal Performance in a Feature Film | Angelina Jolie | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Best Male Vocal Performance in a Feature Film | Gary Oldman | ||
Critics' Choice Awards[58] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Jennifer Yuh Nelson | |
Golden Reel Awards[59] | Best Sound Editing – Sound Effects, Foley, Dialogue and ADR in an Animation Feature Film | John Marquis | |
โกลเดนโทเมโทส์อะวอร์ด 2011[60] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | กังฟูแพนด้า 2 | อันดับที่ 5 |
Denver Film Critics Society[61] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Houston Film Critics Society[62] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | ||
Kids' Choice Awards[63] | Favorite Animated Movie | ||
Favorite Voice From an Animated Movie | Jack Black | ||
Online Film Critics Society[64] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Melissa Cobb | |
People's Choice Awards[65] | Favorite Movie Animated Voice | Jack Black | |
Producers Guild of America Awards[66] | Best Animated Theatrical Motion Pictures | Melissa Cobb | |
San Diego Film Critics Society Awards[67] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Jennifer Yuh Nelson and Mellisa Cobb | |
Satellite Awards[68] | Motion Picture, Animated or Mixed Media | กังฟูแพนด้า 2 | |
Saturn Awards[69] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | ||
St. Louis Gateway Film Critics Association Awards[70] | ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | Jennifer Yuh Nelson | |
Teen Choice Awards[71] | Choice Movie Animated Voice | Jack Black | |
Visual Effects Society Awards[72] | Outstanding Visual Effects in an Animated Feature Motion Picture | Melissa Cobb, Alex Parkinson, Jennifer Yuh Nelson, Raymond Zibach | |
Women Film Critics Circle[73] | Best Animated Females | กังฟูแพนด้า 2 |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 สิทธิในการจัดจำหน่ายถูกโอนจากพาราเมาต์พิกเจอส์ไปยังดรีมเวิกส์แอนิเมชัน[3] และโอนย้ายไปยังทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีฟอกซ์ ก่อนที่จะโอนคืนให้กับยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ใน ค.ศ. 2018
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kaufman, Amy (May 25, 2011). "Movie Projector: Memorial Day weekend to soar with Hangover, Kung Fu Panda sequels". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 27, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "Kung Fu Panda 2". Box Office Mojo. Amazon.com. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
- ↑ Chney, Alexandra (July 29, 2014). "DreamWorks Animation Q2 Earnings Fall Short of Estimates, SEC Investigation Revealed". Variety. สืบค้นเมื่อ July 30, 2014.
- ↑ Rebecca Ford (April 14, 2015). "'Kung Fu Panda 3' Release Date Moves Up Two Months". The Hollywood Reporter. (Prometheus Global Media). สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.
- ↑ Fiona (October 1, 2008). ""Kung Fu Panda" Sequel "Pandamonium" In 3D". FilmoFilia.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Kung Fu Panda 2: The Kaboom of Doom". Budomate. September 11, 2010.
- ↑ Siegel, Tatiana (October 1, 2008). "Kung Fu Panda bears 3-D sequel". Variety.
- ↑ Enk, Bryan (May 14, 2010). "Charlie Kaufman Working on Kung Fu Panda 2 Script". Blog.moviefone.com. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Ryan, Mike. "Which Kung Fu Panda 2 Jokes did Charlie Kaufman Write?". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ "Jonathan Aibel & Glenn Berger Talk Kung Fu Panda 2 & Their Plans For King Lear-Like Candyland". Blogs.indiewire.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 27, 2011. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2011.
- ↑ 来自大熊猫故乡的问候 (ภาษาจีน). Sohu.com. สืบค้นเมื่อ May 29, 2011.
- ↑ ""功夫熊猫2"融入更多中国元素 – Kong Fu Panda 2 incorporates more Chinese elements" (ภาษาอังกฤษ และ จีน). Thinking Chinese. สืบค้นเมื่อ May 29, 2011.
- ↑ "Kung Fu Panda 2 to hit silver screen in China". China Daily. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Yu Wei, Zhang (28 October 2011). "The bear essentials". China Daily. สืบค้นเมื่อ 22 January 2018.
- ↑ "Hometown of Kung Fu Panda Po in Kung Fu Panda 2 With Chengdu Origins Material Source Inspiration". chinagiantpanda.com. China Giant Panda. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 22 January 2018.
- ↑ "Kung Fu Panda 2 Writers on Future Sequels, and Their Pixar Rivals". Movieline.com. สืบค้นเมื่อ June 8, 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Kung Fu Panda 3 Shows Scenes of Qingcheng Mountains". Go Chengdu. 19 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 January 2018.
