ต้มยำกุ้ง 2
ต้มยำกุ้ง 2 | |
---|---|
![]() ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ปรัชญา ปิ่นแก้ว พันนา ฤทธิไกร |
อำนวยการสร้าง | สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ |
บทภาพยนตร์ | เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ |
เนื้อเรื่อง | เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ |
นักแสดงนำ | จา พนม ยีรัมย์ มาร์รีส ครัมพ์ จีจ้า ญาณิน หม่ำ จ๊กมก |
ดนตรีประกอบ | เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน[1] บริษัท ไอแอม เรคคอร์ด จำกัด |
กำกับภาพ | ธีระวัฒน์ รุจินธรรม[1] เฉลิม วงค์พิมพ์ |
ตัดต่อ | ริชรา พนมรัตน์[1] เฉลิม วงค์พิมพ์ วิชิต วัฒนานนท์ มานุส วรสิงห์ รัชพันธ์ พิศุทธิ์สินธพ |
บริษัทผู้สร้าง | บาแรมยู |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม |
วันฉาย | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
ความยาว | 103 นาที |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 12–15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
รายได้ | 3,336,421 ดอลลาร์สหรัฐ (ทั่วโลก) |
ก่อนหน้านี้ | ต้มยำกุ้ง |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ต้มยำกุ้ง 2 (อังกฤษ: Tom-Yum-Goong 2) เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของต้มยำกุ้ง ที่เคยจัดฉายครั้งแรกใน พ.ศ. 2548 โดยการสร้างในภาคต่อนี้ จะมีการนำนักแสดงอย่าง จา พนม ยีรัมย์, ญาณิน วิสมิตะนันทน์ มาร่วมแสดง ซึ่งถ่ายทำในระบบ 3 มิติ กำกับบทโดยปรัชญา ปิ่นแก้ว และกำกับฉากต่อสู้โดยพันนา ฤทธิไกร ส่วนเนื้อหาภาพยนตร์ชุดนี้ จะเป็นเรื่องราวที่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาคแรก กำหนดฉาย 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์ทำรายได้ในประเทศไทย 58.59 ล้านบาท
เรื่องย่อ[แก้]
เมื่อสาเหตุการฆาตกรรมของเสี่ยสุชาติเจ้าของปางช้างผู้กว้างขวาง คือการถูกกระแทกเข้าอย่างจังในจุดตาย 3 แห่งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อสู้ หลักฐานทั้งหมดบ่งชี้มัดตัว ไอ้ขาม (จา พนม ยีรัมย์) เนื่องจากเขาเป็นคนสุดท้ายที่ถูกพบอยู่ในที่เกิดเหตุกับผู้ตาย
เขาจึงต้องหลบหนีจากการจับกุม และการตามล่าเพื่อทวงแค้นจากหลานสาวฝาแฝดของเสี่ยสุชาติ ปิงปิง (จีจ้า ญาณิน) และซือซือ (ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ) แต่โชคยังเข้าข้างเมื่อระหว่างการหลบหนี ขามได้รับการช่วยเหลือจากจ่ามาร์ค (หม่ำ จ๊กมก) ตำรวจสากลที่ถูกส่งมาจากซิดนีย์เพื่อจัดการภารกิจบางอย่าง
ขามหนีการตามล่า พร้อมกับการตามหา ขอน ช้างตัวเดียวที่เป็นเสมือนทั้งเพื่อนและพี่น้อง ที่ถูกขโมยไปเมื่อหลายวันก่อน ยิ่งหนี ขาม ก็ยิ่งต้องเข้าไปพัวพันกับองค์กรลึกลับที่ถูกควบคุมด้วย แอลซี (ริซา) นายใหญ่ผู้คลั่งไคล้การสะสมนักสู้จากทั่วโลกอย่างลับๆ ทำให้เหล่านักสู้ที่ถูกตีตราด้วยตัวเลข ไม่ว่าจะเป็น ทเวนตี้ (รฐา โพธิ์งาม) หรือหมายเลขสอง (มาร์รีส ครัมพ์) ล้วนแต่มีเป้าหมายอยู่ที่การจัดการ ไอ้ขาม เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างของนายใหญ่
รายชื่อนักแสดง[แก้]
ภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง 2 | |
---|---|
รับบทเป็น | นักแสดงนำโดย |
ขาม / หมายเลข 01 | ทัชชกร ยีรัมย์ |
จ่ามาร์ด | เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา |
มิสเตอร์แอลซี / หมายเลข 00 | ริซา |
ทเวนตี้ / หมายเลข 20 | รฐา โพธิ์งาม |
ปิงปิง | จีจ้า ญาณิน |
ซือซือ | ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ |
หมายเลข 02 | มาร์รีส ครัมพ์ |
หมายเลข 18 | คาซู แพททริก แทงค์ |
หมายเลข 24 | เดวิด อิสมาโลน |
หมายเลข 85 | จาเวด ฮัค เบอร์นี่ |
บิ๊กจ๊อบ / หมายเลข 13 | กัลป์ หงษ์รัตนาภรณ์ |
หมายเลข 14 | บุญส่ง นาคภู่ |
หมายเลข 45 | โสภณ พลูสวัสดิ์ |
รับบทเป็น | นักแสดงรับเชิญ |
พ่อของขาม | โสรธร รุ่งเรือง |
กูเกิ้ล | จรัสพงษ์ สุรัสวดี |
เจ้าหน้าที่นิติเวช | ทศพล ศิริวิวัฒน์ |
เบญจพร ปัญญายิ่ง | |
