แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | เดวิด เยตส์ |
เขียนบท | จากนิยายของ เจ.เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนบท สตีฟ โคล์ฟส์ |
อำนวยการสร้าง | เดวิด เฮย์แมน เดวิด แบร์รอน |
นักแสดงนำ | แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ เอ็มม่า วัตสัน |
กำกับภาพ | เอเดอราโด เซอร่า |
ตัดต่อ | มาร์ค เดย์ |
ผู้จัดจำหน่าย | วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส |
วันฉาย |
ลอนดอน
สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา |
ความยาว | 130 นาที |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมกับภาค 1)[1] |
ทำเงิน | 1.342 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ [2] |
ก่อนหน้านี้ | แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 (อังกฤษ: Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2) เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อในปี พ.ศ. 2554 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิ่ง อันเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์
การถ่ายฉากตัวเอกภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และเสร็จสิ้นในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553[3] โดยวันสุดท้ายของการถ่ายใหม่มีขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 อันเป็นการปิดภาพยนตร์ที่ดำเนินการถ่ายทำมาตลอดสิบปี[4] ภาค 2 ออกฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ 2 มิติ และ 3 มิติ ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นอกจากนี้ยังมีการฉายในโรงภาพยนตร์ไอแม็กซ์นับแต่วันเดียวกันด้วย
ภาพยนตร์เปิดตัวด้วยการยกย่องสนับสนุนทันที และปัจจุบันกำลังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงตอบรับดีที่สุดในปี พ.ศ. 2554[5][6] ในบ็อกซ์ออฟฟิศ ภาค 2 กำลังทำลายสถิติในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมทั้งภาพยนตร์ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดตลอดกาลที่ 43.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] ในวันเปิดตัวที่ 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] และในสัปดาห์เปิดตัวที่ 169.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] นอกจากนี้ยังได้ทำลายสถิติสัปดาห์เปิดตัวทั่วโลก เช่นเดียวกับสถิติวันเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและอีกหลายประเทศ[10] อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ชุดเดียวในชุดแฮรี่ พอตเตอร์ที่ทำรายได้เกิน 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นลำดับที่ 3 จึงนับได้ว่า ภาพยนตร์ตอนดังกล่าวประสบความสำเร็จในด้านรายได้และการเปิดตัวที่สุดในบรรดาภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์
เนื้อเรื่องย่อ
[แก้]เนื้อเรื่องของภาค 2 จะดำเนินเรื่องต่อจากภาคที่ 1 หลังจากที่พวกแฮร์รี่ออกเดินทางตามหาฮอร์ครักซ์ ชิ้นส่วนวิญญาณของโวลเดอมอร์ที่มีทั้งหมด 7 ชิ้น และสามารถค้นพบและทำลายลงได้ โดยยังเหลือฮอร์ครักซ์ที่ยังไม่ถูกทำลายอยู่ 4 ชิ้น แต่สุดท้ายพวกแฮร์รี่กลับถูกผู้เสพความตายจับแต่ก็สามารถเอาหนีรอดมาได้ โดยการสละชีวิตของด๊อบบี้ แฮร์รี่ล่วงรู้ถึงนัยยะสำคัญเกี่ยวกับฮอร์ครักซ์อีกชิ้นหนึ่งที่เขาคาดว่าถูกซ่อนไว้ในธนาคารกริงกอตส์ ธนาคารที่มีด่านป้องกันแน่นหนาที่สุด พวกแฮร์รี่จึงวางแผนบุกเข้าไปเพื่อขโมยฮอร์ครักซ์ ในขณะเดียวกันโวลเดอมอร์ล่วงรู้ว่าพวกแฮร์รี่กำลังตามล่าหาฮอร์ครักซ์อยู่ จึงยกกองทัพเหล่าผู้เสพความตายเข้าปิดล้อมฮอกวอตส์ ที่ที่เขาซ่อนฮอร์ครักซ์อีกชิ้นไว้ เพื่อดักรอแฮร์รี่ และครั้งนี้ไม่มีทางที่แฮร์รี่จะถอยอีกต่อไป เขาเลือกที่จะเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ พร้อมด้วยกองทัพแห่งฮอกวอตส์และเหล่าผู้เสพความตาย ศึกครั้งนี้จึงเป็นศึกสุดท้ายที่มีโลกเวทมนตร์และโลกมนุษย์เป็นเดิมพัน
นักแสดง
[แก้]- แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รับบทเป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์
- รูเพิร์ต กรินต์ รับบทเป็น รอน วีสลีย์