- ↑ Collett-White, Mike (May 12, 2011). "Jolie, Black seek "inner peace" in Kung Fu Panda 2". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
- ↑ Gelt, Jessica (May 23, 2011). "'Kung Fu Panda 2' movie premiere: Jack Black, Angelina Jolie, Dustin Hoffman, Seth Rogen laugh it up (Video)". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 27, 2014.
- ↑ IMAX Corporation (May 24, 2011). "DreamWorks Animation's Kung Fu Panda 2 Kicks Its Way Into Select IMAX 3D(R) Theatres Starting This Wednesday". Cision Wire. สืบค้นเมื่อ May 7, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "The Hilarious Global Smash Hit Kung Fu Panda 2 Becomes the Most Awesome Holiday Gift Pack on Blu-Ray™ and DVD Tuesday, December 13th". DreamWorks Animation via PRNewswire. October 4, 2011. สืบค้นเมื่อ October 5, 2011.
- ↑ "Kung Fu Panda 2 (2011)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ April 25, 2019.
- ↑ "Kung Fu Panda 2 Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ May 25, 2011.
- ↑ DeBruce, Peter (May 22, 2011). "Kung Fu Panda 2". Variety.
- ↑ McCarthy, Todd (May 22, 2011). "Kung Fu Panda 2: Review". The Hollywood Reporter.
- ↑ Ebert, Roger. "Kung Fu Panda 2". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ May 28, 2011.
- ↑ Uhlich, Keith (May 24, 2011). "Kung Fu Panda 2: The second entry in the DreamWorks franchise turns on the dark". Newyork.timeout.com. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Matthijs, Niels. "Kung Fu Panda 2 Review". Twitchfilm.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 28, 2011. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2011.
- ↑ Lovece, Frank. "Film Review: Kung Fu Panda 2". Film Journal International.
- ↑ Sharkey, Betsy (May 26, 2011). "Movie review: 'Kung Fu Panda 2'". Los Angeles Times.
- ↑ "Empire's Kung Fu Panda 2 Movie Review". Empire. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Smith, Kyle (May 26, 2011). "Kung Fu Panda 2 film has superb animation, great third act". New York Post. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ "DreamWorks Animation's CEO Discusses Q3 2011 Results - Earnings Call Transcript". Seeking Alpha. October 26, 2011. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.
In total, 3D contributed approximately 53% of Kung Fu Panda 2's worldwide gross and this was even without the benefit of IMAX.
- ↑ "2011 WORLDWIDE GROSSES". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ December 30, 2011.
- ↑ All Time Worldwide Box Office Grosses
- ↑ "Worldwide Openings". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 1, 2011.
- ↑ http://ew.com/movies/2017/06/23/wonder-woman-will-become-the-highest-grossing-live-action-film-directed-by-a-woman/
- ↑ Gray, Brandon (May 27, 2011). "Hangover 2 Rocks Thursday". BoxOfficeMojo.com.
- ↑ Barrett, Annie (May 28, 2011). "Box office update: 'The Hangover Part II' adds another $30 mil on Friday". Insidemovies.ew.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Barrett, Annie (May 29, 2011). "Box office update: The Hangover Part II parties on with $86.5 mil 3-day weekend". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Barrett, Annie (May 30, 2011). "Box office report: The Hangover Part II rules record Memorial Day weekend with $105.8 mil". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-16. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
- ↑ Brandon, Gray (May 31, 2011). "Around-the-World Brief: 'Pirates' Booty Grows, 'Hangover,' 'Panda' Sequels Open Strongly". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 1, 2011.
- ↑ "Around-the-World Brief: Panda Topples Mighty Pirates". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 12, 2011.
- ↑ "Around-the-World Roundup: Panda Victorious Again". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 22, 2011.
- ↑ Landreth, Jonathan (June 5, 2011). "กังฟูแพนด้า 2 Sets Chinese Box Office Records". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2012. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
- ↑ "China Weekly Box Office (5/23 – 5/29): Kung Fu Panda 2 scored the biggest opening day ever". Box Office Follower. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2012. สืบค้นเมื่อ December 31, 2011.
- ↑ "China Weekly Box Office (07/04 – 07/10): Wu Xia had a relatively disappointing start". Box Office Follower. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2011. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 31, 2011.