เสี่ยสุชาติ | อดินันท์ บุญธนพร |
เสี่ยอ้วน | พิชัย พิพัฒฐาดร |
ท่านนายพล | ฮิ้วจ์ บรามเมอร์ |
ท่านรอง | เจมส์ พอล มอร์ริสซี่ |
การสร้าง[แก้]
ต้มยำกุ้ง 2 เริ่มการสร้างขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554[3] บทภาพยนตร์โดยเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีผลงานบทภาพยนตร์ไทยอย่าง13 เกมสยอง (พ.ศ. 2549), บอดี้ ศพ*19 (พ.ศ. 2550) และทองสุก 13 (พ.ศ. 2556)[4]
ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการถ่ายทำในระบบ 3 มิติ และกำกับฉากต่อสู้โดยวีระพล ภูมาตย์ฝน กับสมใจ จันทร์มูลตรี[3]
การเผยแพร่[แก้]
ต้มยำกุ้ง 2 เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556[1] ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวที่อันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิศในประเทศไทย โดยทำรายได้ 684,406 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสุดสัปดาห์ของการเปืดตัว[5] ซึ่งทำรายได้รวม 1,776,546 ดอลลาร์สหรัฐในประเทศไทย[6] และทำรายได้ทั่วโลก 3,302,463 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
รางวัลในประเทศไทย[แก้]
ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัล
ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผล |
---|---|---|
รางวัลสุพรรณหงส์ | บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม
(ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา) |
ได้รับรางวัล |
เทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม
(บริษัท เซอร์เรียล สตูดิโอ จำกัด) |
ได้รับรางวัล |
การตอบรับ[แก้]
นิตยสารฟิล์มบิสิเนสเอเชีย ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ 7 เต็ม 10 โดยระบุว่า "การดำเนินเรื่องมาอย่างรวดเร็วและดุเดือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบทแสดงให้เห็นถึงการเสแสร้งใด ๆ ที่มีการเชื่อมโยงกันในช่วงครึ่งทาง ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ จาละทิ้งการอ้างสิทธิ์ตามปกติของเขาที่มีชื่อเสียงในการไม่ใช้ลวดสลิง หรือวิชวลเอฟเฟกต์ และภาพยนตร์เรื่องนี้มีน้ำหนักเบากว่าในแนวมาโซคิสม์ที่แทรกซึมอยู่ในงานส่วนใหญ่ของเขา"[1] ส่วนหนังสือพิมพ์เซาธ์ไชนามอร์นิงโพสต์ ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ 3 เต็ม 5 โดยระบุว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ "เอาชนะฉากที่ยุ่งยากและซับซ้อน และ 3 มิติที่ไม่น่าประทับใจเพื่อมอบความตื่นเต้นที่จำเป็น"[8] ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเมทาสกอร์ที่ 45/100 โดยอิงจากนักวิจารณ์ 10 คนที่เมทาคริติก[9]
เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]
- ของรักของหวง ขับร้องโดย เก่ง ธชย
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Elley, Derek (31 January 2004). "Tom Yum Goong 2". Film Business Asia. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 21 February 2014. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ Frater, Patrick (13 May 2011). "Sahamongkol launches Cannes trio". Film Business Asia. สืบค้นเมื่อ 8 February 2014.
- ↑ 3.0 3.1 [1], twitchfilm.com วันที่สืบค้น 2011-08-20
- ↑ Cremin, Stephan; Ma, Kevin (November 6, 2013). "Hot Asian genre films at AFM". Film Business Asia. สืบค้นเมื่อ February 7, 2014.
- ↑ "Thailand Box Office". Box Office Mojo. International Movie Database. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
- ↑ "Tom Yung Gong 2 (The Protector 2)". Box Office Mojo. International Movie Database. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
- ↑ "The Protector 2". boxofficemojo.com. สืบค้นเมื่อ 30 July 2014.
- ↑ Sun, Andrew. "Film review: Requisite thrills in Tom Yum Goong sequel". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
- ↑ The Protector 2, metacritic.com