พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก | |
---|---|
กำกับ | มาร์ติน แคมป์เบลล์ |
บทภาพยนตร์ | |
เนื้อเรื่อง | ไมเคิล แฟรนซ์ |
สร้างจาก | เจมส์ บอนด์ โดย เอียน เฟลมมิง |
อำนวยการสร้าง | |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ฟิล เมฮิวซ์ |
ตัดต่อ | เทอร์รี รอว์ลิงส์ |
ดนตรีประกอบ | เอริก เซรา |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย |
|
วันฉาย |
|
ความยาว | 130 นาที |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร[1] สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ รัสเซีย สเปน |
ทุนสร้าง | 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 352.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก (อังกฤษ: GoldenEye) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับฉายเมื่อปี ค.ศ. 1995 เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สิบเจ็ดใน ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ แสดงนำโดย เพียร์ซ บรอสแนน รับบทเป็น เจมส์ บอนด์ สายลับเอ็มไอ6 ครั้งแรก กำกับโดย มาร์ติน แคมป์เบลล์ และเป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรกที่ไม่ได้นำองค์ประกอบเนื้อเรื่องใด ๆ จากนวนิยายของเอียน เฟลมมิงมาดัดแปลง[3] เนื้อเรื่องของภาพยนตร์คิดค้นและเขียนบทโดย ไมเคิล แฟรนซ์ ซึ่งต่อมาบทภาพยนตร์ถูกเขียนเพิ่มเติมโดยเจฟฟรี เคนและบรูซ เฟียร์สตีน ในภาพยนตร์ บอนด์ต้องต่อสู้อดีตสายลับเอ็มไอ6 เพื่อหยุดยั้งการใช้อาวุธดาวเทียมโจมตีลอนดอน ซึ่งจะทำให้เกิดการล่มสลายทางการเงินทั่วโลก
ภาพยนตร์วางจำหน่ายหลังเว้นช่วงไปหกปี เนื่องจากเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ทิโมธี ดาลตัน ลาออกจากบทบาท เจมส์ บอนด์ และถูกแทนที่โดย เพียร์ซ บรอสแนน ตัวละคร เอ็ม มีการคัดเลือกนักแสดงใหม่ โดย จูดี เดนช์ เป็นผู้หญิงคนแรกที่แสดงเป็นตัวละครดังกล่าว แทนที่ โรเบิร์ต บราวน์ บทของมิสมันนีเพนนีได้รับการคัดเลือกนักแสดงใหม่เช่นกัน โดยมี ซาแมนทา บอนด์ แทนที่ แคโรไลน์ บลิสส์ ส่วน เดสมอนด์ เลเวลีน เป็นนักแสดงคนเดียวที่กลับมารับบทเดิมของเขาเป็น คิว พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น ซึ่งเป็นเบื้องหลังในเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ภาพยนตร์ถ่ายทำที่ประเทศสหราชอาณาจักร, รัสเซีย, แขวงมงเต-การ์โลและปวยร์โตรีโก เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำใน ลีฟส์เดนสตูดิโอส์ เป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรกที่ใช้ภาพสร้างจากคอมพิวเตอร์ และเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ เดเรก เมดดิงส์ หัวหน้างานเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์
ภาพยนตร์ทำเงินมากกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ทำเงินมากกว่าภาพยนตร์บอนด์ที่แสดงโดยดาลตัน โดยไม่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ[4] ภาพยนตร์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ โดยนักวิจารณ์มองว่าบรอสแนนเป็นบอนด์ที่มีพัฒนาการดีกว่าบอนด์ในภาพยนตร์ก่อนหน้านี้[5][6][7] ภาพยนตร์ได้รับเสนอชื่อเข้าชิงในรางวัลแบฟตา สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยมและสาขาเสียงยอดเยี่ยม[8]
