ฌอน คอนเนอรี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ฌอน คอนเนอรี | |
---|---|
คอนเนอรี ในปี ค.ศ. 1983 | |
เกิด | โธมัส คอนเนอรี 25 สิงหาคม ค.ศ. 1930 เอดินเบอระ, สกอตแลนด์ |
เสียชีวิต | 31 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ลีฟอร์ดเคย์, แนสซอ, บาฮามาส | (90 ปี)
สุสาน | เผาศพ, ขี้เถ้ากระจัดกระจายในสกอตแลนด์[1] |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน |
|
ผลงาน | รายชื่อทั้งหมด |
คู่สมรส |
|
บุตร | เจสัน คอนเนอรี |
ญาติ | นีล คอนเนอรี (น้องชาย) |
เว็บไซต์ | https://www.seanconnery.com/ |
ลายมือชื่อ | |
เซอร์ ฌอน คอนเนอรี (อังกฤษ: Sir Sean Connery) (ชื่อเกิด โธมัส คอนเนอรี (อังกฤษ: Thomas Connery); 25 สิงหาคม ค.ศ. 1930 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 2020) เป็นนักแสดงชาวสกอต เขาเป็นนักแสดงคนแรกที่ได้แสดงเป็นสายลับอังกฤษ เจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ โดยเขาแสดงในภาพยนตร์บอนด์ทั้งหมดเจ็ดเรื่อง ระหว่างปี ค.ศ. 1962 ถึง 1983[2][3][4] บทบาทบอนด์ของเขาเริ่มต้นในภาพยนตร์ พยัคฆ์ร้าย 007 และในภาพยนตร์บอนด์ของอีออนโปรดักชันส์อีกหกเรื่อง เขาแสดงเป็นบอนด์ครั้งสุดท้ายใน พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ ที่อำนวยการสร้างโดย แจ็ก ชวร์ตซ์เมน
คอนเนอรีเริ่มต้นการแสดงในโรงละครขนาดเล็กและรายการโทรทัศน์ จนกระทั่งเขาได้รับบทบอนด์ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้รับความสนใจจากนอกจอต่อบทบาทที่เขาแสดงก็ตาม แต่ความสำเร็จของภาพยนตร์บอนด์ทำให้คอนเนอรีได้รับข้อเสนอจากผู้กำกับที่มีชื่อเสียง เช่น อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก, ซิดนีย์ ลูเมต และ จอห์น ฮิวส์ตัน โดยคอนเนอรีปรากฏตัวในภาพยนตร์ของพวกเขา ได้แก่ มาร์นี่ พิศวาสโจรสาว (1964), เดอะฮิลล์ (1965), รถด่วนอันตราย (1974) และ สมบัติมหาราช (1975) เขายังปรากฏใน สะพานนรก (1977), ล่าข้ามศตวรรษ (1986), เดอะเนมออฟเดอะโรส (1986), เจ้าพ่ออัลคาโปน (1987), ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 3 ตอน ศึกอภินิหารครูเสด (1989), ล่าตุลาแดง (1990), ดราก้อน ฮาร์ท (1996), เดอะ ร็อก ยึดนรกป้อมมหากาฬ (1996) และ ไฟน์ดิ้ง ฟอร์เรสเตอร์ ทางชีวิต รอใจค้นพบ (2000) คอนเนอรีเกษียณจากการแสดงอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2006 ถึงแม้ว่าเขาจะกลับมารับบทบาทพากย์เสียงในปี ค.ศ. 2012
ความสำเร็จของเขาในภาพยนตร์ ทำให้เขาได้รับรางวัลออสการ์, รางวัลแบฟตา สองรางวัล (รวมถึงรางวัลแบฟตาเฟลโลว์ชิป) และรางวัลลูกโลกทองคำ สามรางวัล เช่น รางวัลซีซิล บี. เดอมิลล์และรางวัลเฮนรีอาตา ในปี ค.ศ. 1987 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการของ เครื่องอิสริยาภรณ์ของศิลปะและจดหมาย ในฝรั่งเศส และเขาได้รับรางวัลความสำเร็จตลอดชีวิตจาก เคนเนดีเซนเตอร์ออเนอส์ ของสหรัฐในปี ค.ศ. 1999 คอนเนอรีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินใน 2000 นิวเยียร์ออเนอส์ สำหรับการทำงานให้กับภาพยนตร์[5]
จากผลสำรวจโดย ซันเดย์เฮรัลด์ ของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2004 ยอมรับคอนเนอรีว่าเป็น "ชาวสกอตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"[6] และจากผลสำรวจโดย ยูโรมิลเลียนส์ ตั้งชื่อเขา "สมบัติประจำชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์"[7] เขาได้รับการโหวตจากนิตยสาร พีเพิล ให้เป็น "ผู้ชายที่เซ็กซีที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่" ในปี ค.ศ. 1989 และ "ชายที่เซ็กซีที่สุดแห่งศตวรรษ" ในปี ค.ศ. 1999[8]
วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2020 มีรายงานว่าฌอน คอนเนอรีเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านในกรุงแนสซอ ประเทศบาฮามาส ขณะอายุได้ 90 ปี[9]
ผลงาน
[แก้]ชื่อเรื่อง | ปีที่ฉาย |
Darby O'Gill and the Little People | ค.ศ. 1959 |
The Frightened City | ค.ศ. 1961 |
The Longest Day | ค.ศ. 1962 |
Dr.No | ค.ศ. 1962 |
From Russia With Love | ค.ศ. 1963 |
Goldfinger | ค.ศ. 1964 |
Woman of Straw | ค.ศ. 1964 |
Marnie | ค.ศ. 1964 |
Thunderball | ค.ศ. 1965 |
The Hill | ค.ศ. 1965 |
A Fine Madness | ค.ศ. 1966 |
You Only Live Twice | ค.ศ. 1967 |
Shalako | ค.ศ. 1968 |
The Molly Maguires | ค.ศ. 1970 |
The Anderson Tapes | ค.ศ. 1971 |
Diamonds Are Forever | ค.ศ. 1971 |
The Offence | ค.ศ. 1972 |
Zardoz | ค.ศ. 1973 |
Murder on the Orient Express | ค.ศ. 1974 |
The Man Who Would Be King | ค.ศ. 1975 |
The Wind and the Lion | ค.ศ. 1975 |
Robin and Marian | ค.ศ. 1976 |
A Bridge Too Far | ค.ศ. 1977 |
Outland | ค.ศ. 1981 |
Never Say Never Again | ค.ศ. 1983 |
The Name of the Rose | ค.ศ. 1986 |
Highlander | ค.ศ. 1986 |
The Untouchables | ค.ศ. 1987 |
The Presidio | ค.ศ. 1988 |
Indiana Jones and the Last Crusade | ค.ศ. 1989 |
The Hunt for Red October | ค.ศ. 1990 |
Medicine Man | ค.ศ. 1992 |
Rising Sun | ค.ศ. 1993 |
Just Cause | ค.ศ. 1995 |
Dragonheart | ค.ศ. 1996 |
The Rock | ค.ศ. 1996 |
The Avengers | ค.ศ. 1998 |
Entrapment | ค.ศ. 1999 |
Finding Forrester | ค.ศ. 2000 |
The League of Extraordinary Gentlemen | ค.ศ. 2003 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ashes of Sir Sean Connery to be scattered on Scots…". bunkered.co.uk. 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
- ↑ Harmetz, Aljean (31 October 2020). "Sean Connery, Who Embodied James Bond and More, Dies at 90". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
- ↑ Shapiro, T. Rees (31 October 2020). "Sean Connery, first James Bond of film, dies at 90". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
- ↑ "Profile: Sean Connery". BBC News. 12 March 2006. สืบค้นเมื่อ 19 March 2007.
- ↑ "Sir Sean's pride at knighthood". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
- ↑ Flockhart, Susan (25 January 2004). "Would The Greatest Living Scot Please Stand Up?; Here they are". Sunday Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016 – โดยทาง HighBeam Research.
- ↑ "Sir Sean Connery named Scotland's greatest living treasure". STV News. 25 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
- ↑ "Sexy Celebrity Pictures". CBS News. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018.
- ↑ "Sean Connery, Who Embodied James Bond and More, Dies at 90". The New York Times. 31 October 2020.