- เอ็มมา วัตสัน รับบทเป็น เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์
- เรล์ฟ ไฟนส์ รับบทเป็น ลอร์ดโวลเดอมอร์
- บอนนี่ ไรท์ รับบทเป็น จินนี่ วีสลีย์
- เฮเลน่า บอนแฮม คาร์เตอร์ รับบทเป็น เบลลาทริกซ์ เลสแตรงจ์
- ร็อบบี้ โคลทราน รับบทเป็น รูเบอัส แฮกริด
- วอร์วิค เดวิส รับบทเป็น ฟิลิอัส ฟลิตวิก
- ทอม เฟลตัน รับบทเป็น เดรโก มัลฟอย
- ไมเคิล แกมบอน รับบทเป็น อัลบัส ดัมเบิลดอร์
- จอห์น เฮิร์ท รับบทเป็น การ์ริค โอลลิแวนเดอร์
- เจสัน ไอแซ็กส์ รับบทเป็น ลูเซียส มัลฟอย
- แกรี โอลด์แมน รับบทเป็น ซิเรียส แบล็ก
- อลัน ริคแมน รับบทเป็น เซเวอร์รัส สเนป
- แมกกี้ สมิธ รับบทเป็น มิเนอร์ว่า มักกอนนากัล
- เดวิด ธิวลิส รับบทเป็น รีมัส ลูปิน
- จูลี่ วอลเตอร์ส รับบทเป็น มอลลี่ วีสลีย์
การจัดสร้าง
[แก้]ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน เข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในอเมริกา ส่วนในประเทศไทยจะฉายในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และภาพยนตร์จะเข้าฉายในระบบสามมิติ ดิจิตอลสามมิติ และไอแมกซ์สามมิติ อีกด้วย
การเปิดตัว
[แก้]ภาพยนตร์ดังกล่าวออกฉายรอบปฐมทัศน์ทั่วโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในจัตุรัสทรากัลฟาร์ในกรุงลอนดอน รอบปฐมทัศน์ในสหรัฐอเมริกาจัดขึ้นในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[11] ออกฉายในคูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในวันที่ 12 กรกฎาคม ในออสเตรเลีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย แอฟริกาใต้และอีกปลายประเทศในวันที่ 13 กรกฎาคม ในสหราชอาณาจักรและเปอร์โตริโกในวันที่ 14 กรกฎาคม และสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในวันที่ 15 กรกฎาคม ถึงแม้ว่าจะถ่ายทำในระบบ 2 มิติ แต่ภาพยนตร์ถูกแปลงเป็น 3 มิติในขั้นตอนหลังการผลิต และออกฉายทั้งในระบบเรียลดี 3ดี และไอแม็กซ์ 3ดี
เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 15 กรกฎาคม ภาค 2 ออกฉายในโรงภาพยนตร์ 3,800 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา มีการออกฉายในโรงภาพยนตร์ 4,375 แห่ง โรงภาพยนตร์สามมิติ 3,000 แห่ง และโรงภาพยนตร์ไอแม็กซ์ 274 แห่ง นับเป็นการออกฉายในระบบไอแม็กซ์ 3ดี ที่กว้างขวางที่สุด และเป็นภาพยนตร์ในซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ได้รับการฉายอย่างกว้างขวางที่สุดด้วยเช่นกัน[12]
บ็อกซ์ออฟฟิศ
[แก้]จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม ภาพยนตร์ทำรายได้ 187,232,508 ดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และ 355,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดระหว่างประเทศ ทำให้ภาพยนตร์มีรายได้รวมทั่วโลก 542,232,508 ดอลลาร์สหรัฐ ภาค 2 ทำรายได้ทำลายสถิติ 481.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกในสัปดาห์เปิดตัว ทำลายสถิติเดิมของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เมื่อปี พ.ศ. 2552 (394 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] หลังจากออกฉายทั่วโลกเป็นเวลาเพียงหกวัน ภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ทะลุ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้เร็วที่สุด ทำลายสถิตินานเก้าวันที่ทำไว้สองสัปดาห์ที่แล้วโดย ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส 3[14]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ทำลายสถิติรายได้ในวันเปิดตัวใน 26 ประเทศ ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยทำรายได้ 43.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่ารายได้เปิดตัวของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 86% และรายได้เปิดตัวของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม 49% ภาพยนตร์ยังได้ทำลายสถิติรายได้ในวันเปิดตัวในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย (7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), นิวซีแลนด์, อิตาลี (4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), สวีเดน (2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), นอร์เวย์ (1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), เดนมาร์ก (1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), เนเธอร์แลนด์ (1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), เบลเยียม (1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), สาธารณรัฐเช็ก (2.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), ฟินแลนด์ (749,000 ดอลลาร์สหรัฐ), สหราชอาณาจักร (14.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), เม็กซิโก (6.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และฮ่องกง (808,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[15][16][17] นอกจากนี้ยังได้สร้างสถิติแฮร์รี่ พอตเตอร์ใหม่ในญี่ปุ่น (5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), บราซิล (4.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), สเปน (3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และโปแลนด์ (1.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[18] ด้วยรายได้ในสัปดาห์เปิดตัวในต่างประเทศที่ 312.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ภาค 2 ทำลายสถิติเดิมที่เป็นของผจญภัยล่าสายน้ำอมฤตสุดขอบโลก (262 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] ในสหราชอาณาจักร ภาพยนตร์ทำรายได้ 36.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ทำรายได้สามวันมากที่สุดและภาพยนตร์ทำรายได้วันเดียวสูงสุด ในออสเตรเลีย ภาพยนตร์สร้างรายได้ 26.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโรงภาพยนตร์ 754 แห่ง นับเป็นภาพยนตร์ทำรายได้ในสัปดาห์เปิดตัวมากที่สุดและเป็นภาพยนตร์เพียงเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบันที่ทำรายได้แตะระดับ 20,000,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลียภายในเวลาเพียงสี่วัน ทั้งในบราซิลและสแกนดิเนเวีย ภาค 2 ทำลายสถิติรายได้สัปดาห์เปิดตัวตลอดกาลด้วยรายได้ 11.0 และ 18.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ ขณะที่ในรัสเซีย ภาพยนตร์ทำรายได้ 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำลายสถิติรายได้สูงสุดในสัปดาห์เปิดตัวของวอร์เนอร์บราเธอร์สตลอดกาล และภาพยนตร์ทำรายได้มากที่สุดในสัปดาห์เปิดตัวเป็นอันดับสามในปี พ.ศ. 2554[16] ส่วนแบ่งการตลาด 3ดี โดยเฉลี่ยของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 อยู่ที่ 60% ซึ่งต่ำกว่าส่วนแบ่งการตลาด 3ดี ของทรานส์ฟอร์เมอร์ 3 (70%) และผจญภัยล่าสายน้ำอมฤตสุดขอบโลก (66%)
ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ภาพยนตร์ทำสถิติรายได้รวมมาจากการขายตั๋วล่วงหน้า 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[19][20] ภาค 2 กลายมาเป็นภาพยนตร์ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดตลอดกาลที่ 43.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำลายสถิติเดิมที่ทำไว้โดยแวมไพร์ ทไวไลท์ 3 อีคลิปส์ (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[7] ในปี พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ยังได้ทำลายสถิติทำรายได้สุงสุดในการเปิดตัวระบบไอแม็กซ์ที่ทำไว้โดยแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 โดยทำรายได้ได้ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] ในวันเปิดตัว ภาพยนตร์ทำลายสถิติ 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นสถิติทำรายได้สูงสุดในการเปิดตัวตลอดกาล ทำรายได้ในวันเดียวสูงสุดตลอดกาล ซึ่งทั้งสองเคยเป็นของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน (72.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[8] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ทำรายได้ 169.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์เปิดตัว แซงหน้าแบทแมน อัศวินรัตติกาล (158.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดในสัปดาห์เปิดตัวในประวัติศาสตร์บ็อกซ์ออฟฟิศ[9][21] ถึงแม้ว่าระบบ 3ดี จะเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ แต่มีรายได้เปิดตัวเพียง 43% มาจากภาพยนตร์ 3ดี[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16. สืบค้นเมื่อ 2016-05-22.
- ↑ "Harry Potter and the Deathly Hallows Part 2 (2011)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
- ↑ Schwartz, Alison (14 June 2010). "Daniel Radcliffe Calls Wrapping Up Harry Potter Devastating". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-08. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
- ↑ Magrath, Andrea (9 December 2010). "Better get to the wig store! Emma Watson and Harry Potter co-stars to re-shoot crucial final Deathly Hallows scenes". Daily Mail. UK. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
- ↑ "Top Movies of 2011". Rotten Tomatoes. 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ "Movie Releases by Score". Metacritic. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-01. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ 7.0 7.1 McClintock, Pamela (15 July 2011). "Box Office Report: 'Harry Potter' Headed for Record-Breaking $80 Million-Plus Friday". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ 8.0 8.1 Gray, Brandon (16 July 2011). "Friday Report: 'Harry Potter' Conjures Opening Day Record". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 McClintock, Pamela (17 July 2011). "Box Office Report: 'Harry Potter' Grosses All-Time Domestic Best of $168.6 Million". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ "Biggest Opening Weekends at the Box Office". 2011. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
- ↑ SchwartPhillips, jevon (1 March 2011). "World premiere for 'Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2′ set for July 7". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
- ↑ Final Harry Potter Already Wrecking Records. Retrieved 13 July 2011.
- ↑ 13.0 13.1 McClintock, Pamela (17 July 2011). "Box Office Report: 'Harry Potter' Nabs a Record-Breaking $476 Mil in Worldwide Debut". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
- ↑ http://boxofficemojo.com/news/?id=3213&p=.htm
- ↑ Chu, Karen (18 July 2011). "'Harry Potter' Breaks Hong Kong Record But 'Transformers' Stands Tall". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Final Figures: 'Harry Potter And The Deathly Hallows: Part II' Opens To $481.5 Million Worldwide". Boxoffice Media. 18 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
- ↑ Zemanova, Irena (18 July 2011). "Poslední Potter otřásl historickými žebříčky. Rekordní je i v Česku" (ภาษาเช็ก). ihned.cz. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
- ↑ Subers, Ray (13 July 2011). "'Potter' Targets Foreign Opening Record". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
- ↑ "'Harry Potter' Already Breaking Records". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
- ↑ "Magic! 'Potter' finale breaks midnight box-office record". msnbc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
- ↑ "'Harry Potter' makes box-office magic". Los Angeles Times. 18 May 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 ที่ออลมูวี
- Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 ที่รอตเทนโทเมโทส์
- Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ
- Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 เก็บถาวร 2012-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at The Numbers
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554
- Rotten Tomatoes ID ต่างจากในวิกิสนเทศ
- Rotten Tomatoes template using name parameter
- แฮร์รี่ พอตเตอร์
- ภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยาย
- ภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย เดวิด เยตส์
- ภาพยนตร์ภาคต่อ
- ภาพยนตร์อังกฤษ
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศอังกฤษ08
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในลอนดอน08
- ภาพยนตร์ภาคต่ออเมริกัน
- ภาพยนตร์โดยเฮย์เดย์ฟิล์มส์