ชื่อ "โกลเดนอาย (GoldenEye)" เป็นการคารวะ เอียน เฟลมมิง ผู้สร้างเจมส์ บอนด์ ขณะทำงานให้กับหน่วยสืบราชการลับของกองทัพเรืออังกฤษ ยศนาวาตรี เฟลมมิงติดต่อประสานงานกับกองข่าวกรองกองทัพเรือ เพื่อติดตามการพัฒนาในสเปนหลังสงครามกลางเมืองสเปน ในชื่อ ปฏิบัติการโกลเดนอาย เฟลมมิงใช้ชื่อนี้เป็นคฤหาสน์ของเขาใน โอรากาเบสซา, จาเมกา
โครงเรื่อง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1986 สายลับเอ็มไอ6 เจมส์ บอนด์และอเล็ก เทอร์เวเลียน แทรกซึมเข้าไปในโรงงานผลิตอาวุธเคมีของสหภาพโซเวียตในอาร์กฮังเกล ในขณะที่เทอร์เวเลียนถูกจับและฆ่าโดย พันเอก อาร์กาดี กริโกโรวิช อูรูมอฟ ผู้บัญชาการของโรงงาน บอนด์จัดการทำลายโรงงาน ก่อนที่เขาจะหลบหนีได้สำเร็จ
เก้าปีต่อมา หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต บอนด์พยายามหยุดยั้ง ซีเนีย ออนาทอปป์ สมาชิกขององค์กรอาชญากรรมยานัส จากการขโมย ยูโรคอปเตอร์ ไทเกอร์ เฮลิคอปเตอร์จู่โจม ขณะที่กำลังสาธิตทางทหารใน มงเต-การ์โล แต่ไม่สำเร็จ บอนด์เดินทางกลับไปที่ลอนดอน เจ้าหน้าที่เอ็มไอ6 ตรวจพบสัญญาณขอความช่วยเหลือจากสถานีวิทยุร้างใน ซีเวอร์นายา, ไซบีเรีย บอนด์พบเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกขโมย ปรากฏอยู่ที่นั่น ต่อมา เกิดระเบิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สถานที่ดังกล่าว, เครื่องบินรบรัสเซียและระบบดาวเทียมทั้งหมดในวงโคจรด้านบนถูกทำลาย
นักแสดง
[แก้]- เพียร์ซ บรอสแนน เป็น เจมส์ บอนด์ (007): เจ้าหน้าที่เอ็มไอ6 ได้รับมอบหมายให้หยุดองค์กรอาชญากรรมยานัสจากการควบคุมของ "โกลเดนอาย" อาวุธดาวเทียมลับที่ออกแบบและปล่อยโดยโซเวียตในช่วงสงครามเย็น
- ฌอน บีน เป็น อเล็ก เทอร์เวเลียน (006) / ยานัส: เริ่มแรกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ดับเบิลโออีกคนหนึ่งและเพื่อนของบอนด์ เขาแกล้งตายที่อาร์กฮังเกลและได้ก่อตั้งองค์กรอาชญากรรมยานัสในช่วงเก้าปีถัดมา
- อิซาเบลลา สโกรุปโก เป็น นาตาเลีย ซิมาโนวา: ผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวและเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ของการโจมตีด้วยโกลเดนอายในศูนย์ควบคุมของตัวเองที่ซีเวอร์นายา เธอเป็นโปรแกรมเมอร์ฝีมือดีและช่วยเหลือบอนด์ในภารกิจของเขา
- ฟัมเกอ ยันส์เซิน เป็น ซีเนีย ออนาทอปป์: นักบินเครื่องบินขับไล่ชาวจอร์เจียและสมุนหญิงของเทอร์เวเลียน เธอเป็นฆาตกรหื่นซาดิสต์ ที่สนุกกับการทรมานศัตรูด้วยการบดขยี้พวกเขาระหว่างต้นขาของเธอ
- โจ ดอน เบเกอร์ เป็น แจ็ก เวด: เจ้าหน้าที่ซีไอเอผู้มีประสบการณ์ ทำภารกิจเดียวกับบอนด์
- จูดี เดนช์ เป็น เอ็ม: หัวหน้าเอ็มไอ6 และผู้บังคับบัญชาของบอนด์
- กอตต์ฟรีด จอห์น เป็น พันเอก/นายพล อาร์กาดี กริโกโรวิช อูรูมอฟ: วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต, ผู้บัญชาการกองอวกาศของรัสเซีย, เป็นสายลับของยานัส ผู้ที่ใช้อำนาจและตำแหน่งในทางมิชอบ ในการควบคุมโกลเดนอาย