- ↑ Amidi, Amid (July 26, 2015). "Breaking: 'Monkey King' Breaks Chinese Record, Surpasses 'Kung Fu Panda 2'". Cartoon Brew. สืบค้นเมื่อ July 26, 2015.
- ↑ Gray, Brandon (May 31, 2011). "Around-the-World Roundup: 'Pirates' Booty Grows, 'Hangover,' 'Panda' Sequels Open Strongly". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.
- ↑ Gray, Brandon (June 6, 2011). "Around-the-World Roundup: 'Pirates' Out-Class 'X-Men'". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.
- ↑ "Kung Fu Panda 2". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
- ↑ "Phim Hollywood thắng lớn tại Việt Nam". Thanh Niên. สืบค้นเมื่อ June 27, 2011.
- ↑ Kilday, Gregg (February 10, 2012). "'Puss in Boots,' 'Kung Fu Panda 2' Give DreamWorks an Oscar Double Hitter". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Cornet, Roth (December 23, 2011). "'The Artist' leads with 9 Alliance of Women Journalists nominations". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Pon, Steve (December 5, 2011). "'Kung Fu Panda 2' Tops Annie Award Nominations". The Wrap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Tapley, Kristopher (February 5, 2012). "'Rango' wins big at the 39th Annie Awards". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ "2016 BTVA Voice Acting Awards". BehindTheVoiceActors.com. สืบค้นเมื่อ February 16, 2018.
- ↑ Hammond, Pete (December 13, 2011). "'Hugo' & 'The Artist' Lead Critics Choice Movie Award Nominations With 11 Each". Deadline. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Grosz, Christy (January 20, 2012). "Sound editors nominate films". Variety. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Tapley, Kristopher (January 2012). "13th Annual Golden Tomato Awards". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ March 15, 2016.
- ↑ Tapley, Kristopher (January 5, 2012). "'Descendants' Leads With Denver Critics Nods". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-15. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Marmaduke, Lauren (December 14, 2011). "The Houston Film Critics Society's Best (and Worst) of 2011". Houston Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Schillaci, Sophie (February 16, 2012). "Taylor Swift, Tim Tebow, Johnny Depp Land Nickelodeon Kids' Choice Award Noms". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Knegt, Peter (January 3, 2014). "'The Tree of Life' Leads Online Film Critics Society Awards". Indiewire. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Schillaci, Sophie (January 11, 2012). "People's Choice Awards: The Winners". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Kilday, Gregg (January 3, 2012). "Producers Guild Nominates 10 Movies From 'The Artist' to 'War Horse'". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Lodge, Guy (December 12, 2011). "'The Artist' (what else?) leads with 8 San Diego film critics nominations". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Lodge, Guy (December 2, 2011). "Satellite Award nominations topped by 'War Horse'... and 'Drive'". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Cornet, Roth (March 1, 2012). "Saturn nominees feature 'Captain America,' 'Harry Potter,' 'Hugo,' 'Ghost Protocol,' 'Super 8' and 'Tintin'". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-19. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Tapley, Kristopher (December 12, 2011). "'The Artist' and 'Drive' lead with St. Louis critics". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-15. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Rowles, Dustin (August 8, 2011). "The Teen Choice Awards and How Today's Teenagers Really Aren't That Much Dumber than Teenagers in 1992". Pajiba. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ Kilday, Gregg (January 9, 2012). "'The Adventures of Tintin' Earns Six Nominations From Visual Effects Society". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
- ↑ "'Iron Lady' and 'Kevin' Top Women Film Critics' Awards". Indiewire. December 19, 2011. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่March 2019
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับแพนด้า
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับนกกระเรียน
- ภาพยนตร์กังฟู
- ภาพยนตร์กังฟูแพนด้า
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในประเทศจีน
- กังฟูแพนด้า
- ภาพยนตร์แอนิเมชัน
- ภาพยนตร์แอนิเมชันอเมริกัน
- ภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันอเมริกัน
- ภาพยนตร์โดยดรีมเวิกส์แอนิเมชัน
- ภาพยนตร์โดยพาราเมาต์พิกเจอส์
- ภาพยนตร์แอนิเมชันพาราเมาต์พิกเจอส์
- แอนิเมชันตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากสื่ออนิเมะ
- ภาพยนตร์ภาคต่ออเมริกัน
- ภาพยนตร์ที่ประพันธ์ดนตรีโดยฮันส์ ซิมเมอร์
- ภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ
- ภาพยนตร์แอนิเมชันอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 2010
- ภาพยนตร์ที่ประพันธ์ดนตรีโดยจอห์น พาวเวลล์