- รอบบี โคลเทรน เป็น วาเลนทีน ดมิตโตรวิช ซูกอฟสกี: นักเลงชาวรัสเซียและอดีตเจ้าหน้าที่เคจีบี ผู้ที่จัดการให้บอนด์ได้พบกับยานัส (เทอร์เวเลียน)
- แอลัน คัมมิง เป็น บอริส กริเชงโก: โปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ที่ซีเวอร์นายา และกลายเป็นพวกเดียวกับยานัส
- ชิกกี การ์โย เป็น รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ดมิทรี มิชกิน
- เดสมอนด์ เลเวลีน เป็น คิว: หัวหน้าแผนกคิว (วิจัยและพัฒนา) ของ ราชการข่าวกรองลับอังกฤษ เลเวลีนและโจ ดอน เบเกอร์ เป็นนักแสดงสองคนที่ปรากฏตัวใน 007 พยัคฆ์สะบัดลาย ภาพยนตร์บอนด์ก่อนหน้านี้ เลเวลีนแสดงเป็นคิวในภาพยนตร์บอนด์ทุกเรื่อง ยกเว้น พยัคฆ์ร้าย 007 และ พยัคฆ์มฤตยู 007 จนกระทั่งเขาเสียชีวิต
- ซาแมนทา บอนด์ เป็น มิสมันนีเพนนี: เลขานุการของเอ็ม ซาแมนทา บอนด์รับบทเป็นมันนีเพนนีครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่องนี้ จากทั้งหมดสี่ครั้งของเธอ
- ไมเคิล คิตเชน เป็น บิลล์ แทนเนอร์: เสนาธิการของเอ็ม
- บิลลี เจ. มิตเชลล์ เป็น พลเรือเอก ชัก ฟาร์เรลล์: เจ้าหน้าที่กองทัพเรือชาวแคนาดาที่ถูกล่อลวงและสังหารโดยซีเนีย ออนาทอปป์
- มินนี ไดรเวอร์ เป็น อิรินา: นักร้องไนต์คลับชาวรัสเซียและผู้หญิงของวาเลนทีน ดมิตโตรวิช ซูกอฟสกี
- เซรีนา กอร์ดอน เป็น แคโรไลน์, ผู้ประเมินทางจิตวิทยาและจิตเวชของเอ็มไอ6 ผู้ถูกบอนด์ล่อลวง
การสร้าง
[แก้]เบื้องต้น
[แก้]หลังการฉายของ 007 รหัสสังหาร ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1989 งานก่อนการถ่ายทำของภาพยนตร์เรื่องที่สิบเจ็ดในภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ กำหนดเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดยมี ทิโมธี ดาลตัน รับบทเป็นบอนด์ครั้งที่สาม (เพื่อทำตามสัญญาแสดงภาพยนตร์บอนด์สามเรื่องของเขา)[9] ใบปิดของภาพยนตร์ดังกล่าว ในตอนนั้นยังถูกนำเสนอบน โรงแรมคาร์ลตัน ในช่วง เทศกาลภาพยนตร์กาน ปี 1990 ในเดือนสิงหาคม เดอะซันเดย์ไทม์ส รายงานว่า ผู้อำนวยการสร้าง อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลี ได้แยกทางกับ ริชาร์ด เมบอม ผู้เขียนบทภาพยนตร์บอนด์เกือบทุกเรื่อง (ยกเว้นสามเรื่อง) และ จอห์น เกลน ผู้กำกับภาพยนตร์บอนด์ห้าเรื่อง บรอคโคลีทำรายชื่อผู้กำกับที่จะมากำกับภาพยนตร์ ได้แก่ จอห์น แลนดิส, เทด คอตชีฟและจอห์น บายรัม[10] ไมเคิล จี. วิลสัน ลูกเลี้ยงของบรอคโคลี เป็นคนเขียนบทภาพยนตร์ และได้ว่าจ้างให้ อัลโฟนส์ รูกจิเอโร จูเนียร์ ผู้อำนวยการสร้างร่วมของละครโทรทัศน์ ไวส์กาย มาเขียนบทภาพยนตร์ใหม่[11] การถ่ายทำกำหนดเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1990 ใน ฮ่องกง และกำหนดฉายในปลายปี ค.ศ. 1991[12] ภาพยนตร์จะดัดแปลงจาก "เดอะพรอเพอร์ตีออฟอะเลดี" เรื่องสั้นของเฟลมมิง โดยมีเรื่องราวการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ในอังกฤษและสกอตแลนด์ของผู้ก่อการร้าย เพื่อก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สาม บอนด์เดินทางไปเอเชียตะวันออกเพื่อสืบสวนนักธุรกิจคอรัปชัน เซอร์ เฮนรี ลี ชิง พร้อมกับคนที่ขโมยอัญมณี คอนนี เวบบ์ และบอนด์ต่อสู้กับอดีตพี่เลี้ยงของเขา เดนโฮล์ม คริสป์ และจะมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีนปรากฏตัวด้วย[13][14]
ดาลตันประกาศในบทสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2010 ว่า บทภาพยนตร์นั้นพร้อมแล้วและ "เรากำลังพูดถึงผู้กำกับ" ก่อนที่โครงการจะเข้าสู่นรกของการพัฒนา เกิดจากปัญหาทางกฎหมายระหว่าง เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์, บริษัทแม่ของผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ชุด ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์และแดนแจกของบรอคโคลี เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ บอนด์ [15] ในปี ค.ศ. 1990 เอ็มจีเอ็ม/ยูเอ จะถูกขายให้กับ คินเทกซ์ ด้วยมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ให้บริการทางการเงินสัญชาติออสเตรเลีย-อเมริกัน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการซื้อการออกอากาศทางโทรทัศน์และความบันเทิง เมื่อคินเทกซ์ไม่สามารถให้เลตเตอร์ออฟเครดิต มูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ ข้อตกลงดังกล่าวก็ล่มไป บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสชื่อ พาตีเอ็นเทอร์เทนเมนต์ (ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสตูดิโอฝรั่งเศส พาตี) เข้ามาซื้อ เอ็มจีเอ็ม/ยูเอ อย่างรวดเร็ว ด้วยมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และรวมบริษัทเพื่อสร้าง เอ็มจีเอ็ม-พาตี คอมมิวนิเคชันส์ ซีอีโอของพาตี จันคาร์โล พาร์เรตตี ตั้งใจที่จะขายสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายแคตตาล็อกของสตูดิโอออกไป เพื่อให้เขาสามารถรวบรวมเงินล่วงหน้าเพื่อเป็นเงินทุนในการซื้อกิจการ รวมถึงไปสิทธิ์ในการออกอากาศระหว่างประเทศของภาพยนตร์ 007 ในราคาถูก โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากแดนแจก ทำให้แดนแจกฟ้องร้อง[16] โดยอ้างว่าการออกใบอนุญาตดังกล่าวเป็นการละเมิดข้อตกลงการจัดจำหน่าย บอนด์ ที่บริษัทเคยทำไว้กับยูไนเต็ดอาร์ตติสต์ เมื่อปี ค.ศ. 1962 ในขณะที่ปฏิเสธส่วนแบ่งผลกำไรของแดนแจก[17] เมื่อบรอคโคลีถามดาลตันว่า เขาจะทำอย่างไรหลังจากคดียุติ เขาบอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เขาจะรับบทแล้ว[18]
พฤติกรรมของพาร์เรตตี นำไปสู่การล้มละลายของเอ็มจีเอ็ม-พาตี และการฟ้องร้องเพิ่มเติม ในที่สุดส่งผลให้มีการยึดสังหาริมทรัพย์โดยผู้สนับสนุนทางการเงิน เครดิตลียงเน ในปี ค.ศ. 1992 คดีความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของ บอนด์ ถูกตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1992 และเอ็มจีเอ็ม-พาตี เปลี่ยนชื่อเป็น เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัทย่อยของเครดิตลียงเน ได้เริ่มสำรวจการพัฒนาเพิ่มเติมของ บอนด์ 17 กับแดนแจกในปี ค.ศ. 1993 ดาลตันยังคงเป็นตัวเลือกของบรอคโคลี ในการกลับมารับบทบอนด์ แต่สัญญาเจ็ดปีของดาลตันที่เคยทำไว้กับแดนแจก นั้นหมดอายุในปี ค.ศ. 1993 ดาลตันกล่าวว่าความล่าช้าของภาพยนตร์เรื่องที่สามของเขา มีผลทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1990[18][19]
การนำมาทำเป็นสื่อวิดีโอเกม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "GoldenEye (1995)". BFI (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 January 2019.
- ↑ "GoldenEye (1995)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.
- ↑ "The James Bond Films – 1994–2002". BBC News. 10 November 2002. สืบค้นเมื่อ 22 October 2007.
- ↑ "Box Office History for James Bond Movies". The Numbers. Nash Information Service. สืบค้นเมื่อ 18 October 2007.
- ↑ James Kendrick. "GoldenEye". Qnetwork. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2007.
- ↑ Todd McCarthy (15 November 1995). "GoldenEye". Variety. สืบค้นเมื่อ 18 November 2006.
- ↑ Christopher Null. "GoldenEye". Filmcritic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2007. สืบค้นเมื่อ 27 April 2007.
- ↑ "Film Nominations 1995". British Academy of Film and Television Arts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2008. สืบค้นเมื่อ 5 April 2008.
- ↑ "60 Seconds: Timothy Dalton". An interview in Metro Newspaper by Andrew Williams. 15 February 2007.
- ↑ "Hollywood mogul puts $US200m price on James Bond's head; Albert "Cubby" Broccoli". The Sunday Times. 12 August 1990.
- ↑ "GoldenEye – The Road To Production". Mi6-HQ.com. 23 June 2003. สืบค้นเมื่อ 4 January 2007.
- ↑ "Bond 17 – History". Mi6-HQ.com- The Home of James Bond. สืบค้นเมื่อ 28 January 2008.
- ↑ Blauvelt, Christian. "The Bond films that almost were". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
- ↑ Jeffery, Morgan (2016-11-07). "6 James Bond movies they planned but never made". Digital Spy (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
- ↑ Blauvelt, Christian (1 November 2010). "Timothy Dalton talks 'Chuck,' 'The Tourist,' and, of course, Bond". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-13. สืบค้นเมื่อ 12 August 2014.
- ↑ "007 Producer Fires Legal Salvo At MGM". Variety. 17 February 1991.
- ↑ "A summary of Southern California-related business litigation developments during the past week". Los Angeles Times. 15 October 1990.
- ↑ 18.0 18.1 Meslow, Scott (12 May 2014). "Timothy Dalton opens up about Penny Dreadful, leaving James Bond, and the demon in all of us". The Week. สืบค้นเมื่อ 23 February 2019.
- ↑ Cox, Dan (12 April 1994). "Dalton bails out as Bond". Variety.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก
- พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส